ฉบับร่าง:โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
ฉบับร่างนี้ถูกตีกลับ เมื่อ 10 ตุลาคม 2567 โดย Timekeepertmk (คุย) แหล่งอ้างอิงในบทความที่ส่งไม่ได้แสดงให้เห็นว่าหัวข้อของบทความมีคุณสมบัติเพียงพอจะมีบทความในวิกิพีเดีย กล่าวคือ ไม่ได้มีการกล่าวถึงหัวเรื่องดังกล่าวอย่างมีนัยยะสำคัญ (คือไม่ได้กล่าวถึงอย่างลอย ๆ) ในแหล่งอ้างอิงที่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ, เชื่อถือได้, เป็นแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิ ซึ่งเป็นอิสระจากหัวเรื่อง (โปรดดูที่แนวทางว่าด้วยความโดดเด่นขององค์การและบริษัท) ก่อนจะส่งบทความอีกครั้ง คุณควรใส่แหล่งอ้างอิงที่ตรงกับเงื่อนไขดังกล่าวเพิ่มเติม (โปรดดู ความช่วยเหลือทางเทคนิค และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ข้อผิดพลาดที่ควรเลี่ยง) หากไม่มีแหล่งอ้างอิงอื่นมาเพิ่มเติม หัวข้อดังกล่าวก็อาจไม่เหมาะสมสำหรับวิกิพีเดีย
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
|
- ความคิดเห็น: แหล่งอ้างอิงวิกิพีเดียต้องเป็นแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิ ไม่ใช่ของทางโรงเรียนเอง ไม่ได้ห้ามนะครับที่จะใช้แหล่งข้อมูลโรงเรียน แต่ต้องมีแหล่งอื่นประกอบด้วยเพื่อยืนยันความโดดเด่นของบทความ Timekeepertmk (คุย) 15:02, 10 ตุลาคม 2567 (+07)
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Golf-ben10 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 8 วันก่อน (ล้างแคช) |
โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา | |
---|---|
ละติน: Sichonkunathanvittaya School | |
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 41 หมู่ที่ 5 ถนนเอเชีย 401 ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80120 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ส.ธ.ว. / STV |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล สังกัด สพฐ., รายชื่อโรงเรียนประจำจังหวัดในประเทศไทย, โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คติพจน์ | "สุวิชาโน ภวํ โหติ" (ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ) วิชาเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม กิจกรรมดี มีวินัย |
ก่อตั้ง | (สถาปนา) 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days |
ผู้ก่อตั้ง |
|
ผู้บริหาร | ดร.สันติกร รักสองหมื่น |
ครู/อาจารย์ | 80 คน[1] 2566 |
การลงทะเบียน | 1,694 คน[2] 2566 |
ชั้นเรียน | มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน |
สี | ขาว เขียว |
เพลง | มาร์ช ส.ธ.ว. |
เว็บไซต์ | [3] |
กันเกรา |
โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา (อังกฤษ: Sichonkunathanvittaya School) (อักษรย่อ: ส.ธ.ว., STV) เป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษประจำอำเภอสิชล ก่อตั้งขึ้นตามเจตนารมย์ของประชาชนที่ต้องการให้มีการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ โดยได้รับการสถาปนาโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517[3]
ยุคคณะผู้ดำเนินการ (พ.ศ. 2514 - 2515)
[แก้]การเปิดโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยานี้ สืบเนื่องมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2514 ได้มีบุคคลคณะหนึ่ง ประกอบด้วย นายเขียน ฤทธิภักดี ครูใหญ่โรงเรียนชุมชนวัดปัณณาราม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหัวหน้า, นายบุษย์ วิชัยกุล กำนันตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล, นายนวน จิตต์อารีย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชลและนายย่อง ศรีสุขสวัสดิ์ ครูใหญ่ โรงเรียนบ้านปลายทอน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกันขอความร่วมมือจากชาวบ้านช่วยกันปรับพื้นที่ป่าสงวนเลี้ยงสัตว์ของหมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล ตลอดจนได้จัดหาวัสดุก่อสร้างเพื่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวจำนวน 3 ห้องเรียนจนแล้วเสร็จและสามารถใช้เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนได้
