ข้ามไปเนื้อหา

แอดัม เลอวีน

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แอดัม เลอวีน
แอดัม เลอวีน ในปี 2014
เกิดแอดัม โนอาห์ เลอวีน
(1979-03-18) มีนาคม 18, 1979 (45 ปี)
ลอสแอนเจลิส, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
  • นักดนตรีหลายชิ้น
  • นักแสดง
  • พิธีกร
ปีปฏิบัติงาน1994–ปัจจุบัน
คู่สมรสเบฮาตี ปรินส์ลัว (สมรส 2014)
บุตร2
ญาติทิโมธี โนอาห์ (ลุง)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรี
  • ร้องนำ
  • กีตาร์
  • เบส
  • เปียโน
  • กลองชุด
  • กีตาร์เบส
ค่ายเพลง
เว็บไซต์www.maroon5.com

แอดัม โนอาห์ เลอวีน (อังกฤษ: Adam Noah Levine; เกิด 18 มีนาคม ค.ศ. 1979) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง นักดนตรี และนักแสดงชาวอเมริกัน[4] รู้จักกันในฐานะนักร้องนำของวงดนตรีป็อปร็อกจากลอสแอนเจลิส มารูนไฟฟ์

แอดัม เกิดและเติบโตในลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย เลอวีนริเริ่มอาชีพทางดนตรีในปี ค.ศ. 1994 หลังจากเขาร่วมตั้งวงดนตรีแนวอัลเทอร์นาทีฟร็อกในชื่อ คาราส์ฟลาวเออส์ เขาร้องนำและเป็นนักกีตาร์ หลังจากออกอัลบั้มแรกและอัลบั้มเดียวในชื่อ เดอะโฟร์ธเวิลด์ และไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้เขาต้องยุบวง หลังจากนั้น เขารวมตัวกันอีกครั้งและได้สมาชิกคนที่ห้าเข้าร่วมวงและตั้งวงดนตรีชื่อ มารูนไฟฟ์ วงปล่อยอัลบั้มแรก ซองส์อะเบาต์เจน ที่ได้รางวัลรับรองระดับแพลตินัมในสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้น เขาออกอัลบั้มอีก 4 อัลบั้ม คือ อิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง (ค.ศ. 2007) แฮนส์ออลโอเวอร์ (ค.ศ. 2010) โอเวอร์เอกซ์โพสด์ (ค.ศ. 2012) และ ไฟฟ์ (ค.ศ. 2014) ในนามมารูนไฟฟ์ เขาได้รับรางวัลแกรมมี 3 สาขา รางวัลจากบิลบอร์ดมิวสิกอะวอร์ด 2 สาขา รางวัลจากอเมริกันมิวสิกอะวอร์ด 2 สาขา รางวัลจากเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอร์ด และเวิลด์มิวสิกอะวอดส์

ตั้งแต่ ค.ศ. 2011 เลอวีนรับหน้าที่เป็นโคชในรายการเรียลลิตีโชว์ เดอะวอยซ์ ทางช่องเอ็นบีซี มีผู้ชนะจากรายการในฤดูกาลที่หนึ่ง ห้า และเก้า ฮาเวียร์ โคลอน เทสแซน ชิน และจอร์แดน สมิธ มาจากทีมของเลอวีน ในปี ค.ศ. 2012 เขาแสดงเป็นตัวละครรองในละครแนวสยองขวัญ อเมริกันฮอร์เรอร์สตอรี: อะไซลัม ฤดูกาลที่สอง เขายังปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง เพราะรัก คือเพลงรัก (Begin Again) ด้วย

ในปี ค.ศ. 2013 เลอวีนยังลงทุนทำธุรกิจน้ำหอมโดยตั้งชื่อน้ำหอมที่เป็นชื่อเดียวกับเขา ในปีเดียวกันนั้น เขาร่วมมือกับเคมาร์ต และเว็บไซต์ ShopYourWay.com ผลิตคอลเลกชันเสื้อผ้าผู้ชาย เขายังเป็นเจ้าของค่ายเพลง 222 เรเคิดส์ ในปี ค.ศ. 2013 เดอะฮอลลีวูดรีพอร์เตอร์ รายงานว่า "แหล่งข่าวแหล่งหนึ่งที่สัมพันธ์กับหลายธุรกิจของเลอวีน" ประมาณว่าเลอวีนมีรายได้มากกว่า 35 ล้านดอลลาร์ในปีนั้นเอง[5]

ชีวิตช่วงแรก

[แก้]

แอดัม โนอาห์ เลอวีน[6] เกิดวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1979[7] ที่ลอสแอนเจลิส เป็นบุตรของเฟรด เลอวีน ผู้ก่อตั้งบริษัทค้าปลีก เอ็ม.เฟรดริก และแพตซี (นามสกุลเก่า โนอาห์) ที่ปรึกษาเรื่องการเข้าเรียน[5][8] เขามีลุงสองคน คือทิโมที โนอาห์ นักหนังสือพิมพ์และนักเขียน และปีเตอร์ โนอาห์ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และนักเขียน[9][10] เขายังเป็นหลานของนักเศรษฐศาสตร์ จอร์แดน เลอวีน[11] มีน้องชายสองคน คือ ไมเคิล และแซม[12] พ่อแม่ของเลอวีนหย่าร้างกันเมื่อเขาอายุ 7 ขวบ เขาอยู่กับแม่ในวันธรรมดา และอยู่กับพ่อในวันหยุดสุดสัปดาห์[13] เขาเคยเข้ารับการบำบัดหลังพ่อแม่หย่าร้างกัน เขาเรียกช่วงนั้นว่า "เสียเวลา" โดยอธิบายว่า พ่อแม่ของเขาไม่อาจ "ยอมรับความจริงว่าผมอาจรับมันได้สักวัน ผมร้องไห้หนักมาก เตะถีบ และตะโกน แล้วพูดว่า ทำไม และพูดทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณอยากพูดเมื่อคุณรู้เช่นนั้นแล้ว สองสามวันต่อมาผมดีขึ้น แต่ผมยังต้องไปบำบัดอยู่"[14]

เลอวีนมองครอบครัวของตนว่า "รักดนตรีมาก"[15] และให้เครดิตแม่ของเขาวา "ทำให้ผมเริ่มมาเส้นทางสายนี้"[16] เขายกให้บุคคลที่แม่ยกเป็นตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล ฟลีตวูดแม็ก และเดอะบีเทิลส์ เป็นผู้กำหนดรูปแบบแนวดนตรีของเขา เขาเรียกดนตรีกลุ่มนั้นว่าเป็น "ส่วนสำคัญในช่วงเติบโตของเขา"[13] เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนเบรนต์วูด และพบกับเจสซี คาร์ไมเคิล และมิกกี แมดเดน ซึ่งต่อมาเป็นเพื่อนร่วมวงดนตรีของเขา เขานำความสนใจด้านดนตรีไปใช้ที่โรงเรียนไฮสกูล เขากล่าวว่า เขา "หัวรั้นเล็กน้อย ผมไม่อยากทำสิ่งที่เขาสอนผม [ดนตรี] กลืนกินทุกความคิดของผมเลย"[15]

เลอวีนเคยใช้ยาหลอนประสาทในช่วงวัยรุ่น ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสารคิว เขากล่าวว่า การใช้เห็ดหลอนประสาท "บีบให้ผมมองตนเองอย่างจริงจัง" แต่เสริมว่าเขาไม่เคยเสพยามาก่อน[17][18] ในรายการจิมมีคิมเมลไลฟ์! เขากล่าวว่า เขาหยุดใช้ยาจากใบสั่งยาหลังเขาลองใช้ยาแอมเบียน แล้วทำให้เขาหมดสติเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง[19]

พ่อและตาของเลอวีนเป็นชาวยิว[13] ขณะที่ยายของเขานับถือนิกายโปรเตสแตนต์[20] เลอวีนนับว่าตนเองเป็นชาวยิว[21] แม้ว่าในบทสัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ เดอะจูอิชโครนิเคิล เขา"ปฏิเสธกิจกรรมทางศาสนาที่เป็นพิธีรีตอง เพื่อชีวิตคนนับถือศาสนาธรรมดาทั่วไป" เขาเลือกที่จะไม่เข้าพิธีบาร์มิตซวาห์เมื่อครั้งเป็นเด็ก โดยอธิบายว่า "ผมรู้สึกราวกับว่าเด็กหลายคนพยายามหาเงินกับสิ่งนี้.... ผมแค่ไม่คิดว่ามันเป็นวิธีที่น่านับถือที่สุดที่ควรกระทำต่อพระเจ้า ต่อความเชื่อ และต่อมรดกทางวัฒนธรรมที่มีมานานหลายปี"[13]

คาราส์ฟลาวเออส์

[แก้]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1995 เลอวีน ร่วมกับมิกกี แมดเดน เจสซี คาร์ไมเคิล และไรอัน ดูซิก นักเรียนโรงเรียนเบรนต์วูด ก่อตั้งวงดนตรีแนวการาจชื่อ คาราส์ฟลาวเออส์[22] วงแสดงครั้งแรกที่ไนต์คลับชื่อวิสกีอะโกโก ในเวสต์ฮอลลิวูด แคลิฟอร์เนีย โดยเลอวีนร้องนำและเล่นกีตาร์ด้วย[23] ใน ค.ศ. 1997 โปรดิวเซอร์เพลงอิสระ ทอมมี อัลเลน มาพบวงนี้ขณะที่พวกเขากำลังแสดงที่งานสังสรรค์ชายหาดที่แมลิบู อัลเลนและเพื่อนชื่อ จอห์น เดอนิโคลา ให้วงอัดเสียง 11 เพลงลงในอัลบั้ม[23] เนื่องจากมีงานแสดงหลายแห่งในลอสแอนเจลิส พวกเขาจึงได้เซ็นสัญญากับรีพรีสเรเคิดส์ผ่านโปรดิวเซอร์เพลง ร็อบ คาวาโย[24] ใน ค.ศ. 1997 คาราส์ฟลาวเออส์ออกอัลบั้มแรกชื่อ เดอะโฟร์ธเวิลด์[25] ในปีเดียวกันนั้น วงปรากฏในละครโทรทัศน์เรื่อง เบเวอร์ลีฮิลส์ 90210 หนึ่งตอน[5] หลังจากพวกเขาจบการศึกษา พวกเขาทัวร์คอนเสิร์ตส่งเสริมการเปิดตัวของพวกเขา แม้ว่าจะคาดหวังไว้สูง[23] แต่อัลบั้มแทบจะไม่ประสบความสำเร็จ ขายได้ประมาณ 5,000 ชุด[26] และซิงเกิล "โซปดิสโก" ก็ล้มเหลวด้านยอดขาย สุดท้ายแล้ว คาวาโยลาออกจากสังกัด[23] รีพรีสยกเลิกสัญญากับวง[27] และเนื่องจากรู้สึกผิดหวังกับผลตอบรับ ทำให้วงแยกทางกัน[28][29] หลังจากนั้น เลอวีนพูดถึงประสบการณ์ครั้งนั้นว่า "คาราส์ฟลาวเออส์แค่ลอยไต่ขึ้นกำแพง แต่ติดใต้กิ่งไม้ ทำเพลงได้เร็ว ปล่อยออกไป โดยไม่คิดถึงทัวร์คอนเสิร์ต ไม่คิดอะไรเลย แค่พยายามทำให้เกิดตั้งแต่เริ่ม แต่มันไม่ได้ผลเลย"[30]

มารูนไฟฟ์และความสำเร็จ

[แก้]

หลังจากคาราส์ฟลาวเออส์ยุบวงลง เลอวีนและคาร์ไมเคิลออกจากลอสแอนเจลิสเพื่อไปศึกษาต่อที่นิวยอร์ก[23] เขากล่าวกับเอ็มทีวีนิวส์ในปี ค.ศ. 2002 ว่า "นั่นเป็นตอนที่ผมเริ่มตื่นขึ้นมาเจอกับฮิปฮอป อาร์แอนด์บี พวกเรามีเพื่อนชื่อ ความวุ่นวาย (Chaos) และความหลอกลวง (Shit) มันไม่ใช่โรงเรียนเบรนต์วูดไฮ"[31] เขาและเจสซี คาร์ไมเคิลเรียนที่วิทยาลัยไฟฟ์ทาวส์คอลเลจที่ดิกซ์ฮิลส์ เกาะลอง นิวยอร์ก หนึ่งภาคเรียน[32] หลังจากพักเรียนที่นั้น เขากลับมารวมตัวกับมิกกี แมดเดนและไรอัน ดูซิก เพื่อก่อตั้งวงอีกครั้งหนึ่ง[33] พวกเขาทดลองดนตรีหลายแนว เช่น คันทรีและเพลงพื้นเมือง ก่อนตัดสินใจเลือกดนตรีกรูฟเป็นแนวเพลงประจำวง[34] เลอวีนอธิบายความต้องการในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ว่า "เราเบื่อกับการเป็นวงดนตรีร็อกแอนด์โรลธรรมดา ๆ ผมรู้สึกว่าผมอยากมองหาแรงบันดาลใจในการร้องเพลงจากที่อื่นบ้าง"[23] วงนำเดโมที่เคยถูกปฏิเสธจากหลายสังกัดมารวมกัน ก่อนตกไปอยู่ที่มือของผู้บริหารสังกัดอ็อกโทนเรเคิดส์ เจมส์ ไดเนอร์ เบน เบิร์กแมน และเดวิด บ็อกเซนบอม[29] ด้วยคำแนะนำของเบิร์กแมน วงได้เพิ่มสมาชิกคนที่ห้า เจมส์ วาเลนไทน์ และเปลี่ยนชื่อวงเป็น มารูนไฟฟ์ ในบทสัมภาษณ์กับฮิตควอเตอส์ เบิร์กแมนอธิบายว่า เลอวีน "ดูเป็นคนขี้อาย แบบชูเกซซิง... สมาชิกคนที่ห้าจะได้เล่นกีตาร์และทำให้นักร้อง [เลอวีน] เป็นอิสระขึ้น เขาจะได้เป็นดาราอย่างที่ผมรับรู้ว่าเขาเป็น"[26]

ในช่วงเวลานี้ เลอวีนได้ทำงานเป็นผู้ช่วยเขียนบทให้กับละครโทรทัศน์ช่องซีบีเอส จัดจิงเอมี โดยมีโปรดิวเซอร์ บาร์บารา ฮอลล์ เป็นเพื่อนครอบครัวเดียวกับเขา[5] ขณะทำงานให้ละคร เขาแต่งเพลงหลายเพลงเกี่ยวกับคนรักเก่าชื่อเจน เพลงทั้งหมดนี้ถูกนำมาใส่ในอัลบั้มแรกของมารูนไฟฟ์ ซองส์อะเบาต์เจน วางจำหน่ายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2002 อัลบั้มได้รับแอร์เพลย์อย่างช้า ๆ และกลายเป็นสลีปเปอร์ฮิต ขายได้ประมาณ 10 ล้านชุด[35] และเป็นอัลบั้มขายดีที่สุดเป็นอันดับที่สิบในปี ค.ศ. 2004 ในเวลาสองปีหลังจำหน่าย[36] ในปี ค.ศ. 2005 มารูนไฟฟ์ได้รับรางวัลแกรมมีรางวัลแรก สาขาศิลปินใหม่ยอดเยี่ยม[37] ในปีต่อมา พวกเขาได้รับรางวัลแกรมมีสาขาแสดงเพลงป็อปยอดเยี่ยมโดยศิลปินคู่หรือกลุ่มที่มีนักร้อง จากซิงเกิลที่สอง "ดิสเลิฟ" จากอัลบั้มซองส์อะเบาต์เจน[38]

