รายพระนามพระมหากษัตริย์บัลแกเรีย
พระเจ้าซาร์ แห่งราชอาณาจักรบัลแกเรีย | |
---|---|
ราชาธิปไตยในอดีต | |
ธงประจำพระองค์ของพระเจ้าซาร์ | |
พระเจ้าซาร์ซีเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย พระมหากษัตริย์แห่งบัลแกเรียองค์สุดท้าย | |
| |
ปฐมกษัตริย์ | ข่านอัสปารุค (ดำรงพระอิสริยยศเป็น ข่าน) |
องค์สุดท้าย | ซาร์ซีแมออนที่ 2 (ดำรงพระอิสริยยศเป็น ซาร์) |
สถานพำนัก | พระราชวังหลวงบัลแกเรีย, โซเฟีย ราชอาณาจักรบัลแกเรีย |
เริ่มระบอบ | พ.ศ. 1224 (ค.ศ. 681) |
สิ้นสุดระบอบ | 15 กันยายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) (1,265 ปี 289 วัน) |
ผู้อ้างสิทธิ์ | อดีตซาร์ซีแมออนที่ 2 |
พระมหากษัตริย์แห่งบัลแกเรีย ทรงปกครองประเทศอย่างเป็นอิสระทั้งสิ้น 3 ระยะ คือ ระยะแรกตั้งแต่การก่อตั้งจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 จนถึงช่วงของการพิชิตบัลแกเรียของไบแซนไทน์ (ค.ศ. 681–1018) ระยะที่ 2 ตั้งแต่เหตุการณ์การก่อการกำเริบของอาแซนและแปเตอร์ ซึ่งก่อให้เกิดการจัดตั้งจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 จนถึงช่วงของการยึดครองส่วนที่เหลือของราชรัฐในดินแดนบัลแกเรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน (ค.ศ. 1185–1396) และช่วงที่ 3 เมื่อมีการจัดตั้งรัฐอิสระบัลแกเรีย จนถึงช่วงของการล้มล้างระบบกษัตริย์ด้วยการลงประชามติว่าด้วยสาธารณรัฐบัลแกเรีย ค.ศ. 1946 (ค.ศ. 1878–1946)[1]
ผู้ปกครองบัลแกเรียระยะแรกใช้พระอิสริยยศ "กานัสอูบีกี" (ข่าน) และในเวลาต่อมาในตำแหน่ง "กเนียส" (เจ้าชาย) ซึ่งใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ และต่อมาในตำแหน่ง "ซาร์" (จักรพรรดิ) สำหรับพระอิสริยยศ "ซาร์" นั้น มีที่มาจากคำว่าไกซาร์ในภาษาละติน ซึ่งใช้พระอิสริยยศนี้เป็นครั้งแรกในรัชสมัยของซาร์ซีแมออนที่ 1 แห่งบัลแกเรียหลังจากที่ได้รับชัยชนะเหนือจักรวรรดิไบแซนไทน์ใน ค.ศ. 913 และหลังจากนั้นผู้ปกครองบัลแกเรียจะใช้พระอิสริยยศนี้จนกระทั่งบัลแกเรียตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันใน ค.ศ. 1396 หลังจากมีการก่อตั้งบัลแกเรียขึ้นมาใหม่ในฐานะประเทศราชของออตโตมันใน ค.ศ. 1878 ผู้ปกครองพระองค์แรกของบัลแกเรียยุคใหม่อย่างเจ้าชายอาแลกซันเดอร์ที่ 1 ทรงเลือกใช้พระอิสริยยศ "กเนียส" (เจ้าชาย) และเมื่อบัลแกเรียได้รับอิสรภาพโดยนิตินัยใน ค.ศ. 1908 ผู้ปกครองบัลแกเรียในขณะนั้นอย่างแฟร์ดีนันต์ที่ 1 ทรงเลือกใช้พระอิสริยยศซาร์อีกครั้ง รวมทั้งพระทายาทของพระองค์ คือ ซาร์บอริสที่ 3 และซาร์ซีแมออนที่ 2 จนกระทั่งเกิดการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ใน ค.ศ. 1946 ในช่วงสมัยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 และที่ 2 ตำแหน่งซาร์นั้นมีความหมายว่า "จักรพรรดิ" ในขณะที่ในภาษาบัลแกเรียสมัยใหม่ตำแหน่งนี้มีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์"
สำหรับรายพระนามในหน้านี้ไม่รวมผู้ปกครองชนบัลการ์ของเกรตบัลแกเรียเก่าและผู้อ้างสิทธิ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการแย่งชิงราชบัลลังก์
ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | ข่านอัสปารุค บัลแกเรีย: Аспарух (Asparuh) |
ป. ค.ศ. 640 | ค.ศ. 701 แม่น้ำนีเปอร์ |
ค.ศ. 681–701 | พระโอรสของข่านกุบรัตแห่งเกรตบัลแกเรียเก่า หลังจากได้รับชัยชนะในยุทธการที่อองกัลใน ค.ศ. 680 พระองค์ทรงสถาปนาบัลแกเรียขึ้น สวรรคตใน ค.ศ. 701 จากการรบกับชาวคาซาร์[2] | |
2 | ข่านแตร์แวล บัลแกเรีย: Тервел (Tervel) |
ค.ศ. 675 จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 |
ค.ศ. 721 จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 |
ค.ศ. 701–721 | ได้รับพระอิสริยยศซีซาร์จากการช่วยเหลือจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2ในการกู้คืนพระราชบัลลังก์ใน ค.ศ. 705 [3][4] พระองค์ยังให้ความช่วยเหลือไบแซนไทน์ในสงครามการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 717–718) พระองค์สวรรคต ค.ศ. 721[5] | |
3 | ข่านกอร์แมซีย์ บัลแกเรีย: Кормесий (Kormesiy) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 738 | ค.ศ. 721–738 | ไม่ทราบวันสวรรคต[6] | |
4 | ข่านแซวาร์ บัลแกเรีย: Севар (Sevar) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 753 (ไม่แน่นอน) | ค.ศ. 738–753 | ข่านพระองค์สุดท้ายจากราชวงศ์ดูลอ อาจจะสวรรคตหรือถูกถอดถอนจากบัลลังก์ใน ค.ศ. 753[7] |
ตระกูลวอกิล (ครั้งที่ 1)
[แก้]ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
5 | ข่านกอร์มีซอช บัลแกเรีย: Кормисош (Kormisosh) |
ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ค.ศ. 753–756 | เป็นยุคเริ่มต้นของปัญหาความมั่นคงภายใน ถูกถอดถอน ค.ศ. 756[8] | |
6 | ข่านวีแนค บัลแกเรีย: Винех (Vineh) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 762 | ค.ศ. 756–762 | ถูกปลงพระชนม์ ค.ศ 762[9] |
ตระกูลอูเกน
[แก้]ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
7 | ข่านแตแลตส์ บัลแกเรีย: Телец (Telets) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 765 | ค.ศ. 762–765 | ถูกปลงพระชนม์ ค.ศ 765[10] |
ยุคไร้ราชวงศ์ (ครั้งที่ 1)
[แก้]ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
8 | ข่านซาบิน บัลแกเรีย: Сабин (Sabin) |
ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ค.ศ. 765–766 | อาจมีเชื้อสายชาวสลาฟ ถูกสภาประชาชนถอดถอนใน ค.ศ. 766 ลี้ภัยไปอยู่ไบแซนไทน์[11] |
ตระกูลวอกิล (ครั้งที่ 2)
[แก้]ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
9 | ข่านอูมอร์ บัลแกเรีย: Умор (Umor) |
ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ค.ศ. 766 | ครองราชย์ 40 วัน ถูกถอดถอนใน ค.ศ. 766 และลี้ภัยไปอยู่ไบแซนไทน์[12] |
ยุคไร้ราชวงศ์ (ครั้งที่ 2)
[แก้]ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
10 | ข่านตอกตู บัลแกเรีย: Токту (Toktu) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 767 | ค.ศ. 766–767 | ถูกฝ่ายตรงข้ามปลงพระชนม์ในป่าแถบแม่น้ำดานูบใน ค.ศ. 767[13][14] | |
11 | ข่านปากัน บัลแกเรีย: Паган (Pagan) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 768 | ค.ศ. 767–768 | ถูกคนรับใช้ปลงพระชนม์บริเวณภูมิภาควาร์นา[15] |
ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
12 | ข่านแตแลริก บัลแกเรีย: Телериг (Telerig) |
ค.ศ. 706 | ค.ศ. 777 คอนสแตนติโนเปิล, จักรวรรดิไบแซนไทน์ |
ค.ศ. 768–777 | พระโอรสของข่านแตร์แวล หลบหนีไปอยู่คอนสแตนติโนเปิลใน ค.ศ. 777 และเปลี่ยนไปนับถืออีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์[16] | |
13 | ข่านการ์ดัม บัลแกเรีย: Кардам (Kardam) |
ค.ศ. 735 | ป. ค.ศ. 803 | ค.ศ. 777–803 | ปัญหาภายในสิ้นสุดลง มีการฟื้นฟูความมั่นคงและเสถียรภาพในประเทศ ไม่ทราบวันสวรรคตที่แน่นอน[17] | |
