ข้ามไปเนื้อหา

โนโบรุ ทาเกชิตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โนโบรุ ทาเกชิตะ
竹下 登
ภาพถ่ายทางการใน ค.ศ. 1987
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987 – 3 มิถุนายน ค.ศ. 1989
กษัตริย์
รองคิอิจิ มิยาซาวะ
ก่อนหน้ายาซูฮิโระ นากาโซเนะ
ถัดไปโซซูเกะ อูโนะ
หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย
ดำรงตำแหน่ง
31 ตุลาคม ค.ศ. 1987 – 2 มิถุนายน ค.ศ. 1989
เลขาธิการชินตาโร อาเบะ
ก่อนหน้ายาซูฮิโระ นากาโซเนะ
ถัดไปโซซูเกะ อูโนะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
รักษาการ
9 ธันวาคม ค.ศ. 1988 – 24 ธันวาคม ค.ศ. 1988
ก่อนหน้าคิอิจิ มิยาซาวะ
ถัดไปทัตสึโอะ มูรายามะ
ดำรงตำแหน่ง
27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 – 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1986
นายกรัฐมนตรียาซูฮิโระ นากาโซเนะ
ก่อนหน้ามิจิโอะ วาตานาเบะ
ถัดไปคิอิจิ มิยาซาวะ
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 – 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1980
นายกรัฐมนตรีมาซาโยชิ โอฮิระ
ก่อนหน้าอิปเป คาเนโกะ
ถัดไปมิจิโอะ วาตานาเบะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการก่อสร้าง
ดำรงตำแหน่ง
19 มกราคม ค.ศ. 1976 – 15 กันยายน ค.ศ. 1976
นายกรัฐมนตรีทาเกโอะ มิกิ
ก่อนหน้าทาเกโอะ มิกิ
ถัดไปทัตสึอิ ชูมัง
หัวหน้าฝ่ายเลขานุการคณะรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974 – 9 ธันวาคม ค.ศ. 1974
นายกรัฐมนตรีคากูเอ ทานากะ
ก่อนหน้าซูซูมุ นิไกโด
ถัดไปอิจิตาโร อิเดะ
ดำรงตำแหน่ง
5 กรกฎาคม ค.ศ. 1971 – 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1972
นายกรัฐมนตรีเอซากุ ซาโต
ก่อนหน้าชิเงรุ โฮริ
ถัดไปซูซูมุ นิไกโด
รองหัวหน้าฝ่ายเลขานุการคณะรัฐมนตรี
(ฝ่ายการเมือง)
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1964 – 7 สิงหาคม ค.ศ. 1966
นายกรัฐมนตรีเอซากุ ซาโต
ก่อนหน้าคูนิกิจิ ไซโต
ถัดไปโทชิโอะ คิมูระ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤษภาคม ค.ศ. 1958 – 2 มิถุนายน ค.ศ. 2000
ก่อนหน้าเขตที่มีสมาชิกหลายคน
ถัดไปวาตารุ ทาเกชิตะ
เขตเลือกตั้งชิมาเนะทั้งเขต (1958–1996)
ชิมาเนะ เขต 2 (1996–2000)
สมาชิกสภานิติบัญญัติจังหวัดชิมาเนะ
ดำรงตำแหน่ง
1951–1958
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924(1924-02-26)
คาเกยามะ จังหวัดชิมาเนะ จักรวรรดิญี่ปุ่น
เสียชีวิต19 มิถุนายน ค.ศ. 2000(2000-06-19) (76 ปี)
เขตมินาโตะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พรรคการเมืองเสรีประชาธิปไตย
คู่สมรส
  • มาซาเอะ ทาเกอูจิ (สมรส 1944; เสียชีวิต 1945)
  • นาโอโกะ เอ็นโด (สมรส 1946)
ความสัมพันธ์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวาเซดะ
ลายมือชื่อ

โนโบรุ ทาเกชิตะ (ญี่ปุ่น: 竹下 登โรมาจิTakeshita Noboru; 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924 – 19 มิถุนายน ค.ศ. 2000) เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1987 ถึง 1989