เลอวีนแสดงร่วมกับมารูนไฟฟ์ในปี ค.ศ. 2007

วงเริ่มอัดเพลงอีกครั้งก่อน ค.ศ. 2006 และอัลบั้มที่สองของมารูนไฟฟ์ อิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง วางจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 เลอวีนพูดถึงอัลบั้มว่า "เป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่" อธิบายว่า "ผมคิดว่าอัลบั้มนี้ดูเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น และเนื้อเพลงฟังดูมีพลัง"[39] วงแสดงดนตรีใน "ทัวร์คลับหกวัน" เพื่อสนับสนุนอัลบั้มที่เวทีเล็ก ๆ ในบอสตัน ซานฟรานซิสโก ลอสแอนเจลิส มินนีแอโพลิส ไมแอมี และนครนิวยอร์ก ในต้นเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007[40] อัลบั้มและซิงเกิลสามซิงเกิลแรก ("เมกส์มีวันเดอร์" "โวนต์โกโฮมวิทเอาต์ยู" "อิฟไอเนเวอร์ซียัวร์เฟซอะเกน") ได้เข้าชิงรางวัลแกรมมี แต่มีเพียงเพลง "เมกส์มีวันเดอร์" ที่ได้รับรางวัล[41][42]

หลังจากทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้ม อิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง จบลง วงเริ่มอัดเสียงที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ใน ค.ศ. 2009 ร่วมมือโดยโปรดิวเซอร์เพลงและนักแต่งเพลง โรเบิร์ต จอห์น "มัตต์" เลนจ์ เลอวีนกล่าวว่าเลนจ์ "ใช้งานผมหนักกว่าคนอื่น ๆ"[43] ใน ค.ศ. 2010 มารูนไฟฟ์ออกสตูดิโออัลบั้มที่สาม แฮนส์ออลโอเวอร์ อัลบั้มไม่เป็นไปตามความคาดหวังแต่แรก ในบทสัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ ลอสแอนเจลิสไทมส์ เลอวีนอธิบายว่าอัลบั้มแย่ในเรื่อง "แนวคิดที่แยกกันและเพลงหลายเพลงที่ไม่สมเหตุสมผลเมื่อรวมอยู่ด้วยกัน"[44] หลังความสำเร็จปานกลางจากซิงเกิลสามซิงเกิลแรก วงออกเพลง "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์" ซึ่งเลอวีนจัดให้เป็น "หนึ่งในเพลงที่เป็นความเสี่ยง เป็นการกระทำที่กล้ามาก"[45] ซิงเกิลประสบความสำเร็จทั่วโลก และเป็นซิงเกิลดิจิทัลที่ขายได้ดีที่สุดอันดับที่เก้าในปี ค.ศ. 2011 ด้วยยอดขาย 8.5 ล้านชุด และเป็นซิงเกิลดิจิทัลที่ขายดีที่สุดอันดับที่แปดตลอดกาล นับถึงปี ค.ศ. 2012 เลอวีนให้เครดิตเพลงนี้ในภายหลังว่า "ทำให้วงกลับคืนชีพอย่างแท้จริง"[44]

