ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนทุ่งสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนทุ่งสง
Thungsong School
ที่ตั้ง
เลขที่ 44 หมู่ 2 ถนนทุ่งสง - นครศรีธรรมราช ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110
ข้อมูล
ชื่ออื่นท.ส. (TS)
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
สถาปนา23 สิงหาคม 2486 (2486-08-23) (81 ปี 167 วัน)
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1080210804
- รหัส Smis 8 หลัก : 80022006
- รหัส Obec 6 หลัก : 210804
ผู้อำนวยการดร.สันติกร รักสองหมื่น
ครู/อาจารย์129 คน[3] 2567
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
จำนวนนักเรียน2,685 คน [2] 2567
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
สี   ม่วง-ขาว
สีม่วง หมายถึง ความเจริญเติบโต ชัยชนะ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์, ความสุภาพ, ความซื่อตรง [4]
คำขวัญรักษาความดี สร้างไมตรี มีชีวิตอยู่เพื่องาน
รกฺขาม อตฺตโน สาธุ
(พึงรักษาความดีของตนไว้) [1]
เพลง
เว็บไซต์www.thungsong.ac.th
ดอกไม้ประจำโรงเรียน - ดอกอินทนิล

โรงเรียนทุ่งสง[5] เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ปัจจุบันเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีเนื้อที่ 54 ไร่ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 44 หมู่ 2 ถนนทุ่งสง - นครศรีธรรมราช ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ได้รับรางวัลสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2524 และ 2563

โรงเรียนเปิดสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ช่วงชั้นที่ 3) และ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 4) เป็นโรงเรียนโครงการร่วมโรงเรียนกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช (โครงการร่วมระหว่างกรมพลศึกษากับกรมสามัญศึกษา) และเป็นโรงเรียนหน่วยเบิกเงินจากคลังจังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอทุ่งสง

โรงเรียนทุ่งสงมีอาคารถาวร 7 หลัง จำนวนห้องเรียน 37 ห้อง ห้องพิเศษ 25 ห้อง ห้องบริการ 15 ห้อง โรงพลศึกษา-หอประชุม 1 หลัง อาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง โรงฝึกงานช่างอุตสาหกรรม 2 หลัง คหกรรม 1 หลัง และ อาคาร IT เฉลิมพระเกียรติ 1 หลัง

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนทุ่งสง[6] ได้ก่อตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2486 โดยอาศัยโรงธรรมศาลาในบริเวณวัดชัยชุมพลเป็นสถานที่เรียน โดยมีนายสิริ รัตนะรัตน ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมาได้ย้ายมาขอใช้สถานที่ราชพัสดุ ติดกับโรงเรียนวัดชัยชุมพล เป็นสถานที่ก่อตั้งโรงเรียน

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2490 โรงเรียนจึงได้จัดงบประมาณจากทางราชการให้สร้างอาคารเรียนถาวรที่ราชพัสดุ ในเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน โดยในระยะแรกเปิดรับสมัครนักเรียนทั้งชายและหญิงเข้าเรียน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 จึงได้แยกนักเรียนหญิงออกไปตั้งเป็นโรงเรียนสตรีทุ่งสง จากความคับแคบของเนื้อที่โรงเรียน ทำให้ไม่สามารถขยายอาคารสถานที่ให้พอเพียงกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นแต่ละปี ทำให้ผู้บริหารโรงเรียนในสมัยนั้นได้ดำริที่จะย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนในปี พ.ศ. 2512 นายพินิจ นุ่นพันธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนทุ่งสง ในสมัยนั้น จึงได้ดำเนินเรื่องขอให้ที่ดินราชพัสดุบริเวณกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 8 เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนแห่งใหม่ ทางราชการได้อนุมัติ และดำเนินการจัดสร้างอาคารประกอบขึ้นในปี พ.ศ. 2513 แล้วเสร็จ จึงเปิดให้นักเรียนเข้าเรียนในสถานที่แห่งใหม่นั้น เมื่อปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา ถือว่าได้เป็นยุคใหม่ของโรงเรียน โดยมีลำดับขั้นของการพัฒนา ดังนี้

  • พ.ศ. 2517 กระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกให้โรงเรียนทุ่งสง เข้าอยู่ในโครงการโรงเรียนมัธยมแบบผสมในส่วนภูมิภาค (ค.ม.ภ.1) รุ่นที่ 2 โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2518 และสิ้นสุดโครงการเมื่อปี พ.ศ. 2521
  • พ.ศ. 2520 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดสอนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งในระยะแรกเปิดสอนเพียง 2 ห้องเรียนต่อระดับชั้น และได้เปิดเพิ่มเป็น 8 ห้องเรียนต่อระดับชั้น ในระยะเวลาต่อมา
  • พ.ศ. 2524 โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนดีเด่นได้รับรางวัลพระราชทานประเภทโรงเรียนดีเด่นขนาดใหญ่
  • พ.ศ. 2527 กระทรวงศึกษาธิการได้มอบรางวัลให้กับโรงเรียนในฐานะเป็นโรงเรียนผู้ดำเนินการใช้หลักสูตรดีเด่น ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • พ.ศ. 2530 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมจริยศึกษาดีเด่น ส่วนภูมิภาค
  • พ.ศ. 2531 สมาคมบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ได้ยกย่องผู้บริหารโรงเรียนทุ่งสง (นายศุภมน เสาหฤทวงศ์) เป็นผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ดีเด่นในเขตการศึกษา 3
  • พ.ศ. 2534 เป็นโรงเรียนหน่วยเบิกกรมสามัญศึกษา ประจำคลัง ณ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พ.ศ. 2536 รับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นแบบสหศึกษา โดยเริ่มจากชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 (ในปีการศึกษา 2538 รับนักเรียนแบบสหศึกษา ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายครบทุกระดับชั้น)
  • พ.ศ. 2537 โรงเรียนทุ่งสง เป็นโรงเรียนโครงการร่วมโรงเรียนกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พ.ศ. 2539 โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษาเข้าร่วมโครงการห้องสมุด กาญจนาภิเษก และโครงการปฏิรูปการศึกษา
  • พ.ศ. 2542 โรงเรียนทุ่งสง ได้จัดโครงการร่วมกับสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชจัดเปิดสอนโครงการ กศ.บป.
  • พ.ศ. 2543 โรงเรียนทุ่งสง ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการห้องเรียนสีเขียว ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2544 โรงเรียนทุ่งสง ได้รับประกาศเกียรติคุณจากกรมสามัญศึกษา ให้เป็นโรงเรียนจัดระบบช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น
  • พ.ศ. 2545 โรงเรียนทุ่งสง ได้รับรางวัลปฏิบัติรูปการเรียนดีเด่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พ.ศ. 2547 โรงเรียนทุ่งสง ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานเลขาธิการสถานการศึกษาเข้าร่วมโครงการขยายผลการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตพื้นที่ภาคใต้
  • พ.ศ. 2548 โรงเรียนทุ่งสง ได้รับงบประมาณจากผู้ว่า CEO ปรับปรุงห้องสมุด IT ได้รับการสนับสนุนตรามโครงการ TOT IT school จากบริษัท TOT และได้จัดสร้าง IT โดยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองและชุมชน
  • พ.ศ. 2549 โรงเรียนทุ่งสง ได้จัดโครงการห้องเรียนพิเศษ ในระดับชั้น ม.1, ม.4
  • พ.ศ. 2549 โรงเรียนทุ่งสง ได้เพิ่มการเรียนการสอนภาษาจีน
  • พ.ศ. 2551 โรงเรียนทุ่งสง ได้เริ่มจัดการเรียนการสอนในด้านห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • พ.ศ. 2552 โรงเรียนทุ่งสง ได้ลงนามความร่วมมือโรงเรียนมาตรฐานสากล "World Class Standard School"
  • พ.ศ. 2553 โรงเรียนทุ่งสง ได้จัดตั้งห้องเรียนอาชีพ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ใน 4 สาขาวิชาดังต่อไปนี้ - คอมพิวเตอร์ - อุตสาหกรรม - ดนตรี-นาฏศิลป์ - ศิลปะ

