เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์
"เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" | |
---|---|
เพลงโดยมารูนไฟฟ์ | |
จากอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ | |
บันทึกเสียง | คอนเวย์สตูดิโอส์ (ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย) |
แนวเพลง | ป็อป |
ความยาว | 3:25 |
ค่ายเพลง | เอแอนด์เอ็มอ็อกโทน |
ผู้ประพันธ์เพลง | แอดัม เลอวีน ไบรอัน เวสต์ มอเรียส โมกา |
โปรดิวเซอร์ | เลอวีน, โนอาห์ "เมลบ็อกซ์" พาสโซวอย, สวีตเวสตี |
"เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" (อังกฤษ: The Man Who Never Lied) เป็นเพลงของวงดนตรีอเมริกัน มารูนไฟฟ์ จากสตูดิโออัลบั้มที่สี่ โอเวอร์เอกซ์โพสด์ (2012) เพลงแต่งโดยแอดัม เลอวีน ไบรอัน เวสต์ และมอเรียส โมกา และผลิตโดยเลอวีน และโนอาห์ "เมลบ็อกซ์" พาสโซวอย ร่วมกับเวสต์ ภายใต้ชื่อว่า สวีตเวสตี เพลงได้รับคำวิจารณ์ด้านบวกจากนักวิจารณ์ โดยเฉพาะท่อนคอรัส หลังจากอัลบั้มออกจำหน่าย เพลงขึ้นอันดับที่เก้าบนชาร์ตซิงเกิลในประเทศเกาหลีใต้ ด้วยยอดขาย 31,977 ซิงเกิล
เบื้องหลังและการผลิต
[แก้]ใน ค.ศ. 2011 มารูนไฟฟ์ออกจำหน่ายสตูดิโออัลบั้มที่สาม แฮนส์ออลโอเวอร์ ซ้ำ ซิงเกิลแรกจากการออกซ้ำครั้งนี้คือ "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์" ร้องรับเชิญโดยนักร้องอเมริกัน คริสตินา อากีเลรา และประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ ขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตเพลง 18 ประเทศรวมถึงบิลบอร์ดฮอต 100[1] ในกลางปี ค.ศ. 2011 วงเริ่มทำสตูดิโออัลบั้มที่สี่ สมาชิกคนหนึ่งในวงมารูนไฟฟ์ เจมส์ วาเลนไทน์ กล่าวกับบิลบอร์ดและเผยแผนในการออกสตูดิโออัลบั้มที่สี่ในต้นปี ค.ศ. 2012[2] ในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2012 วงนำวิดีโอขึ้นยูทูบ แสดงให้เห็นสมาชิกวงกำลังอัดเสียงในสตูดิโอ[3] ในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 อัลบั้มออกจำหน่ายภายใต้ชื่อ โอเวอร์เอกซ์โพสด์[4]
"เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" แต่งโดยนักร้องนำ แอดัม เลอวีน ร่วมกับไบรอัน เวสต์ และมอเรียส โมกา[5] เพลงผลิตโดยเลอวีน ร่วมกับโนอาห์ "เมลบ็อกซ์" พาสโซวอย เวสต์ช่วยเสริมการผลิตภายใต้ชื่อ สวีตเวสตี (Sweetwesty)[5] โนอาห์ พาสโซวอย อัดเสียงเพลง "เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" ที่คอนเวย์สตูดิโอส์ ในลอสแอนเจลิส ขณะที่อีริก อายแลนส์ เป็นผู้ช่วยปรับแต่งเสียง[5] เซอร์บัน เกเนีย ผสมเสียงเพลงที่มิกซ์สตาร์สตูดิโอส์ ในเวอร์จิเนียบีช ร่วมกับจอห์น เฮนส์ และฟิล ซีฟอร์ด เป็นวิศวกรผสมเสียงและผู้ช่วยผสมเสียง ตามลำดับ[5] พาสโซวอยเป็นผู้โปรแกรมเสียงและหาคีย์เพลง ขณะที่เวสต์โปรแกรมเสียงกีตาร์และเสียงเสริมอื่น ๆ[5] แมกซ์ มาร์ติน และแซม ฟาร์ราร์ มาช่วยเรื่องคีย์และโปรแกรมเสียง ตามลำดับด้วย[5]
ดนตรีและเนื้อร้อง
[แก้]"เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" เป็นเพลงป็อปมีความยาว 3 นาที 25 วินาที[6] แต่งด้วยคีย์ดีเมเจอร์ ในจังหวะ 4 4 (common time) เทมโป 116 จังหวะต่อนาที[7] พิสัยเสียงร้องของเลอวีนกว้างตั้งแต่โน้ตต่ำ A4 ถึงโน้ตสูง B5[7] ด้านเนื้อร้อง เพลงเล่าเรื่องปัญหาความสัมพันธ์ของตัวเอกซึ่งเขารับบทเป็นคนดีคนหนึ่ง "I was the man who never lied... but I couldn't break your heart like you did yesterday."[8] เนต ชิเนน จากเดอะนิวยอร์กไทมส์ กล่าวถึงเพลง "เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" ว่า เลอวีนร้อง "เกี่ยวกับการทำลายความซื่อสัตย์สมบูรณ์แบบในตัวเขาเพื่อให้คนรักที่ชวนเขาทะเลาะเหลือแต่ความรู้สึกเจ็บปวด"[9] ร็อบ ชีเฟลด์จากโรลลิงสโตนสรุปว่าในเพลง นักร้องสารภาพว่าความซื่อสัตย์เป็นอุบายที่แย่ที่สุด นักวิจารณ์คนดังกล่าวกล่าวว่า นั่นเป็น "คำคมคลุมเครือในชีวิตจริง แต่มันจะดูสมเหตุสมผลสำหรับคนฉลาด"[10]
การตอบรับ
[แก้]ซูซาน เบิร์น จาก RTÉ.ie สรุปว่า "ลักกีสไตรก์" "เดย์ไลต์" "เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" และ "เลิฟซัมบอดี" อาจได้ออกเป็นซิงเกิล[11] เจเรมี โทมัส จาก 411มาเนีย ติดป้ายเพลงนี้กับเพลง "เพย์โฟน" และ "วันมอร์ไนต์" ให้มี "ตัวเลขที่น่าพอใจ" เนื่องจากเป็นไปได้ว่ามียอดเปิดเพลง "จำนวนพอประมาณ"[12] บรูซ เดนนิล จากเดอะซิติเซนเขียนว่า "เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" ร่วมกับเพลง "วันมอร์ไนต์" เป็นหลักฐานว่า "มารูนไฟฟ์ออกผลงานที่มีบางอย่าง (ณ ขณะนี้) ที่พวกเขาภูมิใจนำเสนอ"[13] ในบทวิจารณ์อัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ เฟรเซอร์ แม็กอัลไพน์จากบีบีซีมิวสิกเขียนว่า วงได้ทิ้ง "ความเจ้าอารมณ์ของไก่อ่อนจอมวางมาด" (the strutting cockerel heat) ในซิงเกิล "ดิสเลิฟ" ไปหา "ความสุขสมบูรณ์ชนิดอิ่มตัว" (saturated rave bliss) ในซิงเกิล "เลิฟซัมบอดี" หรือ "เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" เนื่องจากผลกระทบของตลาดที่เขาเลือกเป็นกลุ่มเป้าหมาย"[14] คริส เพย์น จากนิตยสารบิลบอร์ดเขียนว่าเพลงทำให้เพลง "ลักกีสไตรก์" แข็งแรง และมีท่อนคอรัสที่น่าจดจำที่สุดในอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์[8] โรเบิร์ต คอปซีย์ จากดิจิทัลสปายเขียนว่าเพลงทำให้รู้สึก "นิรนาม" ทั้ง ๆ ที่มีท่อนคอรัส "ขนาดเท่าสนามกีฬา"[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bell, Crystal (April 16, 2012). "Maroon 5, 'Payphone': Band Releases Song With Wiz Khalifa Off New Album 'Overexposed' (Audio)". The Huffington Post. AOL. สืบค้นเมื่อ January 20, 2013.
- ↑ Corner, Lewis (August 17, 2011). "Maroon 5: 'We want to release new album soon'". Digital Spy. Nat Mags. สืบค้นเมื่อ January 21, 2013.
- ↑ "Overexposed - June 26th". Maroon5. YouTube. สืบค้นเมื่อ April 10, 2012.
- ↑ "Overexposed by Maroon 5". iTunes Store (US). Apple. สืบค้นเมื่อ January 21, 2013.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNotes
- ↑ Frederick, Brittany (June 26, 2012). "Album Review: Maroon 5, 'Overexposed'". StarPulse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-22. สืบค้นเมื่อ January 25, 2013.
- ↑ 7.0 7.1 "Maroon 5 - The Man Who Never Lied". Musicnotes.com. Universal Music Publishing Group. สืบค้นเมื่อ January 25, 2012.
- ↑ 8.0 8.1 Payne, Chris (June 26, 2012). "Maroon 5, 'Overexposed': Track-By-Track Review". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ January 25, 2013.
- ↑ Chinen, Nate (July 9, 2012). "Albums From Clare and the Reasons and Maroon 5". The New York Times. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
- ↑ Shiefeld, Rob (June 26, 2012). "Overexposed - Album Reviews". Rolling Stone. Jann Wenner. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
- ↑ Byrne, Suzanne (June 30, 2012). "Maroon 5 - Overexposed". RTÉ.ie. Raidió Teilifís Éireann. สืบค้นเมื่อ June 23, 2013.
- ↑ Thomas, Jeremy (June 26, 2012). "Maroon 5 - Overexposed Review". 411Mania. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-26. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
- ↑ Dennill, Bruce (December 12, 2012). "Maroon 5 – Overexposed - Slow transformation". The Citizen. Caxton/CTP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-21. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
- ↑ McAlpine, Fraser (June 22, 2012). "BBC - Music - Review of Maroon 5 - Overexposed". BBC Music. BBC. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
- ↑ Copsey, Robert (June 25, 2012). "Maroon 5: 'Overexposed' - Album review". Digital Spy. Nat Mags. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-17. สืบค้นเมื่อ January 23, 2013.