ข้ามไปเนื้อหา

ดับลิน

พิกัด: 53°21′00″N 06°15′37″W / 53.35000°N 6.26028°W / 53.35000; -6.26028
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Dublin)
ดับลิน

Baile Átha Cliath
ธงของดับลิน
ธง
ตราราชการของดับลิน
ตราอาร์ม
ดับลินตั้งอยู่ในไอร์แลนด์
ดับลิน
ดับลิน
ที่ตั้งในไอร์แลนด์
ดับลินตั้งอยู่ในยุโรป
ดับลิน
ดับลิน
ดับลิน (ยุโรป)
พิกัด: 53°21′00″N 06°15′37″W / 53.35000°N 6.26028°W / 53.35000; -6.26028
ประเทศธงของประเทศไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์
จังหวัดเลนสเตอร์
การปกครอง
 • ประเภทสภาเมือง
 • ศาลากลางศาลาว่าการดับลิน
 • นายกเทศมนตรีเกร์รี บรีน
 • Dáil Éireannดับลินกลาง
ดับลินเหนือ
ดับลินตะวันออกเฉียงเหนือ
ดับลินตะวันตกเฉียงเหนือ
ดับลินใต้
ดับลินตะวันออกเฉียงใต้
 • รัฐสภายุโรปเขตเลือกตั้งดับลิน
พื้นที่[2][3]
 • เมืองหลวง115 ตร.กม. (44 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง318 ตร.กม. (123 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • เมืองหลวง554,554[1] คน
 • ความหนาแน่น4,811 คน/ตร.กม. (12,460 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง1,173,179[5] คน
 • รวมปริมณฑล1,417,700[4] คน
 • เกรเทอร์ดับลิน1,904,806[6][7]
เขตเวลาUTC±0 (GMT)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+1 (IST)
รหัสไปรษณีย์D1-18, 20, 22, 24, D6W
รหัสพื้นที่01
เว็บไซต์www.dublincity.ie

ดับลิน (อังกฤษ: Dublin; ไอริช: Baile Átha Cliath[8]) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไอร์แลนด์[9][10] ตั้งอยู่ใกล้อ่าวบนชายฝั่งทางภาคตะวันออกของประเทศ บริเวณปากแม่น้ำลิฟเฟย์ในจังหวัดเลนสเตอร์ ดับลินมีอาณาเขตติดต่อกับภูเขาดับลินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาวิกโลว์ทางทิศใต้ ประชากรในเขตเมืองมีทั้งหมด 1,173,179 คน[5] ในขณะที่ประชากรในเขตดับลิน (เทศมณฑลดับลินเดิม) มีทั้งสิ้น 1,347,359 คนใน ค.ศ. 2016[11] ส่วนประชากรรวมในเขตปริมณฑลทั้งหมดคือ 1,904,806 คนจากการสำมะโนครัวในปี 2016 เช่นกัน[12]

มีการถกเถียงเรื่องการก่อตั้งดับลิน ซึ่งโดยส่วนใหญ่สันนิษฐานว่า ดับลินก่อตั้งโดยกลุ่มแกเอลส์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7[13] ต่อมาพวกไวกิงได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและขยายอาณาเขตออกไปจนกลายเป็นอาณาจักรดับลิน ต่อมาดับลินได้กลายเป็นถิ่นฐานหลักของไอร์แลนด์อันเนื่องจากการรุกรานของพวกนอร์แมน[13] ตัวนครได้ขยายตัวอย่างเร็วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมีช่วงสั้น ๆ ที่ดับลินได้กลายเป็นนครที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของจักรวรรดิบริติช ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติสหภาพใน ค.ศ. 1800 หลังจากการแบ่งไอร์แลนด์ในใน ค.ศ. 1922 ดับลินกลายเป็นเมืองหลวงของรัฐอิสระไอริช ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไอร์แลนด์

ดับลินเป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม การปกครอง และเศรษฐกิจของประเทศมาอย่างช้านาน โดยใน ค.ศ. 2018 ดับลินได้รับการจัดอันดับให้ติด 30 อันดับแรกของ "เมืองสำคัญของโลก" ประเภทแอลฟา โดยโครงข่ายวิจัยโลกาภิวัฒน์และนครโลก[14][15]

