ข้ามไปเนื้อหา

มะพลับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Diospyros malabarica)

มะพลับ
ใบและดอกมะพลับ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophyta
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: อันดับกุหลาบป่า
วงศ์: วงศ์มะพลับ
สกุล: สกุลมะพลับ

(Desr.) Kostel.
สปีชีส์: Diospyros malabarica
ชื่อทวินาม
Diospyros malabarica
(Desr.) Kostel.
ชื่อพ้อง
  • D. biflora Blanco
  • D. citrifolia Wall. ex A.DC.
  • D. embryopteris Pers. [Illegitimate]
  • D. glutinifera (Roxb.) Wall.
  • D. glutinosa J.König ex Roxb.
  • D. malabarica var. siamensis (Hochr.) Phengklai
  • D. peregrina (Gaertn.) Gürke
  • D. peregrina f. javanica Kosterm.
  • D. siamensis Hochr.
  • Embryopteris gelatinifera G.Don
  • Embryopteris glutinifera Roxb.
  • Embryopteris glutinifolia Link
  • Embryopteris peregrina Gaertn.

มะพลับ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Diospyros malabarica (Desr.) Kostel) เป็นไม้ต้นขนาดกลางใบเดี่ยวที่อยู่ในวงศ์ Ebenaceae ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับต้นตะโก ต้นมะพลับนั้นมีดอกขนาดเล็กและผลที่ค่อนข้างกลม แต่ถ้าสุกแล้วสามารถรับประทานได้มีรสชาติอร่อย ต้นมะพลับนอกจากมีผลที่กินได้แล้วยังมีคุณค่าในทางสมุนไพรสูงมากด้วย

มะพลับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของคนไทย กำหนดปลูกไว้ทางทิศใต้ เชื่อกันว่าการปลูกต้นมะพลับในบริเวณบ้านจะทำให้ร่ำรวยยิ่งขึ้น[1]

ชื่อวิทยาศาสตร์              :   Diospyros malabarica (Desv.) Kostel. var. siamensis (Hochr.) Phengklai
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ   :  Bo Tree
ชื่อภาษาไทยทั่วไป         :   ตะโกสวน พลับ  มะพลับใหญ่
ชื่อท้องถิ่น                        :   จังหวัดนครราชสีมา เรียก ขะนิง  ถะยิง  

                                               ภาคกลาง เรียก ตะโกไทย

                                               จังหวัดเพชรบุรี  เรียก  ตะโกสวน  ปลาบ

                                               จังหวัดสกลนคร เรียก มะเขื่อเถื่อน

                                               จังหวัดลำปาง(ภาษา กะเหรี่ยง) เรียก มะสุลัวะ

ลักษณะ                           :   ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 8 - 15 เมตร เปลือกต้นสีเทาปนดำ ทรงพุ่มกลมทึบ การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ขนาดประมาณ 4.00 x 8.00 เซนติเมตร ปลายแหลมมนและโคนใบมน ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกขนาดเล็กสีขาวนวล รูปคณโฑคว่ำ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3.50 เซนติเมตร ผลสุกสีส้มเหลือง เมล็ดมี 8 เมล็ด สีน้ำตาลดำทรงรีแป้น ขนาดประมาณ 1.00 x 2.00 เซนติเมตร  
ลักษณะทางนิเวศน์         :   มะพลับเป็นพันธุ์ไม้ป่าดงดิบ พบขึ้นในป่าที่ลุ่มต่ำบริเวณแนวกันชน ระหว่างป่าบกและป่าชายเลน บริเวณชายคลอง และชายป่าพรุ เหนือระดับน้ำทะเล 2-30 เมตร ทางภาคใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย
ประโยชน์ทางยา              :  อาทิ ตามตำรายาไทยกล่าวว่า เปลือกต้นและเนื้อไม้มีรสฝาดมีสรรพคุณ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้บิด แก้ท้องร่วง ขับผายลม แก้กามตายด้าน บำรุงความกำหนัด เป็นยาสมานแผล  และห้ามเลือด, ผลแก่รับประทานได้
การใช้ประโยชน์               :  มีมากมาย อาทิ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร เครื่องกลึงและ แกะสลัก , เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง, ยางของลูกมะพลับให้สีน้ำตาลนำมาละลายน้ำใช้ย้อมผ้า แห และอวน เพื่อให้ทนทานเช่นเดียวกับตะโก แต่ยางของลูกมะพลับใช้ได้ดีกว่ามาก เพราะไม่ทำ ให้เส้นด้ายแข็งกรอบเหมือนผลตะโก จึงทำให้ยางของมะพลับมีราคาดีกว่าตะโกมาก จึงมีพ่อค้าหัวใส นำยางของผลตะโกปลอมขายเป็นยางมะพลับ จึงได้เกิดมีคำพังเพยว่า “ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก
คติความเชื่อ                      :   มะพลับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของคนไทย กำหนดปลูกไว้ทางทิศใต้ (ทักษิณ) ตามโบราณเชื่อกันว่า การปลูกต้นมะพลับในบริเวณบ้านจะทำให้ร่ำรวยยิ่งขึ้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. มะพลับ เก็บถาวร 2007-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บสถาบันการแพทย์ไทย

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]