ข้ามไปเนื้อหา

กว่างโจว

พิกัด: 23°07′55″N 113°15′58″E / 23.132°N 113.266°E / 23.132; 113.266
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Guangzhou)
กว่างโจว

广州市

แคนตัน, กวางเจา
สมญา: 
นครแกะ, นครแห่งดอกไม้
แผนที่
ที่ตั้งของนครกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้ง
ที่ตั้งของนครกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้ง
กว่างโจวตั้งอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง
กว่างโจว
กว่างโจว
ที่ตั้งของใจกลางเมืองในมณฑลกวางตุ้ง
กว่างโจวตั้งอยู่ในประเทศจีน
กว่างโจว
กว่างโจว
กว่างโจว (ประเทศจีน)
พิกัด (ศูนย์ราชการมณฑลกวางตุ้ง): 23°07′55″N 113°15′58″E / 23.132°N 113.266°E / 23.132; 113.266
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลกวางตุ้ง
ศูนย์กลางการปกครองเขตเยว่ซิ่ว
การปกครอง
 • ประเภทนครกึ่งมณฑล
 • เลขาธิการพรรคจาง ชั่วฝู่ (张硕辅)
 • นายกเทศมนตรีเวิน กั๋วฮุย (温国辉)
พื้นที่[1]
 • นครระดับจังหวัดและนครระดับกิ่งมณฑล7,434.4 ตร.กม. (2,870.4 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง3,843.43 ตร.กม. (1,483.96 ตร.ไมล์)
ความสูง21 เมตร (68 ฟุต)
ประชากร
 (ปลาย ค.ศ. 2018)[2]
 • นครระดับจังหวัดและนครระดับกิ่งมณฑล14,904,400 คน
 • ความหนาแน่น2,000 คน/ตร.กม. (5,200 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง[3]11,547,491 คน
 • รวมปริมณฑล[4]25,000,000 คน
เดมะนิมชาวกวางตุ้ง, Cantonese
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์510000
รหัสพื้นที่(0)20
รหัส ISO 3166CN-GD-01
GDP (ราคาตลาด)[5]ค.ศ. 2018
 - ทั้งหมด¥2.3 ล้านล้าน
$347 พันล้าน
 - ต่อหัว¥158,638
$23,963
 - เติบโตเพิ่มขึ้น 6.5%
ป้ายทะเบียนรถ粤A
ดอกไม้ประจำนครงิ้ว
นกประจำนครนกกะรางเสียงเพราะ
ภาษาภาษากวางตุ้งมาตรฐาน, ภาษาจีนกลาง
เว็บไซต์english.gz.gov.cn
กว่างโจว
"กว่างโจว" เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ (บน) และอักษรจีนตัวเต็ม (ล่าง)
อักษรจีนตัวย่อ广州
อักษรจีนตัวเต็ม廣州
ฮั่นยฺหวี่พินอินGuǎngzhōu
เยลกวางตุ้งGwóngjāu
ไปรษณีย์
  • Canton
  • Kwangchow
ความหมายตามตัวอักษร"จังหวัด/รัฐที่กว้างขวาง"
ชื่อย่อ
ภาษาจีน
ฮั่นยฺหวี่พินอินSuì
เยลกวางตุ้งSeuih

กว่างโจว[6] กวางโจว หรือ กวางเจา[7] (จีนตัวเต็ม: 廣州, จีนตัวย่อ: 广州 Guǎngzhōu หรือ Gwong2 zau1 ในภาษาจีนกวางตุ้ง) เป็นเมืองหลวงของมณฑลกวางตุ้ง กว่างโจวเป็นเมืองใหญ่สุดทางภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นมณฑลซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 3 แห่งของจีน คือ เซินเจิ้น จูไห่ และ ซัวเถา เมืองกว่างโจวตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำจู และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ของจีน มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,200 ปี เป็นปลายทางที่สำคัญของเส้นทางสายไหมในอดีต และยังเคยเป็นเมืองท่าเสรีแห่งแรกและแห่งเดียวที่เปิดต้อนรับชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อค้าขาย กว่างโจวเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับห้าของประเทศจีนรองจาก เซี่ยงไฮ้, ปักกิ่ง, เชินเจิ้น และ ฉงชิ่ง

