ข้ามไปเนื้อหา

วาโก

พิกัด: 35°46′52.4″N 139°36′20.5″E / 35.781222°N 139.605694°E / 35.781222; 139.605694
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วาโก

和光市
ศาลาว่าการนครวาโก
ศาลาว่าการนครวาโก
ธงของวาโก
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของวาโก
ตรา
ที่ตั้งของวาโก (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดไซตามะ
ที่ตั้งของวาโก (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดไซตามะ
แผนที่
วาโกตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
วาโก
วาโก
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°46′52.4″N 139°36′20.5″E / 35.781222°N 139.605694°E / 35.781222; 139.605694
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัด ไซตามะ
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีมิตสึโกะ ชิบาซากิ (柴﨑 光子) (อิสระ)
พื้นที่
 • ทั้งหมด11.04 ตร.กม. (4.26 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด84,827 คน
 • ความหนาแน่น7,684 คน/ตร.กม. (19,900 คน/ตร.ไมล์)
สัญลักษณ์
 • ต้นไม้แปะก๊วย
 • ดอกไม้ซัตสึกิอาซาเลีย
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
โทรศัพท์048-464-1111
ที่อยู่ศาลาว่าการ1-5 ฮิโรซาวะ นครวาโก จังหวัดไซตามะ 351-0192
เว็บไซต์www.city.wako.lg.jp

วาโก (ญี่ปุ่น: 和光市โรมาจิWakō-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 11.04 ตารางกิโลเมตร (4.26 ตารางไมล์) มีจำนวนประชากร ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 ประมาณ 84,827 คน มีความหนาแน่นของประชากร 7,684 คนต่อตารางกิโลเมตร[1][2]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

นครวาโกตั้งอยู่บนเขตแดนทางใต้ของจังหวัดไซตามะ ทิศใต้ติดกับเขตเนริมะและทิศตะวันออกติดกับเขตอิตาบาชิของโตเกียว ลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่บนที่ราบสูงมูซาชิโนะ โดยมีแม่น้ำชิราโกะไหลตามแนวเขตแดนที่ติดกับเขตอิตาบาชิ และมีแม่น้ำอารากาวะและแม่น้ำชิงงาชิอยู่ทางตอนเหนือสุดของเมือง

เทศบาลและเขตข้างเคียง

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

นครวาโกมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเด่นคือ ฤดูร้อนที่อบอุ่น และฤดูหนาวที่เย็นสบาย มีหิมะตกเล็กน้อยถึงไม่มีเลย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในวาโกอยู่ที่ 14.4 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,647 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 26.2 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 2.7 °C[3]

สถิติประชากร

[แก้]

ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[4] จำนวนประชากรของนครวาโกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 80 ปีที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1920 4,409—    
1930 4,700+6.6%
1940 5,572+18.6%
1950 10,240+83.8%
1960 17,242+68.4%
1970 39,512+129.2%
1980 49,713+25.8%
1990 56,890+14.4%
2000 70,170+23.3%
2010 80,744+15.1%
2020 83,989+4.0%

ประวัติศาสตร์

[แก้]

จากการตรวจสอบทางโบราณคดีในพื้นที่หลายแห่งรอบ ๆ นครวาโก ได้มีการเปิดเผยซากหมู่บ้านหลายแห่งในพื้นที่ โดยพบเครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือหิน และซากอื่น ๆ จากยุคโจมงจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบร่องรอยการปลูกข้าวในสมัยแรก ๆ ซึ่งตรงกับยุคยาโยอิ ตลอดจนเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องมือในยุคยาโยอิจำนวนมาก พื้นที่ของวาโกในปัจจุบันเริ่มพัฒนาจาก "ชิราโกะจูกุ" ตั้งแต่ยุคมูโรมาจิ ซึ่งเป็นชูกูบะหรือสถานีพักแรมระหว่างเดินทางขนส่งสินค้าบนเส้นทางสายคาวาโงเอะไคโด

เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านชิราโกะและหมู่บ้านนีกูระขึ้นในอำเภอนีกูระ จังหวัดไซตามะ ซึ่งต่อมาอำเภอนีกูระถูกยุบไปใน ค.ศ. 1894 และกลายเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอคิตาอาดาจิ หมู่บ้านทั้งสองถูกควบรวมกันเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1943 กลายเป็นเมืองยามาโตะ เมืองยามาโตะได้รับการยกฐานะเป็นนครเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1970 และเปลี่ยนชื่อเป็นนครวาโก

การเมืองการปกครอง

[แก้]

นครวาโกมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี-สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียวซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 18 คน ในแง่ของการเมืองระดับจังหวัด นครวาโกเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดไซตามะจำนวน 1 คน และในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครวาโกเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดไซตามะ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ

[แก้]

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องด้วยตำแหน่งที่ตั้งของนครวาโกที่อยู่ติดกับมหานครโตเกียว จำนวนประชากรจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในฐานะเมืองที่ผู้คนใช้สัญจรไปกลับที่ทำงาน เมืองนี้ได้พัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมจากการก่อสร้างโรงงานของบริษัทฮอนด้ามอเตอร์ (ปัจจุบันปิดตัวลงแล้ว แต่ศูนย์วิจัยและพัฒนาของฮอนด้ายังคงอยู่ในเมืองวาโก) สำนักงานใหญ่ของริเก็ง (RIKEN) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติขนาดใหญ่ในญี่ปุ่นก็ตั้งอยู่ในเมืองนี้เช่นกัน

การศึกษา

[แก้]

นครวาโกมีโรงเรียนประถมศึกษา 8 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 3 แห่งที่สังกัดเทศบาลนครวาโก และมีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2 แห่งที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดไซตามะ นอกจากนี้ ทางจังหวัดยังเปิดโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับผู้พิการอีก 2 แห่งอีกด้วย

การขนส่ง

[แก้]

รถไฟ

[แก้]

ทางหลวง

[แก้]

เมืองพี่น้อง

[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "埼玉県推計人口" [จำนวนประชากรโดยประมาณของจังหวัดไซตามะ]. เว็บไซต์จังหวัดไซตามะ. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2024.
  2. "สถิติทางการของนครวาโก" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-02. สืบค้นเมื่อ 2021-02-16.
  3. ข้อมูลภูมิอากาศวาโก
  4. สถิติประชากรวาโก
  5. "和光市/International Affairs". www.city.wako.lg.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]