นางาโตโระ
นางาโตโระ 長瀞町 | |
---|---|
| |
ที่ตั้งของนางาโตโระ (เน้นสีเหลือง) ในจังหวัดไซตามะ | |
พิกัด: 36°6′53.3″N 139°6′35″E / 36.114806°N 139.10972°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันโต |
จังหวัด | ไซตามะ |
อำเภอ | ชิจิบุ |
การปกครอง | |
• ประเภท | เทศบาลเมือง |
• นายกเทศมนตรี | ทากิเอะ โอซาวะ (大澤 タキ江) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 30.43 ตร.กม. (11.75 ตร.ไมล์) |
ประชากร (1 ธันวาคม ค.ศ. 2024)[1] | |
• ทั้งหมด | 6,295 คน |
• ความหนาแน่น | 207 คน/ตร.กม. (540 คน/ตร.ไมล์) |
สัญลักษณ์ | |
• ต้นไม้ | เมเปิล |
• ดอกไม้ | ซากูระ |
• นก | นกเด้าลม |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
รหัสท้องถิ่น | 11363-8 |
โทรศัพท์ | 0494-66-3111 |
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 1035-1 โอจิฮนโนงามิ เมืองนางาโตโระ อำเภอชิจิบุ จังหวัดไซตามะ 369-1392 |
เว็บไซต์ | www |
นางาโตโระ (ญี่ปุ่น: 長瀞町; โรมาจิ: Nagatoro-machi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในอำเภอชิจิบุ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 30.43 ตารางกิโลเมตร (11.75 ตารางไมล์) ณ วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2024 เมืองนี้มีประชากรประมาณ 6,295 คน ความหนาแน่นของประชากร 207 คนต่อตารางกิโลเมตร[1][2] เมืองนางาโตโระมีแม่น้ำนางาโตโระซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องการล่องแก่ง และพื้นที่ทั้งหมดของเมืองได้รับการกำหนดให้เป็นเขตอุทยานธรรมชาติและเขตอนุรักษ์ของจังหวัดไซตามะ
ภูมิศาสตร์
[แก้]เมืองนางาโตโระตั้งอยู่บนพื้นที่ภูเขาทางตะวันตกของจังหวัดไซตามะ บริเวณต้นน้ำของแม่น้ำอารากาวะ
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]ภูมิอากาศ
[แก้]เมืองนางาโตโระมีภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเด่นคือฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่เย็นสบายโดยมีหิมะตกเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 12.8 °C.ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 2,222 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 24.1 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 1.6 °C[3]
สถิติประชากร
[แก้]ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[4] พบว่าจำนวนประชากรของเมืองนางาโตโระลดลงเล็กน้อยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1950 | 8,896 | — |
1960 | 8,072 | −9.3% |
1970 | 8,275 | +2.5% |
1980 | 8,908 | +7.6% |
1990 | 8,906 | −0.0% |
2000 | 8,560 | −3.9% |
2010 | 7,910 | −7.6% |
2020 | 6,807 | −13.9% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านนางามิขึ้นภายในอำเภอชิจิบุ จังหวัดไซตามะ และได้รับการยกฐานะเป็นเมืองนางามิเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1940 เมืองนี้ได้ผนวกรวมหมู่บ้านใกล้เคียงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ได้แก่ หมู่บ้านฮิงูจิ และบางส่วนของหมู่บ้านชิราโตริ เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1943 และเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองนางาโตโระเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1971 ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 เมืองนางาโตโระได้ขยายอาณาเขตโดยผนวกรวมหมู่บ้านใกล้เคียง ได้แก่ โอริฮาระ ฮาจิงาตะ โอบูซูมะ และโยโดะ
การเมืองการปกครอง
[แก้]เมืองนางาโตโระมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี-สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาเมืองเป็นฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียวซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 10 คน ในแง่ของการเมืองระดับจังหวัด เมืองนางาโตโระร่วมกับหมู่บ้านฮิงาชิจิจิบุ เมืองมินาโนะ เมืองโองาโนะ และเมืองโยโกเซะ เป็นเขตเลือกตั้งหนึ่งที่ส่งสมาชิกสภาจังหวัดไซตามะจำนวน 1 คน และในแง่ของการเมืองระดับชาติ เมืองนางาโตโระเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 11 ของจังหวัดไซตามะ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
[แก้]แหล่งรายได้หลักของเมืองนางาโตโระมาจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
การศึกษา
[แก้]เมืองนางาโตโระมีโรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่งและโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 1 แห่งที่สังกัดเทศบาลเมืองนางาโตโระ เมืองนี้ไม่มีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]- รถไฟชิจิบุ: สายหลักชิจิบุ
- สถานี: ฮิงูจิ – โนงามิ – นางาโตโระ – คามินางาโตโระ
- โฮโดซังโรปเวย์ (กระเช้าลอยฟ้า)
ทางหลวง
[แก้]สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- หุบเขานางาโตโระ (นางาโตโระเคโกกุ)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "埼玉県推計人口" [จำนวนประชากรโดยประมาณของจังหวัดไซตามะ]. เว็บไซต์จังหวัดไซตามะ. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2025.
- ↑ "สถิติทางการของเมืองนางาโตโระ" (ภาษาญี่ปุ่น). ประเทศญี่ปุ่น.
- ↑ ข้อมูลภูมิอากาศเมืองนางาโตโระ
- ↑ สถิติประชากรเมืองนางาโตโระ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Nagatoro, Saitama
- เว็บไซต์ทางการของเมืองนางาโตโระ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- สมาคมการท่องเที่ยวเมืองนางาโตโระ (ในภาษาอังกฤษ)
- องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวพื้นที่ชิจิบุ (ในภาษาอังกฤษ)