ท่าเรือกวางโจวทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของกวางโจว ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน[8] กว่างโจวถูกอังกฤษยึดครองในช่วงสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง และการผูกขาดทางการค้าลดลงภายหลังสงคราม ด้วยเหตุนี้จึงสูญเสียอิทธิพลทางการค้าไปยังท่าเรืออื่น ๆ เช่น ฮ่องกง และ เซี่ยงไฮ้ แต่ยังคงสถานะศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญในภูมิภาคต่อไป ภายหลังสงครามชื่นปีครั้งที่สองระหว่างกองกำลังอังกฤษและจีน มีการลงนามในสนธิสัญญานานกิงระหว่างรอเบิร์ต พีลในนามสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และหลิน เจ๋อสฺวีในนามจักรพรรดิเต้ากวัง ด้วยข้อตกลงยกฮ่องกงให้แก่สหราชอาณาจักรในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1841 ภายใต้อนุสัญญาชวานปี๋[9]

กว่างโจวเป็นศูนย์กลางของเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ซึ่งเป็นเขตเมืองใหญ่ที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และขยายไปสู่เมืองใกล้เคียง ได้แก่ ฝัวชาน, ตงกว่าน, จงชาน, เชินเจิ้น และยังครอบคลุมพื่นที่ไปยังเจียงเหมิน, ฮุ่ยโจว, จูไห่ และมาเก๊าของโปรตุเกส ซึ่งรวมตัวกันเป็นสังคมเมืองที่ใหญ่ที่สุดของโลกด้วยประชากรกว่า 70 ล้านคน[10] และเป็นส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจู ในแง่การปกครอง เมืองนี้มีสถานะเป็นหนึ่งในเขตการปกครองระดับกิ่งมณฑล และเป็นหนึ่งในเก้าเมืองศูนย์กลางของประเทศจีน[11] ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 และต้นทศวรรษ 2000 มีการอพยพของประชากรแอฟริกาใต้สะฮารา ซึ่งตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายังกวางโจวจำนวนมากอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อันเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540[12] ประชากรผู้ย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดอื่น ๆ ในจีนคิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมดในกว่างโจวในปี 2008 กว่างโจวเป็นที่ตั้งของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาแพงที่สุดในประเทศจีน[13] จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2020 มีจำนวนประชากรที่จดทะเบียนในเขตเมืองอยู่ที่ 18,676,605 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 47 จากการสำรวจในปี 2010) โดย 16,492,590 คนอาศัยอยู่ใน 9 เขตเมือง (ยกเว้นฉงฮั่วและเจิงเฉิง)[14] ข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศตั้งแต่การระบาดทั่วของโควิด-19 ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน ซึ่งเป็นท่าอากาศยานหลักของกว่างโจว กลายเป็นท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนผู้โดยสารในช่วงสั้น ๆ ใน ค.ศ. 2020[15]

กว่างโจวเป็นที่รู้จักดีสำหรับงานแคนตันแฟร์ประจำปี งานแสดงสินค้าที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในประเทศจีน เมืองนี้ได้รับการจัดอันดับโดยฟอบส์ในฐานะเมืองการค้าที่ดีที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่สามปีติดต่อกัน (ค.ศ. 2013–2015)[16] กว่างโจวได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองอัลฟ่า (เมืองชั้นหนึ่งของโลก) ร่วมกับซานฟรานซิสโกและสต็อกโฮล์ม ปัจจุบันกว่างโจวมีบทบาทเป็นเมืองในเขตเศรษฐกิจการค้าที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในภาคใต้ของจีน และยังได้รับสถานะเป็นหนึ่งในสามเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของจีน และหนึ่งในศูนย์กลางทางการค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และอยู่ในอันดับ 21 จากการจัดอันดับโดยดัชนีศูนย์กลางการเงินโลก (Global Financial Centres Index) ในฐานะเมืองนานาชาติที่สำคัญ กว่างโจวได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติและระดับประเทศมากมาย โดยที่โดดเด่นที่สุดคือเอเชียนเกมส์ 2010, เอเชียนพาราเกมส์ 2010 และบาสเกตบอลชิงแชมป์โลก 2019 เมืองนี้ยังเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีน เป็นที่ตั้งของคณะผู้แทนต่างประเทศมากถึง 65 ประเทศ ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับสามในจีนรองจากปักกิ่ง และเซี่ยงไฮ้ และใน ค.ศ. 2020 กว่างโจวเป็นเมืองที่มีจำนวนมหาเศรษฐีอาศัยอยู่มากเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 5 ในประเทศจีนรองจากปักกิ่ง, เซี่ยงไฮ้, ฮ่องกง และเชินเจิ้่นจากการสำรวจโดยสถาบันวิจัยหูรุ่น และยังเป็นหนึ่งในศูนย์กลางด้านการวิจัยและพัฒนาอันดับ 8 ของโลก และอันดับ 4 ในเอเชียแปซิฟิก[17] และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชั้นหนึ่งของโลกรวมถึงมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ประวัติศาสตร์ของกว่างโจวมีมายาวนาน ก่อนราชวงศ์ฉิน มีชื่อเรียกว่า พานยวี๋ เมื่อถึงปี พ.ศ. 769 (ค.ศ. 226) จึงเริ่มเรียกว่า กว่างโจว ที่นี่มีแม่น้ำจู ไหลผ่านกลางเมือง จึงมีการจราจรทางน้ำที่สะดวกยิ่ง ตั้งแต่สมัย ราชวงศ์ฮั่น เป็นต้นมา มีเรือจากกว่างโจว เดินทางไปยังที่ต่าง ๆ จนถึงราชวงศ์ถัง กว่างโจวได้กลายเป็น เมืองท่าที่มีชื่อเสียงของโลก มีการค้ากับต่างประเทศอย่างมั่งคั่งเป็นพิเศษ ผลิตภัณฑ์จากทางภาคใต้ของ ประเทศจีน เช่น ผ้าไหม ใบชา เป็นต้น ได้กลายเป็นสินค้าส่งออกจากที่นี่ เรือสินค้าของต่างชาติก็มาที่นี่เป็น จำนวนมากเช่นกัน

มีสถานที่ทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ภายในตัวเมืองมีวัดชื่อ กวงเซี่ยวซื่อ เป็นโบราณสถาน ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยราชวงศ์ ฮั่น เคยเป็นที่ประทับของ ฮ่องเต้ หนานเยว่ แห่งยุคฮั่นตะวันตก จนมา ถึงยุคฮั่นตะวันออก จึงได้กลายเป็นวัด ยังมีวัดอีกแห่งหนึ่งชื่อ ลิ่วหรงซื่อ ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ. 1080 (ค.ศ. 537) เดิมมิใช่ชื่อนี้ จนถึงสมัยราชวงศ์ ซ่ง (ราชวงศ์ซ้อง) นักวรรณคดีผู้ยิ่งใหญ่ ชื่อ ซู ซื่อ ได้มาเที่ยวที่นี่ เห็นว่าภายในวัดมีต้น หรง อยู่หกต้น จึงหยิบ พู่กันขึ้นมาเขียนตัวอักษร 2 ตัว ว่า ลิ่ว หรง (ลิ่ว = หก ; หรง = พืชจำพวกต้นไทร) จนถึงราชวงศ์หมิงประชาชนจึงเรียก วัดนี้ว่า ลิ่ว หรง ซื่อ