ที่มาของชื่อ

[แก้]

ชื่อ Dublin มาจากคำในภาษาไอริชยุคกลาง (เกลิคยุคกลาง) Du(i)blind (แปลตรงตัวว่า "บ่อดำ")[16] จาก dubh [d̪ˠuβˠ] "ดำ, มืด" และ linn [l̠ʲin̠ʲ(dʲ)] "บ่อน้ำ" คำนี้พัฒนามาอยู่ในรูป Du(i)bhlinn ในภาษาไอริชสมัยใหม่ช่วงต้น[16] ซึ่งชื่อดังกล่าวอ้างอิงถึงบ่อน้ำซึ่งเกิดจากน้ำขังเมื่อน้ำลงตรงสวนด้านหลังของปราสาทดับลิน ที่แม่น้ำพอดเดิลไหลเข้าสู่แม่น้ำลิฟฟีย์

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ภูมิประเทศ

[แก้]
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงแม่น้ำลีฟฟีย์ไหลเข้าทะเลไอริช แยกดับลินเป็นฝั่งเหนือและฝั่งใต้

ดับลินตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำลิฟฟีย์ มีพื้นที่เมืองประมาณ 345 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในภาคกลาง-ตะวันออกของไอร์แลนด์ ทางทิศใต้ติดกับเทือกเขาดับลิน ซึ่งเป็นเทือกเขาระดับต่ำและเป็นส่วนย่อยของเทือกเขาวิกโลว์ ส่วนด้านเหนือกับด้านตะวันตกถูกล้อมด้วยพื้นที่ราบการเกษตร[17]

แม่น้ำลิฟฟีย์แบ่งเมืองเป็นสองฝั่ง เหนือและใต้ ด้านใต้มีคลองใหญ่คือแกรนด์คาแนล ส่วนด้านเหนือมีคลองใหญ่คือรอยัลคาแนล ทั้งสองคลองเชื่อมกับแม่น้ำแชนนอนและไหลจากฝั่งตะวันตกของเมืองเข้าสู่ดับลินชั้นใน

ภูมิอากาศ

[แก้]

คล้ายกับภูมิภาคส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ ดับลินมีสภาพภูมิอากาศแบบมหาสมุทร ด้วยฤดูร้อนที่อบอุ่น ฤดูหนาวที่เย็น และมีอุณหภูมิที่ไม่ต่างกันสุดขั้ว เมื่อวัดอุณหภูมิที่จตุรัสเมอเรียนกลางเมืองดับลิน เดือนที่หนาวที่สุดคือกุมภาพันธ์ โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 4.1 องศาเซลเซียส และเดือนที่ร้อนที่สุดคือกรกฎาคม โดยมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส เนื่องจากปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเมือง ดับลินจึงมีอุณหภูมิกลางคืนฤดูร้อนที่อบอุ่นที่สุดในไอร์แลนด์ อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยที่จตุรัสเมอเรียนในเดือนกรกฎาคมคือ 13.5 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึกไว้ในเดือนกรกฎาคมคือ 7.8 องศาเซลเซียส ในวันที่ 3 กรกฎาคม 1974[18]

อุณหภูมิสูงสุดที่บันทึกอย่างเป็นทางการในดับลินคือ 33.1 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2022 ที่สวนสาธารณะฟีนิกซ์พาร์ค มีการบันทึกอุณหภูมิสูงสุดที่ไม่เป็นทางการ 33.5 องศาเซลเซียส เมื่อเดือนกรกฎาคม 1876 ที่สวนสาธารณะฟีนิกซ์พาร์คเช่นกัน[19]

เศรษฐกิจ

[แก้]

ภูมิภาคดับลินเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของไอร์แลนด์ และเป็นผู้นำในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในยุคเสือเซลติก ในปี 2009 ดับลินถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดอันดับที่ 4 ของโลก โดยพิจารณาจากกำลังซื้อ และอันดับที่ 10 โดยพิจารณาจากรายได้ส่วนบุคคล[20][21] จากการสำรวจค่าครองชีพทั่วโลกปี 2011 ของ Mercer ดับลินเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงอันดับที่ 13 ในสหภาพยุโรป (ลดลงจากอันดับที่ 10 ในปี 2010) และเป็นสถานที่อยู่อาศัยที่มีค่าครองชีพสูงอันดับที่ 58 ของโลก (ลดลงจากอันดับที่ 42 ในปี 2010)[22] ณ ปี 2017 มีผู้คนประมาณ 874,400 คนทำงานในเขตกรุงดับลิน ประมาณ 60% ของผู้ที่ทำงานในภาคการเงิน ภาคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และภาคบริการมืออาชีพ ของไอร์แลนด์ ตั้งอยู่ในพื้นที่นี้[23]

ณ ปี 2024 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในเมืองดับลินอยู่ที่ 2.536 แสนล้านยูโร ซึ่งหมายความว่าดับลินเป็นหนึ่งในเมืองที่เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป

การศึกษา

[แก้]

ดับลินเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในไอร์แลนด์ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสี่แห่งและสถาบันการศึกษาระดับสูงอื่นๆ อีกจำนวนมาก ดับลินได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงแห่งวิทยาศาสตร์ของยุโรปในปี 2012[24][25]

มหาวิทยาลัยทั้งสี่แห่งในดับลินได้แก่

นอกจากนี้ยังมีสถาบันระดับอุดมศึกษาอื่น เช่น Royal College of Surgeons in Ireland (RCSI), National College of Art and Design (NCAD), National College of Ireland (NCI), Dublin Institute for Advanced Studies, Institute of International and European Affairs, Dublin Business School (DBS), และ Griffith College Dublin

เมืองแฝด

[แก้]

ดับลินเป็นเมืองแฝดกับสี่เมืองต่อไปนี้:[17][26][27]

เมือง ประเทศ ตั้งแต่ ค.ศ.
แซนโฮเซ สหรัฐ[28] 1986
ลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร[29] 1986
บาร์เซโลนา สเปน[30][31] 1998
ปักกิ่ง จีน[32][33] 2011

