ข้ามไปเนื้อหา

พลับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลับ
ลูกพลับ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Ericales
วงศ์: Ebenaceae
สกุล: Diospyros
Species

D. kaki (พลับจีนหรือพลับญี่ปุ่น)
D. digyna (black sapote)
D. discolor (velvet apple)
D. lotus (date plum)
D. texana (พลับเท็กซัส)
D. virginiana (พลับอเมริกา)

พลับ (อังกฤษ: Persimmon) เป็นพืชในสกุล Diospyros ซึ่งมีอยู่หลายสปีชีส์ด้วยกัน สปีชีส์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยมากที่สุดคือ D.kaki ญี่ปุ่นเรียกว่าคาขิ ถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคเหนือของจีน มีการรับประทานพลับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นและถือเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า ต่อมาได้กระจายพันธุ์เข้าไปในญี่ปุ่น [1] และกลายเป็นผลไม้ยอดนิยม พลับพันธุ์ที่นิยมปลูกในยุโรปเป็นสปีชีส์ D. virginia ซึ่งนำพันธุ์มาจากสหรัฐอเมริกา

ลักษณะ

[แก้]

พลับเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ ใบรูปหัวใจสีเขียว ดอกสีเหลือง ทรงดอกคล้ายระฆัง ผลมีรูปทรงได้หลายแบบ ทั้งทรงกรวย ทรงกลม ทรงกลมแบน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เนื้อสีส้ม เนื้อแข็ง ภายในมีเมล็ด 8 เมล็ด สีน้ำตาล สามารถจำแนกประเภทได้ตามรสชาติของผล แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

  • พลับหวาน ผลสุกสีส้มอมเหลือง รสหวาน รับประทานสดได้ เช่น พันธฺ์ฟูยุ
  • พลับฝาด ผลสุกเนื้อสีส้มอมแดง เนื้อนิ่ม รสฝาด ต้องนำมาผ่านกระบวนการลดความฝาดจึงจะรับประทานได้ เช่น พันธุ์ซิชู พันธุ์ฮาชิยา

การใช้ประโยชน์

[แก้]
干し柿 Hoshigaki พลับญี่ปุ่นแห้ง
พลับแห้ง (shibing, 柿餅) ในตลาด Xi'an

พลับใช้รับประทานสด และนำไปแปรรูปเป็นพลับแห้ง แยม พลับเชื่อมและน้ำลูกพลับ ผลแห้งใช้เป็นยาบรรเทาอาการร้อนใน เจ็บคอ ผลสด แก้ไอ แก้พิษสุรา ท้องเดิน[1]

พลับ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน293 กิโลจูล (70 กิโลแคลอรี)
18.59 g
น้ำตาล12.53 g
ใยอาหาร3.6 g
.19 g
อิ่มตัว.02 g
.58 g
วิตามิน
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(208%)
2.5 มก.
โฟเลต (บี9)
(2%)
8 μg
วิตามินซี
(9%)
7.5 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(1%)
8 มก.
เหล็ก
(1%)
.15 มก.
โซเดียม
(0%)
1 มก.


Diospyros kaki, raw
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 นิดดา หงส์วิวัฒน์, ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. พลับในผลไม้ 111 ชนิด, คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. : [ม.ป.พ.], [ม.ป.ป.]. หน้า 115 - 117.