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ทางเหนือของกว่างโจวมี สวนสาธารณะ ยฺเว่ซิ่ว ที่มีภูมิทัศน์ที่สวยงามยิ่ง เนื้อที่ประมาณ 92 ตร.กม. ภายในสวนมีบริเวณแห่งความงามหลายแห่ง เช่น ภูเขา ยฺเว่ซิ่วซาน ภูเขา อู่หยางซาน ตึก เจิ้น ไห่ โหลว เป็นต้น บนยอดเขายฺเว่ซิ่วซานมีอนุสรณ์สถานเป็นแท่งหินตั้งแท่งหนึ่ง ที่เชิงเขามีอนุสรณ์สถานที่เป็นโถงใหญ่โถงหนึ่ง ทั้งสองแห่งเป็นอนุสรณ์สถานของ ดร. ซุน จง ซาน (ซุนยัดเซ็น) ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ปัจจุบันประชาชนมักจะใช้โถงใหญ่เป็นที่จัดการประชุมหรือจัดการแสดงต่าง ๆ

ชานเมืองด้านเหนือของกว่างโจว มีภูเขาสูง 382 เมตร ชื่อ ไป๋ ยฺหวิน ซาน เป็นชื่อตามลักษณะที่มักจะมีเมฆสีขาวปกคลุมที่ยอดเขาเสมอ (ไป๋ = สีขาว ; ยฺหวิน = เมฆ) บนภูเขามีต้นไม้สูง รวมทั้งพืชพันธุ์ดอกไม้และต้นหญ้า มีน้ำใส หน้าผาสีแดง งดงามยิ่งนัก ได้มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ทั้งสวนสาธารณะและโรงแรมที่พัก

ภูมิอากาศ

[แก้]

แม้จะตั้งอยู่ทางทิศใต้ใกล้เคียงเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ แต่กว่างโจวก็มีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (เคิพเพิน Cfa/Cwa) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมเอเชียตะวันออก ฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูง ความชื้นสูง และมีดัชนีความร้อนสูง ฤดูหนาวอากาศค่อนข้างเย็นและแห้ง กว่างโจวมีฤดูมรสุมที่ยาวนานซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนอยู่ระหว่าง 13.9 °C (57.0 °F) ในเดือนมกราคม ถึง 28.9 °C (84.0 °F) ในเดือนกรกฎาคม ในขณะที่ค่าเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 22.6 °C (72.7 °F)[18] ฤดูใบไม้ร่วงตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม มีอากาศไม่รุนแรง เย็นสบาย และมีลมจัด เป็นช่วงเวลาท่องเที่ยวที่ดีที่สุด[19] ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ประมาณร้อยละ 68 ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนรายปีในเขตปริมณฑลมีมากกว่า 1,700 มม. (67 นิ้ว)[18] ปริมาณร้อยละของแสงแดดต่อเดือนตั้งแต่ร้อยละ 17 ในเดือนมีนาคมและเมษายน ไปจนถึงร้อยละ 52 ในเดือนพฤศจิกายน เมืองนี้ได้รับแดดจ้า 1,628 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งน้อยกว่าเชินเจิ้นและฮ่องกงที่อยู่ใกล้เคียงมาก ช่วงของอุณหภูมิต่ำสุด-สูงสุดอยู่ระหว่าง 0 °C (32 °F) ถึง 39.1 °C (102.4 °F)[20] หิมะตกครั้งสุดท้ายที่บันทึกไว้ในเมืองคือเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นเวลา 87 ปีหลังจากการบันทึกสองครั้งล่าสุด[21]

ภูมิอากาศของกว่างโจวถูกจัดว่าดีมาก ฤดูหนาวไม่หนาวจัด ฤดูร้อนไม่ร้อนจนเกินไป ทั้งสี่ฤดูตลอดปีจะมีดอกไม้บาน ผู้คนจึงมักเรียกกว่างโจวว่า เมืองดอกไม้ กว่างโจวมีภูมิทัศน์ที่งามตามีจุดชมวิวมากมาย

