อนุสัญญาชวานปี๋
หน้าที่หนึ่งของอนุสัญญา | |
วันร่าง | 20 มกราคม 1841 |
---|---|
ที่ลงนาม | หู่เหมิน มณฑลกวางตุ้ง จักรวรรดิจีน |
เงื่อนไข | ไม่รับรอง; แทนที่ด้วยสนธิสัญญานานกิง (1842) |
ผู้เจรจา |
อนุสัญญาชวานปี๋ | |||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 穿鼻草約 | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 穿鼻草约 | ||||||||||||||||
|
อนุสัญญาชวานปี๋ (อังกฤษ: Convention of Chuenpi;จีน: 穿鼻草約) เป็นความตกลงอย่างไม่เป็นทางการที่ทำขึ้นโดยผู้แทนทั้งสองฝ่ายของทางการอังกฤษและจีน ซึ่งก็คือเซอร์ชาลส์ เอลเลียตทูตจากทางอังกฤษและฉีช่านผู้แทนจากราชสำนักชิง ในระหว่างสงครามฝิ่น โดยการพูดคุยได้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งและมีการทำข้อตกลงความเข้าใจขึ้นใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคม 1841 อย่างไรก็ตามรัฐบาลทั้งสองชาติได้ปฏิเสธการใช้งานอนุสัญญาฉบับนี้ โดยทางอังกฤษมองว่าข้อเรียกร้องที่ทางเซอร์ชาลส์ เอลเลียตมอบให้แก่ทางจีนนั้นน้อยและโอนอ่อนมากเกินไป ในขณะที่จักรพรรดิเต้ากวงก็มองว่าการยอมรับอนุสัญญาของฉีช่านนั้นยอมให้พวกฝรั่งหัวแดงมากเกินไป สุดท้ายตัวแทนทั้งสองคนก็ถูกปลดออกและแทนที่ด้วยคณะทูตใหม่มาพูดคุยกันในเวลาต่อมา
แม้ว่าอนุสัญญาชวานปี๋จะไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ทว่าเนื้อความภายในอนุสัญญานี้ก็เป็นรากฐานและมีบางความต้องการเขียนลงไปในสนธิสัญญานานกิงที่มีการร่างและทำข้อตกลงขึ้นในปี 1842
ภูมิหลัง
[แก้]ในปี 1839 ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับจีนรุนแรงขึ้นมาในเรื่องการค้าฝิ่น สุดท้ายความขัดแย้งนั้นได้ระเบิดออกมาจนเกิดเป็นสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 ในที่สุด ซึ่งในช่วงสงครามนั้นด้วยประสิทธิภาพและอาวุธที่เหนือกว่าของทางอังกฤษ ทำให้ทางอังกฤษสามารถบีบบังคับให้ทางจีนต้องมาพูดคุยเพื่อหาทางออกและผลประโยชน์ของอังกฤษอย่างไม่มีเงื่อนไข ในการนี้รัฐมนตรีต่างประเทศของสหราชอาณาจักร ลอร์ดพาเมอร์สตัน ได้ส่งชาลส์ เอลเลียตเข้ามาเป็นตัวแทนผู้มีอำนาจเต็มในการพูดคุยหาข้อยุติในการทำสงครามกับจีน[1]
เอลเลียตเดินทางมายังจีนในช่วงครึ่งหลังของปี 1840 โดยได้มีการทำการพูดคุยกับฉีช่านผู้ปกครองมณฑลกวางตุ้งในเวลานั้น โดยเอลเลียตได้แสดงความต้องการของอังกฤษในการครอบครองพื้นที่ติดทะเลที่ทางอังกฤษจะสามารถชักธงอังกฤษขึ้นเหนือดินแดนนั้น และสามารบริหารกิจการภายในของพื้นที่นั้นได้เอง เหมือนที่ฝรั่งชาติอื่นทำกับมาเก๊า[2] อย่างไรก็ตามความต้องการครั้งแรกที่มีการพูดคุยไม่สัมฤทธิ์ผล ทางอังกฤษจึงตัดสินใจใช้กำลังทหารเข้ากดดันด้วยการยึดบริเวณปากแม่น้ำกวางตุ้งเอาไว้ สุดท้ายตัวแทนของจีนอย่างฉีช่านก็ต้องยอมเจรจาและยอมรับข้อตกลงของทางเอลเลียต
ในวันที่ 11 มกราคม ฉีช่านได้ยอมรับความต้องการของทางอังกฤษ ‘ที่ต้องการดินแดนชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ของจีน’ ต่อมาเขายื่นข้อเสนอให้แก่เอลเลียตว่าทางอังกฤษต้องการบริเวณไหนระหว่างฮ่องกงหรือเกาลูน ซึ่งทางเอลเลียตได้เขียนจดหมายตอบว่าทางอังกฤษต้องการพื้นที่เกาะฮ่องกงทั้งหมดเป็นของตัวเอง[3] การเจรจาของทั้งสองคนในการหาข้อยุติปัญหาทางตอนใต้ของจีนนั้นนำไปสู่การเรียกร้องของทางจีนว่า จีนจะยอมปล่อยฮ่องกงไปแลกกับว่าทางอังกฤษจะต้องไม่ขยายเมืองท่าเพิ่มมากไปกว่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องละทิ้งการเข้ามาตั้งเมืองท่าในแผ่นดินใหญ่
เนื้อความของอนุสัญญา
[แก้]ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ทั้งสองคนได้ทำข้อตกลงอนุสัญญาร่วมกัน โดยมีเนื้อความหลักของอนุสัญญาดังนี้[4]
- ทางการจีนยอมยกดินแดนเกาะฮ่องกงทั้งหมดให้แก่ทางอังกฤษในฐานะอาณานิคม (British crown) แต่ระบบการค้าและการเก็บภาษีของจีนยังคงเป็นเหมือนเดิมกับระบบที่เกาะผาโจว
- ทางการจีนต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่อังกฤษทันที 6 ล้านดอลล่าร์ และจ่ายอีกหนึ่งล้านดอลล่าร์ในทุกปี จนกว่าจถึงปี 1846
- ทั้งสองประเทศต้องมุ่งเน้นและสร้างการติดต่อสื่อสารของตัวแทนระหว่างรัฐในฐานะประเทศที่ทัดเทียมกัน
- จีนจะต้องเปิดเมืองท่ากวางโจ่วภายในระยะเวลสิบวัน หลังจากวันตรุษจีน ทั้งนี้ทางจีนยังสามารถเปิดการค้าที่วัมโปต่อไปได้ จนกว่าจะหาสถานีการค้าแห่งใหม่ได้
นอกจากนี้เนื้อหาในอนุสัญญายังขอให้ทางอังกฤษถอนกำลังทหารและการควบคุมออกจากเกาะแก่งของจีนทุกแห่งที่อังกฤษเข้ายึดครอง ไม่ว่าจะที่ชวานปี๋ โจวชาน ที่ซึ่งทางอังกฤษเข้าครอบครองไว้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 1840[5]
ทว่าอนุสัญญาฉบับนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากทางลอร์ดพาเมอร์สตัน ด้วยว่าเนื้อความจากอนุสัญญานั้นยังอนุญาตให้ทางจีนยังสามารถเก็บภาษีจากเกาะฮ่องกงได้เหมือนเดิม[6]
เหตุการณ์สืบเนื่อง
[แก้]หลังการทำอนุสัญญาข้อตกลงร่วมกันในวันที่ 20 มกราคม หนึ่งวันให้หลังจากนั้นอังกฤษถอนตัวออกจากพื้นที่ชวานปี๋ (Chuenpi) และอพยพตัวเองลงไปตั้งหลักอยู่ที่เกาะฮ่องกง อันเป็นเกาะใหม่ใต้อาณัติของอังกฤษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ไม่กี่วันให้หลังพิธีส่งมอบเกาะฮ่องกงจัดฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ในการเลี้ยงฉลองภายในวันส่งมอบนั้น ฉีช่านในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนประจำมณฑลกวางตุ้งได้เดินทางเข้าพบเอลเลียตด้วยตัวเอง และร่วมงานเลี้ยงฉลองด้วยกัน[7]
ความขัดแย้งขยายตัว
[แก้]ทว่าข้อตกลงของฉีช่านที่ทำขึ้นมาในช่วงเดือนมกราคมนั้น ไม่ได้รับความเห็นชอบจากทางจักรพรรดิเต้ากวงและราชสำนัก ซึ่งยังต้องการให้ปราบปรามกบฏและพวกฝรั่งหัวแดงด้วยความรุนแรงต่อไป ไม่นานหลังจากนั้นจักรพรรดิได้มีพระราชโองการให้ฉีช่านใช้กำลังปราบปรามพวกอังกฤษ แต่ว่าฉีช่านเพิกเฉยต่อคำสั่งให้โจมตีในตอนนี้[8] ทำให้ตัวของฉีช่านต้องตกอยู่ในสภาวะกดดันจากทั้งสองด้าน คือทั้งคำสั่งจากเบื้องบน และสถานการณ์เบื้องหน้าในการเจรจากับอังกฤษ
เมื่อเข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ เอลเลียตได้เข้ามาเจรจาอีกครั้งกับฉีช่าน ด้วยว่าท่าเรือเมืองกวางโจวนั้นไม่ได้เปิดตามที่ได้ตกลงไว้[5] หลังจากการเจรจาอันเคร่งเครียดกว่าครึ่งวัน ฉีช่านก็ขอเวลาอีกสิบวันแล้วจะมาให้คำตอบ[5]
แต่ทว่าในช่วงเวลานั้นฉีช่านได้ถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการมณฑลแล้ว และทางราชสำนักได้ส่งคนชุดใหม่มาปกครองและจัดการสงครามกับทางอังกฤษ ฉีช่านเดินทางกลับปักกิ่งก่อนจะต้องรับพิจารณาโทษของตัวเองหลังจากขัดคำสั่งขององค์จักรพรรดิ และผู้แทนชุดใหม่ที่ทางราชสำนักส่งไปได้ทำให้สงครามกับอังกฤษปะทุขึ้นมาอีกระลอกหนึ่ง
ชะตากรรมของผู้ลงนามในสัญญา
[แก้]ฉีช่านถูกพิจารณาโทษที่ปักกิ่งโดยมีการตั้งข้อหามากมาย[9] ทั้งการให้ฮ่องกงกับพวกคนเถื่อน กบฏ และทรยศต่อชาติ หลังจากการพิจารณาคดีราชสำนักได้ตัดสินโทษประหารชีวิตให้แก่ฉีช่าน แต่สุดท้ายเขาก็ถูกจำคุกอยู่เกือบปีก็ถูกปล่อยตัวออกมา
ส่วนทางของชาลส์ เอลเลียตนั้น ต่อมาเขาก็ถูกสั่งปลดออกจากการเป็นทูตโดยลอร์ดพาร์สเมอตัน โดยมองว่าผลประโยชน์ที่ทางเอลเลียตกดดันจีนผ่านการเจรจานั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการของอังกฤษ และฮ่องกงนั้นก็ไม่ได้ต่างอะไรไปจากเกาะอันกันดารที่ร้างจากผู้คน[10] ก่อนจะแต่งตั้งให้พลตรีเฮนรี พอตติงเจอร์ (Henry Pottinger) แห่งกองทัพบอมเบย์ขึ้นรับตำแหน่งแทนที่เอลเลียตในเดือนพฤษภาคม