14 | ข่านกรุม บัลแกเรีย: Крум (Krum) |
ไม่ทราบ | 13 เมษายน ค.ศ. 814 | ค.ศ. 803–814 | พระองค์เป็นที่รู้จักจากยุทธการที่ปลิสกา ซึ่งจักรพรรดินิเคฟอรอสที่ 1แห่งไบแซนไทน์สวรรคตในการรบครั้งนี้ ข่านกรุมยังเป็นผู้ริเริ่มกฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในบัลแกเรีย พระองค์สวรรคตด้วยเหตุที่คาดว่ามาจากพระหทัยวายในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 814 อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้มีอยู่หลายทฤษฎีที่ใช้อธิบายสาเหตุการสวรรคตของพระองค์[18] | |
15 | ข่านออมูร์ตัก บัลแกเรีย: Омуртаг (Omurtag) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 831 | ค.ศ. 814–831 | เป็นที่รู้จักในฐานะข่านนักก่อสร้าง ปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินและการเบียดเบียนชาวคริสต์[19] | |
16 | ข่านมาลามีร์ บัลแกเรีย: Маламир (Malamir) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 836 | ค.ศ. 831–836 | พระโอรสองค์ที่ 3 และองค์เล็กสุดของข่านออมูร์ตัก สวรรคตเมื่อพระชนมายุยังน้อย[20] | |
17 | ข่านแปรซีอันที่ 1 บัลแกเรีย: Пресиан I (Presian I) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 852 | ค.ศ. 836–852 | เกือบทุกส่วนของภูมิภาคมาซิโดเนียเป็นส่วนหนึ่งของบัลแกเรีย[21] | |
18 | เจ้าชายบอริสที่ 1 บัลแกเรีย: Борис I (Boris I) |
ไม่ทราบ | 2 พฤษภาคม ค.ศ. 907 แปรสลัฟ, บัลแกเรีย |
ค.ศ. 852–889 | เกิดกระบวนการเปลี่ยนบัลแกเรียให้เป็นคริสต์ กำหนดให้ภาษาบัลแกเรียเก่าเป็นภาษาราชการของประเทศและคริสตจักร ยอมรับคริสตจักรบัลแกเรียนออร์ทอดอกซ์[22] สละราชสมบัติ ค.ศ. 883 และสวรรคตวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 902 พระชนมายุประมาณ 80 พรรษา [23] ได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญ | |
19 | เจ้าชายวลาดีมีร์ บัลแกเรีย: Владимир (Vladimir) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 893 (ไม่แน่นอน) | ค.ศ. 889–893 | พระโอรสองค์โตของเจ้าชายบอริสที่ 1 พยายามที่จะรื้อฟื้นศาสนาเทงกรี พระบิดาถอดถอนและทำให้พระองค์พระเนตรบอดใน ค.ศ. 893[24] | |
20 | ซาร์ซีแมออนที่ 1 บัลแกเรีย: Симеон I (Simeon I) |
ค.ศ. 864/865 | 27 พฤษภาคม ค.ศ. 927 แปรสลัฟ, บัลแกเรีย |
ค.ศ. 893–927 | พระโอรสองค์ที่ 3 ของเจ้าชายบอริสที่ 1 ถูกเลี้ยงมาเพื่อให้เป็นนักบวช แต่ได้ราชบัลลังก์จากสภาแห่งแปรสลัฟ บัลแกเรียมีความเจริญและอาณาเขตกว้างไกลมากที่สุด และเป็นยุคทองของวัฒนธรรมบัลแกเรีย สวรรคตจากพระอาการหทัยวายในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 927 พระชนมายุ 63 พรรษา[25] | |
21 | ซาร์แปเตอร์ที่ 1 บัลแกเรีย: Петър I (Peter I) |
ไม่ทราบ | 30 มกราคม ค.ศ. 970 | ค.ศ. 927–969 | พระโอรสพระองค์ที่ 2 ของซาร์ซีแมออนที่ 1 พระองค์ครองราชย์ 42 ปี ซึ่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์บัลแกเรีย พระองค์สละราชสมบัติใน ค.ศ. 969 เพื่อเป็นนักบวช สวรรคตวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 970[26] ได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญ | |
22 | ซาร์บอริสที่ 2 บัลแกเรีย: Борис II (Boris II) |
ป. ค.ศ. 931 | ค.ศ. 977 | ค.ศ. 969–971 | พระโอรสองค์โตของซาร์แปเตอร์ที่ 1 ถูกไบแซนไทน์ถอดจากราชบัลลังก์ใน ค.ศ. 971 พระองค์ถูกกองทหารชายแดนของบัลแกเรียสังหาร เมื่อพระองค์พยายามที่จะเสด็จกลับประเทศใน ค.ศ. 977[27] | |
