มิยาชิโระ
มิยาชิโระ 宮代町 | |
---|---|
ศาลาว่าการเมืองมิยาชิโระ | |
ที่ตั้งของมิยาชิโระ (เน้นสีเหลือง) ในจังหวัดไซตามะ | |
พิกัด: 36°1′21.6″N 139°43′21.8″E / 36.022667°N 139.722722°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันโต |
จังหวัด | ไซตามะ |
อำเภอ | มินามิไซตามะ |
การปกครอง | |
• ประเภท | เทศบาลเมือง |
• นายกเทศมนตรี | ยาซูยูกิ อาราอิ 新井 康之) (อิสระ) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 15.95 ตร.กม. (6.16 ตร.ไมล์) |
ประชากร (1 ธันวาคม ค.ศ. 2024)[1] | |
• ทั้งหมด | 33,753 คน |
• ความหนาแน่น | 2,116 คน/ตร.กม. (5,480 คน/ตร.ไมล์) |
สัญลักษณ์ | |
• ต้นไม้ | Castanopsis |
• ดอกไม้ | Magnolia denudata |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
รหัสท้องถิ่น | 11442-1 |
โทรศัพท์ | 0480-34-1111 |
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 1-4-1 คาซาฮาระ เมืองมิยาชิโระ อำเภอมินามิไซตามะ จังหวัดไซตามะ 345-8504 |
เว็บไซต์ | www |
มิยาชิโระ (ญี่ปุ่น: 宮代町; โรมาจิ: Miyashiro-machi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในอำเภอมินามิไซตามะ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ 15.95 ตารางกิโลเมตร (6.16 ตารางไมล์) ณ วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2024 เมืองนี้มีจำนวนประชากรประมาณ 33,753 คน ความหนาแน่นของประชากร 2,116 คนต่อตารางกิโลเมตร[1][2]
ภูมิศาสตร์
[แก้]เมืองมิยาชิโระตั้งอยู่ในตอนกลาง-ตะวันออกของจังหวัดไซตามะ
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]ภูมิอากาศ
[แก้]เมืองมิยาชิโระมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเด่นคือ ฤดูร้อนที่อบอุ่น และฤดูหนาวที่เย็นสบาย มีหิมะตกเล็กน้อยถึงไม่มีเลย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในมิยาชิโระอยู่ที่ 14.5 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,408 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 26.3 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 2.7 °C[3]
สถิติประชากร
[แก้]จากข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[4] จำนวนประชากรของเมืองมิยาชิโระมีแนวโน้มคงที่ หลังจากเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1920 | 6,836 | — |
1930 | 7,116 | +4.1% |
1940 | 7,584 | +6.6% |
1950 | 10,463 | +38.0% |
1960 | 11,115 | +6.2% |
1970 | 16,656 | +49.9% |
1980 | 29,537 | +77.3% |
1990 | 33,837 | +14.6% |
2000 | 35,193 | +4.0% |
2010 | 33,641 | −4.4% |
2020 | 34,147 | +1.5% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านมมมะและซูกะขึ้นภายในอำเภอมินามิไซตามะ จังหวัดไซตามะ หมู่บ้านทั้งสองถูกควบรวมกันเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1955 เพื่อจัดตั้งเป็นเมืองมิยาชิโระ ที่มาของชื่อเมืองมาจากศาลเจ้า 2 แห่ง โดยคำว่า "มิยะ" (宮) มาจากศาลเจ้าฮิเมมิยะ (姫宮神社) ในหมู่บ้านมมมะ และคำว่า "ชิโระ" (代) มาจากศาลเจ้าโคโนชิโระ (身代神社) ในหมู่บ้านซูกะ
การเมืองการปกครอง
[แก้]เมืองมิยาชิโระมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี-สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาเมืองเป็นฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียวซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 14 คน ในแง่ของการเมืองระดับจังหวัด เมืองมิยาชิโระกับนครชิราโอกะรวมกันเป็นเขตเลือกตั้งหนึ่งที่ส่งสมาชิกสภาจังหวัดไซตามะจำนวน 1 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ เมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 11 จังหวัดไซตามะ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
[แก้]เศรษฐกิจของมิยาชิโระอยู่ในภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก
การศึกษา
[แก้]- เมืองมิยาชิโระมีโรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 3 แห่ง ซึ่งสังกัดเทศบาลเมืองมิยาชิโระ และมีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 1 แห่ง ซึ่งสังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดไซตามะ นอกจากนี้ ทางจังหวัดไซตามะยังเปิดโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับผู้พิการอีก 1 แห่งในเมืองมิยาชิโระ
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งนิปปง (ญี่ปุ่น: 日本工業大学; โรมาจิ: Nippon Kōgyō Daigaku; อังกฤษ: Nippon Institute of Technology) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองมิยาชิโระ จังหวัดไซตามะ ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1967
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]- รถไฟโทบุ: สายอิเซซากิ/สายสกายทรี
- สถานี: ฮิเมมิยะ – โทบุโดบุตสึโคเอ็ง – วาโดะ
- รถไฟโทบุ: สายนิกโก
- สถานี: โทบุโดบุตสึโคเอ็ง
ทางหลวง
[แก้]เมืองมิยาชิโระไม่มีทางหลวงแผ่นดินหรือทางด่วนสายใดผ่าน
สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น
[แก้]- สวนสัตว์โทบุ (ญี่ปุ่น: 東武動物公園; โรมาจิ: Tōbu Dōbutsu Kōen) - สวนสัตว์และสวนสนุกซึ่งเป็นของกลุ่มบริษัทโทบุ
บุคคลและสัตว์ที่มีชื่อเสียง
[แก้]- เกรปคุง (ญี่ปุ่น: グレープ君; โรมาจิ: Gurēpu-kun) - เพนกวินฮุมบ็อลท์ (Spheniscus humboldti)
- มาริโกะ โคดะ - นักพากย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "埼玉県推計人口" [จำนวนประชากรโดยประมาณของจังหวัดไซตามะ]. เว็บไซต์จังหวัดไซตามะ. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2024.
- ↑ "สถิติทางการของเมืองมิยาชิโระ" (ภาษาญี่ปุ่น). ประเทศญี่ปุ่น.
- ↑ ข้อมูลภูมิอากาศมิยาชิโระ
- ↑ สถิติประชากรมิยาชิโระ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการของเมืองมิยาชิโระ (ในภาษาญี่ปุ่น)