ฮานีว
ฮานีว 羽生市 | |
---|---|
| |
ที่ตั้งของฮานีว (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดไซตามะ | |
พิกัด: 36°10′21.5″N 139°32′54.5″E / 36.172639°N 139.548472°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันโต |
จังหวัด | ไซตามะ |
การปกครอง | |
• ประเภท | เทศบาลนคร |
• นายกเทศมนตรี | โคเม วากาตะ (河田 晃明) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 58.64 ตร.กม. (22.64 ตร.ไมล์) |
ประชากร (1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024)[1] | |
• ทั้งหมด | 52,178 คน |
• ความหนาแน่น | 890 คน/ตร.กม. (2,300 คน/ตร.ไมล์) |
สัญลักษณ์ | |
• ต้นไม้ | หอมหมื่นลี้ |
• ดอกไม้ | วีสเตียเรียญี่ปุ่น |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
รหัสท้องถิ่น | 11216-0 |
โทรศัพท์ | 048-561-1121 |
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 6-15 ฮิงาชิ นครฮานีว จังหวัดไซตามะ 348-8601 |
เว็บไซต์ | www |
ฮานีว (ญี่ปุ่น: 羽生市; โรมาจิ: Hanyū-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ 58.64 ตารางกิโลเมตร (22.64 ตารางไมล์) มีจำนวนประชากร ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 ประมาณ 52,178 คน ความหนาแน่นของประชากร 890 คนต่อตารางกิโลเมตร[1][2]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ฮานีวตั้งอยู่ทางตอนเหนือของของจังหวัดไซตามะ โดยมีแม่น้ำโทเนะเป็นแนวอาณาเขตทางด้านทิศเหนือ โดยก่อนที่แม่น้ำจะถูกเปลี่ยนเส้นทางมาตามเส้นทางปัจจุบันเพื่อป้องกันน้ำท่วม แม่น้ำนี้เคยไหลผ่านตัวเมืองฮานีวมาก่อน แม่น้ำโทเนะเคยใช้เป็นเส้นทางขนส่งสิ่งทอที่ผลิตในท้องถิ่นและสินค้าที่มาจากตอนบนของแม่น้ำ ปัจจุบัน เหลือเพียงคลองชลประทานในตำแหน่งใกล้เคียงกับเส้นทางเดิมของแม่น้ำ ในสมัยก่อนฮานีวมีความเจริญรุ่งเรืองเนื่องจากเป็นจุดพักระหว่างการเดินทางไกลไปยังโตเกียว
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]ภูมิศาสตร์
[แก้]ฮานีวมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเด่นคือฤดูร้อนที่อบอุ่น และฤดูหนาวเย็นสบาย มีหิมะตกเล็กน้อยถึงไม่มีเลย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในฮานีวอยู่ที่ 14.6 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,300 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 26.7 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 3.4 องศาเซลเซียส[3]
สถิติประชากร
[แก้]ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[4] ประชากรของฮานีวมีจำนวนสูงสุดเมื่อประมาณ ค.ศ. 2000 และลดลงเล็กน้อยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1920 | 30,930 | — |
1930 | 32,714 | +5.8% |
1940 | 33,570 | +2.6% |
1950 | 42,623 | +27.0% |
1960 | 43,900 | +3.0% |
1970 | 45,001 | +2.5% |
1980 | 48,488 | +7.7% |
1990 | 53,764 | +10.9% |
2000 | 57,499 | +6.9% |
2010 | 56,204 | −2.3% |
2020 | 52,862 | −5.9% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านฮานีวขึ้นภายในอำเภอคิตาไซตามะ จังหวัดไซตามะ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1954 หมู่บ้านฮานีวได้ควบรวมกับหมู่บ้านใกล้เคียง ได้แก่ ชิงโง ซูกาเงะ อิวาเซะ คาวามาตะ อีซูมิ และเทโงบายาชิ และยกฐานะขึ้นเป็นนครฮานีว หมู่บ้านชิโยดะได้ถูกผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนครฮานีวเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1959
การเมืองการปกครอง
[แก้]นครฮานีวมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี-สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียวซึ่งมีสมาชิกจำนวน 14 คน ในแง่ของการเมืองระดับจังหวัด นครฮานีวเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดไซตามะจำนวน 1 คน และในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครฮานีวเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 12 จังหวัดไซตามะ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
[แก้]อุตสาหกรรมดั้งเดิมของฮานีวได้แก่ การย้อมสิ่งทอ และการผลิตเสื้อผ้า พื้นที่นี้ในยุคเอโดะมีชื่อเสียงในเรื่องการผลิตคราม นอกจากนี้ ฮานีวยังเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท อาเคโบโน เบรค (Akebono Brake Industry)
การศึกษา
[แก้]นครฮานีวมีโรงเรียนประถมศึกษา 11 แห่ง และโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 3 แห่ง ที่สังกัดเทศบาลนครฮานีว และโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 แห่ง ที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดไซตามะ นอกจากนี้ ทางจังหวัดไซตามะยังเปิดโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับผู้พิการอีก 1 แห่งในนครฮานีว
นครฮานีวเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยอาชีวศึกษาไซตามะจุนชิง (埼玉純真短期大学) ซึ่งเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]- รถไฟโทบุ: สายโทบุอิเซซากิ
- สถานี: มินามิฮานีว – ฮานีว
- รถไฟชิจิบุ: สายหลักชิจิบุ
ทางหลวง
[แก้]- ทางด่วนโทโฮกุ – ทางแยกต่างระดับฮานีว, จุดพักรถฮานีว
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 122
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 125
สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น
[แก้]- พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำไซตามะ
เมืองพี่น้อง
[แก้]- บาเกียว จังหวัดเบงเก็ต ประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งแต่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969[5]
- คาเนยามะ จังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเมืองมิตรภาพตั้งแต่ ค.ศ. 1982
- ดูร์บุย (Durbuy) จังหวัดลักเซมเบิร์ก ประเทศเบลเยียม ตั้งแต่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994[5]
- มิลล์เบร (Millbrae) รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ ตั้งแต่ ค.ศ. 2014[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "埼玉県推計人口" [จำนวนประชากรโดยประมาณของจังหวัดไซตามะ]. เว็บไซต์จังหวัดไซตามะ. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2024.
- ↑ "Hanyū city official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
- ↑ ข้อมูลภูมิอากาศฮานีว
- ↑ สถิติประชากรฮานีว
- ↑ 5.0 5.1 "International Exchange". List of Affiliation Partners within Prefectures (ภาษาอังกฤษ). Council of Local Authorities for International Relations (CLAIR). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2016. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.
- ↑ "Consulate-General of Japan in San Francisco".
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการของนครฮานีว (ในภาษาญี่ปุ่น)