23 | ซาร์รอมัน บัลแกเรีย: Роман (Roman) |
ช่วงต้นของคริสต์ทศวรรษที่ 930 | ค.ศ. 997 คอนสแตนติโนเปิล, จักรวรรดิไบแซนไทน์ |
ค.ศ. 977–991 (997) | พระโอรสพระองค์ที่ 2 ของซาร์แปเตอร์ที่ 1 พระองค์ถูกไบแซนไทน์ตอนพระอัณฑะ แต่หนีกลับมาบัลแกเรียได้ใน ค.ศ. 977 ต่อมาถูกจับในการรบกับไบแซนไทน์ใน ค.ศ. 991 สวรรคตภายในคุกที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ค.ศ. 997[29] |
ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
24 | ซาร์ซามูอิล บัลแกเรีย: Самуил (Samuil) |
ไม่ทราบ | 6 ตุลาคม ค.ศ. 1014 แปรสปา, บัลแกเรีย |
ค.ศ. 997–1014 | ผู้ปกครองร่วมและนายพลภายใต้การปกครองของซาร์รอมันตั้งแต่ ค.ศ. 976–997 สถาปนาพระองค์เป็นซาร์แห่งบัลแกเรียใน ค.ศ. 997 สวรรคตจากพระอาการหทัยวายวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1014 พระชนมายุประมาณ 69–70 พรรษา[30] | |
25 | ซาร์กาวริล ราดอมีร์ บัลแกเรีย: Гаврил Радомир (Gavril Radomir) |
ไม่ทราบ | สิงหาคม ค.ศ. 1015 | ค.ศ. 1014–1015 | พระโอรสองค์โตของซาร์ซามูอิล ขึ้นครองราชย์วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1014 ถูกปลงพระชนม์โดยซาร์อีวัน วลาดิสลัฟ ซึ่งเป็นพระภาดาของพระองค์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1015[31] | |
26 | ซาร์อีวัน วลาดิสลัฟ บัลแกเรีย: Иван Владислав (Ivan Vladislav) |
ไม่ทราบ | กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1018 ดูร์เริส |
ค.ศ. 1015–1018 | พระโอรสของอารอนและพระภาติยะของซาร์ซามูอิล สวรรคตในการล้อมดูร์เริส[32] การสวรรคตของพระองค์ถือได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 โดยถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของไบแซนไทน์ | |
27 | ซาร์แปรซีอันที่ 2 บัลแกเรีย: Пресиян II (Presian II) |
ค.ศ. 996/97 (ไม่แน่นอน) | ค.ศ. 1060/61 (ไม่แน่นอน) | ค.ศ. 1018 | รัชทายาทของซาร์อีวัน วลาดิสลัฟ นักประวัติศาสตร์บางคนถือว่าพระองค์เป็นซาร์พระองค์สุดท้ายของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1[33] |
พระมหากษัตริย์ที่อ้างสิทธิ์ระหว่างการปกครองโดยจักรวรรดิไบแซนไทน์
[แก้]ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
– | ซาร์แปเตอร์ที่ 2 บัลแกเรีย: Петър II (Peter II) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 1041 | ค.ศ. 1040–1041 | อ้างว่าเป็นทายาทของซาร์กาวริล ราดอมีร์ ก่อกำเริบเพื่อต่อต้านไบแซนไทน์ แต่ไม่สำเร็จ[34] | |
– | ซาร์แปเตอร์ที่ 3 บัลแกเรีย: Петър ІІІ (Peter III) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 1101 | ค.ศ. 1072 | มีพระนามว่ากอนสตันติน บอดิน โดยพระองค์มีซาร์ซามูอิลเป็นบรรพบุรุษ พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นซาร์แห่งบัลแกเรียในช่วงของการก่อกำเริบของแกออร์กี วอยแตค[35] ระหว่าง ค.ศ. 1081–1101 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งดูกลิยา |
ราชวงศ์อาแซน (ครั้งที่ 1)
[แก้]ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 (1) |
ซาร์แปเตอร์ที่ 4 บัลแกเรีย: Петър IV (Peter IV) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 1197 | ค.ศ. 1185–1190 | พระนามเดิมแตออดอร์ พระองค์สถาปนาตนขึ้นเป็นซาร์แห่งบัลแกเรียเมื่อการก่อการกำเริบประสบความสำเร็จ ใน ค.ศ. 1190 พระองค์สละราชสมบัติให้กับพระอนุชา[36] | |
