ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย
ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด แบบแพร่กระจาย (Disseminated intravascular coagulation) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Disseminated intravascular coagulopathy, consumptive coagulopathy, defibrination syndrome[1] |
ภาพไมโครกราฟแสดงโรคลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดขนาดเล็กเฉียบพลัน (acute thrombotic microangiopathy) เนื่องจาก DIC ในการตรวจชิ้นเนื้อไต พบลิ่มเลือดอยู่ที่ไฮลัมของโกลเมอรูลัส (ตรงกลางภาพ) | |
สาขาวิชา | โลหิตวิทยา |
อาการ | Chest pain, shortness of breath, leg pain, problems speaking, problems moving part of the body, bleeding[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | Organ failure[2] |
ประเภท | Acute, chronic[1] |
สาเหตุ | Sepsis, surgery, major trauma, cancer, complications of pregnancy, snake bites, frostbite, burns[1] |
วิธีวินิจฉัย | Blood tests[2] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Thrombotic thrombocytopenic purpura, hemolytic-uremic syndrome[1] |
การรักษา | Directed at the underlying condition[3] |
ยา | Platelets, cryoprecipitate, fresh frozen plasma, heparin[2] |
พยากรณ์โรค | 20–50% risk of death[4] |
ความชุก | 1% of people admitted to hospital[4] |
ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย[5] (อังกฤษ: disseminated intravascular coagulopathy/coagulation, consumptive coagulation, DIC) หรือ ดีไอซี หรือ ภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วไปในหลอดเลือด[ต้องการอ้างอิง] เป็นภาวะซึ่งมีการกระตุ้นกลไกการแข็งตัวของเลือดอย่างผิดปกติ ซึ่งเป็นผลที่ตามมาจากโรคหรือภาวะหลาย ๆ อย่าง ดีไอซีทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดเป็นลิ่มเลือดขนาดเล็กจำนวนมากในหลอดเลือดทั่วร่างกาย[6] ซึ่งในการเกิดการแข็งตัวของเลือดนี้จะมีการใช้สิ่งสำคัญในกลไกการแข็งตัวของเลือด ได้แก่โปรตีนที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด และเกล็ดเลือด ไปจนไม่สามารถเกิดมีการแข็งตัวของเลือดในที่ที่ควรมีได้ ทำให้มีภาวะเลือดออกง่ายหรือหยุดยากทั่วร่างกาย อาจเกิดที่ผิวหนัง ในทางเดินอาหาร ในทางเดินหายใจ หรือที่แผลผ่าตัดได้ นอกจากนี้ลิ่มเลือดเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นยังทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ไม่ดี ทำให้เกิดการทำงานผิดปกติของอวัยวะนั้น ๆ อวัยวะที่สำคัญเช่น ไต เป็นต้น[7]
ดีไอซีอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเฉียบพลัน หรืออาจเกิดช้า ๆ แบบเรื้อรังก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัญหาที่เป็นสาเหตุ และสภาพร่างกายด้านอื่น ๆ[8] ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยหนัก และอาจมีส่วนทำให้เกิดการล้มเหลวของการทำงานของอวัยวะหลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้[9]
สาเหตุ
[แก้]DIC อาจเกิดในภาวะต่อไปนี้[8][9][10]
- มะเร็งปอด ตับอ่อน ต่อมลูกหมาก กระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ (โดยเฉพาะของสายโปรมัยอิโลไซต์)
- ภาวะทางสูติศาสตร์ เช่นรกลอกตัวก่อนกำหนด, โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก, ภาวะน้ำคร่ำหลุดอุดหลอดเลือด
- การบาดเจ็บอย่างมากของเนื้อเยื่อ เช่น จากอุบัติเหตุ แผลไหม้ การผ่าตัดใหญ่
- การติดเชื้อ เช่น พิษติดเชื้อจากเชื้อแกรมลบ, Neisseria meningitidis, Streptococcus pneumoniae, มาลาเรีย, ฮิสโทพลาสโมซิส, แอสเพอร์จิลลโลซิส, ไข้สปอตร็อคกี้เมาน์เทน
- ภาวะอื่น ๆ เช่น โรคตับ งูกัด ฮีแมงจิโอมาขนาดใหญ่ ช็อก ฮีทสโตรค หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดแดงเอออร์ตาโป่งพอง กลุ่มอาการเซโรโตนิน[11]
- ติดเชื้อไวรัส: อารีนาไวรัส ทำให้เกิดไข้เลือดออกอาร์เจนทีน หรือไข้เลือดออกโบลิเวียน
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNIH2017
- ↑ 2.0 2.1 2.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อMer2016
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อLevi2007
- ↑ 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNat2016
- ↑ บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย
- ↑ Churchill Livingstone Pocket Medical Dictionary 14th Edition.
- ↑ ISBN 0-443-07036-9 Davidson's Principles and Practice of Medicine 19th Edition. Churchill Livingstone. Page 200
- ↑ 8.0 8.1 Robbins, Stanley L.; Cotran, Ramzi S.; Kumar, Vinay; Collins, Tucker (1999). Robbins' Pathologic Basis of Disease (6 ed.). Philadelphia: Saunders. ISBN 0-7216-7335-X.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 9.0 9.1 Davidson, Stanley; Haslett, C. (2002). Davidson's Principles and Practice of Medicine (19 ed.). Edinburgh: Churchill Livingstone. ISBN 0-443-07036-9.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Clark, Michael; Kumar, Parveen J. (1998). Clinical Medicine: A Textbook for Medical Students and Doctors (4 ed.). Philadelphia: W.B. Saunders. ISBN 0-7020-2458-9.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Boyer EW, Shannon M (2005). "The serotonin syndrome". N. Engl. J. Med. 352 (11): 1112–20. doi:10.1056/NEJMra041867. PMID 15784664.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |