โรงเรียนสาธิตยานากาวา
โรงเรียนสาธิตยานากาวา Yanagawa Demonstration School 柳川高等学校付属タイ中学校 | |
---|---|
Yanagawa Demonstration School | |
ที่ตั้ง | |
124/8 ซ.ยานากาวา หมู่ที่ 1 ถนนกะโรม ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ย.ก. |
ประเภท | โรงเรียนเอกชน |
คติพจน์ | เด่นภูมิธรรม เลิศล้ำภูมิปัญญา ก้าวหน้าเทคโนโลยี เชื่อมไมตรีไทย-ญี่ปุ่น |
สถาปนา | 8 เมษายน พ.ศ. 2559 |
หน่วยงานกำกับ | กระทรวงศึกษาธิการ |
ผู้อำนวยการ | นายณรงค์ สุทธิภักดี |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 |
สี | สีเขียว-สีทอง |
ต้นไม้ | ต้นจำปาทอง |
เว็บไซต์ | http://www.yanagawa.ac.th/ |
โรงเรียนสาธิตยานากาวา (ญี่ปุ่น: 柳川高等学校付属タイ中学校; อังกฤษ: Yanagawa Demonstration School; อักษรย่อ: ย.ก.) เป็นโรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ มีรูปแบบการจัดการศึกษาที่เน้นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMTP) และเสริมภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ (JP-EN)
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนสาธิตยานากาวา จัดตั้งขึ้นโดย ดร.เชาว์ เต็มรักษ์ นายกสมาคมพัฒนาบุคลากร (ไทย-ญี่ปุ่น) ซึ่งได้ไปใช้ชีวิตในประเทศญี่ปุ่นมาเป็นเวลา 9 ปี ทำให้มีแนวคิดในการใช้ญี่ปุ่นเป็นฐานในการพัฒนาเยาวชนไทย และเนื่องในโอกาส 120 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น จึงได้ลงนามความร่วมมือทางการศึกษา (MOU) กับ นายเคน โคกะ (Ken Koga) โรงเรียนยานากาวา จังหวัดฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2556 ตามโครงการพัฒนาเยาวชนคนพันธุ์ใหม่เพื่อสังคมไทย และได้ดำเนินการสร้างโรงเรียนสาธิตยานากาวาขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของ ดร.เชาว์ เต็มรักษ์ ภายใต้ความตั้งใจที่ว่า จบจากแดนไกลตั้งใจกลับมาพัฒนาบ้านเกิด
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ได้ดำเนินการพิธีวางศิลาฤกษ์และยกเสาเอก เพื่อก่อสร้างโรงเรียนมสาธิตยานากาวา และมีพิธีเปิดโรงเรียนสาธิตยานากาวา เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 โดยมีนักเรียนรุ่นที่ 1 จำนวน 16 คน หลังจากนักเรียนจบการศึกษาแล้ว ได้เดินทางไปเรียนต่อที่โรงเรียนยานากาวาปีละ 10 คน - 15 คน และสอบเข้าเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนยอดนิยมได้ตามเป้าหมาย และผลการสอบO-Net ได้คะแนนสูงกว่าระดับมาตรฐานชาติ ระดับภาค และระดับจังหวัดนครศรีธรรมราชติดต่อกับ 5 ปี
หลักสูตร
[แก้]โรงเรียนสาธิตยานากาวา จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยการจัดการแบบญี่ปุ่นบูรณาการกับศาสตร์พระราชา ซึ่งเน้นการศึกษาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (Science Mathematics and Technology Program ; SMTP) และเน้นภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ (Japanese and English Program ; JEP)