ข้ามไปเนื้อหา

โตเกียวเมโทรสายกินซะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โตเกียวเมโทร สายกินซะ
สายกินซะ ขบวน 1000 ซีรีส์ สถานีชิบุยะ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่นG
ชื่อลำลอง東京メトロ銀座線
เจ้าของโตเกียวเมโทร โตเกียวเมโทร
หมายเลขสาย3
ที่ตั้งโตเกียว
ปลายทาง
จำนวนสถานี19
สีบนแผนที่     สีส้ม (#FF9500)
การดำเนินงาน
รูปแบบระบบขนส่งมวลชนเร็ว
ระบบโตเกียวซับเวย์
ผู้ดำเนินงานโตเกียวเมโทร
ศูนย์ซ่อมบำรุงชิบุยะ, อุเอะโนะ
ขบวนรถโตเกียวเมโทร 1000 ซีรีส์ (6 ตู้)
ผู้โดยสารต่อวัน943,606 (2017)[1]
ประวัติ
เปิดเมื่อ30 ธันวาคม ค.ศ. 1927[2] 96 ปี 360 วัน
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง14.3 km (8.9 mi)
จำนวนทางวิ่งทางคู่
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
รัศมีดัดโค้งต่ำสุด94.183 m (309.00 ft)
ระบบจ่ายไฟแม่แบบ:600 V DC (รางที่สาม)
ความเร็ว65 km/h (40 mph)
ระบบป้องกันของขบวนรถNew CS-ATC
ความชันสูงสุด3.3%
แผนที่เส้นทาง

สถานีรถไฟชิบุยะ
0.0
G-01 ชิบุยะ
←สายโตคีว โตโยะโกะ (เดิม)
Toyoko Line | สายฟูกูโตชิง
1.3
G-02 โอะโมะเตะซันโด
2.0
G-03 ไกเอนมะเอะ
2.7
G-04 อะโอะยะมะ-อิตโชเมะ
โตเกียวเมโทรสายฮันโซมง→
4.0
G-05 อะคะซะกะ-มิสึเกะ
โตเกียวเมโทรสายมะรุโนะอุจิ→
4.9
G-06 ทะเมเกะ-ซันโน
5.5
G-07 โทะระโนะมง
6.3
G-08 ชิมบะชิ
←สายยะมะโนะเตะ→
7.2
G-09 กินซะ
7.9
G-10 เคียวบะชิ
8.6
G-11 นิฮมบะชิ
แม่น้ำนิฮมบะชิ
9.2
G-12 มิสึโกะชิมะเอะ
↓สายยะมะโนะเตะ / สายเคย์ฮิน-โทโฮะกุ / สายชูโอ (รถไฟความเร็วสูง)
9.9
G-13 คันดะ
↑สายชูโอ (รถไฟความเร็วสูง)→
10.4
มังเซย์บะชิ (ปิดเมื่อ 1931)
11.0
G-14 สุเอะฮิโระโช
11.6
G-15 อุเอะโนะ-ฮิโระโกจิ
↑สายยะมะโนะเตะ / สายเคย์ฮิน-โทโฮะกุ
12.1
G-16 อุเอะโนะ
สถานีรถไฟอุเอะโนะ
12.8
G-17 อินะริโช
13.5
G-18 ทะวะระมะจิ
14.3
G-19 อะซะกุสะ

โตเกียวเมโทรสายกินซะ (ญี่ปุ่น: 銀座線โรมาจิGinza-sen) หรือ สาย 3 กินซะ (ญี่ปุ่น: 3号線銀座線โรมาจิ3-gōsen Ginza-sen) เป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินสายหนึ่งของบริษัทโตเกียวเมโทร ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีความยาวทั้งสิ้น 14.3 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่เขตชิบูยะ เขตมินาโตะ เขตชิโยดะ และเขตไทโต

สัญลักษณ์ของโตเกียวเมโทรสายกินซะที่ปรากฏบนแผนที่หรือป้ายบอกทางจะใช้สีส้ม และตัวอักษรภาษาอังกฤษ "G"

ประวัติ

[แก้]