คณะผู้ดำเนินการได้เสนอเรื่องขอจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาระดับอำเภอขึ้นไปตามลำดับขั้น โดยนายเขียน ฤทธิภักดี ได้ไปปรึกษากับนายพ่วง สุวรรณรัตน์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ช่วยเป็นธุระในการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในปีพุทธศักราช 2515 แต่ด้วยเหตุใดไม่ทราบแน่ชัดกรมสามัญศึกษากลับไปเปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้นที่อำเภอขนอม ซึ่งเป็นอำเภอที่มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอสิชลและในที่สุดก็ต้องยกอาคารชั่วคราว 3 ห้องเรียนนั้นให้กับโรงเรียนวัดปัณณาราม
ยุคแรกสถาปนา (พ.ศ. 2517)
[แก้]ในปีพุทธศักราช 2517 ด้วยความพยายามของคณะผู้ดำเนินการ ทำให้กระทรวงศึกษาธิการซึ่งในขณะนั้นมีนายอภัย จันทวิมล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในพื้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นเมื่อวันที่ 22 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2517 ใช้ชื่อว่า โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา โดยมีที่มาจากชื่อของอำเภอสิชล และชื่อของพระครูชลคุณาธาร อดีตเจ้าคณะอำเภอสิชล เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งขณะนั้นมีนายเริง นากลอน ดำรงตำแหน่งศึกษาธิการ จังหวัดนครศรีธรรมราช นายดุสิต ทิพยมณฑา เป็นนายอำเภอสิชลและนายสำรวย เพชรมณี เป็นศึกษาธิการอำเภอสิชล โดยกรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้นายสกนธ์ ไชยกาญจน์ ตำแหน่งครูโท โรงเรียนสตรีทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โทโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาและได้เป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนและได้เปิดทำการสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2517 ซึ่งในปีแรกของการเปิดโรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนแบบสหศึกษาจำนวน 2 ห้องเรียนมีนักเรียนจำนวน 91 คน
ในปีการศึกษา 2537 นายวิญญู ใจอารีย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาในขณะนั้น ได้จัดการแสดงของคณะกายกรรมซินเกียง ในวันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ฯพณฯ สัมพันธ์ ทองสมัคร เป็นประธานในพิธี เพื่อระดมทุนช่วยเหลือการศึกษาในการจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ของโรงเรียน โดยนายมาโนชญ์ วิชัยกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมอบเงินสนับสนุนในนามพรรคประชาธิปัตย์เป็นเงินทั้งสิ้น 500,000 บาท มีผู้มาชมการแสดงประมาณ 1,400 คนทำให้โรงเรียนมีศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นแห่งแรกของจังหวัดนครศรีธรรมราช
ในปีการศึกษา 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งถึงโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา ในวันที่ 7 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 เวลา 12:00 น. โดยเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชนที่มาเฝ้ารอรับเสด็จทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์และเสวยพระกระยาหารกลางวัน ณ อาคารเรียน 2 และทรงปลูกต้นราชพฤกษ์ หลังจากนั้นเสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจเปิดอาคารโบราณสถานเขาคา ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชและเสด็จกลับถึงโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาเพื่อประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งไปจังหวัดสุราษฎร์ธานีในเวลา 15:00 น.