ทาเกชิมะเกิดในจังหวัดชิมาเนะ โดยเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยวาเซดะและถูกเหณฑ์ทหารในช่วงสงครามแปซิฟิก เขาได้รับเลือกเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติครั้งแรกใน ค.ศ. 1958 และดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเลขานุการคณะรัฐมนตรีใน ค.ศ. 1971–1972 กับ 1974 และในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใน ค.ศ. 1979–1980, 1982–1986 และ 1988 ในช่วงนั้นเขาลงนามข้อตกลงพลาซาใน ค.ศ. 1985 จากนั้นใน ค.ศ. 1987 ทาเกชิตะกลายเป็นหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากยาซูฮิโระ นากาโซเนะ เขาสืบทอดอำนาจจากกลุ่มแอลดีพีของคากูเอ ทานากะ และได้รับฉายา "โชกุนเงาคนสุดท้าย" จากการมีอิทธิพลในเบื้องหลังทางการเมือง[1] ทาเกชิตะถูกบังคับให้ลาออกใน ค.ศ. 1989 หลังถูกพัวพันในเรื่องอื้อฉาวการรับสมัคร แต่ยังคงเป็นหัวหน้าพรรคแอลดีพีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 2000 เขาเป็นนายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายในรัชสมัยจักรพรรดิโชวะ[2]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

[แก้]

โนโบรุ ทาเกชิตะเกิดในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924 ในบริเวณที่ปัจจุบันคืออุนนัง จังหวัดชิมาเนะ[3] โดยเป็นบุตรคนเดียวของยูโซ ทาเกชิตะ คนต้มสาเก กับยูอิโกะ ภรรยาคนแรก[4] ครอบครัวของเขาเป็นผู้ต้มสาเกมาหลายชั่วรุ่น[5] และทาเกชิตะเป็นหัวหน้าตระกูลผู้ต้มสาเกทาเกชิตะคนที่ 20[6] ทั้งพ่อยูโซ กับปู่กิโซเป็นคนมีชื่อเสียงโด่งดังในภูมิภาคนี้ และทาเกชิตะเดินตามรอยเท้าของพวกเขาและตัดสินใจเป็นนักการเมืองเมื่อเขาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[7]

ทาเกชิตะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยวาเซดะ โตเกียว[3]

เขาแต่งงานกับมาซาเอะ ทาเกอูจิก่อนเข้าเกณฑ์ทหารในกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[1] ภรรยาของเขาฆ่าตัวตายขณะที่เขาอยู่ในช่วงสงคราม ซึ่ง Jacob Schlesinger นักเขียนคนหนึ่งโต้แย้งว่า สิ่งนี้ทำให้ทาเกชิตะหมกมุ่นอยู่กับความสงบของตนเอง และสงวนตัวมากในการแสดงความโกรธต่อผู้อื่น[4]

หลังสงคราม เขาแต่งงานกับนาโอโกะ เอ็นโด ญาติห่าง ๆ ที่ทำงานเป็นครูสอนภาษาอังกฤษและเคยเป็นผู้จัดการทีมยูโดในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ก่อนจะเข้าสู่วงการเมืองใน ค.ศ. 1951[1][4]

อาชีพทางการเมือง

[แก้]

ชีวิตช่วงหลังและเสียชีวิต

[แก้]

แม้ว่าทาเกชิตะถูกกล่าวหาในด้านการซื้อขายหลักทรัพย์โดยบุคคลภายในและการทุจริต เขาไม่เคยถูกดำเนินคดีและสามารถรักษาที่นั่งในสภาได้จนกระทั่งไม่นานก่อนเสียชีวิต[1] เขาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในเบื้องหลังของพรรคแอลดีพี และเป็นที่ปรึกษาให้กับนายกรัฐมนตรีในอนาคตอย่างโซซูเกะ อูโนะ โทชิกิ ไคฟุ และเคโซ โอบูจิ สึโตมุ ฮาตะและอิจิโร โอซาวะลาออกจากฝ่ายของทาเกชิตะเพื่อจัดตั้งพรรคฟื้นฟูญี่ปุ่น เคโซ โอบูจิได้รับมรดกจากสิ่งที่หลงเหลือในฝ่ายนั้น สนับสนุนการเลือกตั้งให้รีวตาโร ฮาชิโมโตะเป็นนายกรัฐมนตรี และตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. 1999 ถึง 2000 เขาเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองในช่วงต้น ค.ศ. 2000 และฮาชิโมโตะเข้าควบคุมฝ่ายนั้นต่อ[8]

หลังอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปี ทาเกชิตะเสียชีวิตจากภาวะหายใจล้มเหลวในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2000 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว เขาถูกกล่าวหาว่าเป็น "ผู้วางแผน" จัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรคแอลดีพีกับนิวโคเมโต และจัดให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี โยชิโร โมริ จากเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาล เขาวางแผนเกษียณตนเองจากสภาในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2000 ที่เกิดขึ้นหลายวันหลังจากที่เขาเสียชีวิต[1] The Economist กล่าวถึงการเสียชีวิตของเขาว่าเป็นการสิ้นสุดยุคสมัยที่ "เต็มไปด้วยความฉลาดและความฉ้อฉลที่ผสมผสานกันอย่างน่าเวียนหัว" ในแวดวงการเมืองญี่ปุ่น[4]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ทาเกชิตะแต่งงานสองครั้ง และมีลูกสาว 3 คน (ริกิโด ลูกชายคนเดียว เสียชีวิตหลังเกิดเพียงเดือนเดียวใน ค.ศ. 1954) กับหลานหลายคน[4] รวมถึงนักร้อง ไดโงะ (เดิมรู้จักในชื่อ Daigo☆Stardust)[9] และศิลปินมังงะ เอกิ เอกิ[10][การอ้างอิงวกเวียน]

วาตารุ (1946-2021) น้องชายต่างมารดา เป็นนักข่าวในช่อง NHK ที่เริ่มทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับโนโบรุใน ค.ศ. 1985[11] วาตารุเข้าเล่นการเมืองใน ค.ศ. 2000 และดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายทาเกชิตะเก่า (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ เฮเซเค็นกีวไก) ใน ค.ศ. 2018 จนกระทั่งเสียชีวิตในเดือนกันยายน ค.ศ. 2021[12] ทาเกชิตะยังมีน้องชาย/สาวต่างมารดาอีก 2 คน คือ ซาบูโร (เกิด ค.ศ. 1948) และซากาเอะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Noboru Takeshita; Last 'Shadow Shogun'". Los Angeles Times. 19 June 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ Feb 21, 2014. สืบค้นเมื่อ 20 January 2014.
  2. Sanger, David E. "Takeshita Now Admits World War II Aggression", New York Times. 7 March 1989.
  3. 3.0 3.1 "Noboru Takeshita" The Telegraph (London). 20 June 2000.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "Noboru Takeshita". The Economist. 22 June 2000. สืบค้นเมื่อ 22 January 2014.
  5. Jin, Ikkō; 神一行 (2002). Keibatsu : tokken kaikyū no seisui no keifu (Kaitei shinpan ed.). Kadokawa Shoten. p. 185. ISBN 4-04-353306-3. OCLC 53492518.
  6. "株式会社竹下本店 | 島根県酒造組合 | 日本酒発祥の地『島根』". Shimane Prefecture Sake Brewery Association 島根県酒造組合 (ภาษาญี่ปุ่น). 2018-02-14. สืบค้นเมื่อ 2022-03-06.
  7. Ware banshi ni ataisu : Dokyumento takeshita noboru. Tatsuya Iwase, 達哉 岩瀬. 新潮社. 2002. p. 88. ISBN 4-10-131031-9. OCLC 675067567.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  8. Matthew Carlson, in Gaunder, Alisa (2011). Routledge Handbook of Japanese Politics. Taylor & Francis. pp. 75–77. ISBN 9781136818387.
  9. Musician Daigo an Y85 million man for a day
  10. ja:影木栄貴
  11. "Japan ruling LDP faction chief Wataru Takeshita dies at 74". Nikkei Asia. 18 September 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2021. สืบค้นเมื่อ 18 September 2021.
  12. "Japan ruling party faction boss Wataru Takeshita dies at 74". Kyodo News. 18 September 2021. สืบค้นเมื่อ 18 September 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Noboru Takeshita