2 | ซาร์อีวัน อาแซนที่ 1 บัลแกเรีย: Иван Асен I (Ivan Asen I) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 1196 | ค.ศ. 1190–1196 | พระอนุชาของซาร์แปเตอร์ที่ 4 พระองค์เป็นแม่ทัพที่ประสบความสำเร็จ ปกครองจนกระทั่งถึง ค.ศ. 1196 และถูกปลงพระชนม์โดยอีวังกอ ซึ่งเป็นพระภาดาของพระองค์[37] | |
1 (2) |
ซาร์แปเตอร์ที่ 4 บัลแกเรีย: Петър IV (Peter IV) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 1197 | ค.ศ. 1196–1197 | กลับมาครองราชบัลลังก์หลังจากพระอนุชาสวรรคต ถูกปลงพระชนม์ใน ค.ศ. 1197[36] | |
3 | ซาร์กาลอยัน บัลแกเรีย: Калоян (Kaloyan) |
ป. ค.ศ. 1172 | ตุลาคม ค.ศ. 1207 | ค.ศ. 1197–1207 | พระอนุชาของซาร์แปเตอร์ที่ 4 และซาร์อีวัน อาแซนที่ 1 ทรงขยายอาณาเขตของจักรวรรดิบัลแกเรีย และพยายามนำคริสตจักรบัลแกเรียเข้าสู่นิกายโรมันคาทอลิก พระองค์ถูกปลงพระชนม์ในเหตุการณ์การล้อมที่เทสซาโลนีกี[38] | |
4 | ซาร์บอริล บัลแกเรีย: Борил (ฺBoril) |
ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ค.ศ. 1207–1218 | พระโอรสของพระกนิษฐาของซาร์กาลอยัน ถูกถอดถอนและทำให้พระเนตรบอด ค.ศ. 1218[39] | |
5 | ซาร์อีวัน อาแซนที่ 2 บัลแกเรีย: Иван Асен II (Ivan Asen II) |
คริสต์ทศวรรษที่ 1190 | พฤษภาคม/มิถุนายน ค.ศ. 1241 | ค.ศ. 1218–1241 | พระโอรสพระองค์ใหญ่ในซาร์อีวัน อาแซนที่ 1 เป็นยุคที่จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 เจริญถึงขีดสุด สวรรคตใน ค.ศ. 1241 พระชนมายุประมาณ 46–47 พรรษา[40] | |
6 | ซาร์กาลีมัน อาแซนที่ 1 บัลแกเรีย: Калиман Асен I (Kaliman Asen I) |
ค.ศ. 1234 | สิงหาคม/กันยายน ค.ศ. 1246 | ค.ศ. 1241–1246 | พระโอรสของซาร์อีวัน อาแซนที่ 2 ประสูติใน ค.ศ. 1234 พระองค์เสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1246 ซึ่งเป็นไปได้จากการถูกลอบวางยาพิษ พระชนมายุ 12 พรรษา[41] | |
7 | ซาร์มีคาอิลที่ 2 อาแซน บัลแกเรีย: Михаил II Асен (Michael II Asen) |
ป. ค.ศ. 1239 | ธันวาคม ค.ศ. 1256 หรือ มกราคม ค.ศ. 1257 |
ค.ศ. 1246–1256 | พระโอรสของซาร์อีวัน อาแซนที่ 2 ถูกปลงพระชนม์โดยเจ้าชายกาลีมัน พระภาดาของพระองค์[42] | |
8 | ซาร์กาลีมัน อาแซนที่ 2 บัลแกเรีย: Калиман Асен II (Kaliman Asen II) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 1256 | ค.ศ. 1256 | ถูกปลงพระชนม์ใน ค.ศ. 1256[43] | |
9 | ซาร์มิตซอ อาแซน บัลแกเรีย: Мицо Асен (Mitso Asen) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 1277/78 | ค.ศ. 1256–1257 | พระชามาดาในซาร์อีวัน อาแซนที่ 2 หลบหนีไปที่จักรวรรดิไนเซียใน ค.ศ. 1257[44] | |
10 | ซาร์กอนสตันตินที่ 1 บัลแกเรีย: Константин I (Constantine I) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 1277 | ค.ศ. 1257–1277 | บอลยาร์แห่งสโกเปีย สวรรคตในการรบกับอีวัยลอใน ค.ศ. 1277[45] |
ยุคไร้ราชวงศ์
[แก้]ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
11 | ซาร์อีวัยลอ บัลแกเรีย: Ивайло (Ivaylo) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 1281 | ค.ศ. 1278–1279 | ผู้นำของการก่อกำเริบของชาวนา หนีไปอยู่กับโกลเดนฮอร์ด แต่ถูกโนไกข่านปลงพระชนม์[46] |
ราชวงศ์อาแซน (ครั้งที่ 2)
[แก้]ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