18 กันยายน 2541 ได้ประกาศจัดตั้งสหวิทยาเขตสิชล ประกอบด้วยโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาในอำเภอสิชลและอำเภอขนอม จำนวน 6 โรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ โรงเรียนฉลองรัฐราษฎร์อุทิศ โรงเรียนเทพราชพิทยาสรรค์ โรงเรียนขนอมพิทยา โรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาล มีผู้อำนวยการโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา เป็นประธานสหวิทยาเขตสิชล
6 มิถุนายน 2546 โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนในฝันหรือโรงเรียนสมบูรณ์แบบ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2546
7 มิถุนายน 2546 โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา สังกัดอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนายสมบูรณ์ สว่างวรชาติ เป็นผู้อำนวยการเขต
18 กันยายน 2553 โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา สังกัดอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนายจำเริญ รัตนบุรี ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งสง รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12
โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยามีอาณาเขตจำนวน 105 ไร่
- ทิศเหนือจรดวิทยาลัยเทคนิคสิชล
- ทิศใต้จรดโรงเรียนชุมชนวัดปัณณาราม
- ทิศตะวันออกจรดพรุน้ำแดง
- ทิศตะวันตกจรดถนนสายเอเชีย 401 (นครศรีธรรมราช - สุราษฎร์ธานี)
ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาเป็นลักษณะที่แสดงถึงปัญญาและความบริสุทธิ์ โดยสัญลักษณ์คบเพลิงอยู่ในวงล้อมของจักร ได้แก่
- คบเพลิง หมายถึง แสงสว่างแห่งปัญญา
- จักร หมายถึง สัญลักษณ์ของพระนารายณ์ที่แสดงถึงความเฉียบคมของปัญญา
- ใช้สัญลักษณ์สีขาว - เขียว ที่แสดงถึงความบริสุทธิ์ดั่งสีขาวและความสุขประดุจสีเขียว
- จักรสลักด้วยพุทธสุภาษิต "สุวิชาโน ภวํโหติ" หมายว่า ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
คำขวัญประจำโรงเรียน
[แก้]วิชาเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม กิจกรรมดี มีวินัย
ต้นกันเกรา หรือต้นตำเสา เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย ต้นกันเกรามีชื่อเรียกอื่นว่า มันปลา ตำเสา มะซูไม้ต้น
กันเกรามีชื่อเรียกต่างกันไปคือ ภาคกลางเรียก กันเกรา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มันปลา ส่วนภาคใต้เรียก ตำแสง หรือตำเสา มูซูเป็นภาษาถิ่นทางภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง อันมีชื่อเป็นมงคลและมีคุณสมบัติที่ดีในการใช้ประโยชน์ คือชื่อกันเกราหมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำอันตรายใด ๆ ชื่อตำเสาคือ เป็นมงคลแก่เสาบ้านไม่ให้ปลวก มอด แมลงต่าง ๆ เจาะกิน ชื่อมันปลา น่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด โดยศิษย์ของโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาจะถูกเรียกว่า "ลูกตำเสา" หรือ "ช่อตำเสา"
มาร์ชสิชลคุณาธารวิทยา http://www.stv.ac.th/datashow_11455
พวกเราชาวส.ธ.ว. ไม่ย่อท้อจะขอมุ่งมั่น
รักสามัคคีกัน เพื่อฝ่าฟันอุปสรรคนานา
อดทนและพร้อมพลีกาย มั่นหมายเพื่อความก้าวหน้า
ปฏิบัติคุณธรรมเรื่อยมา เพื่อพัฒนาสถาบันของเรา
ขาว - เขียว สวยดั่งสวรรค์ เด่นเฉิดฉันสวยงามหนักหนา
ขอจงช่วยกันพัฒนา เพื่อสถาบันของเราส.ธ.ว.
คำร้อง/ทำนอง : ไม่ทราบ
ศิลปิน : เหมียว คุณาธาร ศิษย์เก่าโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
การนับรุ่นศิษย์เก่าของโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
[แก้]โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาไม่ได้มีระบบการนับรุ่นที่ตายตัว โดยจากการวิเคราะห์สามารถคาดคะเนรุ่นได้ดังนี้
+รุ่น ม.ศ. | รุ่นที่ | รุ่น ม.ศ. | ปีที่เข้าศึกษา | ปีที่จบการศึกษา | ปีที่เกิด | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ม.ศ. 1 | ม.ศ. 4 | ม.ศ. 3 | ม.ศ. 5 | |||||
1 | 1 | พ.ศ. 2517 | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2519 | พ.ศ. 2521 | พ.ศ. 2503 | ||
