ยาส 39
ยาส 39 กริพเพน | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เครื่องบินขับไล่หลากบทบาท |
บริษัทผู้ผลิต | ซ้าบ |
สถานะ | ประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | กองทัพอากาศสวีเดน กองทัพอากาศเช็ก กองทัพอากาศฮังการี กองทัพอากาศแอฟริกาใต้ กองทัพอากาศไทย |
จำนวนที่ผลิต | 213 ลำเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551[1][2] |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | พ.ศ. 2530 – ปัจจุบัน |
เริ่มใช้งาน | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 |
เที่ยวบินแรก | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2531 |
ยาส 39 กริพเพน (สวีเดน: JAS 39 Gripen) (อ่านในภาษาสวีเดนว่า "ยอซ แทร็กตี้นิโยะ กรีเผ่น") เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทที่ผลิตโดยบริษัทซ้าบของประเทศสวีเดน โดยมีกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล (Gripen International) ทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการทำสัญญาซึ่งจะรับผิดชอบต่อการตลาด การขาย และการสนับสนุนเครื่องบินขับไล่กริพเพนทั่วโลก
ปัจจุบันมันอยู่ในประจำการของกองทัพอากาศสวีเดน กองทัพอากาศเช็ก กองทัพอากาศฮังการี และกองทัพอากาศแอฟริกาใต้ และยังถูกสั่งซื้อโดยกองทัพอากาศไทยอีกด้วย มีกริพเพนทั้งหมด 236 ลำที่ถูกสั่งซื้อในปี พ.ศ. 2551[3]
วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550 กองทัพอากาศไทยแถลงผลการดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ก/ข (เอฟ-5บี/อี) ระยะที่ 1 จำนวน 6 เครื่อง และระยะที่ 2 อีก 6 เครื่อง ได้ตัดสินใจซื้อเครื่อง ยาส 39 กริพเพน ในวงเงินกว่า 19,000 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2555 โดยเครื่องบินฝูงใหม่จะประจำการที่กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี [4]
การพัฒนา
[แก้]เมื่อปลายทศวรรษที่ 2513 สวีเดนเริ่มต้องการหาเครื่องบินเข้ามาแทนที่ซ้าบ 35 ดราเคนและซ้าบ 37 วิกเกน[5] เครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2523[6] ด้วยการศึกษาแบบที่เริ่มขึ้นในปีต่อมา[5] การพัฒนากริพเพนเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2525 โดยได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา[7]
กริพเพนถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานที่ดี ความยืดหยุ่น ความมีประสิทธิภาพ และความอยู่รอดในการต่อสู้ทางอากาศ คำว่า JAS ย่อมาจาก Jakt (อากาศสู่อากาศ) Attack (อากาศสู่พื้น) และ Spaning (การลาดตระเวน) ซึ่งแปลว่ากริพเพนนั้นเป็นเครื่องบินรบหลากบทบาทซึ่งสามารถทำภารกิจที่แตกต่างกันไปได้ ยาส 39 ได้รับชื่อว่ากริพเพน (Gripen หรือ Griffin ในภาษาอังกฤษ) จากการส่งชื่อเข้าแข่งขันในปีพ.ศ. 2525[8] กริฟฟินเป็นสัญลักษณ์บนโลโก้ของซ้าบและมันเหมาะกับเอกลักษณ์ของเครื่องบินหลากบทบาท นอกจากนี้กริฟฟินยังเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองซึ่งเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของซ้าบ
สวีเดนได้เลือกที่จะพัฒนากริพเพนมากกว่าที่จะซื้อเอฟ-16 เอฟ/เอ-18เอ/บี หรือเอฟ-5เอสที่เป็นรุ่นหนึ่งของเอฟ-20 ไทเกอร์ชาร์คของนอร์ทธรอป กริพเพนลำแรกเปิดตัวในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2530 ซึ่งครบรอบ 50 ปีของบริษัทซ้าบพอดี[9] ต้นแบบแรกทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2531[10]
ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เครื่องบินลำสุดท้ายของ 64 ลำถูกส่งให้กับหน่วยงานของสวีเดนที่จะรายงานให้กับกระทรวงกลาโหมสวีเดน[1] นั่นเป็นความสำเร็จที่ตำกว่าราคาตกลง 10% สำหรับกองบินทั้งหมด มันทำให้ราคาของกริพเพน 39ซี บานปลายเป็น 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ข้อตกลงเรื่องทีมการสร้าง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2538 ซ้าบและบริติช แอโรสเปซ (ปัจจุบันคือบีเออี ซิสเทมส์) ได้ตั้งบริษัทร่วมขึ้นมาเพื่อทำการสร้างและสนับสนุนกริพเพนระหว่างประเทศ ข้อตกลงมีเพื่อใช้ข้อได้เปรียบเรื่องประสบการณ์การตลาดทั่วโลกของบริติช แอโรสเปซ บริติช แอโรสเปซเองก็มองว่ากริพเพนเป็นผลผลิตที่จะเติมเต็มเครื่องบินของตน เป็นการเติมช่องว่างระหว่างฮอว์ก ทอร์นาโด และยูโรไฟท์เตอร์ ไทฟูน การร่วมมือกันครั้งนี้ขยายออกในปีพ.ศ. 2544 โดยมีการก่อตั้งกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล (Gripen International) ขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์เดิม ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ซ้าบและบีเออี ซิสเทมส์ได้ตกลงว่าตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ซ้าบจะเป็นผู้รับผิดชอบการตลาดของกริพเพนทั้งหมด เพื่อเพิ่มยอดขายส่งออก
ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 นอร์เวย์ได้ทำสัญญาตกลงในโครงการพัฒนาร่วมกันเพื่อให้มีการพัฒนาเครื่องบินต่อไปในอนาคตสำหรับรุ่นที่จะตามมา สัญญาดังกล่าวมีมูลค่า 150 ล้านโครน ตลอดสองปี[11]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 ธาเลส นอร์เวย์ (หรือThales Group) และซ้าบได้ทำสัญญาการพัฒนาระบบสื่อสารของกริพเพน มันเป็นการทำให้บริษัทของนอร์เวย์ได้รับรางวัลแรกจากการทำข้อตกลงที่ทำโดยกระทรวงกลาโหมนอร์เวย์และกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนลในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550[11]
ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งในการตลาดของกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนลในเดนมาร์ก ข้อตกลงจึงทำขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยมีผู้สนับสนุนเทคโนโลยีของเดนมาร์กคือเทอร์มา เอ/เอส (Terma A/S) ซึ่งทำให้พวกเขาเข้าร่วมในโครงการอุตสาหกรรมร่วมตลอด 10-15 ปี มูลค่าทั้งสิ้นของโครงการคือประมาณ 1 หมื่นล้านเดนมาร์กโครน และบางส่วนขึ้นอยู่กับการเลือกกริพเพนของเดนมาร์ก[12]
กริพเพน เอ็นจี Gripen NG
[แก้]เป็นการพัฒนาเพื่อก้าวไปสู้ เครื่องบินรบยุคที่ 5 และมีการสร้างเครื่องแบบสองที่นั่งสำหรับทดสอบเทคโนโลยีใหม่ถูกสร้างขึ้นมา[13]และถูกนำมาแสดงในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2551 มันมีความจุเชื้อเพลิงมากขึ้น ขุมกำลังที่ทรงพลังยิ่งกว่า น้ำหนักบรรทุกเพิ่มขึ้น ระบบอิเลคทรอนิกที่ได้รับการพัฒนา และการพัฒนาอื่นๆ อีกมาก เครื่องบินใหม่นี้ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า"กริพเพน เดโม" (Gripen Demo)[14][15]
กริพเพน เอ็นจี (NG ย่อมาจาก Next Generation) จะมีชิ้นส่วนใหม่มากมายและมีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์จีอี/วอลโว แอโร เอฟ414จีที่พัฒนามาจากเครื่องยนต์ของเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท เครื่องยนต์จะให้กำลังมากขึ้นอีก 20% เป็น 22,000 ปอนด์ ทำให้มันสามารถใช้ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศที่ความเร็วซูเปอร์ครูซ 1.1 มัคได้ [16]
เมื่อเทียบกับกริพเพน ดี น้ำหนักสูงสุดของกริพเพน เอ็นจีนั้นเพิ่มขึ้นจาก 14,000 กิโลกรัมเป็น 16,000 กิโลกรัม โดยมีน้ำหนักเปล่าเพิ่มขึ้นอีก 200 กิโลกรัม เนื่องมาจากการเปลี่ยนตำแหน่งของล้อลงจอด ความจุเชื้อเพลิงภายในจึงเพิ่มขึ้น 40% ซึ่งจะเป็นการเพิ่มระยะในการขนส่งเป็น 4,070 กิโลเมตร รูปแบบใต้ท้องใหม่ยังทำให้มันสามารถเพิ่มจุดติดตั้งอาวุธได้อีกสองจุด เรดาร์พีเอส-05/เอได้เพิ่มเสาอากาศเออีเอสเอเข้าไปเพื่อการบินทดสอบที่จะเกิดขึ้นกลางปีพ.ศ. 2552[16]
การบินครั้งแรกของกริพเพน เดโมเกิดขึ้นในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 การบินทดสอบกินเวลา 30 นาทีและทำความสูงสุดที่ 21,000 ฟุต[17] ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552 กริพเพน เดโมได้บินด้วยความเร็ว 1.2 มัคโดยไม่มีการทำให้เครื่องร้อนใหม่เพื่อทดสอบความสามารถในการทำซูเปอร์ครูซของมัน[18][19]
การออกแบบ
[แก้]ในการออกแบบเครื่องบินมีการศึกษาโครงสร้างมากมาย ในที่สุดซ้าบก็เลือกแบบที่มีปีกหน้าซึ่งไม่เสถียร ปีกหน้าหรือคานาร์ด (Canard) ทำให้มันมีอัตราการไต่ระดับที่มากขึ้นและลดแรงฉุด ทำให้เครื่องบินเร็วขึ้น พิสัยไกลขึ้น และบรรทุกได้มากขึ้น
การผสมผสานกันของปีกทรงสามเหลี่ยมและปีกหน้าทำให้กริพเพนมีการบินขึ้น-ลงที่มีประสิทธิภาพและการบินที่ไม่เหมือนใคร ระบบอิเลคทรอนิกอากาศทั้งหมดทำให้มันเป็นเครื่องบินที่สามารถถูกโปรแกรมได้ มันยังมีหน่วยระบบสงครามอิเลคทรอนิกภายในอีกด้วย ทำใหม้นสามารถเพิ่มระเบิดเข้าไปได้โดยที่ไม่สูญเสียความสามารถในการป้องกันตนเอง มันยังมีระบบ 300-ลิงก์ ที่ใช้เพื่อแบ่งข้อมูลให้กับเครื่องบินอีกลำอีกด้วย[20]
กริพเพนนั้นมีความยืดหยุ่นมากกว่าเครื่องบินรบรุ่นก่อนๆ ที่สวีเดนใช้ และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการของมันเท่ากับ 2 ใน 3 ของซ้าบ 37 วิกเกนเท่านั้น
ในกองทัพอากาศสวีเดนมีความต้องการเครื่องบินที่สามารถใช้ทางวิ่งยาว 800 เมตรได้ ในตอนต้นโครงการการบินทั้งหมดจากโรงงานซ้าบใช้ทางวิ่งขนาด 9x800 เมตรเท่านั้น ระยะหยุดถูกลดลงด้วยการเพิ่มเบรกอากาศขนาดใหญ่เข้าไป ด้วยการใช้ผิวหน้าควบคุมเพื่อดันเครื่องบินลง การเพิ่มแรงเบรกที่ล้อให้มากขึ้นและลดปีกปลอมลงจะทำให้พวกมันกลายเป็นเบรกอากาศขนาดใหญ่และดันตัวเครื่องบินลง
