ข้ามไปเนื้อหา

กระทรวงการคลัง (ญี่ปุ่น)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงการคลัง
財務省
Zaimuchō

อาคารกระทรวงการคลัง
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง01 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (23 ปี)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (จนถึง พ.ศ. 2544)
เขตอำนาจธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
สำนักงานใหญ่3-1-1 คาซูมิงาเซกิ เขตชิโยดะ โตเกียว 100-8940 ประเทศญี่ปุ่น
ต้นสังกัดหน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่น
เว็บไซต์www.mof.go.jp

กระทรวงการคลัง (ญี่ปุ่น: 財務省โรมาจิZaimushōทับศัพท์: ไซมุโช) เป็นกระทรวงที่มีฐานะเป็นคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลญี่ปุ่น โดยใช้ชื่อ "กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (ญี่ปุ่น: 大蔵省โรมาจิŌkurashō)" จนถึงปี พ.ศ. 2544 มีผู้บริหารสูงสุดคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ญี่ปุ่น: 財務大臣โรมาจิZaimu Daijin) ซึ่งจะถูกเลือกในบรรดาสมาชิกรัฐสภาโดยนายกรัฐมนตรี

ภาพรวม

[แก้]
ทางเข้ากระทรวงการคลัง

กระทรวงการคลังได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อช่วงศตวรรษที่ 6 ในยุคญี่ปุ่นโบราณ ได้มีการสถาปนาตำแหน่งพระคลังมหาสมบัติ (ญี่ปุ่น: 大蔵โรมาจิŌkura) ขึ้นเพื่อดูแลพระคลัง จวบจนถึงช่วงการฟื้นฟูเมจิได้มีการก่อตั้งกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (ญี่ปุ่น: 大蔵省โรมาจิŌkurashō) เป็นหนึ่งในหน่วยงานราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการเงินสาธารณะและกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน

กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้รับการยกย่องว่าเป็นกระทรวงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในรัฐบาลญี่ปุ่น แต่หลังจากเรื่องอื้อฉาวทางการเงินในช่วงปี พ.ศ. 2533 กระทรวงฯ ได้สูญเสียอำนาจในการกำกับดูแลการธนาคารต่อสำนักงานบริการทางการเงินที่ได้ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ยังสูญเสียอำนาจแทบทั้งหมดในการควบคุมนโยบายทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเมื่อรัฐสภาได้ผ่านกฎหมายธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2541 และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงการคลัง (ญี่ปุ่น: 財務省โรมาจิZaimushō) จนถึงปัจจุบัน

แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนชื่อก็ตาม ชาวญี่ปุ่นยังคงใช้ศัพท์ "โอกูระ-ไดจิน (รัฐมนตรีฯ พระคลังมหาสมบัติ)" เพื่อกล่าวถึงบุคคลผู้ซึ่งควบคุมการเงิน (เช่นแม่บ้านที่ดูแลการเงินของครอบครัว)

ส่วนราชการ

[แก้]

กระทรวงการคลังมีการแบ่งส่วนราชการออกเป็นทั้งหมด 6 กรมดังนี้:[1][2]

สถาบันการบริหารอิสระ

[แก้]

สถาบันการบริหารอิสระ (ญี่ปุ่น: 独立行政法人โรมาจิDokuritsu Gyōsei Hōjin) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังได้แก่:

  • กองกษาปณ์ญี่ปุ่น
  • สำนักงานการพิมพ์แห่งชาติ
  • สถาบันการวิจัยการกลั่นเบียร์แห่งชาติ
  • บริษัทนิปปอนระบบยกเว้นภาษีสินค้าอัตโนมัติจำกัด
  • องค์กรพิเศษในโอกาสงานนิทรรศการโลก พ.ศ. 2513
  • สำนักงานการเงินเพื่อการเคหะญี่ปุ่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. 財務省機構図(令和3年7月現在) www.mof.go.jp. (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-10-21.
  2. "Organization Chart". www.mof.go.jp (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-21.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)