ภาพ
[แก้]-
หน้าที่สอง
-
หน้าที่สาม
-
หน้าที่สี่ พร้อมลายมือชื่อของชาลส์ เอลเลียต
อ้างอิง
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- Bernard, William Dallas; Hall, William Hutcheon (1844). Narrative of the Voyages and Services of the Nemesis from 1840 to 1843 (2nd ed.). London: Henry Colburn.
- Bingham, John Elliot (1843). Narrative of the Expedition to China, from the Commencement of the War to Its Termination in 1842 (2nd ed.). Volume 1. London: Henry Colburn.
- Bingham, John Elliot (1843). Narrative of the Expedition to China from the Commencement of the War to Its Termination in 1842 (2nd ed.). Volume 2. London: Henry Colburn.
- The Chinese Repository. Volume 10. Canton. 1841.
- The Chinese Repository. Volume 12. Canton. 1843.
- Courtauld, Caroline; Holdsworth, May; Vickers, Simon (1997). The Hong Kong Story. Oxford University Press. ISBN 0-19-590353-6.
- Davis, John Francis (1852). China, During the War and Since the Peace. Volume 1. London: Longman, Brown, Green, and Longmans.
- Eitel, E. J. (1895). Europe in China: The History of Hongkong from the Beginning to the Year 1882. London: Luzac & Company. p. 163.
- Ellis, Louisa, ed. (1886). Memoirs and Services of the Late Lieutenant-General Sir S. B. Ellis, K.C.B., Royal Marines. London: Saunders, Otley, and Co. p. 148
- Hoe, Susanna; Roebuck, Derek (1999). The Taking of Hong Kong: Charles and Clara Elliot in China Waters. Richmond, Surrey: Curzon Press. ISBN 0-7007-1145-7.
- Le Pichon, Alain (2006). China Trade and Empire. Oxford University Press. ISBN 9780197263372.
- Lowe, K. J. P. (1989). "Hong Kong, 26 January 1841: Hoisting the Flag Revisited". Journal of the Hong Kong Branch of the Royal Asiatic Society. Volume 29. p. 12.
- Mao, Haijian (2016). The Qing Empire and the Opium War. Cambridge University Press. p. 192. ISBN 978-1-107-06987-9.
- Mackenzie, Keith Stewart (1842). Narrative of the Second Campaign in China. London: Richard Bentley.
- Martin, Robert Montgomery (1841). "Colonial Intelligence". The Colonial Magazine and Commercial-Maritime Journal. Volume 5. London: Fisher Son, & Co. p. 108.
- Martin, Robert Montgomery (1847). China; Political, Commercial, and Social; In an Official Report to Her Majesty's Government. Volume 2. London: James Madden.
- Morse, Hosea Ballou (1910). The International Relations of the Chinese Empire. Volume 1. New York: Paragon Book Gallery.
- Ouchterlony, John (1844). The Chinese War. London: Saunders and Otley.
- Scott, John Lee (1842). Narrative of a Recent Imprisonment in China After the Wreck of the Kite (2nd ed.). London: W. H. Dalton. pp. 5, 9.
- The United Service Journal and Naval Military Magazine. Part 2. London: Henry Colburn. 1841.
- Tsang, Steve (2004). A Modern History of Hong Kong. London: I.B. Tauris. p. 12. ISBN 1845114191.
- Waley, Arthur (1958). The Opium War Through Chinese Eyes. London: George Allen & Unwin. ISBN 0049510126.