เรดาร์
[แก้]กริพเพนใช้เรดาร์สมัยใหม่เป็นเรดาร์พัลส์-ดอปเปลอร์ พีเอส-05/เอ มันถูกสร้างขึ้นโดยอิริกส์สันและจีอีซี-มาร์โคนี โดยมีพื้นฐานมาจากเรดาร์บลูวิกเซน (Blue Vixen) ของซีแฮร์ริเออร์ (ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรดาร์ยูโรไฟท์เตอร์ของแคปเตอร์อีกที)[21]
เรดาร์นี้สามารถตรวจจับ ระบุตำแหน่ง ระบุเป้าหมาย และติดตามเป้าหมายได้หลายเป้าหมายโดยอัตโนมัติ ทั้งบนพื้น ทะเล หรืออากาศ และในทุกสภาพอากาศ มันสามารถถูกใช้เพื่อนำทางขีปนาวุธอากาศสู่อากาศได้ 4 ลูก (อย่างเอไอเอ็ม-120 แอมแรมและเอ็มบีดีเอ ไมก้า) ในเวลาเดียวกันเข้าสู่เป้าหมายทั้งสี่[22][ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]
ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซ้าบและซีเล็กซ์ กาลิเลโอได้ทำสัญญาข้อตกลงสำหรับการพัฒนาร่วมกันของเรดาร์วิกเซนเออีเอสเอราเวน (Raven) และพีเอส-05/เอ[23] เรดาร์นี้จะสามารถสแกนได้ 200 องศาจากข้างหลังไปทางซ้ายและขวา[24]
ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 กริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนลได้เสนอซอร์ซโค้ดของเรดาร์เออีเอสเอของพวกเขาโดยเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันการขายในอินเดีย[25]
ห้องนักบิน
[แก้]ในห้องนักบินมีจอแสดงแบบเฮดดาวน์สีสมบูรณ์ 3 จอและจอแสดงอุปกรณ์ฉุกเฉินของเครื่องบินแบบดิจิตอล โครงสร้างของห้องนักบินทำให้นักบินมีความสะดวกสบายในการทำงานและยังเพิ่มความระวังต่อสถานการณ์อีกด้วย แต่มันก็ยังสามารถพัฒนาได้อีกในอนาคต นักบินจะควบคุมเครื่องบินด้วยการใช้คันบังคับที่อยู่ตรงกลางและคันเร่งที่อยู่ทางซ้ายมือ
ห้องนักบินให้พื้นที่การมองมากกว่าเครื่องบินขับไล่ส่วนมาก 30% และจอแสดงผลที่กินพื้นที่น้อยจนเหลือพื้นที่เพิ่มขึ้น 75%
มันมีจอแอคทีฟ-เมทริกซ์ขนาดใหญ่ (15.7x21 ซ.ม.) 3 จอ จอคริสตัลเหลวหรือจอแอลซี จอแสดงผลมัลติ-ฟังก์ชัน และจอเฮด-อัพ ดิสเพลย์ จอแสดงผลเหล่านี้จะมีไฟเพื่อช่วยในการให้ความสว่างและความคมชัด
ความสามารถด้านความพร้อม
[แก้]ความน่าสนใจหนึ่งของกริพเพนคือการที่มันสามารถบินขึ้น-ลงได้บนถนนสาธารณะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ของสวีเดน เครื่องบินนั้นถูกออกแบบมาให้สามารถปฏิบัติการได้แม้ว่าทัพอากาศจะสูญเสียความได้เปรียบทางอากาศไป
ในสงครามเย็น กองทัพอากาศสวีเดนได้เตรียมตัวเพื่อเผชิญกับการรุกรานจากสหภาพโซเวียตที่อาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่ายุทธศาสตร์การป้องกันนั้นจะเน้นให้สวีเดนต้องยึดที่มั่นในเขตแดนของตน นักวางแผนทางทหารของสวีเดนก็ทำการคำนวณแล้วว่าพวกเขาจะพ่ายแพ้ในที่สุด ด้วยเหตุนี้เองสวีเดนจึงทำการกระจายยุทโธปกรณ์ของตนออกไปทั่วประเทศ เพื่อที่ว่าพวกเขายังคงความสามารถในการสร้างความเสียหายให้กับศัตรูได้แม้ว่าจะต้องศูนย์เสียค่ายทหารไป
ดังนั้นในหมู่ยุทโธปกรณ์ของกองทัพอากาศสวีเดน กริพเพนจะต้องสามารถลงจอดบนถนนสาธารณะที่ใกล้กับค่ายทหารได้เพื่อการบำรุงรักษาที่รวดเร็วและขึ้นบินอีกครั้ง ผลที่ได้คือกริพเพนเป็นเครื่องบินขับไล่ที่สามารถเติมเชื้อเพลิงและอาวุธได้ใน 10 นาทีโดยใช้คนไม่กี่คนและทำการบินอีกครั้ง[26]
หลังยุคสงครามเย็น ความสามารถในปฏิบัติการกระจายกำลังได้พิสูจน์ว่ามีค่ามากในจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป ระบบของกริพเพนนั้นเป็นความพร้อมโดยธรรมชาติ และดังนั้นมันจึงเหมาะสำหรับภารกิจรักษาความสงบทั่วโลก ซึ่งได้กลายมาเป็นงานหลักของกองทัพอากาศสวีเดน
ประวัติการใช้งาน
[แก้]ประเทศผู้ใช้งานในปัจจุบัน
[แก้]กริพเพนเข้าประจำการอยู่ในกองทัพอากาศสวีเดนซึ่งได้สั่งซื้อเอาไว้ 204 ลำ (รวมทั้งแบบสองที่นั่ง 28 ลำ)[27]
กองทัพอากาศเช็กและกองทัพอากาศฮังการีก็ใช้กริพเพนเช่นกัน โดยใช้เครื่องบินของสวีเดนประเทศละ 14 ลำ โดยในที่สุดพวกเขาก็จะเป็นเจ้าของพวกมัน ทั้งสองประเทศเป็นผู้ใช้รายแรกในกลุ่มนาโต้[28][29]
กองทัพอากาศแอฟริกาใต้เริ่มได้รับเครื่องบินทั้ง 26 ลำ (รวมทั้งแบบสองที่นั่ง) ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551[30]และกำลังส่งมอบอยู่[2] เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 มีการส่งมอบแบบสองที่นั่ง 9 ลำ
กริพเพนยังได้รับการสั่งซื้อจากกองทัพอากาศไทย จำนวน 6 ลำ โดยสี่ลำเป็นแบบสองที่นั่ง และได้รับมอบเมื่อวันที่ 22/02/2554 และได้รับการจัดซื้อชุดที่ 2 เป็นแบบ C จำนวน 6 เครื่อง กำหนดส่งมอบในปี 2556[31]