2 | 2 | พ.ศ. 2518 | พ.ศ. 2521 | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2522 | พ.ศ. 2504 | ||
3 | 3 | พ.ศ. 2519 | พ.ศ. 2522 | พ.ศ. 2521 | พ.ศ. 2523 | พ.ศ. 2505 | ||
4 | 4 | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2523 | พ.ศ. 2522 | พ.ศ. 2524 | พ.ศ. 2506 | ||
5 | 5 | พ.ศ. 2521 | พ.ศ. 2524 | พ.ศ. 2523 | พ.ศ. 2525 | พ.ศ. 2507 | พร้อมกับระดับมัธยมศึกษารุ่นแรก |
+รุ่นมัธยมศึกษา | รุ่นที่ | รุ่นมัธยมที่ | ปีที่เข้าศึกษา | ปีที่จบการศึกษา | ปีที่เกิด | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ม. 1 | ม. 4 | ม. 3 | ม. 6 | พร้อมกับระดับ ม.ศ. รุ่นสุดท้าย | ||||
6 | 1 | พ.ศ. 2521 | พ.ศ. 2524 | พ.ศ. 2523 | พ.ศ. 2526 | พ.ศ. 2508 | ||
7 | 2 | พ.ศ. 2522 | พ.ศ. 2525 | พ.ศ. 2524 | พ.ศ. 2527 | พ.ศ. 2509 | ||
8 | 3 | พ.ศ. 2523 | พ.ศ. 2526 | พ.ศ. 2525 | พ.ศ. 2528 | พ.ศ. 2510 | ||
9 | 4 | พ.ศ. 2524 | พ.ศ. 2527 | พ.ศ. 2526 | พ.ศ. 2529 | พ.ศ. 2511 | ||
10 | 5 | พ.ศ. 2525 | พ.ศ. 2528 | พ.ศ. 2527 | พ.ศ. 2530 | พ.ศ. 2512 | ||
11 | 6 | พ.ศ. 2526 | พ.ศ. 2529 | พ.ศ. 2528 | พ.ศ. 2531 | พ.ศ. 2513 | ||
12 | 7 | พ.ศ. 2527 | พ.ศ. 2530 | พ.ศ. 2529 | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2514 | ||
13 | 8 | พ.ศ. 2528 | พ.ศ. 2531 | พ.ศ. 2530 | พ.ศ. 2533 | พ.ศ. 2515 | ||
14 | 9 | พ.ศ. 2529 | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2531 | พ.ศ. 2534 | พ.ศ. 2516 | ||
15 | 10 | พ.ศ. 2530 | พ.ศ. 2533 | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2517 | ||
16 | 11 | พ.ศ. 2531 | พ.ศ. 2534 | พ.ศ. 2533 | พ.ศ. 2536 | พ.ศ. 2518 | ||
17 | 12 | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2534 | พ.ศ. 2537 | พ.ศ. 2519 | ||
18 | 13 | พ.ศ. 2533 | พ.ศ. 2536 | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2538 | พ.ศ. 2520 | ||
19 | 14 | พ.ศ. 2534 | พ.ศ. 2537 | พ.ศ. 2536 | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2521 | ||
20 | 15 | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2538 | พ.ศ. 2537 | พ.ศ. 2540 | พ.ศ. 2522 | ||
21 | 16 | พ.ศ. 2536 | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2538 | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2523 | ||
22 | 17 | พ.ศ. 2537 | พ.ศ. 2540 | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2524 | ||
23 | 18 | พ.ศ. 2538 | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2540 | พ.ศ. 2543 | พ.ศ. 2525 | ||
24 | 19 | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2544 | พ.ศ. 2526 | ||
25 | 20 | พ.ศ. 2540 | พ.ศ. 2543 | พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2545 | พ.ศ. 2527 | ||
26 | 21 | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2544 | พ.ศ. 2543 | พ.ศ. 2546 | พ.ศ. 2528 | ||
27 | 22 | พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2545 | พ.ศ. 2544 | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2529 | ||
28 | 23 | พ.ศ. 2543 | พ.ศ. 2546 | พ.ศ. 2545 | พ.ศ. 2548 | พ.ศ. 2530 | ||
29 | 24 | พ.ศ. 2544 | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2546 | พ.ศ. 2549 | พ.ศ. 2531 | ||
30 | 25 | พ.ศ. 2545 | พ.ศ. 2548 | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2550 | พ.ศ. 2532 | ||
31 | 26 | พ.ศ. 2546 | พ.ศ. 2549 | พ.ศ. 2548 | พ.ศ. 2551 | พ.ศ. 2533 | ||
32 | 27 | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2550 | พ.ศ. 2549 | พ.ศ. 2552 | พ.ศ. 2534 | ||
33 | 28 | พ.ศ. 2548 | พ.ศ. 2551 | พ.ศ. 2550 | พ.ศ. 2553 | พ.ศ. 2535 | ||
34 | 29 | พ.ศ. 2549 | พ.ศ. 2552 | พ.ศ. 2551 | พ.ศ. 2554 | พ.ศ. 2536 | ||
35 | 30 | พ.ศ. 2550 | พ.ศ. 2553 | พ.ศ. 2552 | พ.ศ. 2555 | พ.ศ. 2537 | ||