12 | ซาร์อีวัน อาแซนที่ 3 บัลแกเรีย: Иван Асен III (Ivan Asen III) |
ค.ศ. 1259/60 | ค.ศ. 1303 | ค.ศ. 1279–1280 | พระโอรสพระองค์โตของซาร์มิตซอ อาแซน หลบหนีไปอยู่คอนสแตนติโนเปิลพร้อมทรัพย์สมบัติ[47] |
ราชวงศ์แตร์แตร์ (ครั้งที่ 1)
[แก้]ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
13 | ซาร์แกออร์กีที่ 1 แตร์แตร์ บัลแกเรีย: Георги I Тертер (George I Terter) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 1308/09 | ค.ศ. 1280–1292 | บอลยาร์แห่งแชร์แวน หนีไปอยู่ไบแซนไทน์ ค.ศ. 1292 สวรรคตที่บัลแกเรียประมาณ ค.ศ. 1308–1309[48] |
ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
14 | ซาร์สมีแลตส์ บัลแกเรีย: Смилец (Smilets) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 1298 | ค.ศ. 1292–1298 | บอลยาร์แห่งกอปซิส ถูกปลงพระชนม์หรือสวรรคตด้วยเหตุตามธรรมชาติใน ค.ศ. 1298[49] | |
15 | ซาร์อีวันที่ 2 บัลแกเรีย: Иван II (Ivan II) |
ป. ค.ศ. 1290 | ก่อน ค.ศ. 1330 | ค.ศ. 1298–1299 | พระโอรสของซาร์สมีแลตส์ ขึ้นครองราชย์เมื่อทรงพระเยาว์ สูญเสียพระราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายชาวมองโกล[50] |
ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
16 | ซาร์ชากา บัลแกเรีย: Чака (Chaka) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 1300 | ค.ศ. 1299–1300 | พระโอรสของโนไกข่าน ถูกถอดถอนและปลงพระชนม์ในคุก ค.ศ. 1300[51] |
ราชวงศ์แตร์แตร์ (ครั้งที่ 2)
[แก้]ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
17 | ซาร์ตอดอร์ สแวตอสลัฟ บัลแกเรีย: Тодор Светослав (Theodore Svetoslav) |
คริสต์ทศวรรษที่ 1270 | ค.ศ. 1322 | ค.ศ. 1300–1322 | พระโอรสของซาร์แกออร์กีที่ 1 แตร์แตร์ ดำรงพระชนม์ชีพวัยเยาว์ในฐานะตัวประกันที่โกลเดนฮอร์ด การปกครองของพระองค์นำไปสู่การฟื้นตัวของบัลแกเรีย สวรรคตช่วงปลาย ค.ศ. 1321 พระชนมายุประมาณ 50–55 พรรษา[52] | |
18 | ซาร์แกออร์กีที่ 2 แตร์แตร์ บัลแกเรีย: Георги II Тертер (George II Terter) |
ไม่ทราบ | ค.ศ. 1323 | ค.ศ. 1322–1323 | พระโอรสของซาร์ตอดอร์ สแวตอสลัฟ สวรรคตช่วงปลาย ค.ศ. 1322/23[53] |
ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
19 | ซาร์มีคาอิล อาแซนที่ 3 บัลแกเรีย: Михаил Асен III (Michael Asen III) |
หลัง ค.ศ. 1280 | 31 กรกฎาคม 1330 | ค.ศ. 1323–1330 | บอลยาร์แห่งวีดิน สวรรคตในยุทธการที่แวลเบิชด์ วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1330 ขณะที่ทำสงครามกับเซอร์เบีย[54] | |
20 | ซาร์อีวัน สแตฟัน บัลแกเรีย: Иван Стефан (Ivan Stephen) |
ค.ศ. 1300/01 | ค.ศ. 1373 ? | ค.ศ. 1330–1331 | พระโอรสของซาร์มีคาอิลที่ 3 ถูกถอดถอนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1331 และหลบหนีไปอยู่เซอร์เบีย[55] คาดว่าสวรรคต ค.ศ. 1373 |
ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
21 | ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ บัลแกเรีย: Иван Александър (Ivan Alexander) |
ไม่ทราบ | 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1371 | ค.ศ. 1331–1371 | บอลยาร์แห่งแห่งโลเวช สืบเชื้อสายมาจากทั้งราชวงศ์อาแซน ราชวงศ์แตรแตรและราชวงศ์ชิชมัน ยุคสมัยของพระองค์เป็นยุคทองทางวัฒนธรรมของบัลแกเรีย สวรรคตในวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1371 บัลแกเรียถูกแบ่งออกเป็นส่วนให้กับพระโอรสของพระองค์[54] | |