โรงเรียนฝึกนักบินรบ Empire Test Pilots' School ของ ทอ.อังกฤษ ก็ใช้กริพเพน รุ่น 2 ที่นั่ง ในการฝึกนักบินจากทั่วโลกเช่นกัน (บริษัท BAE กับ Saab ร่วมกันพัฒนาเครื่องกริเฟน)
ประเทศที่จะเป็นและอาจเป็นผู้ใช้ในอนาคต
[แก้]- บราซิล
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 มีรายงานว่ากองทัพอากาศบราซิลได้ลือกผู้เข้าชิงสามรายสุดท้ายในโครงการเอฟ-เอ็กซ์2 ของพวกเขา โดยมีดัซโซลท์ ราฟาเอล เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท และกริพเพน เอ็นจี[32][33] จำนวนที่สั่งซื้อคือประมาณ 36 ลำและอาจเพิ่มขึ้นเป็น 120 ลำในเวลาต่อมา การตัดสินใจเกิดขึ้นในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ซ้าบได้ยอมรับความต้องการกริพเพน เอ็นจีทั้ง 36 ลำของกองทัพอากาศบราซิล[34]
- โครเอเชีย
กองทัพอากาศโครเอเชียได้ประกาศแผนในการแทนที่มิก-21 ของพวกเขาด้วยยาส 39 กริพเพนหรือเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน[35] โครงการสุดท้ายนั้นต้องการเครื่องบิน 12-18 ลำ ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 คณะบริหารกองกำลังป้องกันสวีเดนและซ้าบได้ตอบกลับความต้องการของโครเอเชียเพื่อขอข้อมูลในการจัดหาเครื่องบินทั้ง 12 ลำ[36][37] เนื่องมาจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและการเมือง กองทัพอากาศโครเอเชียจะยังไม่ทำการตัดสินใจจนกว่าจะถึงปีพ.ศ. 2553[38]
- เดนมาร์ก
เดนมาร์กได้ทำสัญญาระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมของตนกับของสวีเดนเพื่อทำการพัฒนากริพเพน โดยเดนมาร์กต้องการมันไปแทนที่เอฟ-16 จำนวน 48 ลำของพวกเขา เดนมาร์กยังได้ร้องขอกริพเพนรุ่นใหม่เพื่อการพัฒนาเพิ่มเติมอีกด้วย มันจะรวมทั้งชุดระบบอิเลคทรอนิกอากาศแบบใหม่ เครื่องยนต์ที่ทรงพลังและใหญ่ขึ้น น้ำหนักบรรทุกที่มากขึ้น และพิสัยไกลยิ่งขึ้น[12] การร้องขอนี้เป็นจุดเริ่มต้นของกริพเพน เอ็นจี ซึ่งมีความต้องการของเดนมาร์กครบทุกอย่าง อย่างเครื่องยนต์เอฟ414จีที่ทรงพลังมากกว่าเดิม[39]
- อินเดีย
กริพเพนได้เข้าร่วมแข่งขันในอินเดียน เอ็มอาร์ซีเอ คอมเพทิชั่นที่ต้องการเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทจำนวน 126 ลำ กริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนลได้ยื่นข้อเสนอให้กับอินเดียในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551 บริษัทกำลังเสนอกริพเพน ไอเอ็นและเอ็นจีให้กับอินเดีย[40]และได้ทำการเปิดที่ทำงานในกรุงนิวเดลีเพื่อที่ให้กับสนับสนุนในตลาดของอินเดีย[41] ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มีการประกาศว่าซ้าบได้เข้าเป็นหุ้นส่วนกับทาทา กรุ๊ปเพื่อพัฒนากริพเพนรุ่นใหม่เพื่อให้ตรงกับความต้องการของอินเดีย[42][43]
- เนเธอแลนด์
ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ดาเจนส์ อินดัสทรี (Dagens Industri) ได้รายงานว่าเนเธอร์แลนด์ได้ประกาศว่าพวกเขาจะทำการประเมินยาส 39 กริพเพน เอ็นจีพร้อมกับเครื่องบินอีกสี่ลำที่ร่วมแข่งขันและได้ประกาศผลเมื่อสิ้นปีพ.ศ. 2551[44] ซ้าบตอบกลับเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 251 เพื่อร่วมในโครงการหาเครื่องบินทดแทนของกระทรวงกลาโหมเนเธอร์แลนด์ ด้วยการเสนอเครื่องบิน 85 ลำให้กับกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์[45] เนเธอร์แลนด์ยังทำการประเมินระหว่างกริพเพน เอ็นจีกับเอฟ-35 อีกด้วย[46] ในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551 สื่อได้รายงานว่าเนเธอร์แลนด์ได้ทำการประเทินเอฟ-35 ว่าเหนือกว่ากริพเพน โดยกล่าวว่าเอฟ-35 นั้นมีการทำงานที่ดีและราคาที่ถูกกว่า[47][48][49] ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552 เอ็นอาร์ซี แฮนเดลส์บลาด (NRC Handelsblad) อ้างว่าซ้าบได้ทำข้อเสนอให้กับเนเธอร์แลนด์ด้วยการส่งมองกริพเพน 85 ลำในราคา 4,800 ล้านยูโร ซึ่งถูกกว่าเอฟ-35 1 พันล้านยูโร[50] ราคานี้ยังรวมทั้งค่าฝึกนักบินและการบำรุงรักษาไปอีก 30 ปี[51]
- สวิตเซอร์แลนด์
ในวันที่ 17 มการาคม พ.ศ. 2551 คณะบริหารการป้องกันของสวิตเซอร์แลนด์ได้เชิญกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนลเพื่อหาเครื่องบินมาทดแทนเอฟ-5[52] ซ้าบได้ตอบรับด้วยการยื่นข้อเสนอในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 โดยจำนวนที่แท้จริงของเครื่องบินยังเป็นความลับอยู่[53]
- ประเทศอื่นๆ
บัลแกเรียได้ประกาศว่าพวกเขาต้องการแทนที่มิโคยัน มิก-21 ของพวกเขาด้วยยาส 39ซี/ดี 16 ลำ[54]หรือใช้เอฟ-16 16 ลำแทน
กองทัพอากาศโรมาเนียได้ประกาศว่าพวกเขาจะแทนที่มิก-21 แลนเซอร์ของพวกเขาในปี พ.ศ. 2551 โดยอาจเป็นยาส 39 กริพเพน เอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน หรือยูโรไฟท์เตอร์ ไทฟูน[55][56]
