ข้ามไปเนื้อหา

ไม้ผลัดใบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป่าไม้ผลัดใบ
ป่าไม้ผลัดใบในสามฤดู ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว

ในทางพืชสวนและพฤกษศาสตร์ ไม้ผลัดใบ (อังกฤษ: Deciduous) ในภาษาอังกฤษหมายถึง "ร่วงหล่นเมื่อเติบโตเต็มที่"[1] และ "มักจะร่วงหล่น"[2] อ้างอิงถึงต้นไม้และพุ่มไม้ที่ผลัดใบตามฤดูกาล โดยปกติผลัดในฤดูใบไม้ร่วง เพื่อการผลัดกลีบหลังดอกบาน และการผลัดผลหลังสุก คำตรงข้ามของไม้ผลัดใบในความหมายทางพฤกษศาสตร์คือไม้ไม่ผลัดใบ

โดยทั่วไปคำว่า "deciduous" หมายถึง "การทิ้งส่วนที่ไม่ต้องการหรือมีประโยชน์อีกต่อไป" และ "ร่วงหล่นหายไปหลังจากจุดประสงค์เสร็จสิ้น" ในพืชเป็นผลมาจากกระบวนการทางธรรมชาติ "deciduous" มีความหมายคล้ายกันเมื่อกล่าวถึงส่วนของสัตว์ เช่น การผลัดเขากวาง (deciduous antlers)[3]

พฤกษศาสตร์

[แก้]

ในทางพฤกษศาสตร์และพืชกรรมสวน ไม้ผลัดใบ ซึ่งรวมทั้งต้นไม้ พุ่มไม้ และไม้ล้มลุก เป็นพืชที่สูญเสียใบทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่งของปี[4] กระบวนการนี้เรียกว่าการร่วง (อังกฤษ: abscission)[5] ในบางกรณีการสูญเสียใบจะเกิดขึ้นตอนฤดูหนาวในเขตอบอุ่นหรือขั้วโลก[6] ในส่วนอื่น ๆ ของโลกรวมทั้งเขตร้อน กึ่งเขตร้อน และแห้งแล้ง พืชจะสูญเสียใบในช่วงฤดูแล้งหรือฤดูอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝน

สิ่งที่ตรงข้ามกับไม้ผลัดใบคือไม้ไม่ผลัดใบซึ่งต้นไม้จะผลัดใบในช่วงเวลาที่แตกต่างจากไม้ผลัดใบ ดังนั้นจึงดูเหมือนว่าต้นไม้เป็นสีเขียวตลอดทั้งปี[7] พืชที่อยู่ตรงกลางอาจเรียกว่ากึ่งผลัดใบ ซึ่งสูญเสียใบไม้เก่าเมื่อการเติบโตใหม่เริ่มต้นขึ้น[8] ส่วนไม้กึ่งไม่ผลัดใบจะสูญเสียใบก่อนถึงฤดูเติบโตครั้งต่อไป โดยยังคงรักษาบางส่วนไว้ในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงที่แห้งแล้ง[9]

พืชผลัดใบจำนวนมากออกดอกในช่วงที่ไม่มีใบเนื่องจากเพิ่มประสิทธิภาพของการผสมเกสร การไม่มีใบช่วยเพิ่มการส่งผ่านละอองเรณูสำหรับพืชที่ผสมเกสรด้วยลม และเพิ่มการมองเห็นของดอกไม้ต่อแมลงสำหรัลพืชที่ผสมเกสรด้วยแมลง กลยุทธ์นี้มีความเสี่ยงอยู่ เนื่องจากดอกไม้อาจได้รับความเสียหายจากน้ำค้างแข็งหรือในพื้นที่ฤดูแล้งส่งผลให้พืชเกิดความเครียดน้ำ

การทำงาน

[แก้]

พืชที่เป็นใบผลัดใบมีข้อดีและข้อเสียเมื่อเทียบกับพืชที่เป็นไม้ไม่ผลัดใบ เนื่องจากพืชผลัดใบสูญเสียใบเพื่ออนุรักษ์น้ำหรือเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ดีขึ้นในสภาพอากาศในฤดูหนาว พวกมันจึงต้องเจริญใบใหม่ในช่วงฤดูที่เหมาะสมกับการเติบโตครั้งถัดไป สิ่งนี้ใช้ทรัพยากรที่ไม้ไม่ผลัดใบไม่จำเป็นต้องใช้ ไม้ไม่ผลัดใบสูญเสียน้ำจำนวนมากในช่วงฤดูหนาวและยังมีแรงกดดันจากการล่ามากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีขนาดเล็ก

ไม้ผลัดใบมีการแตกของกิ่งก้านและลำต้นน้อยกว่ามากจากพายุน้ำแข็งเคลือบเมื่อไม่มีใบ และพืชสามารถลดการสูญเสียน้ำได้เนื่องจากปริมาณน้ำที่มีอยู่ในฤดูหนาวลดลง[10] การสูญเสียใบในฤดูหนาวอาจลดความเสียหายจากแมลง การซ่อมแซมใบและทำให้มันใช้งานได้อาจมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการผลัดและเจริญใหม่[11] การกำจัดใบยังช่วยลดการเกิดโพรงอากาศซึ่งสามารถทำลายท่อไซเล็มในพืชได้ สิ่งนี้จะช่วยให้พืชผลัดใบมีท่อไซเล็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ขึ้นและมีอัตราการคายน้ำมากขึ้น (และทำให้ดูดซึม CO2 ได้มากขึ้นเมื่อขึ้นปากใบเปิด) ในช่วงการเจริญเติบโตในฤดูร้อน

อ้างอิง

[แก้]
  1. William Dwight Whitney; Century Dictionary. The Century Dictionary and Cyclopedia: Dictionary. p. 1484.
  2. Debra J. Housel; Capstone Publishers (2009). Ecosystems. ISBN 9780756540685.
  3. Gause, John Taylor (1955). The Complete Word Hunter. A Crowell reference book. New York: Crowell. p. 465.
  4. University of the Western Cape. "Trees that lose their leaves". botany.uwc.ac.za. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2013.
  5. Dr. Kim D. Coder; University of Georgia (1999). "Falling Tree Leaves: Leaf Abscission" (PDF). forestry.uga.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 May 2013.
  6. Science Daily. "Reference article : "Deciduous" in Wikipedia". sciencedaily.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2015. สืบค้นเมื่อ 2020-03-23.
  7. J. Robert Nuss; Pennsylvania State University (2007). "Evergreen Shrubs and Trees for Pennsylvania" (PDF). psu.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-09-06. สืบค้นเมื่อ 2020-03-23.
  8. "Glossary of Botanical Terms" (PDF). The Illinois - North Carolina Collaborative Environment for Botanical Resources: Openkey Project. p. 22. สืบค้นเมื่อ 2020-03-23.
  9. Weber, William; Lee J. T. White; Amy Vedder; Lisa Naughton-Treves (2001). African rain forest ecology and conservation an interdisciplinary perspective. New Haven: Yale University Press. p. 15..
  10. Lemon, P. C. (1961). "Forest ecology of ice storms". Bulletin of the Torrey Botanical Club. 88 (1): 21–29. doi:10.2307/2482410. JSTOR 2482410.
  11. Labandeira, C. C.; Dilcher, D. L.; Davis, D. R.; Wagner, D. L. (1994). "Ninety-seven million years of angiosperm-insect association: paleobiological insights into the meaning of coevolution". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 91 (25): 12278–12282. Bibcode:1994PNAS...9112278L. doi:10.1073/pnas.91.25.12278. PMC 45420. PMID 11607501.