22 | ซาร์อีวัน ชิชมัน บัลแกเรีย: Иван Шишман (Ivan Shishman) |
ค.ศ. 1350/51 | 3 มิถุนายน ค.ศ. 1395 | ค.ศ. 1371–1395 | พระโอรสพระองค์ที่ 4 ของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ | |
23 | ซาร์อีวัน สรัตซีมีร์ บัลแกเรีย: Иван Срацимир (Ivan Sratsimir) |
ค.ศ. 1324/25 โลเวช |
ค.ศ. 1397 | ค.ศ. 1356–1397 | พระโอรสพระองค์ที่ 3 ของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ ครองราชย์ที่เมืองวีดิน | |
24 | ซาร์กอนสตันตินที่ 2 บัลแกเรีย: Константин II (Constantine II) |
ค.ศ. 1369 วีดิน |
17 กันยายน ค.ศ. 1422 เบลเกรด |
ค.ศ. 1397–1422 | พระโอรสของซาร์อีวัน สรัตซีมีร์และซารีนาอันนา พระธิดาของเจ้าชายนีกอลาเอ อาเลกซันดรูแห่งวอเลเคีย พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นซาร์ร่วมในช่วงประมาณ ค.ศ. 1395 หรือช่วงปีก่อนหน้านั้น พระองค์ทรงสูญเสียบัลแกเรียให้กับจักรวรรดิออตโตมัน และถือได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 |
ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | เจ้าชายอาแลกซันเดอร์ที่ 1 บัทเทินแบร์ค บัลแกเรีย: Александър I Батенберг (Alexander I Battenberg) |
5 เมษายน ค.ศ. 1857 เวโรนา |
31 กรกฎาคม ค.ศ. 1893 กราซ |
ค.ศ. 1879–1886 | สละราชสมบัติเนื่องจากรัสเซียกดดัน สวรรคตที่เมืองกราซ |
ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
2 | เจ้าชายแฟร์ดีนันต์ที่ 1 บัลแกเรีย: Фердинанд I (Ferdinand I) |
26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1861 เวียนนา |
10 กันยายน ค.ศ. 1948 โคบวร์ค |
ค.ศ. 1887–1908 | ได้รับการเลือกจากสภาแห่งชาติให้เป็นเจ้าชายแห่งบัลแกเรีย |
ราชวงศ์ซัคเซิน–โคบวร์คและโกทา–โกฮารี
[แก้]ลำดับที่ | พระนาม | ประสูติ | สวรรคต | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | ซาร์แฟร์ดีนันต์ที่ 1 บัลแกเรีย: Фердинанд I (Ferdinand I) |
26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1861 เวียนนา |
10 กันยายน ค.ศ. 1948 โคบวร์ค |
ค.ศ. 1908–1918 | ได้เป็นซาร์เมื่อประกาศเอกราชในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1908 สละราชสมบัติวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1918 หลังจากการพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 สวรรคตวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1948 ที่เมืองโคบวร์ค | |
2 | ซาร์บอริสที่ 3 บัลแกเรีย: Борѝс III (Boris III) |
30 มกราคม ค.ศ. 1894 โซเฟีย |
28 สิงหาคม ค.ศ. 1943 โซเฟีย |
ค.ศ. 1918–1943 | สวรรคตหลังจากกลับมาจากการเสด็จเยือนเยอรมนีในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1943 | |
3 | ซาร์ซีแมออนที่ 2 บัลแกเรีย: Симеон II (Simeon II) |
16 มิถุนายน ค.ศ. 1937 โซเฟีย |
– | ค.ศ. 1943–1946 | เป็นพระเจ้าซาร์เมื่อมีพระชนมายุ 6 พรรษา หลังจากที่พระบิดาสวรรคต ระบอบราชาธิปไตยถูกผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ล้มล้าง และเคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 48 ของบัลแกเรีย ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 – 17 สิงหาคม ค.ศ. 2005 |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ "1946: Third Bulgarian Kingdom ends with a referendum". BNR Radio Bulgaria. สืบค้นเมื่อ 27 November 2015.