ทางการเซอร์เบียเองก็ได้หารือเรื่องเครื่องบินที่จะเข้ามาแทนที่มิก-21 ของพวกเขาใน พ.ศ. 2553 พวกเขาต้องการเครื่องบิน 24 ลำและกริพเพนก็อยู่ในทางเลือกของพวกเขา
ประเทศอื่นๆ ที่แสดงความสนใจในกริพเพนยังรวมทั้งสโลวาเกียอีกด้วย[57][58]
ประเทศที่จัดซื้อเข้าประจำการและกำลังพิจารณา
[แก้]ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2538 ซ้าบและบริติช แอโรสเปซ (British Aerospace) (BAE Systems) ตกลงร่วมมือกันในด้านการตลาดของกริพเพนในชื่อกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล (Gripen International) และต่อมาได้ยุติความร่วมมือลง หลังจากมีผลประโยชน์ขัดกันในกรณีการเสนอกริพเพนและยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่นเข้าแข่งขันพร้อมกันในออสเตรีย ทำให้ ซ้าบ กลับมาถือหุ้นทั้งหมดในกริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล
- ณ ปัจจุบัน มีผู้ใช้ Gripen อันประกอบไปด้วย
- สวีเดน
- สั่งซื้อเข้าประจำการจำนวนกว่า 200 ลำ ทั้งรุ่น เอ/บี และ ซี/ดี แต่เนื่องจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้มีการลดจำนวนการประจำการลงเหลือ 100 ลำ โดยจะปรับปรุงรุ่น เอ/บี จำนวน 31 ลำให้เป็นมาตรฐาน ซี/ดี และขายเครื่องที่เหลือให้กับลูกค้าต่างประเทศที่สนใจ [59]
- เช็กเกีย
- เช่า 14 ลำในปี พ.ศ. 2547 และเช็กกำลังตัดสินใจว่าจะซื้อเครื่องเป็นกรรมสิทธิหลังจากหมดสัญญาเช่าในเวลา 10 ปีหรือไม่
- สหราชอาณาจักร
- Empire's Test Pilot School ทำการฝึกนักบินทดสอบจากทั่วโลกในกริเพน
- ไทย
- กองทัพอากาศไทยประจำการด้วย กริพเพน รุ่น ซี/ดี ทั้งสิ้น 11 ลำ ที่กองบิน 7 และได้สั่งซื้อ รุ่น อี/เอฟ จำนวน 12-14 ลำ[60]
- บราซิล
- ประจำการด้วย กริพเพน รุ่น อี จำนวน 8 ลำ และสั่งซื้อรุ่น อี/เอฟ จำนวน 28 ลำ
- ประเทศที่ได้อนุมัติการสั่งซื้อ
- สำหรับประเทศอื่น ๆ ที่สนใจนั้นมีดังนี้
- บัลแกเรีย สนใจที่จะจัดหาจำนวน 20 เครื่องทดแทน MiG-29
- อินเดีย มีโครงการจัดหาเครื่องบินรบ 126 ลำ แต่คาดว่ากริพเพนไม่น่าจะได้รับการคัดเลือก
- กลุ่มประเทศบอลติก สนใจจะเช่าใช้งานจำนวน 12 เครื่อง
- บราซิล เริ่มต้นโครงการ F-X ใหม่อีกครั้ง และคาดว่ากริพเพนจะเข้าร่วมแข่งขันด้วย
- โครเอเซีย ต้องการเครื่องบิน 12 เครื่องตามโครงการปรับปรุงกองทัพ โดยจะประกาศเลือกแบบใน พ.ศ. 2551 ซึ่งกริพเพนต้องแข่งขันกับ เอฟ-16 มือสองจากสหรัฐ
- กรีซ กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดซื้อเครื่องบินรบอีก 30 - 40 เครื่อง
- โรมาเนีย ต้องการเครื่องบินขับไล่ 40 เครื่อง โดยจะประกาศเลือกแบบใน พ.ศ. 2551 ซึ่งกริพเพนต้องแข่งกันกับ ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น ของยุโรป
- สโลวาเกีย ต้องการเครื่องบิน 14 เครื่องเพื่อทดแทน MiG-29 แต่ยังไม่มีการประกาศโครงการออกมาอย่างเป็นทางการ
- สวิสเซอร์แลนด์ ต้องการเครื่องบินทดแทน F-5 จำนวน 20 - 33 เครื่อง โดยสวิสเซอร์แลนด์ได้ร้องขอให้ผู้ผลิตที่ส่งแบบแผนเครื่องบินเข้าแข่นขันทั้ง 4 รายอันประกอบไปด้วย เอฟ/เอ-18อี/เอฟ, ราฟาล, ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น, และ กริเพน ส่งข้อเสนอในเบื้องต้นแล้ว และคาดว่าจะทำการตัดสินใจได้ในปี 2552
- นอร์เวย์ ต้องการเครื่องบินทดแทน เอฟ-16 เอ็มเอลยูจำนวน 48 ลำ โดยได้ร้องขอให้ผู้ผลิตที่ส่งแบบแผนเครื่องบินเข้าแข่งขันทั้ง 3 รายอันประกอบไปด้วย เอฟ-35, ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น, และ กริเพน ส่งข้อเสนอในเบื้องต้นแล้ว และคาดว่าจะทำการตัดสินใจได้ในปี 2552
- เดนมาร์ก ต้องการเครื่องบินทดแทน เอฟ-16 เอ็มเอลยูจำนวน 48 ลำ
รุ่นต่าง ๆ
[แก้]- ยาส 39เอ
- เป็นแบบเครื่องบินขับไล่ที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศสวีเดนเมื่อปีพ.ศ. 2539 โครงการดัดแปลงได้เริ่มขึ้นและมี 31 ลำที่ถูกพัฒนาเป็นรุ่นซีและดี[61]
- ยาส 39บี
- เป็นรุ่นที่มีสองที่นั่ง มันยาวกว่ารุ่นปกติ 2 ฟุต 2 นิ้ว
- ยาส 39ซี
- เป็นรุ่นตามมาตรฐานนาโต้ที่มีความสามารถด้านอาวุธ อิเลคทรอนิก และอื่นๆ ที่เพิ่มมากขึ้น รุ่นนี้สามารถทำการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศได้
- ยาส 39ดี
- เป็นรุ่นสองที่นั่งของรุ่นซี
- กริพเพน เดโม
- เป็นรุ่นทดสอบเทคโนโลยีสองที่นั่งสำหรับการพัฒนาเป็นกริพเพน เอ็นจี
- กริพเพน เอ็นจี/ไอเอ็น
- รุ่นเอ็นจี (NG, Next Generation) เป็นรุ่นข้อเสนอสำหรับเครื่องยนต์ใหม่เพื่อเพิ่มความจุเชื้อเพลิง น้ำหนักบรรทุก ระบบอิเลคทรอนิกอากาศ และการพัฒนาอื่นๆ รุ่นไอเอ็น (IN) เป็นรุ่นที่คาดว่าจะส่งเข้าแข่งกันในอินเดียที่หาเครื่องบินทดแทน[40]