ข้อมูลภูมิอากาศของกว่างโจว (ปกติ ค.ศ. 1991–2020, สูงสุด ค.ศ. 1951–ปัจจุบัน)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 28.4
(83.1)
29.4
(84.9)
32.1
(89.8)
33.3
(91.9)
39.0
(102.2)
38.9
(102)
39.1
(102.4)
38.3
(100.9)
37.6
(99.7)
36.2
(97.2)
33.4
(92.1)
29.9
(85.8)
39.1
(102.4)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 18.7
(65.7)
20.0
(68)
22.3
(72.1)
26.4
(79.5)
30.0
(86)
32.0
(89.6)
33.3
(91.9)
33.2
(91.8)
32.0
(89.6)
29.3
(84.7)
25.3
(77.5)
20.7
(69.3)
26.93
(80.48)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 13.8
(56.8)
15.5
(59.9)
18.3
(64.9)
22.5
(72.5)
26.0
(78.8)
27.9
(82.2)
28.9
(84)
28.6
(83.5)
27.4
(81.3)
24.4
(75.9)
20.2
(68.4)
15.4
(59.7)
22.41
(72.34)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 10.6
(51.1)
12.5
(54.5)
15.5
(59.9)
19.6
(67.3)
23.1
(73.6)
25.1
(77.2)
25.8
(78.4)
25.5
(77.9)
24.2
(75.6)
20.9
(69.6)
16.7
(62.1)
11.9
(53.4)
19.28
(66.71)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 0.1
(32.2)
0.0
(32)
3.2
(37.8)
7.7
(45.9)
13.7
(56.7)
18.8
(65.8)
21.6
(70.9)
20.9
(69.6)
15.5
(59.9)
9.5
(49.1)
4.9
(40.8)
0.0
(32)
0
(32)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 51.1
(2.012)
56.1
(2.209)
101.0
(3.976)
193.8
(7.63)
329.0
(12.953)
364.9
(14.366)
242.6
(9.551)
270.3
(10.642)
203.2
(8)
67.3
(2.65)
37.4
(1.472)
33.4
(1.315)
1,950.1
(76.776)
ความชื้นร้อยละ 72 76 80 82 81 82 79 80 77 70 69 67 76.3
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 7.2 9.4 13.8 15.3 17.4 19.4 17.0 16.8 12.0 5.7 5.7 5.7 145.4
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 112.9 77.5 61.6 69.1 103.4 127.5 179.0 166.4 167.0 182.2 159.7 152.7 1,559
แหล่งที่มา:

เศรษฐกิจ

[แก้]

กว่างโจวได้รับการขนานนามว่าเป็นประตูด้านใต้ของประเทศจีน และเป็นศูนย์กลางการผลิตหลักของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจู ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจชั้นนำของจีนแผ่นดินใหญ่ ในปี 2560 จีดีพีของกว่างโจวอยู่ที่ 2,150 ล้านหยวน (318 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) จีดีพีต่อหัวอยู่ที่ 150,678 หยวน (22,317 ดอลลาร์สหรัฐ) [25] ถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประเทศจีน เนื่องจากการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วจึงทำให้เคยเป็นหนึ่งในเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดแห่งหนึ่งของจีน แต่ปัจจุบันเมื่อการพัฒนาเมืองสีเขียวจึงกลายเป็นหนึ่งในเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในประเทศจีน

งานเสดงสินค้าที่สำคัญสำหรับเมืองคือ งาน Canton Fair ชื่ออย่างเป็นทางการคือ "งานแสดงสินค้านำเข้าและส่งออกของจีน" จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนเมษายนและตุลาคมโดยกระทรวงการค้า เปิดตัวในปี 2500 เป็นงานแสดงสินค้าที่มีประวัติยาวนานที่สุดในประเทศจีน [26] งานแสดงสินค้าได้ย้ายไปที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติกวางโจวแห่งใหม่ (广州国际会展中心) ในเขตผาโจว ตั้งแต่งานครั้งที่ 104 เป็นต้นไป

นครกว่างโจวในเวลากลางวัน
นครกว่างโจวในเวลากลางคืน

ภาพประกอบอื่น

[แก้]


อ้างอิง

[แก้]
  1. 土地面积、人口密度(2008年). Statistics Bureau of Guangzhou. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-23. สืบค้นเมื่อ 2010-02-08.
  2. 广州常住人口去年末超1490万 (ภาษาChinese (China)). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-16. สืบค้นเมื่อ 2019-03-16.
  3. 统计年鉴2014 [Statistical Yearbook 2014] (ภาษาจีน). Statistics Bureau of Guangzhou. 7 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2009. สืบค้นเมื่อ 1 May 2015.
  4. OECD Urban Policy Reviews: China 2015, OECD READ edition. OECD iLibrary. OECD Urban Policy Reviews (ภาษาอังกฤษ). OECD. 18 April 2015. p. 37. doi:10.1787/9789264230040-en. ISBN 9789264230033. ISSN 2306-9341. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2017.Linked from the OECD here [1] เก็บถาวร 2017-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. 深圳GDP超广州,不过广州也不用慌 [The 2016 Guangzhou Municipal National Economic and Social Development Statistics Bulletin] (ภาษาจีนตัวย่อ). Baijiahao.baidu.com. January 15, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-05. สืบค้นเมื่อ 2017-11-11.
  6. "MapMachine". Maps.nationalgeographic.com. สืบค้นเมื่อ 2010-05-06.
  7. "Guangzhou (China)". Encyclopædia Britannica. Accessed 12 September 2010.
  8. "Introduction|Introduction|Tourism Administration of Guangzhou Municipality". web.archive.org. 2010-09-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-06. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
  9. Roberts, Toby; Williams, Ian; Preston, John (2021-05-19). "The Southampton system: a new universal standard approach for port-city classification". Maritime Policy & Management (ภาษาอังกฤษ). 48 (4): 530–542. doi:10.1080/03088839.2020.1802785. ISSN 0308-8839.
  10. "Major Agglomerations of the World - Population Statistics and Maps". www.citypopulation.de.
  11. "全国城镇规划确定五大中心城市 [杨章怀]__鲜橙互动 南都网 南方都市报 新闻互动网站 南都数字报". web.archive.org. 2013-07-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-31. สืบค้นเมื่อ 2024-11-18.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  12. Mensah Obeng, Mark Kwaku (2018). "Journey to the East: a study of Ghanaian migrants in Guangzhou, China". Canadian Journal of African Studies. 53: 67–87. doi:10.1080/00083968.2018.1536557. S2CID 149595200.
  13. "Unlocking the potential of Chinese cities - USA - Chinadaily.com.cn". web.archive.org. 2017-09-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-28. สืบค้นเมื่อ 2024-11-18.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  14. "China: Guăngdōng (Prefectures, Cities, Districts and Counties) - Population Statistics, Charts and Map". www.citypopulation.de.
  15. "China's Guangzhou airport crowns itself the world's busiest for 2020". Nikkei Asia (ภาษาอังกฤษ).
  16. "Guangzhou tops best mainland commercial cities rankings - China - Chinadaily.com.cn". www.chinadaily.com.cn.
  17. "Leading 200 science cities | | Supplements | Nature Index". www.nature.com.
  18. 18.0 18.1 "Tourism Administration of Guangzhou Municipality". visitgz.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-03-21.
  19. "Travel China Guide: Fascinating Guangzhou". Blogspot. 12 August 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2011. สืบค้นเมื่อ 21 August 2008.
  20. 20.0 20.1 "Extreme Temperatures Around the World". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 4, 2014. สืบค้นเมื่อ December 1, 2010.
  21. 广州全城多处降雪 广州塔顶现厚厚积雪. southcn.com. 24 January 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2016. สืบค้นเมื่อ 24 January 2016.
  22. 中国地面气候标准值月值(1981-2010) (ภาษาจีนตัวย่อ). China Meteorological Data Service Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 5, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2022.
  23. "Experience Template" CMA台站气候标准值(1991-2020) (ภาษาจีน). China Meteorological Administration. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2023. สืบค้นเมื่อ April 11, 2023.
  24. 中国地面国际交换站气候标准值月值数据集(1971-2000年) (ภาษาจีน). China Meteorological Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 21, 2013. สืบค้นเมื่อ August 12, 2016.
  25. 广东统计年鉴2010. Gdstats.gov.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  26. "Canton Fair Online". 19 January 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2016. สืบค้นเมื่อ 19 January 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]