นอกจากนี้ ดับลินยังได้ทำข้อตกลงเพื่อดำเนินงานร่วมกันกับอีกหลายเมือง[26] และได้เสนอข้อตกลงกับรีโอเดจาเนโรในบราซิลและกัวดาลาฮาราในเม็กซิโก[34][35]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Sapmap Area: County Dublin City". Census 2016. Central Statistics Office. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2018. สืบค้นเมื่อ 23 December 2018.
  2. "Census of Population 2011" (PDF). Preliminary Results. Central Statistics Office. 30 June 2011. p. 21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 November 2012. สืบค้นเมื่อ 25 May 2013.
  3. "Census of Population 2011". Population Density and Area Size by Towns by Size, Census Year and Statistic. Central Statistics Office. April 2012. สืบค้นเมื่อ 30 March 2014.
  4. "Number of Irish returning home at highest level since 2007". The Irish Times. สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.
  5. 5.0 5.1 "Census of Population 2016" (PDF). Profile 1 – Geographical distribution. Central Statistics Office. 6 April 2017. p. 15. สืบค้นเมื่อ 6 April 2017. Table 2.2 Population of urban areas, 2011 and 2016 [..] 2016 [..] Dublin city & suburbs [..] 1,173,179
  6. Greater Dublin Area
  7. "Census 2016 Profile 2 – Population Distribution and Movements – CSO – Central Statistics Office". www.cso.ie. สืบค้นเมื่อ 18 January 2018.[ลิงก์เสีย]
  8. "Dublin – Placename database of Ireland". สืบค้นเมื่อ 15 January 2018.
  9. "The Growth and Development of Dublin". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 30 March 2013. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  10. "Primate City Definition and Examples". สืบค้นเมื่อ 21 October 2009.
  11. "Sapmap Area – NUTS III – Dublin Region". Census 2016. Central Statistics Office. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2018. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018.
  12. "Population Distribution – CSO – Central Statistics Office". สืบค้นเมื่อ 4 February 2018.
  13. 13.0 13.1 Dickson, David (2014). Dublin The Making of a Capital City. Profile Books Ltd. pp. x. ISBN 978-0-674-74444-8.
  14. "Global Financial Centres Index 8" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 October 2010. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  15. "The World According to GaWC 2018". Globalization and World Cities Research Network: Loughborough University. 13 November 2018. สืบค้นเมื่อ 23 November 2018.
  16. 16.0 16.1 "Baile Átha Cliath/Dublin". logainm.ie (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-06-15.
  17. 17.0 17.1 "Dublin City Council: Facts about Dublin City". Dublin City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2014. สืบค้นเมื่อ 8 July 2014.
  18. "Historical Data: DUBLIN (MERRION SQUARE) - Station No. 3923". Met Éireann. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2021. สืบค้นเมื่อ 9 June 2022.
  19. Dooley, Katherine; Kelly, Ciaran; Seifert, Natascha; Myslinski, Therese; O'Kelly, Sophie; Siraj, Rushna; Crosby, Ciara; Dunne, Jack Kevin; McCauley, Kate; Donoghue, James; Gaddren, Eoin; Conway, Daniel; Cooney, Jordan; McCarthy, Niamh; Cullen, Eoin (2023-01-03). "Reassessing long-standing meteorological records: an example using the national hottest day in Ireland". Climate of the Past (ภาษาอังกฤษ). 19 (1): 1–22. Bibcode:2023CliPa..19....1D. doi:10.5194/cp-19-1-2023. ISSN 1814-9332.
  20. "Richest cities in the world by purchasing power in 2009". City Mayors. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2008. สืบค้นเมื่อ 17 June 2010.
  21. "Richest cities in the world by personal earnings in 2009". Citymayors.com. 22 August 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2010. สืบค้นเมื่อ 17 June 2010.
  22. "Dublin falls in city-cost rankings". The Irish Times. 12 July 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2012. สืบค้นเมื่อ 20 July 2011.
  23. "About Dublin. Economic Activity, Tax & Employment". Dublin Chamber. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2018. สืบค้นเมื่อ 12 November 2018.
  24. "ESOF Dublin". EuroScience. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2015. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
  25. Walshe, John; Reigel, Ralph (25 November 2008). "Celebrations and hard work begin after capital lands science 'Olympics' for 2012". Irish Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2014. สืบค้นเมื่อ 17 June 2010.
  26. 26.0 26.1 "Dublin City Council: International Relations Unit". Dublin City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 8 July 2014.
  27. "Managing our International relationships – City twinning". Dublin City Council. สืบค้นเมื่อ 28 August 2018. We are currently twinned with four cities: Beijing (The People's Republic of China) – Twinned since 2010 [..] Barcelona (Spain) – Twinned since 1998 [..] Liverpool (United Kingdom) – Twinned since 1997 [..] San José (United States of America) – Twinned since 1986
  28. "Sister City Program". City of San José. 19 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2017. สืบค้นเมื่อ 8 July 2014.
  29. "Liverpool City Council twinning". Government of the United Kingdom. 17 November 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2010. สืบค้นเมื่อ 23 June 2009.
  30. "Ciutats agermanades, Relacions bilaterals, L'acció exterior". CIty of Barcelona. 18 June 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2010. สืบค้นเมื่อ 23 June 2009.
  31. "Barcelona City Council signs cooperation agreements with Dublin, Seoul, Buenos Aires and Hong Kong". Ajuntament de Barcelona. 26 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2015. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
  32. "Dublin signs twinning agreement with Beijing". Dublin City Council. 2 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 11 February 2012.
  33. Coonan, Clifford (3 June 2011). "Dublin officially twinned with Beijing". The Irish Times. สืบค้นเมื่อ 8 July 2014.(ต้องรับบริการ)
  34. Coonan, Clifford (21 May 2011). "Dublin was also in talks with Rio de Janeiro in Brazil about twinning with that city". The Irish Times. สืบค้นเมื่อ 1 June 2011.(ต้องรับบริการ)
  35. "Mexican city to be twinned with Dublin, says Lord Mayor". The Irish Times. 21 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2013. สืบค้นเมื่อ 29 March 2013.(ต้องรับบริการ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]