ประเทศผู้ใช้งาน
[แก้]ผู้ใช้ในปัจจุบัน
[แก้]- บราซิล
- กองทัพอากาศบราซิล มีกริพเพน 8 ลำ
- เช็กเกีย
- กองทัพอากาศเช็ก มีกริพเพนอย่างน้อย 14 ลำ รวมทั้งแบบสองที่นั่ง 2 ลำ
- ฮังการี
- กองทัพอากาศฮังการี มีกริพเพน 14 ลำ รวมทั้งแบบสองที่นั่ง 2 ลำ (รุ่นซีและดี) เครื่องบินสามลำสุดท้ายถูกส่งมอบในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550[62]
- แอฟริกาใต้
- กองทัพแอฟริกาใต้ ได้สั่งซื้อเครื่องบิน 26 ลำ (ลดลงจาก 28 ลำ) โดยมีรุ่นซีหนึ่งที่นั่ง 17 ลำและรุ่นดีสองที่นั่ง 9 ลำ[63] การส่งมอบครั้งแรกของแบบสองที่นั่งเกิดขึ้นในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551[30][64]
- สวีเดน
- กองทัพอากาศสวีเดน เดิมทีสั่งซื้อเครื่องบินไว้ทั้งหมด 204 ลำ รวมทั้งแบบสองที่นั่ง 28 ลำ (138 ลำในประจำการ) สวีเดนให้เช็กและฮังการีเช่าเครื่องบินรวมกัน 28 ลำ ในปีพ.ศ. 2550 รัฐบาลสวีเดนได้ตัดสินใจว่าในอนาคตจะไม่มีการใช้ยาส 39ซี/ดี กริพเพนเกิน 100 ลำอีกต่อไป[65] โครงการพัฒนาเครื่องบิน 31 ลำจากรุ่นเอและบีเป็นซีและดีก็เริ่มขึ้น[66]
- สหราชอาณาจักร
- Empire Test Pilots' School มีครูฝึกและนักเรียนที่ฝึกการจำลองการบินกับกองทัพอากาศสวีเดน และกำลังจะใช้กริพเพนแบบสองที่นั่งที่สำนักงานใหญ่ของซ้าบ โดยมีสองโครงการต่อปี ข้อตกลงถูกเปลี่ยนแปลงในปีพ.ศ. 2551[67]
- ไทย
- กองทัพอากาศไทย ได้สั่งซื้อเครื่องบิน 6 ลำ โดย 4 ลำเป็นแบบสองที่นั่ง[68] โดยจะทำการส่งมอบในปีพ.ศ. 2554 โดยมีอีก 6 ลำที่จะถูกส่งให้ทีหลัง[69][70][71][72] กริเพนจะเข้ามาทำหน้าที่แทนเอฟ-5อี/เอฟ ที่ฐานทัพอากาศสุราษฎร์ธานี[73] ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของไทยได้อนุมัติเครื่องบินอีกหกลำ[74]
รายละเอียด
[แก้]- ลูกเรือ 1 นาย (2นายสำหรับรุ่นบีและดี)
- ความยาว 14.1 เมตร (14.8 เมตรสำหรับสองที่นั่ง)
- ระยะระหว่างปลายปีกทั้งสอง 8.4 เมตร
- ความสูง 4.5 เมตร
- พื้นที่ปีก 30 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า 5,700 กิโลกรัม
- น้ำหนักพร้อมอาวุธ 8,500 กิโลกรัม
- น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 14,000 กิโลกรัม
- ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนพร้อมสันดาปท้าย วอลโว แอโร อาร์เอ็ม12
- แรงขับปกติ 12,100 ปอนด์
- แรงขับเมื่อใช้สันดาปท้าย 18,100 ปอนด์
- ความเร็วสูงสุด 2 มัค (2,130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในทุกระดับความสูง
- พิสัยการรบ 800 กิโลเมตร
- ระยะสำหรับการขนส่ง 3,200 กิโลเมตรพร้อมถังเชื้อเพลิงที่ปลดได้
- เพดานบินทำการ 50,000 ฟุต
- น้ำหนักบรรทุกที่ปีก 336 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
- อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 0.97
- อาวุธ
- ปืนกลอากาศเมาเซอร์ บีเค-27 ขนาด 1×27 ม.ม.พร้อมกระสุน 120 นัด หนึ่งกระบอก
- อาร์บี.74 (เอไอเอ็ม-9)หรืออาร์บี 98 หกลูก
- อาร์บี.99 (เอไอเอ็ม-120)หรือไมกา 4 ลูก
- อาร์บี.71 (สกายแฟลช)หรือเมเทโอร์ 4 ลูก
- อาร์บี.75 4 ลูก
- เคอีพีดี.350 2 ลูก
- ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์จีบียู-12 เพฟเวย์ 2 4 ลูก
- กระเปาะจรวดขนาด 13.5 ซ.ม. 4 กระเปาะ
- ขีปนาวุธต่อต้านเรืออาร์บีเอส.15เอฟ 2 ลูก
- ชุดระเบิดพวงบีเค.90 2 ลูก
- ระเบิด มาร์ก 82 8 ลูก
- กระเปาะอีซีเอ็มรุ่นเอแอลคิว-ทีแอลเอส 1 กระเปาะ
ไทยและสวีเดนลงนามในข้อตกลงการจัดซื้อยาส 39
[แก้]ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551 ผู้อำนวยการ นายพลกุนนาร์ โฮล์มเกรน (อังกฤษ: Gunnar Holmgren) แห่งศูนย์อำนวยการยุทโธปกรณ์ทางทหารแห่งสวีเดน (FMV) และพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ลงนามข้อตกลงในการจัดซื้อ เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์กริเพนรุ่นล่าสุดจำนวน 6 ลำและระบบเรด้าร์อิรี่อาย
ในข้อตกลงนี้ กองทัพอากาศไทยจะสามารถจัดหาเครื่องบินได้ทันการปลดประจำการเครื่องบินเอฟ-5 ได้ในต้นปี พ.ศ. 2554 กองทัพอากาศไทยจะได้รับเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์กริพเพนรุ่นซีและดีซึ่งเป็นรุ่นใหม่ล่าสุด จำนวน 6 ลำ (ยาส 39 กริพเพน ดีแบบสองที่นั่งจำนวน 4 ลำ และยาส 39 กริพเพน ซีแบบ 1 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ) และเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนซ้าบ 340 อีรี่อายจำนวน 1 ลำ พร้อมทั้งเครื่องบินซ้าบ 340 อีก 1 ลำสำหรับการฝึกและขนส่ง[82]
ดูเพิ่ม
[แก้]- อากาศยานที่เทียบเท่า
- เฉิงตู เจ-10
- มิโคยัน มิก-29เอ็ม
