ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
พระราชอิสริยยศ |
|
---|---|
ปกครอง | |
สาขา |
|
ประมุขพระองค์แรก | แอนสท์ที่ 1 ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา |
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบัน | อันเดรอัส เจ้าชายแห่งซัคเซิน‑โคบวร์คและโกทา |
สถาปนา | 1826 |
ล่มสลาย | 1918 (ในซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา) |
เชื้อชาติ | เยอรมัน |
ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา (เยอรมัน: Haus Sachsen-Coburg und Gotha) เป็นราชวงศ์เชื้อสายเยอรมัน เดิมมีถิ่นปกครองอยู่ในแคว้นซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา หนึ่งในเครือดัชชีแอร์เน็สท์ ซึ่งเคยตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นรัฐทือริงเงินและรัฐไบเอิร์นในปัจจุบัน ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาถูกก่อตั้งโดยแอนสท์ อันโทน ดยุกที่ 6 แห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-ซาลเฟ็ลท์ โดยแยกออกมาจากราชวงศ์เว็ททีน
ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาได้ขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษผ่านทางเจ้าชายอัลแบร์ท ซึ่งทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในปีค.ศ. 1840 อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งกับเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้พระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงเปลี่ยนชื่อราชวงศ์ในอังกฤษเสียใหม่เป็นราชวงศ์วินด์เซอร์ในปีค.ศ. 1917[1] ในประเทศเบลเยียมก็มีการเปลี่ยนชื่อราชวงศ์หลังสงครามเช่นกัน โดยเปลี่ยนไปใช้ van België (แห่งเบลเยียม)
สาขา
[แก้]สาขาหลัก
[แก้]- แอนสท์ที่ 1 (1826–1844)
- แอนสท์ที่ 2 (1844–1893)
- อัลเฟรท (1893–1900)
- คาร์ล เอดูอาร์ท (1900–1918)
สาขาซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา-โคฮารี
[แก้]โปรตุเกส
[แก้]- เปดรูที่ 5 (1853–1861)
- ลูอิชที่ 1 (1861–1889)
- การ์ลูที่ 1 (1889–1908)
- มานูแวลที่ 2 (r. 1908–1910, d.1932)
บัลแกเรีย
[แก้]- เฟอร์ดินานด์ที่ 1 (1887–1918)
- บอริสที่ 3 (1918–1943)
- ซีเมออนที่ 2 (1943–1946)
พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม
[แก้]สาขาเบลเยียมเริ่มนับจากเลออปอลที่ 1 พระโอรสพระองค์เล็กของฟรันทซ์ ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-ซาลเฟลด์ โดยหลังจากการเข้ารีตมาทรงนับถือนิกายโรมันคาทอลิกเพื่อรับราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม สาขาเบลเยียมล้วนนับถือนิกายโรมันคาทอลิก
- เลออปอลที่ 1 (1831–1865)
- เลออปอลที่ 2 (1865–1909)
- อัลแบร์ที่ 1 (1909–1934)
- ออปอลที่ 3 (1934–1951)
- โบดวง (1951–1993)
- อัลแบร์ที่ 2 (1993–2013)
- ฟีลิป (2013–ปัจจุบัน)
ราชวงศ์เบลเยียม
[แก้]เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในช่วงปีค.ศ. 1920-1921 ทำให้ราชวงศ์สาขาเบลเยียมนั้นไม่สามารถเปลี่ยนมาเป็น "แห่งเบลเยียม"[2][3] ได้ทัน และสัญลักษณ์โล่แห่งซัคเซินประจำราชวงศ์เว็ททีนได้ถูกถอดไปจากตราแผ่นดินของเบลเยียม[3] ต่อมาในปีค.ศ. 2017 "แห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา" ได้ถูกนำมาใช้เป็นสร้อยพระนามให้กับพระราชวงศ์ทุกพระองค์ที่สืบราชสกุลต่อจากพระเจ้าเลออปอลที่ 1 ยกเว้นในกรณีของสมเด็จพระราชาธิบดี สมเด็จพระราชินี เจ้าหญิงอัสตริดแห่งเบลเยียม (พระเชษฐภคินี) เจ้าชายโลร็องแห่งเบลเยียม (พระอนุชา) ซึ่งยังคงใช้ "แห่งเบลเยียม" เป็นสร้อยพระนามดังเดิม ดังนั้นพระโอรสธิดาในอาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย-เอสเตจะไม่ได้ใช้สร้อยพระนาม "แห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา" แต่ใช้ "แห่งออสเตรีย-เอสเต" ตามพระบิดาแทน[4][5][6] โดยตราโล่แห่งซัคเซินนั้นถูกเชิญกลับมาใช้ในตราแผ่นดินเบลเยียมตั้งแต่ปีค.ศ. 2019 เป็นต้นมา[7]
สาขาสหราชอาณาจักร
[แก้]- เอ็ดเวิร์ดที่ 7 (1901–1910)
- จอร์จที่ 5 (1910–1917)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The House of Windsor – A Proclamation 1917 - British Monarchist Society and Foundation". bmsf.org.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-17. สืบค้นเมื่อ 2020-03-13.
- ↑ ROEGIERS, Patrick (2017-08-17). "Chapitre 23 : Le « roi-chevalier » n'est pas un héros". La spectaculaire histoire des rois des Belges [The spectacular history of the Kings of the Belgian] (ภาษาฝรั่งเศส). Perrin. ISBN 978-2-262-07112-7.
Il [Albert Ier] décide le 22 avril 1921 de ne plus porter ses titres de comte de Saxe et prince de Saxe-Cobourg-Gotha, mais n’abandonne pas ses qualités et titres officiels allemands, tout comme Elisabeth garde son titre de duchesse en Bavière. Leur fils, Léopold III, les reprendra plus tard, ces titres n’ayant pas été juridiquement supprimés.
- ↑ 3.0 3.1 Balfoort, Brigitte; Van Paemel, Eddy, บ.ก. (2010). "The Belgian monarchy" (PDF). belgium.be. Olivier Alsteens. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 December 2019.
- ↑ Newmedia, R. T. L. "La famille royale s'appelle à nouveau Saxe-Cobourg: pourquoi est-ce bientôt la fin des "de Belgique"?". RTL Info (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 2020-02-25.
- ↑ "La famille royale s'appelle à nouveau de Saxe-Cobourg". Le Soir Plus (ภาษาฝรั่งเศส). 2017-05-04. สืบค้นเมื่อ 2020-02-25.
- ↑ Libre.be, La (2017-05-05). "Famille royalement de Belgique et Saxe-Cobourg". www.lalibre.be (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 2020-02-25.
- ↑ ejustice.just.fgov.be (PDF) http://www.ejustice.just.fgov.be/mopdf/2019/07/19_2.pdf.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)