- ↑ Andreev, p. 19
- ↑ Andreev, p. 23
- ↑ Whittow, p. 273
- ↑ Andreev, p. 27
- ↑ Andreev, p. 29
- ↑ Andreev, p. 30
- ↑ Andreev, p. 32
- ↑ Andreev, p. 33
- ↑ Andreev, p. 35
- ↑ Andreev, p. 36
- ↑ Andreev, p. 38
- ↑ Andreev, p. 39
- ↑ Andreev, p. 38
- ↑ Andreev, p. 40
- ↑ Andreev, p. 42
- ↑ Andreev, p. 44
- ↑ Andreev, pp. 53–54
- ↑ Andreev, pp. 61–62
- ↑ Andreev, pp. 67–68
- ↑ Andreev, p. 70
- ↑ Whittow, p. 284
- ↑ Andreev, pp. 85–86
- ↑ Andreev, p. 89
- ↑ Andreev, pp. 103–104
- ↑ Andreev, p. 112
- ↑ Andreev, p. 118
- ↑ Ioannes Scylitzes. Historia. 2, pp. 346–347
- ↑ Andreev, p. 121-122
- ↑ Andreev, p. 127
- ↑ Andreev, pp. 129–130
- ↑ Andreev, p. 133
- ↑ Павлов, Пл., Бунтари и авантюристи в Средновековна България, LiterNet, 2005 – Заговорите на „магистър Пресиан Българина“ (посетен на 26.1.2007)
- ↑ Andreev, p. 136
- ↑ Andreev, p. 142-143
- ↑ 36.0 36.1 Andreev, pp. 146–147
- ↑ Andreev, pp. 157–158
- ↑ Andreev, p. 173
- ↑ Andreev, p. 184
- ↑ Andreev, p. 193
- ↑ Andreev, p. 197
- ↑ Andreev, p. 205
- ↑ Andreev, p. 208
- ↑ Andreev, p. 211
- ↑ Andreev, p. 229
- ↑ Andreev, p. 136
- ↑ Andreev, p. 233
- ↑ Andreev, p. 239
- ↑ Andreev, p. 240
- ↑ John V. A. Fine, Jr., The Late Medieval Balkans, Ann Arbor, 1987.
- ↑ Andreev, p. 244
- ↑ Andreev, p. 251
- ↑ Andreev, p. 254
- ↑ 54.0 54.1 Andreev, p. 263
- ↑ Andreev, p. 267
บรรณานุกรม
[แก้]- Andreev, Jordan; Milcho Lalkov (1996). The Bulgarian Khans and Tsars (ภาษาบัลแกเรีย). Veliko Tarnovo: Abagar. ISBN 954-427-216-X.
- Bakalov, Georgi (1995). The Medieval Bulgarian Ruler (Title and Insignia) (ภาษาบัลแกเรีย). Sofia.
- Ivanov, Yordan (1970). Bulgarian Antiquities from Macednia (ภาษาบัลแกเรีย). Sofia: BAN.
- Laskaris, M. (1930). Bulgarian Antiquities (Book XI). The Vatopedi Charter of Emperor Ivan Asen II (ภาษาบัลแกเรีย). Sofia: BAN, Darzhavna Pechatnitsa.
- Runciman, Steven (1930). A History of the First Bulgarian Empire. London: George Bell & Sons. OCLC 832687. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-19. สืบค้นเมื่อ 2020-06-29.
- Stephenson, Paul (2004). Byzantium's Balkan Frontier. A Political Study of the Northern Balkans (900–1204). Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-511-03402-4.
- Whittow, Mark (1996). The Making of Byzantium (600–1025). Los Angeles: University of California Press. ISBN 0-520-20497-2.
- Zlatarski, Vasil (1971) [1927]. History of the Bulgarian state in the Middle Ages. Volume I. History of the First Bulgarian Empire (ภาษาบัลแกเรีย) (2 ed.). Sofia: Nauka i izkustvo. OCLC 67080314.