- ดาโซราฟาล
- ยูโรไฟท์เตอร์ ไทฟูน
- เอฟ-16อี/เอฟ ไฟท์ติ้งฟอลคอน บล็อก 60
- มิตซูบิชิ เอฟ-2
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Stark milstolpe av Gripenprojektet" (Strong milestone by the Gripen project) เก็บถาวร 2009-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สวีเดน) FMV (Swedish Defence Materiel Administration), 27 November 2008.
- ↑ 2.0 2.1 "Fifth Gripen advanced fighter delivered to South Africa." Gripen International, 1 December 2008.
- ↑ "The Gripen Fighter Aircraft", Gripen International.
- ↑ http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000123231[ลิงก์เสีย]
- ↑ 5.0 5.1 Frawley 2002, p. 147.
- ↑ Spick 2000
- ↑ "Gripen − The Story So Far." Gripen International.
- ↑ "Gripen − Milestones" เก็บถาวร 2007-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, FMV (Swedish Defence Materiel Administration).
- ↑ Winchester 2004, p. 216.
- ↑ Williams 2003, p. 73.
- ↑ 11.0 11.1 "Gripen agreement in Norway." Gripen International, 26 April 2007.
- ↑ 12.0 12.1 "Saab offers Danish industry great opportunities." Gripen International, 4 December 2007.
- ↑ "Gripen Demo − Trail-blazing the future", Gripen International, 19 June 2007.
- ↑ Hoyle, Craig. "Saab reveals Gripen Demo aircraft." Flightglobal.com, 23 April 2008.
- ↑ "Gripen Demonstrator – The Future has Arrived!" Gripen International, 23 April 2008.
- ↑ 16.0 16.1 Hoyle, Craig. "Saab's Demo aircraft to highlight Gripen NG capabilities." Flightglobal.com, 25 April 2008.
- ↑ "Gripen Demo makes its maiden flight." Gripen International, 27 May 2007.
- ↑ "Gripen Supercruises." Gripen International, 21 January 2009.
- ↑ Hoyle, Craig."Saab celebrates 'supercruise' test success for Gripen Demo." Flight International, 22 January 2009.
- ↑ "Tactical Data Link technology" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-10-13. สืบค้นเมื่อ 2009-10-20.
- ↑ Lake 2008, p. 2.
- ↑ "The SAAB JAS 39 Gripen." vectorsite.net, 1 October 2007.
- ↑ "Gripen NG to carry new Finmeccanica-Selex radar." upi.com, 16 April 2009.
- ↑ Gripen hardsells new AESA radar, low cost for MMRCA
- ↑ Sweden's SAAB offers advanced radar with Gripen combat jet
- ↑ "Tailor-made for the modern defense budget." Gripen International.
- ↑ "Swedish military aviation OrBat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-06. สืบค้นเมื่อ 2009-10-22.
- ↑ "Czech military aviation OrBat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-30. สืบค้นเมื่อ 2009-10-22.
- ↑ "Hungarian military aviation OrBat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-02. สืบค้นเมื่อ 2009-10-22.
- ↑ 30.0 30.1 Hoyle, Craig. "South Africa fields first Gripen fighter." Flightglobal.com, 8 May 2008.
- ↑ "Thai military aviation OrBat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-27. สืบค้นเมื่อ 2009-10-22.
- ↑ "Gripen NG shortlisted in Brazil." Gripen International, 2 October 2008.
- ↑ Trimble, Stephen. "Brazil names three finalists for F-X2 contract, rejects three others." Flight International, 6 October 2008.
- ↑ "Gripen NG tender for Brazil." Gripen International, 2 February 2009.
- ↑ "Agreement signed between Ministry of Defence of Kingdom of Sweden and Croatian MOD." เก็บถาวร 2009-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Croatian Ministry of Defence On-line, 1 February 2007.
- ↑ "Gripen answer to Croatian request." Gripen International, 9 April 2008.
- ↑ Kucic, Dino. "Saab details Gripen proposal to Croatia." Flightglobal.com, 17 April 2008.
- ↑ "'Financijska kriza odgađa kupovinu borbenih zrakoplova' (Financial crisis postpones purchase of fighter aircraft)" เก็บถาวร 2009-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Militarium, 18 November 2008.
- ↑ "Gripen team responds to Denmark's requirements." Gripen International, 29 November 2007.
- ↑ 40.0 40.1 "Gripen next generation fighter for India - The Independent Choice." Gripen International, 28 April 2008.
- ↑ "Saab opens office in India." Gripen International, 28 January 2009.
- ↑ "Saab leverages India for Gripen Next Generation development." Gripen International, 10 February 2009.
- ↑ "Saab ties up with Tata to develop fighter jet." เก็บถาวร 2009-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน DefenceTalk.com, 10 February 2009.
- ↑ " 'Holland utvärderar Gripen' (Holland evaluates Gripen)." เก็บถาวร 2009-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Dagens Industri, 7 July 2008.
- ↑ "The Netherlands shows interest in Gripen", Gripen International, 25 August 2008.
- ↑ Trimble, Stephen. "Saab proposes 85 Gripen NGs for Netherlands." Flight International, 1 August 2008.
- ↑ Trimble, Stephen. "Dutch military report ranks F-35 superior to rivals." Flight International, 19 December 2008.
- ↑ " 'Även Nederländerna nobbar Gripen' (Netherlands too snubs Gripen)" Göteborgs-Posten, 18 December 2008.
- ↑ "De Vries: JSF is beter dan Gripen" (De Vries: JSF is better than Gripen)" เก็บถาวร 2009-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน NOS.nl, 18 December 2008.
- ↑ "'Saab verrast met prijs opvolger F-16' (Saab surprises with price for F-16 successor) (ดัตช์)." NRC Handelsblad, 13 January 2009.
- ↑ "'Saab doet aantrekkelijk aanbod' (Saab makes an attractive offer)" เก็บถาวร 2009-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Nederlands Dagblad, 13 January 2009.
- ↑ "Switzerland invites Gripen team to bid for F-5 Tiger replacement." Gripen International, 17 January 2008.
- ↑ "Saab offers Gripen to Switzerland." Gripen International, 2 July 2008.
- ↑ Vatahov, Ivan. "Bulgaria receives multi-role offer from Gripen." เก็บถาวร 2009-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน TheSofiaEcho, 4 September 2006.
- ↑ " 'SUA şi UE se intrec să ne doboare MiG-urile' (Replacement of the MiG-21) (โรมาเนีย)." Cotidianul, January 2007.
- ↑ [https://web.archive.org/web/20070717215758/http://www.antena3.ro/Romania-vrea-sa-schimbe-MIG-ul-din-dotare_bss_32634.html เก็บถาวร 2007-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "Romania replaces the MiG-21 (โรมาเนีย)."] เก็บถาวร 2007-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Antena 3, 16 May 2007.
- ↑ "The JAS-39 Gripen: Sweden's 4+ Generation Wild Card", Defense Industry Daily.
- ↑ "Brazil Embarking Upon F-X2 Fighter Program?" Defense Industry Daily.
- ↑ Gripen.com Sweden commits to Gripen’s future
- ↑ "Air force chooses Gripen jets from Sweden". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). 27 Aug 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-08-27.
- ↑ " 'Klart för nya Super-Gripen' (Ready for the new Super-Gripen) (สวีเดน)." E24, 17 April 2007.
- ↑ "Sweden delivers final 3 Gripen fighter aircraft to Hungary." Gripen International, 13 December 2007.
- ↑ "Gripen team on target in South Africa", Gripen International, 13 November 2007.
- ↑ "First Gripen for South Africa Delivered." Gripen International, 8 May 2008.
- ↑ Hoyle, Craig. "Gripen enhancements escape Swedish cutbacks." Flightglobal.com, 7 September 2007.
- ↑ "Sweden commits to Gripen’s future." Gripen International, 17 October 2007.
- ↑ "Saab signs new agreement with UK’s test pilots’ school." Gripen International, 15 February 2008.
- ↑ "Government approves Thailand deal", Gripen International, 25 January 2008.
- ↑ "Thailand to buy six Swedish Gripen fighters." Reuters, 17 October 2007.
- ↑ "Thailand selects Gripen and Erieye", Gripen International, 17 October 2007.
- ↑ "Gripen agreement between Sweden and Thailand signed." Gripen International, 11 February 2008.
- ↑ Hoyle, Craig. "Thailand signs contract for six Saab Gripen fighters." Flightglobal.com, 15 February 2008.
- ↑ "Press Release on Gripen program." เก็บถาวร 2010-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Royal Thai Air Force.
- ↑ "Thai Air Force gets okay for six more Grippen fighters." เก็บถาวร 2012-05-24 ที่ archive.today DPA, 12 February 2009.
- ↑ "Gripen Technical Summary." Gripen International.
- ↑ "'Gripen para o Brasil' (Gripen for Brazil) (โปรตุเกส)" Gripen International, p. 6.
- ↑ Williams 2003, p. 90.
- ↑ JAS-39 Gripen Supersonic Aircraft, Czech Republic.
- ↑ "Gripen weapons." Gripen International.
- ↑ Spick 2000, p. 431.
- ↑ "Combat radius on p. 39, B1." เก็บถาวร 2009-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Defence University, SwAF Air Tactical Command.
- ↑ Gripen International Gripen agreement between Sweden and Thailand signed.
บรรณานุกรม
[แก้]- Frawley, Gerard. The International Directory of Military Aircraft, 2002-2003. London: Aerospace Publications Pty Ltd, 2002. ISBN 1-875671-55-2.
- Griffiths, Dave. "AFM Evaluates the Gripen." Air Forces Monthly, No. 144, March 2000.
- Lake, Jon. "Gripen C/D" (Supplement). Air International. London: Key Publishing Ltd., July 2008.
- Lindqvist, Gunnar and Bo Widfeldt. Rikets flygplanköp - JAS 39 Gripen (สวีเดน). Nässjö, Sweden: Air Historic Research AB, 2003. ISBN 91-973892-5-0.
- Spick, Mike. "Saab JAS 39 Gripen". The Great Book of Modern Warplanes. St. Paul, Minnesota: MBI Publishing Company, 2000. ISBN 0-7603-0893-4.
- Williams, Mel (ed.). Superfighters, The Next Generation of Combat Aircraft. London: AIRtime, 2003. ISBN 1-880588-53-6.
- Winchester, Jim (ed.). "Saab JAS 39 Gripen." Modern Military Aircraft (Aviation Factfile). Rochester, Kent, UK: Grange Books plc, 2004. ISBN 1-84013-640-5.