ทำเนียบผู้บริหาร

[แก้]

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนทุ่งสง มีผู้บริหาร 15 ท่าน ดังนี้[7]

ลำดับที่ รายนาม ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 นายสิริ รัตนะรัตน รักษาการแทนครูใหญ่ พ.ศ. 2486 พ.ศ. 2487
2 นายคิด เลิศศิริก้องสมุท ครูใหญ่ พ.ศ. 2487
3 นายเอก วัฒนกุล ครูใหญ่ พ.ศ. 2491 พ.ศ. 2495
4 นายแพ แสงพลสิทธิ์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2495 พ.ศ. 2498
5 นายสวัสดี ณ พัทลุง ครูใหญ่ พ.ศ. 2498 พ.ศ. 2507
6 นายพินิจ นุ่นพันธ์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2519
7 นายศุภมน เสาหฤทวงศ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2531
8 นายไสว คงสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2535
9 นายสกนธ์ ไชยกาญจน์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2543
10 นายสุรพล หอมหวล ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2547
11 นายจำเริญ รัตนบุรี ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2554
12 นายสนั่น พลรัฐธนาสิทธิ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2558
13 นายสุนันท์ กลับขันธ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2563
14 นายนราวุธ สุจิตะพันธ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2567
15 ดร.สันติกร รักสองหมื่น ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน

หลักสูตร

[แก้]

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

[แก้]
  • ประเภทห้องเรียนพิเศษ
    • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ระดับชั้นละ 2 ห้อง (60 คน)
    • ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (GIFT Program) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (30 คน)
    • ห้องเรียนพิเศษดนตรี (ดนตรีไทย) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (35 คน)
  • ประเภทห้องเรียนปกติ
    • ห้องเรียนปกติ ระดับชั้นละ 11 ห้อง (440 คน)

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

[แก้]
  • ประเภทห้องเรียนพิเศษ
    • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ระดับชั้นละ 1 ห้อง (30 คน)
    • ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (Great Program) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (30 คน)
  • ประเภทห้องเรียนปกติ
    • แผนการเรียนวิทย์ – คณิต ระดับชั้นละ 3 ห้อง (120 คน)
    • แผนการเรียนศิลป์ – คำนวณ ระดับชั้นละ 2 ห้อง (80 คน)
    • แผนการเรียนศิลป์ – ภาษา ระดับชั้นละ 2 ห้อง (80 คน)
    • แผนการเรียนศิลป์ – ทั่วไป ระดับชั้นละ 2ห้อง (80 คน)

บุคคลที่มีชื่อเสียงของโรงเรียน

[แก้]
  • นายฉัตรชัย นิติภักดิ์ - ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
  • พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ
  • นายถาวรวัฒน์ คงแก้ว - อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต, รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • นายศักดาพร รัตนสุภา - รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • นายทรงชัย วงศ์วัชรดำรง - นายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสง
  • นายอำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ - ศิลปินแห่งชาติ ปี 2563 (สาขาทัศนศิลป์)
  • นายพงศภัค ศรีปรางค์ - ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทอนหงส์, ถ้ำใหญ่
  • ณัฐวดี ดอกกะฐิน (นัท) - ผู้เข้าแข่งขันรายการ The Voice Thailand ซีซั่นที่ 1, The Star ค้นฟ้าคว้าดาว ปีที่ 10
  • ลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น - นักร้องและนักแสดงชื่อดัง

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://www.thungsong.ac.th/content/general
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-22. สืบค้นเมื่อ 2022-09-06.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-22. สืบค้นเมื่อ 2022-09-06.
  4. https://www.thungsong.ac.th/tsschool/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/ เก็บถาวร 2022-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. "เกี่ยวกับโรงเรียนทุ่งสง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-09-10.
  6. "ประวัติโรงเรียนทุ่งสง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-09-10.
  7. "ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนทุ่งสง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-09-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]