สมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย
อาเล็กซานดาร์ที่ 1 | |
---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งยูโกสลาเวีย | |
ครองราชย์ | 3 ตุลาคม ค.ศ. 1929 - 9 ตุลาคม ค.ศ. 1934 |
ถัดไป | เปตาร์ที่ 2 |
พระมหากษัตริย์แห่ง ปวงชนชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน | |
ครองราชย์ | 16 สิงหาคม ค.ศ. 1921 - 3 ตุลาคม ค.ศ. 1929 |
ก่อนหน้า | เปตาร์ที่ 1 |
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งเซอร์เบีย และ ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน | |
ระหว่าง | 24 มิถุนายน ค.ศ. 1914 – 16 สิงหาคม ค.ศ. 1921 |
พระมหากษัตริย์ | เปตาร์ที่ 1 |
พระราชสมภพ | 16 ธันวาคม ค.ศ. 1888 เซทินเจ ราชรัฐมอนเตเนโกร |
สวรรคต | 9 ตุลาคม ค.ศ. 1934 มาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส | (45 ปี)
ฝังพระศพ | Oplenac โทโพลา ประเทศเซอร์เบีย |
คู่อภิเษก | สมเด็จพระราชินีมาเรียแห่งยูโกสลาเวีย |
พระราชบุตร | สมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย เจ้าชายโทมิสลาฟแห่งยูโกสลาเวีย เจ้าชายแอนดรูว์แห่งยูโกสลาเวีย |
ราชวงศ์ | การาจอร์เจวิช |
พระราชบิดา | สมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย |
พระราชมารดา | เจ้าหญิงซอร์กาแห่งมอนเตเนโกร |
ลายพระอภิไธย |
สมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หรือ อาเล็กซานดาร์ที่ 1 การาจอร์เจวิช (เซอร์เบีย-โครเอเชีย: Aleksandar I Karađorđević) (16 ธันวาคม ค.ศ. 1888 - 9 ตุลาคม ค.ศ. 1934) ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย และทรงเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชอาณาจักรเซิร์บ,โครแอทและสโลวีน
ช่วงต้นของพระชนม์ชีพ
[แก้]เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ การาจอร์เจวิชประสูติที่เมืองเซทินเจ ราชรัฐมอนเตเนโกรในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1888 พระบิดาของพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย พระมารดาของพระองค์คือ เจ้าหญิงซอร์กาแห่งมอนเตเนโกร พระธิดาองค์โตในพระเจ้านิกอลาที่ 1 แห่งมอนเตเนโกร ที่เมืองเบลเกรด ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1922 พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับ สมเด็จพระราชินีมาเรียแห่งยูโกสลาเวีย ผู้ซึ่งเป็นพระธิดาของ เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนียกับสมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย เจ้าชายอเล็กซานเดอร์มีพระโอรส 3 พระองค์ คือสมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย, เจ้าชายโทมิสลาฟแห่งยูโกสลาเวีย และ เจ้าชายแอนดรูว์แห่งยูโกสลาเวีย
พระองค์ทรงใช้ชีวิตในช่วงต้นที่มอนเตเนโกร ทรงศึกษาที่เมืองเจนีวา พระองค์ทรงศึกษาต่อด้านการทหารที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซียแต่พระองค์ทรงออกจากโรงเรียนมาศึกษาที่เบลเกรด เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ทรงไม่ใช่รัชทายาทอันดับแรกของราชบัลลังก์ เนื่องจากพระเชษฐาคือ เจ้าชายจอร์จ มกุฎราชกุมารแห่งเซอร์เบียทรงปฏิเสธที่จะครองราชย์ เจ้าชายอาเล็กซานดาร์จึงดำรงเป็นรัชทายาทต่อ
สงครามบอลข่านและสงครามโลกครั้งที่ 1
[แก้]ในสงครามบอลข่านครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1912 ทรงเป็นผู้บัญชาการของกองทัพที่ 1 มกุฎราชกุมารอาเล็กซานดาร์ทรงชนะในสมรภูมิคูมาโนโวและสมรภูมิบีโตลา และหลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1913 ระหว่างสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ในสมรภูมิเบรกาลนิกา ผลที่ตามมาของสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ทรงมีอิทธิพลในการต่อสู้เหนือมาซิโดเนีย เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ทรงชนะพันเอกดรากูทิน ดิมิทีเจวิค ทำให้พระราชบิดาทรงมอบอำนาจให้ ในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เจ้าชายอเล็กซานดาร์ทรงได้เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งเซอร์เบีย
การประทุขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 พระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพเซอร์เบียแต่เพียงในนาม อำนาจในการสั่งการอยู่ที่หัวหน้าเสนาธิการทางทหารสูงสุดคือ สเตปา สเตปาโนวิช (ในช่วงระหว่างการเคลื่อนไหวของสงคราม),ราโดเมอ พุทนิก (ค.ศ. 1914-1915), เปตรา บอจอวิช (ค.ศ. 1916-1917) และซิวอจิน มิซิก (ค.ศ. 1918) กองทัพเซอร์เบียแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในสมรภูมิเชอร์และดรีนา (สมรภูมิคูลูบารา) ในปี ค.ศ. 1914 ได้ชัยชนะต่อการโจมตีของกองทัพจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและได้ขับไล่ออกจากประเทศจนหมด
ในปี ค.ศ. 1915 กองทัพเซอร์เบียกับพระเจ้าเปตาร์ที่ 1 และมกุฎราชกุมารอาเล็กซานดาร์ต้องประสบแก่ความปราชัยหลายครั้งโดยพันธมิตรแห่งเยอรมนี,ออสเตรีน-ฮังการีและบัลแกเรีย จนต้องถอยร่นไปจากช่องเขาที่มอนเตเนโกรและทางตอนเหนือของแอลเบเนียไปที่เกาะคอร์ฟูของกรีซที่ซึ่งได้จัดระบบทัพใหม่ หลังจากกองทัพหนุนจากพันธมิตรได้เข้าช่วย ทำให้สามารถชนะกองทัพฝ่ายไตรภาคีที่แนวหน้ามาร์ซิโดเนีย บริเวณคัจมักคาลาน กองทัพเซอร์เบียเป็นส่วนสำคัญมากในการบุกไปในเขตข้าศึกในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1918
กษัตริย์แห่งยูโกสลาเวีย
[แก้]ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 ในการจัดเตรียมรางวัลเกียรติยศไว้ล่วงหน้า มกุฎราชกุมารอาเล็กซานดาร์ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการ ทรงได้รับเกียรติเป็นผู้แทนสภาแห่งประชาชนของรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ และพระองค์ได้ตอบรับเป็นผู้แทน เป็นการพิจารณาการกำเนิดของราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
ในปี ค.ศ. 1921 พระราชบิดาเสด็จสวรรคต มกุฎราชกุมารอาเล็กซานดาร์ขึ้นครองราชอาณาจักรเซิร์บ, โครแอตและสโลวีน ที่ซึ่งก่อตั้งอย่างไม่เป็นทางการจากราชอาณาจักรและส่วนที่เหลือของยุโรปเช่นเดียวกับยูโกสลาเวีย
ในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1929 ในการตอบสนองวิกฤตทางการเมืองที่มีแรงกระตุ้นจากการลอบสังหารสเตฟาน ราดิกนักการเมืองชาวโครแอตในรัฐสภา พระเจ้าอาเล็กซานดาร์ทรงยกเลิกรัฐธรรมนูญและปิดการประชุมรัฐสภาและเริ่มนำการปกครองระบอบเผด็จการ(เป็นที่รู้จักในชื่อ"6 มกราคม ระบอบเผด็จการ":Šestojanuarska diktatura) พระองค์ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย และทรงเปลี่ยนการปกครองภายในจาก 33 ออบเบรสท์(แคว้น)เป็น 9 บูนอฟวินา(เขต)ในวันที่ 3 ตุลาคม
ในเดือนเดียวกันพระองค์ทรงยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการใช้อักษรเซอร์เบีย ซีริลลิกที่ยกระดับการใช้อักษรละตินในเขตยูโกสลาเวีย
ในปี ค.ศ. 1931 พระเจ้าอาเล็กซานดาร์ทรงประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ซึ่งเป็นการถ่ายโอนอำนาจทางการบริหารให้แก่กษัตริย์ การเลือกตั้งสำหรับสิทธิ์แก่บุรุษในการออกเสียงเลือกตั้ง การเลือกตั้งได้ถูกละทิ้งและเกิดแรงกดดันจากลูกจ้างคนงานทั่วไปที่จะลงคะแนนเพื่อพรรคในการปกครองโดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญของพระเจ้าอาเล็กซานดาร์
การลอบปลงพระชนม์
[แก้]ในบันทึกการเสียชีวิตของสมาชิกในราชวงศ์ของพระองค์ 3 พระองค์ในวันอังคาร พระเจ้าอาเล็กซานดาร์ทรงปฏิเสธการทำหน้าที่ทางการในวันนั้นแต่พระองค์ไม่มีทางเลือก ในวันอังคารที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1934 เสด็จมาถึงเมืองมาร์เซย์และเริ่มพบปะกับเหล่าคณะรัฐบาลของฝรั่งเศสเพื่อกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในพันธมิตรทวิภาคีน้อย ทรงประทับรถพระที่นั่งเปิดประทุนแล่นไปตามถนนยาวโดยมีประชาชนต้อนรับ 2 ข้างทาง ทรงประทับกับรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส หลุยส์ บาร์ทเทา ผู้ลอบสังหารคือ วาโด เชอนอเซมสกี ได้ก้าวจากถนนได้ยิงพระองค์กับคนขับรถพระที่นั่ง ส่วนหลุยส์ บาร์ทเทาได้ถูกยิงโดยบังเอิญจากตำรวจชาวฝรั่งเศสและจากนั้นเขาก็เสียชีวิต
การลอบสังหารครั้งนี้เป็นการลอบสังหารครั้งแรกที่ได้มีการบันทึกเหตุการณ์ไว้ทางวิดีโอ เนื่องจากการลอบสังหารได้เกิดขึ้นต่อหน้าช่างภาพพอดี และได้บันทึกภาพร่างของผู้ขับรถและพระบรมศพพระเจ้าอาเล็กซานดาร์หลังจากทรงถูกลอบสังหารแล้ว
วาโด เชอนอเซมสกี เป็นสมาชิกในองค์การปฏิวัติภายในมาซิโดเนียน (Internal Macedonian Revolutionary Organization; IMRO) และเขาเป็นนักแม่นปืนที่มีประสบการณ์สูง โดยทันทีหลังจากการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอาเล็กซานดาร์ พระบรมศพทรงมีบาดแผลโดยดาบของตำรวจฝรั่งเศสและฝูงชนที่เบียดเสียดเข้ามาดูพระบรมศพ พระบรมศพได้ถูกนำออกไปจากบริเวณนั้น กลุ่มปฏิวัติได้ทำการต่อสู้แบ่งแยกดินแดนวาร์ดามาซิโดเนียให้ออกจากยูโกสลาเวีย กลุ่มปฏิวัตินี้ได้ปฏิบัติการร่วมกับพันธมิตรอย่างขบวนการปฏิวัติโครเอเชีย – อูสตาซี (Ustaše) ที่นำโดยอานเต ปาเวลิช ภายใต้การสนับสนุนอย่างลับๆ ของผู้นำอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี
การถ่ายทอดการลอบปลงพระชนม์ครั้งนี้เป็นผลให้มีการถ่ายทอดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย, พระราชพิธีพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย, พระราชพิธีพระบรมศพของจักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซที่ 1 แห่งออสเตรีย และการลอบสังหารประธานาธิบดีอเมริกาจอห์น เอฟ. เคนเนดี
พระบรมศพของพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ได้ฝังที่โบสถ์ความทรงจำแห่งเซนต์จอห์น ที่ซึ่งสร้างโดยพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งขณะนั้นพระราชโอรสของพระองค์สมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย ยังทรงพระเยาว์ พระญาติของพระองค์เจ้าชายพอลแห่งยูโกสลาเวีย ได้ดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระเกียรติยศ
[แก้]พระราชอิสริยยศ
[แก้]- 16 ธันวาคม 1888 – 15 มกราคม 1903: เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ คาราจอร์เจวิช
- 15 มกราคม 1903 – 27 มีนาคม 1909: His Royal Highness เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ แห่งเซอร์เบีย
- 27 มีนาคม 1909 – 1 ธันวาคม 1918: His Royal Highness เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย
- 1 ธันวาคม 1918 – 16 สิงหาคม 1921: His Royal Highness เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งชนชาวเซิร์บ โครแอท และ สโลวีน
- 16 สิงหาคม 1921 – 6 มกราคม 1929: His Majesty สมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งชนชาวเซิร์บ โครแอท และ สโลวีน
- 6 มกราคม 1929 – 9 ตุลาคม 1934: His Majesty สมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พระราชตระกูล
[แก้]อาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย | พระชนก: ปีเตอร์ที่ 1 แห่งปวงชนชาวเซิร์บ,โครแอทและสโลวีน |
พระอัยกาฝ่ายพระชนก: อเล็กซานเดอร์ คาราดอร์เดวิค |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: คาราดอร์ เปโทรวิช |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: เจเลนา เจวานนอวิช | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก: เพรสินา เนนาโนวิช |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: เจฟเรม เนนาโนวิช | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: ไม่ปรากฏพระนาม | |||
พระราชชนนี: ซอร์กาแห่งมอนเตเนโกร |
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี: นิโคลัสที่ 1 แห่งมอนเตเนโกร |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: แกรนด์ดยุคเมอร์โก เปโทรวิช-นีเยกอช | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: อนาสตาซีรา มาร์ทติโนวิช | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี: มิเลนา วูคอวิช |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: เปตรา วูคอวิช | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: เจเรนา วอยโววิช |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2017-02-02.
- ↑ https://www.pinterest.com/pin/363313894911423476/
- http://en.wikipedia.org/wiki/Alexander_I_of_Yugoslavia
- Royal House of Yugoslavia เก็บถาวร 2007-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Royal House of Romania เก็บถาวร 2007-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Mausoleum of the Serbian Royal Family
- The Official Website of the Serbian Royal Family
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ปีเตอร์ที่ 1 แห่งปวงชนชาวเซิร์บ, โครแอตและสโลวีน ตำแหน่ง พระมหากษัตริย์แห่งปวงชนชาวเซิร์บ, โครแอตและสโลวีน |
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งปวงชนชาวเซิร์บ, โครแอตและสโลวีน (คาราดอร์เดวิค) (16 สิงหาคม ค.ศ. 1921 – 3 ตุลาคม ค.ศ. 1929) |
สถาปนาราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย | ||
ตำแหน่งใหม่ | พระมหากษัตริย์แห่งยูโกสลาเวีย (คาราดอร์เดวิค) (3 ตุลาคม ค.ศ. 1929 – 9 ตุลาคม ค.ศ. 1934) |
ปีเตอร์ที่ 2 |