36 | 31 | พ.ศ. 2551 | พ.ศ. 2554 | พ.ศ. 2553 | พ.ศ. 2556 | พ.ศ. 2538 | ||
37 | 32 | พ.ศ. 2552 | พ.ศ. 2555 | พ.ศ. 2554 | พ.ศ. 2557 | พ.ศ. 2539 | ||
38 | 33 | พ.ศ. 2553 | พ.ศ. 2556 | พ.ศ. 2555 | พ.ศ. 2558 | พ.ศ. 2540 | ||
39 | 34 | พ.ศ. 2554 | พ.ศ. 2557 | พ.ศ. 2556 | พ.ศ. 2559 | พ.ศ. 2541 | ||
40 | 35 | พ.ศ. 2555 | พ.ศ. 2558 | พ.ศ. 2557 | พ.ศ. 2560 | พ.ศ. 2542 | ||
41 | 36 | พ.ศ. 2556 | พ.ศ. 2559 | พ.ศ. 2558 | พ.ศ. 2561 | พ.ศ. 2543 | ||
42 | 37 | พ.ศ. 2557 | พ.ศ. 2560 | พ.ศ. 2559 | พ.ศ. 2562 | พ.ศ. 2544 | ||
43 | 38 | พ.ศ. 2558 | พ.ศ. 2561 | พ.ศ. 2560 | พ.ศ. 2563 | พ.ศ. 2545 | ||
44 | 39 | พ.ศ. 2559 | พ.ศ. 2562 | พ.ศ. 2561 | พ.ศ. 2564 | พ.ศ. 2546 | ||
45 | 40 | พ.ศ. 2560 | พ.ศ. 2563 | พ.ศ. 2562 | พ.ศ. 2565 | พ.ศ. 2547 | ||
46 | 41 | พ.ศ. 2561 | พ.ศ. 2564 | พ.ศ. 2563 | พ.ศ. 2566 | พ.ศ. 2548 | ||
47 | 42 | พ.ศ. 2562 | พ.ศ. 2565 | พ.ศ. 2564 | พ.ศ. 2567 | พ.ศ. 2549 | ||
48 | 43 | พ.ศ. 2563 | พ.ศ. 2566 | พ.ศ. 2565 | พ.ศ. 2568 | พ.ศ. 2550 | ||
49 | 44 | พ.ศ. 2564 | พ.ศ. 2567 | พ.ศ. 2566 | พ.ศ. 2569 | พ.ศ. 2551 | ||
50 | 45 | พ.ศ. 2565 | พ.ศ. 2568 | พ.ศ. 2567 | พ.ศ. 2570 | พ.ศ. 2552 | ||
51 | 46 | พ.ศ. 2566 | พ.ศ. 2569 | พ.ศ. 2568 | พ.ศ. 2571 | พ.ศ. 2553 | ||
52 | 47 | พ.ศ. 2567 | พ.ศ. 2570 | พ.ศ. 2569 | พ.ศ. 2572 | พ.ศ. 2554 |
องค์กรภายในโรงเรียน
[แก้]- คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
- สมาคมศิษย์เก่าสิชลคุณาธารวิทยา นครศรีธรรมราช
- สมาคมผู้ปกครอง และครูโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
- เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
ครูใหญ่และผู้อำนวยการตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยามีผู้บริหาร 10 ท่าน
ลำดับที่ | รายนาม | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|---|---|
1 | นายสกนธ์ ไชยกาญจน์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2517 | พ.ศ. 2530 | 13 ปี |
2 | นายเติมศักดิ์ ฉิมเรือง | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2531 | พ.ศ. 2535 | 4 ปี |
3 | นายถวิล รัตนโชติ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2536 | 1 ปี |
4 | นายวิญญู ใจอารีย์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2536 | พ.ศ. 2541 | 5 ปี |
5 | นายจรูญ แสนภักดี | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2547 | 6 ปี |
6 | นางนิยดา ชุมวรฐายี | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2554 | 7 ปี |
7 | นายดำเนิน มาทอง | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2554 | พ.ศ. 2558 | 4 ปี |
8 | นายสุนทร เพชรดี | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2558 | พ.ศ. 2563 | 5 ปี |
9 | นายประพฤติ วงศ์ชนะ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2563 | พ.ศ. 2565 | 2 ปี |
10 | ดร. สันติกร รักสองหมื่น | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2565 | พ.ศ. 2567 | 2 ปี |
11 | นางสิริวรรณ มณีโชติ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | ยังดำรงตำแหน่ง |
กิจกรรม
[แก้]กีฬาสี
[แก้]โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาได้จัดการแข่งขันกีฬาสีขึ้นภายในโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีภายในโรงเรียน โดยคณะสีแต่ละสีจะมีการจับฉลากสีใหม่ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ในทุก ๆ ปีการศึกษาและจะอยู่ในคณะสีนั้นจนจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย โดยมีคณะผู้จัดการสีเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และคณะครูที่จับฉลากได้สีนั้น ๆ เป็นผู้สนับสนุนและจัดการ โดยโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยาได้แบ่งสีเป็น 5 สี อันได้แก่ สีเขียว, สีฟ้า, สีม่วง, สีแดงและสีน้ำเงิน โดยใช้สนามกีฬาโรงเรียนชุมชนวัดปัณณารามเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน
กีฬาอำเภอ
[แก้]อำเภอสิชลได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาอำเภอสิชลหรือสิชลเกมส์ขึ้นในทุก ๆ ปี โดยเป็นการแข่งขันระหว่างกลุ่มตำบลภายในอำเภอสิชลโดยใช้สถานที่จัดการแข่งขันบริเวณสนามกีฬาโรงเรียนชุมชนวัดปัณณารามเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน
กิจกรรมอื่น ๆ
[แก้]- การแข่งขันฟุตบอลโกลหนู
- การแข่งขันฟุตบอลประจำปี
- การแข่งขันบาสเกตบอลประจำปี
- การแข่งขันกีฬา ESport
- การแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล
- กิจกรรมปฐมนิเทศ
- กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ
- กิจกรรมวันเกษียณอายุราชการ
- กิจกรรมวัดคริสต์มาส
- กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่
- กิจกรรมวันสถาปนาโรงเรียน
- กิจกรรมวันสำคัญอื่น ๆ
- สนามฟุตบอล
- สนามบาสเกตบอล
- ลานเสาธง
- อาคารอำนวยการ
- หอพระ
- ป้อมยาม
- สวนวรรณคดี
- ประชาสัมพันธ์
- อาคาร 4
- อาคาร 1
- เรือนพยาบาล
- อาคาร 2
- โรงน้ำดื่ม 1
- อาคารโดมหน้าอาคาร 2
- หอประชุม
- อาคารโดมข้างหอประชุม
- ห้องสุขา
- อาคาร 3
- อาคารชั่วคราว 3
- อาคารฝึกงาน 3
- อาคารฝึกงาน 2
- ห้องสุขา
- ห้องดนตรี
- ห้องศิลปะ
- ห้องสุขา 2 หลัง
- หอเกียรติยศ
- โรงรถ
- งานอาคารสถานที่
- สมาคมศิษย์เก่า
- ธนาคารโรงเรียน
- โรงอาหารเดิมและที่ทำการโครงการ To be Number one โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
- โรงบ่ม (โรงศิลปะ)
- โรงน้ำดื่ม 2
- อาคารสนสร้อย
- ศาลพระภูมิ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จำนวนครูบุคลากร ปีการศึกษา 2566. [1]. ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2566
- ↑ ข้อมูลนักเรียน ปีการศึกษา 2566. [2]. ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2566
- ↑ "ประวัติโรงเรียน". www.stv.ac.th.
- ↑ โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา, คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง, สำนักพิมพ์ ประยูรการพิมพ์, 2567, หน้า 2
- ↑ โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา, คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง, สำนักพิมพ์ ประยูรการพิมพ์, 2567, หน้า 3
- ↑ โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา, คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง, สำนักพิมพ์ ประยูรการพิมพ์, 2567, หน้า 6
- ↑ โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา, คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง, สำนักพิมพ์ ประยูรการพิมพ์, 2567, หน้า 5
- ↑ กันเกรา. (2552, 16 มกราคม). ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2567, จาก กันเกรา
- ↑ โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา, คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง, สำนักพิมพ์ ประยูรการพิมพ์, 2567, หน้า 171
- ↑ โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา, คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง, สำนักพิมพ์ ประยูรการพิมพ์, 2567, หน้า 11
- ↑ ข้อมูลสินทรัพย์สถานศึกษา
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Facebook โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
- Facebook คณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
- เว็บไซต์โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
- ฐานข้อมูลสินทรัพย์ สพฐ. โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา
- แนะนำโรงเรียน https://220904062204tan.wixsite.com/tan123/about-us
- รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราช
- รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/ส
- คำประกาศจัดตั้งสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา