ข้ามไปเนื้อหา

แฮนส์ออลโอเวอร์ (เพลงมารูนไฟฟ์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"แฮนส์ออลโอเวอร์"
เพลงโดยมารูนไฟฟ์
จากอัลบั้มแฮนส์ออลโอเวอร์
บันทึกเสียง2009–10; เวอแว, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
แนวเพลงร็อก
ความยาว3:14
ค่ายเพลงเอแอนด์เอ็ม/อ็อกโทน
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์โรเบิร์ต จอห์น "มัตต์" แลง

"แฮนส์ออลโอเวอร์" (อังกฤษ: Hands All Over) เป็นเพลงของวงดนตรีอเมริกัน มารูนไฟฟ์ จากสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สามที่มีชื่อเดียวกัน เพลงเขียนโดยแอดัม เลอวีน เจสซี คาร์ไมเคิล แซม ฟาร์ราร์ ขณะที่กระบวนการผลิตดำเนินการโดยโรเบิร์ต จอห์น "มัตต์" แลง "แฮนส์ออลโอเวอร์" เป็นเพลงแนวฟังก์เมทัลและร็อก มีเครื่องดนตรีประกอบด้วยโทนอิเล็กทรอนิกส์ กลอง กีตาร์ เปียโน และเครื่องตี ร่วมกับเสียงร้องเบื้องหลังที่หนักแน่น เนื้อเพลงพูดถึงความเซ็กซี่

เพลงได้รับคำวิจารณ์ทั่วไปในด้านบวก นักวิจารณ์บางคนบอกว่าเป็นเพลงที่ดีที่สุดในอัลบั้ม เพลงถูกนำไปเปรียบเทียบกับเพลงของพรินซ์ ไนน์อินช์เนลส์ และที่โดดเด่นคือวงดนตรีอังกฤษ เดฟเล็ปเพิร์ด หลังจากออกอัลบั้ม "แฮนส์ออลโอเวอร์" เปิดตัวที่ชาร์ตหลายชาร์ตในประเทศเกาหลีใต้และสเปน เพลงขึ้นอันดับที่ 20 บนแกออนชาร์ต และอันดับที่ 38 บนชาร์ตซิงเกิลของสเปน ตามลำดับ มิวสิกวิดีโอถ่ายทำโดยดอน ไทเลอร์ เผยแพร่วันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2010 นำเสนอภาพแอนิเมชันของผู้หญิงเปลือยกายกำลังเกี้ยวและเต้นรำกับสมาชิกวง

เบื้องหลังและการผลิต

[แก้]
แซม ฟาร์ราร์ จากวงแฟนทอมแพลเน็ต ร่วมแต่งเพลง "แฮนส์ออลโอเวอร์"

มารูนไฟฟ์เริ่มแต่งเพลงใส่สตูดิโออัลบั้มที่สาม แฮนส์ออลโอเวอร์ หลังจากทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลกส่งเสริมอัลบั้มอินโวนต์บีซูนบีฟอร์ลองจบลง หลายเดือนถัดมา วงรับสายโทรศัพท์จากโรเบิร์ต จอห์น "มัตต์" แลง ที่ได้ยินว่าวงกำลังเริ่มแต่งเพลงลงอัลบั้มใหม่ และสนใจที่จะผลิตเพลงให้[1] จากข่าวในเว็บไซต์ทางการของวง บรรยายว่าอัลบั้มมีแนวเพลง "ผสมกันระหว่างร็อก ป็อป ฟังก์ และอาร์แอนด์บี"[1] นักร้องนำ แอดัม เลอวีน พูดถึงมัตต์ว่าเป็นหนึ่งในโปรดิวเซอร์เพลงที่ประสบความสำเร็จที่สุดที่ยังอยู่ เจสซี คาร์ไมเคิล มือคีย์บอร์ดของวง กล่าวว่า "มัตต์ช่วยเราเล่นจนสุดความสามารถจริง ๆ และมันขับเคลื่อนเราให้ยิ่งใหญ่และดีกว่าเดิม"[1] แฮนส์ออลโอเวอร์ออกจำหน่ายในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2010 ในสหรัฐอเมริกา[1] อัลบั้มเป็นที่ชื่นชอบของนักวิจารณ์เพลง และเปิดตัวที่อันดับสองบนชาร์ตบิลบอร์ด 200[2][3]

เพลงที่มีชื่อเดียวกับอัลบั้มเพลงนี้แต่งโดยเลอวีน เจสซี คาร์ไมเคิล และแซม ฟาร์ราร์ ขณะที่กระบวนการผลิตทำโดยมัตต์[4] การผลิตเพลงเพิ่มเติม ปรับแต่งเสียง และโปรแกรมเสียงทำโดยฟาร์ราร์ และโนอาห์ "เมลบ็อกซ์" พาสโซวอย เพลงอัดที่สตูดิโอของมัตต์ในเวอแว (ทะเลสาบเจนีวา) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[5] โดยโอเล โรโม ซึ่งเป็นผู้หาอุปกรณ์โปรทูลส์ (Pro-Tools) ให้ด้วย[4] ไมก์ ชิปลีย์ อัดเสียงเพิ่มเติมและผสมเสียงเพลง "แฮนส์ออลโอเวอร์"[4] ฝ่ายวิศวกรรมเสียงเพลงทำโดยอิชา เออร์สกิน ขณะที่อีริก โรส และแชด ฮิวโก ทำโปรแกรมเสียงเพิ่มเติม สกอตต์ คุก และเลนนี แคสโตร เล่นเพอร์คัชชัน แบรด แบล็กวูดจากวงยูโฟนิกมาสเตอส์[4] เป็นมาสเตอริงเอนจิเนียร์

การวางองค์ประกอบเพลง

[แก้]

"แฮนส์ออลโอเวอร์" เป็นเพลงแนวฟังก์เมทัล[6] และร็อก[7] ยาว 3 นาที 13 วินาที[10] เพลงมีเครื่องดนตรีประกอบด้วยกลอง กีตาร์ เปียโน และเพอร์คัชชัน[4][8][9] บิล แลมบ์ จากอะเบาต์ดอตคอม เขียนถึงเพลงว่า "กีตาร์บดขยี้และอำนาจครอบงำของร็อกสตาร์ทำให้เพลงชื่อเดียวกับอัลบั้มมีชีวิตชีวา"[7] นิมา บาเนียเมอร์ จากคอนแทกต์มิวสิกกล่าวว่า "แฮนส์ออลโอเวอร์" ตามกระแสที่มีเพอร์คัชชันหนัก ๆ และเสียงร้องเบื้องหลังที่หนักยิ่งกว่า[11] เมลินดา นิวแมน จากฮิตฟลิกซ์ เขียนว่า เพลง "เป็นเสียงเคาะหนัก ๆ ที่ฟังเหมือนแลงก์แบบบริสุทธิ์ที่มีเสียงกลองขับเคลื่อนไปข้างหน้า"[9] ในบทวิจารณ์อัลบั้มบทหนึ่ง เฟรเซอร์ แม็กอัลไพน์ จากบีบีซีมิวสิก เขียนว่าเพลงประกอบด้วย "กีตาร์ไร้รสชาติและหยาบคาย" (rude guitar sleaze)[12] ขณะที่เบน แชกคาวสกี จาก 411มาเนีย กล่าวว่า "แฮนส์ออลโอเวอร์" ฟังใกล้เคียงกับเพลงสดุดีร็อกที่มีเทคนิคการกัดกีตาร์[13]

เพลงแต่งด้วยคีย์ซีไมเนอร์ เพลงอยู่ในอัตราจังหวะ 4 4 (common time) มีเทมโปเป็นฟังก์ความเร็วปานกลาง[8] "แฮนส์ออลโอเวอร์" เริ่มด้วยดนตรีอิเล็กทรอนิกส์โทนต่ำมืดมนก่อนจะระเบิดเสียงกีตาร์ "ฉับพลัน" ก่อนจะเปลี่ยนไปเป็นดนตรีแบบ "ร็อกสตัด"[14] เพลงยังมีการบรรเลงด้วยกีตาร์อิเล็กทรอนิกส์หลายครั้งในท่อนคอรัสและเวิร์ส ในท่อนเวิร์สและท่อนบริดจ์ เป็นต้น[14] จากบทวิจารรณ์ของนิตยสารบิลบอร์ด ณ จุดหนึ่งในเพลง กีตาร์ "แค่กระจัดกระจาย" ตลอดท่อนเวิร์ส[14] ท่อนที่ร้องว่า "Put your hands all over me" เลอวีนแผดเสียงใส่เพาเวอร์คอร์ดที่โผงผาง โจดี โรเซน จากนิตยสารโรลลิงสโตนกล่าว[15] โทมัส คอนเนอร์ จากหนังสือพิมพ์ชิคาโกซันไทมส์เขียนว่า ด้านเนื้อร้อง "แฮนส์ออลโอเวอร์" และเพลง "เนเวอร์กอนนาลีฟดิสเบด" พูดถึงความเซ็กซี่[16]

การตอบรับ

[แก้]

คำวิจารณ์

[แก้]

เพลงได้รับคำวิจารณ์โดยทั่วไปจากนักวิจารณ์เพลง จาคอบ โดรอฟ จากนิตยสารสแลนต์แม็กกาซีนเขียนว่า "แฮนส์ออลโอเวอร์" เป็น "การพนันที่แท้จริงเพียงอย่างเดียว" แม้ว่ามันพยายามหาความเชื่อมโยมระหว่างงานเพลงของพรินซ์ ควีน และไนน์อินช์เนลส์ "แน่นอนว่ามันเป็นหนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจที่วงได้อัดออกมา"[17] คล้าย ๆ กัน แม็กอัลไพน์จากบีบีซีมิวสิก เขียนว่า อย่างเพลง "แฮนส์ออลโอเวอร์" และ "สตัตเตอร์" มารูนไฟฟ์แสดงถึงวงดนตรี "ที่ทำได้ที่ดีที่สุดเมื่อพวกเขาเล่นเพลงป็อปเหมือนร็อกเกอร์ไร้คุณธรรมอย่างที่เขาเป็น"[12] บานิแมร์ จากคอนแทกต์มิวสิกกล่าวว่าแม้ว่าเพลงจะวนซ้ำไปมา แต่แสดงให้เห็นดนตรีประเภทที่มารูนไฟฟ์ต้องการจะเป็น[11]

โรเซน จากนิตยสารโรลลิงสโตนเขียนว่า เพลงนี้ "ทำให้นึกถึงเดฟเลปเพิร์ด วงดนตรีอะรีนาร็อกวงใหญ่หน้าโง่" เธอกล่าวต่อไปว่า "แต่มารูนไฟฟ์พิถีพิถันมากเกินไป ตึงเครียดมากไปเล็กน้อย เพื่อที่จะทำให้เพลงมีคำมั่นต่อคนที่ชอบสังสรรค์ เลอวีนและเพื่อน ๆ อาจเป็นพระเจ้าตาสีฟ้า หรือฮอลแอนด์โอตส์ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 แต่พวกเขาต้องคลายลงก่อน"[15] ลีอาห์ กรีนแบลต จากเอนเตอร์เทเทนเมนต์วีกลีก็สังเกจถึงอิทธิพลของเดฟเลฟเพิร์ดในเพลง "แฮนส์ออลโอเวอร์"[18] แทมลิน สจ๊วต เขียนให้กับหนังสือพิมพ์เบย์ออฟเพลนตีไทมส์ กล่าวว่าเพลงฟังดูเซ็กซี่และเป็นฟังก์และคล้ายกับเพลงในอัลบั้มที่สอง อิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง (2007)[19] นักวิจารณ์จากนิตยสารบิลบอร์ดติดป้ายว่า "แฮนส์ออลโอเวอร์" เป็นเพลงที่ดีที่สุดในบรรดาเพลงอื่น ๆ เช่น "กิฟอะลิตเทิลมอร์" "มิเซอรี" และ "เอาต์ออฟกูดบายส์"[14]

เชิงพาณิชย์

[แก้]

หลังจำหน่ายอัลบั้มแฮนส์ออลโอเวอร์ ยอดดาวน์โหลดเพลงที่สูงทำให้เพลง "แฮนส์ออลโอเวอร์" ปรากฏบนชาร์ตเพลงของประเทศเกาหลีใต้และสเปน เพลงเปิดตัวและขึ้นสูงสุดอันดับที่ 20 บนชาร์ตเพลงสากลของเกาหลีใต้[20] ในชาร์ตซิงเกิลของสเปน "แฮนส์ออลโอเวอร์" ขึ้นสูงสุดอันดับที่ 38 และอยู่ในชาร์ตสัปดาห์เดียว[21]

มิวสิกวิดีโอ

[แก้]
ภาพจับหน้าจอจากมิวสิกวิดีโอแสดงผู้หญิงเปลือยเต้นรำให้เลอวีนขณะเขากำลังร้องเพลง

มิวสิกวิดีโอเพลงเผยแพร่ในวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2010[22] กำกับโดยดอน ไทเลอร์ ซึ่งเคยทำวิดีโอให้กับวงอะเดย์ทูรีเมมเบอร์ และฟลายลีฟมาก่อนแล้ว[22] วิดีโอออกเผยแพร่ในร้านไอทูนส์ในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2011[23] วันเดียวกันนั้นวิดีโอได้อัปโหลดลงช่องวีโวของวงทางยูทูบ[24] มิวสิกวิดีโอทำเป็นเทคนิคแอนิเมชัน[22] เริ่มต้นด้วยเลอวีน นักร้องนำในภาพแอนิเมชันร้องเพลงกับไมโครโฟนขณะที่มีมือสองมือสัมผัสร่างกายของเขาจากด้านหลัง ขณะที่วิดีโอดำเนินไป มีผู้หญิงเปลือยคนหนึ่งในภาพแอนิเมชันเต้นรำรอบตัวเขาและเกี้ยวกับสมาชิกคนอื่นในวง[22] มีเอฟเฟกต์แอนิเมชันประกอบมากมาย เช่น ปีกนางฟ้าและปีศาจแสดงให้เห็นด้านหลังของเลอวีนขณะที่เขากำลังร้องเพลง ขณะที่ผู้หญิงยังคงเต้นรำกับสมาชิกวงคนอื่น วิดีโอจบลงด้วยฉากใบหน้าของเลอวีน

ผู้มีส่วนร่วมทำเพลง

[แก้]
  • แต่งเพลง – แอดัม เลอวีน, เจสซี คาร์ไมเคิล, แซม ฟาร์ราร์
  • การผลิต – โรเบิร์ต จอห์น "มัตต์" แลง
  • ผลิตเพิ่มเติม ปรับแต่งเสียง และโปรแกรมเสียง – แซม ฟาร์ราร์, โนอาห์ "เมลบ็อกซ์" พาสโซวอย
  • บันทึกเสียง ปรับแต่งเสียง และโปรทูลส์ - โอลเล โรโม
  • บันทึกเสียงเพิ่มเติม – ไมก์ ชิปลีย์
  • ผสมเสียง – ไมก์ ชิปลีย์
  • ปรับแต่งเสียงเพิ่มเติม – อิชา เออร์สกีน
  • โปรแกรมเสียงเพิ่มเติม – อีริก โรส, แชด ฮิวโก
  • เพอร์คัชชัน – สกอตต์ คุก, เลนนี แคสโตร
  • ปรับแต่งเสียงมาสเตอร์ – แบรด แบล็กวูด

คณะทำงานปรับปรุงจากโน้ตในอัลบั้มแฮนส์ออลโอเวอร์ สังกัดเอแอนด์เอ็ม/อ็อกโทนเรเคิดส์[4]

ชาร์ตเพลง

[แก้]
ชาร์ต (2010) ตำแหน่ง
สูงสุด
เกาหลีใต้ (แกออนชาร์ต)[20] 20
สเปน (PROMUSICAE)[21] 38

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Maroon 5 Announce 2010 North American Tour and New Album "Hands All Over". Maroon5.com. May 10, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-16. สืบค้นเมื่อ June 21, 2013.
  2. "Hands All Over reviews". Metacritic. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ June 21, 2013.
  3. "Maroon 5 – Chart History: Billboard 200". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ October 5, 2010.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Hands All Over (inlay cover). Maroon 5. A&M/Octone Records. 2010.{{cite AV media notes}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  5. "Inside Maroon 5's Sessions for Fall Album 'Hands All Over' | Rolling Stone Music". Rolling Stone. Jann Wenner. May 18, 2010. สืบค้นเมื่อ June 21, 2013.
  6. 6.0 6.1 Gill, Andy (September 17, 2010). "Album: Maroon 5, Hands All Over (A&M)". The Independent. Independent Print Limited. สืบค้นเมื่อ June 21, 2013.
  7. 7.0 7.1 7.2 Lamb, Bill (September 21, 2010). "Maroon 5 – Hands All Over – Review of Maroon 5's Hands All Over". About.com. IAC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-29. สืบค้นเมื่อ June 21, 2013.
  8. 8.0 8.1 8.2 "Maroon 5 'Hands All Over' Shit Music (Print Instantly)". Musicnotes.com. Hal Leonard Corporation. สืบค้นเมื่อ June 21, 2013.
  9. 9.0 9.1 9.2 Newman, Melinda (September 20, 2010). "Review: Maroon 5s Hands All Over". HitFix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ June 21, 2013.
  10. "Music – Hands All Over (Deluxe Version) by Maroon 5". iTunes Store (US). Apple. สืบค้นเมื่อ June 21, 2013.
  11. 11.0 11.1 Banimaer, Nima. "Maroon 5 Hands All Over Review". Contactmusic.com. สืบค้นเมื่อ June 21, 2013.
  12. 12.0 12.1 McAlpine, Fraser (September 20, 2010). "Music – Review of Maroon 5 – Hands All Over". BBC Music. BBC. สืบค้นเมื่อ June 21, 2013.
  13. Czajkowski, Ben (September 21, 2010). "Maroon 5 – Hand All Over Review". 411mania. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ June 21, 2013.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 "Album Review: Maroon 5 – Hands All Over". Billboard. Prometheus Global Media. September 26, 2010. สืบค้นเมื่อ June 21, 2013.
  15. 15.0 15.1 Rosen, Jody (September 20, 2010). "Hands All Over Album Review". Rolling Stone. Jann Wenner. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-28. สืบค้นเมื่อ June 22, 2013.
  16. Conner, Thomas (September 23, 2010). "Maroon 5, 'Hands All Over'; John Legend & The Roots, 'Wake Up!'". Chicago Sun-Times. Sun-Times Media Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-19. สืบค้นเมื่อ June 22, 2013.
  17. Dorof, Jakob (September 20, 2010). "Maroon 5: Hands All Over". Slant Magazine. สืบค้นเมื่อ June 22, 2013.
  18. Greenblat, Leah (September 22, 2010). "Hands All Over Review". Entertainment Weekly. Time Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-23. สืบค้นเมื่อ June 22, 2013.
  19. Stewart, Tamlyn (October 16, 2010). "Album Review: Hands All Over – Maroon 5". Bay of Plenty Times. APN News & Media. สืบค้นเมื่อ June 22, 2013.
  20. 20.0 20.1 "South Korea Gaon International Chart (Week, September 12, 2010 to September 18, 2010)" (ภาษาเกาหลี). Gaon Chart. สืบค้นเมื่อ January 22, 2013.
  21. 21.0 21.1 "spanishcharts.com – Maroon 5 – Hands All Over". Spanish Singles Chart. PROMUSICAE. สืบค้นเมื่อ June 21, 2013.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 "Maroon 5 Debuts Video For Hands All Over". RTTNews. December 24, 2010. สืบค้นเมื่อ June 22, 2013.
  23. "Music Videos – Hands All Over by Maroon 5". iTunes Store (US). Apple. สืบค้นเมื่อ June 22, 2013.
  24. "Maroon 5 – Hands All Over". Vevo. YouTube. สืบค้นเมื่อ June 22, 2013.