สายกินซะเริ่มต้นเมื่อนักธุรกิจนามว่าโนะริสึงุ ฮะยะกะวะ ได้เดินทางไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1914 ได้เห็นกิจการรถไฟใต้ดินลอนดอน จึงเกิดความคิดว่าโตเกียวจะต้องมีรถไฟใต้ดินเป็นของตัวเอง เขาจึงก่อตั้งบริษัทรถไฟใต้ดินโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京地下鉄道โรมาจิTōkyō Chika Tetsudō) ขึ้นในปี ค.ศ. 1920 และเริ่มก่อสร้างในอีก 5 ปีต่อมา

เส้นทางระหว่างอุเอะโนะและอะซะกุซะได้ก่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1927 ซึ่งถือเป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินสายแรกในซีกโลกตะวันออก ทันทีที่เปิดให้บริการได้รับความนิยมจากผู้โดยสารมาก เพราะสามารถลดระยะเวลาในการรอรถไฟจาก 2 ชั่วโมง เหลือเพียงแค่ 5 นาที

ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1930 ได้ขยายเส้นทางออกไปอีก 1.7 กิโลเมตร จนถึงสถานีมันเซบะชิ ซึ่งต่อมาสถานีนี้ถูกยกเลิกในอีก 1 ปีต่อมา เมื่อขยายเส้นทางออกไปอีก 500 เมตร จนถึงสถานีคันดะ การก่อสร้างชะงักลงช่วงหนึ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ แต่สุดท้ายสามารถขยายเส้นทางได้จนถึงสถานีชิมบะชิตามแผนการที่วางไว้

ในปี 1938 บริษัทรถเร็วโตเกียวซึ่งต่อมาคือบริษัทโตคิว ได้ก่อสร้างเส้นทางรถไฟใต้ดินจากสถานีชิบุยะถึงสถานีโทะระโนะมอน และขยายจนไปเชื่อมต่อกับสถานีชินบะชิในปี ค.ศ. 1939 ทำให้เส้นทางทั้งสองสายเชื่อมต่อกันสำเร็จ และสุดท้ายจึงมีการควบรวมบริษัททั้งสองเป็นองค์การรถไฟเทโต (TRTA) ในปี ค.ศ. 1941

ในปี ค.ศ. 1953 เส้นทางสายนี้จึงเปลี่ยนชื่อนี้เป็นสายกินซะ เพื่อแยกออกจากสายมะรุโนะอุชิซึ่งสร้างขึ้นภายหลังจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภายหลังสงคราม ทำให้สายกินซะมีจำนวนผู้ใช้บริการมากขึ้น ในทศวรรษที่ 1980 จึงมีการก่อสร้างเส้นทางสายฮันโซมอนเพื่อแบ่งเบาผู้โดยสารจากสายกินซะ

ในปี ค.ศ. 2009 จากการสำรวจของเทศบาลนครโตเกียว พบว่าเส้นทางสายกินซะมีจำนวนผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 7 ของเส้นทางรถไฟใต้ดินในโตเกียว[3]

ขบวนรถ

[แก้]

สายกินซะใช้ขบวนรถ 01 ซีรีส์ 6 ตู้โดยสาร จำนวน 38 ขบวน มีความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตู้โดยสารมีความยาว 16 เมตร กว้าง 2.6 เมตร ประตูด้านละ 3 บาน ทั้งสายกินซะและสายมะรุโนะอุชิสายรางสแตนดาร์ดเกจ (1,435 มม.) จ่ายไฟขนาด 600 โวลต์ กระแสตรงโดยรางที่สาม ในขณะทีเส้นทางสายอื่นใช้รางขนาดแคบ (1,067 มม.) ใช้ไฟขนาด 1,500 โวลต์ จ่ายไฟด้านบนตัวรถ

ในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 2012 มีแผนจะเปลี่ยนไปใช้รถไฟ 1000 ซีรีส์ เป็นครั้งแรก[4]

รายชื่อสถานี

[แก้]
รหัส สถานี ชื่อญี่ปุ่น ระยะทาง (กม.) เส้นทางเชื่อมต่อ ที่ตั้ง
ระหว่าง
สถานี
รวม
G01 ชิบูยะ 渋谷 - 0.0 สายฮันโซมอน (N-01), สายฟุกุโตะชิน (F-16)
สายยะมะโนะเตะ, สายไซเกียว, สายโชนัน-ชินจุกุ
สายโตคิวเดน-เอน-โตชิ, สายโตคิวโทะโยะโกะ
เคโอสายอิโนะกะชิระ
ชิบุยะ
G02 โอโมเตะซันโด 表参道 1.3 1.3 สายชิโยดะ (C-04), สายฮันโซมอน (Z-02) [* 1] มินะโตะ
G03 ไกเอนมะเอะ 外苑前 0.7 2.0  
G04 อะโอะยะมะ-อิตโชเมะ 青山一丁目 0.7 2.7 สายฮันโซมอน (Z-03)
โตเอสายโอเอะโดะ (E-24)
G05 อะกะซะกะ-มึตสึเกะ 赤坂見附 1.3 4.0 สายมะรุโนะอุชิ (M-13), สายยูระกุโช (สถานีนะงะตะโช: Y-16), สายฮันโซมอน (นะงะตะโช: Z-04), สายนัมโบะกุ (นะงะตะโช: N-07)
G06 ทะเมะอิเกะ-ซันโนะ 溜池山王 0.9 4.9 สายนัมโบะกุ (N-06), สายมะรุโนะอุชิ คกไก-งิจิโดมะเอะ: M-14), สายชิโยดะ (คกไก-งิจิโดมะเอะ: C-07) ชิโยดะ
G07 โทะระโนะมอน 虎ノ門 0.6 5.5   มินะโตะ
G08 ชิมบาชิ 新橋 0.8 6.3 โทเอสายอะซะกุสะ (A-10)
สายยะมะโนะเตะ, สายเคฮิน-โทโฮะกุ, สายหลักโทไกโด, สายโยะโกะซุกะ
ยุริกะโมะเมะ
G09 กินซะ 銀座 0.9 7.2 สายฮิบิยะ (H-08), สายมะรุโนะอุชิ (M-16) ชูโอ
G10 เคียวบะชิ 京橋 0.7 7.9  
G11 นิฮมบะชิ 日本橋 0.7 8.6 สายโตไซ (T-10)
โทเอสายอะซะกุสะ (A-13)
G12 มิตซึโกะชิมะเอะ 三越前 0.6 9.2 สายฮันโซมอน (Z-09)
สายโซบุ (สถานีชิน-นิฮมบะชิ)
G13 คันดะ 神田 0.7 9.9 สายจูโอ, สายเคฮิน-โทโฮะกุ, สายยะมะโนะเตะ ชิโยดะ
G14 ซุเอะฮิริโช 末広町 1.1 11.0  
G15 อุเอะโนะ-ฮิโระโกจิ 上野広小路 0.6 11.6 สายฮิบิยะ (สถานีนะกะ-โฮะกะชิมะชิ: H-16)
โทเอสายโอเอะโดะ (สถานีอุเอะโนะ-โอะกะชิมะชิ: E-09)
ไทโต
G16 อูเอโนะ 上野 0.5 12.1 สายฮิบิยะ (H-17)
โทโฮะกุชิงกันเซ็ง, อะกิตะชิงกันเซ็ง, ยะมะงะตะชิงกันเซ็ง, โจเอตสึชิงกันเซ็ง, นะงะโนะชิงกันเซ็ง, สายเคฮิน-โทโฮะกุ, สายยะมะโนะเตะ, สายโจบัน, สายทะกะซะกิ, สายหลักโทโฮะกุ (สายอุตซึโนะมิยะ)
สายหลักเคเซ (สถานีเคเซอุเอะโนะ)
G17 อินะริโช 稲荷町 0.7 12.8  
G18 ทะวะระมะชิ 田原町 0.7 13.5  
G19 อะซะกุสะ 浅草 0.8 14.3 โทเอสายอะซะกุสะ (A-18)
โทบุสายอุเซะซะกิ
  1. Due to the distance between the Ginza and Hanzōmon/Den-en-toshi lines at Shibuya, transfers between the two lines are announced at Omotesandō.

อ้างอิง

[แก้]
  1. Tokyo Metro station ridership in 2017 Train Media (sourced from Tokyo Metro) Retrieved May 28, 2018.
  2. In its current form in 1939
  3. Metropolis, "Commute", 12 มิถุนายน 2009, หน้า 07. เก็บถาวร 2011-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "銀座線に新型車両1000系を導入" [New 1000 series trains to be introduced on Ginza Line] (pdf). News release (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo Metro. 17 February 2011. สืบค้นเมื่อ February 18, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]