แอดัม เลอวีน แสดงในคืนเปิดงานฮอนดาซีวิกทัวร์ 2013

เนื่องจากเพลง "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์" เป็นเพลงแรกที่มารูนไฟฟ์ได้ร่วมงานกับนักแต่งเพลงภายนอก พวกเขาจึงตัดสินใจพยายามอีกครั้งในอัลบั้มถัดมา โอเวอร์เอกซ์โพสด์[46] ชื่ออัลบั้มว่ากันว่าพูดถึงความนิยมในตัวแอดัมที่มีอยู่ทั่วไป ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสารโรลลิงสโตน เขาให้ความเห็นว่า อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มที่ชวนเต้นมากที่สุด และว่า "มันมีทำนองดิสโก้สมัยเก่า ผมทั้งชอบและไม่ชอบอัลบั้มนี้ แต่ส่วนใหญ่แล้วผมชอบมากกว่า"[47] อัลบั้มและซิงเกิลนำ "เพย์โฟน" ทำให้มารูนไฟฟ์ได้เข้าชิงรางวัลแกรมมีสาขาร้องนำป็อปยอดเยี่ยม และศิลปินคู่หรือกลุ่มป็อปยอดเยี่ยม[42] มารูนไฟฟ์ออกทัวร์โอเวอร์เอกซ์โพสด์ทัวร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012-2013 เพื่อสนับสนุนอัลบั้ม (ทัวร์ทวีปยุโรปเลื่อนไปเป็นปี ค.ศ. 2014 เนื่องจากตารางเวลาชนกัน)[48] และได้ทัวร์ฮอนดาซีวิกประจำปีครั้งที่ 12 ร่วมกับผู้ประกวดรายการเดอะวอยซ์ โทนี ลักกา[49]

ตลอดปี ค.ศ. 2014 มารูนไฟฟ์ได้ร่วมงานกับไรอัน เท็ดเดอร์ แมกซ์ มาร์ติน และคนอื่น ๆ เพื่อออกสตูดิโออัลบั้มที่ห้า ไฟฟ์ (V) เลอวีนตระหนักว่าพวกเขาใช้กระบวนการแต่งเพลงแบบเดียวกันกับอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ กล่าวว่า "เราพัฒนาระบบที่ดีเยี่ยมจริง ๆ กับอัลบั้มนี้ เราพบเพลงหลายเพลงที่เราหลงใหล พัฒนามัน และทำเพลงเหล่านั้นให้สมบูรณ์ ... ครั้งนี้เราจะให้เพลงเป็นแบบนี้ไป แต่ก็มองหาเพลงแนวอื่น ๆ ด้วย"[50] อัลบั้มออกซิงเกิลห้าซิงเกิล มารูนไฟฟ์ทัวร์คอนเสิร์ตมารูนไฟฟ์เวิลด์ทัวร์ 2015 เริ่มแสดงที่แดลลัสในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015[51]

ใน ค.ศ. 2007 เลอวีนกล่าวว่า เขาเชื่อว่ามารูนไฟฟ์มาถึงจุดสูงสุดและอาจออกอีกหนึ่งอัลบั้มก่อนยุบวง[52] มีคำกล่าวของแอดัมที่ว่า "สุดท้ายแล้วผมก็อยากให้ความสำคัญกับการเป็นคนอีกคนที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง เพราะผมไม่รู้ว่าผมจะทำเพลงไปถึงอายุ 40-50 ปี หรือมากกว่านั้นได้หรือไม่" แต่ใน ค.ศ. 2010 เขาแก้ข่าวลือเกี่ยวกับการยุบวงว่า "ผมรักสิ่งที่ผมทำและคิดว่า ใช่ มันอาจจะเหนื่อยและยุ่งยากอยู่บ้าง [แต่] เรายังไม่มีแผนที่จะยุบวงในเร็ว ๆ นี้แน่"[53] เขายังปฏิเสธการเป็นนักร้องเดี่ยวว่า "จะไม่มีงานเพลงเดี่ยวเด็ดขาด หากต้องเป็นเช่นนั้น ผมขอมีวงใหม่ดีกว่า"[54]

ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 เลอวีนได้รับดาวประดับที่ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟมจากความมีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมดนตรี[55]

งานอื่น ๆ

[แก้]

การร่วมงานดนตรี

[แก้]
เลอวีน (ขวา) กับเพื่อนร่วมวง เจสซี คาร์ไมเคิล ในปี ค.ศ. 2007

เลอวีนได้ร่วมงานกับศิลปินจำนวนมาก ใน ค.ศ. 2005 เขาร้องรับเชิญในเพลง "ลิฟอะเกน" ของคู่ฮิปฮอป ยิงยางทวินส์[56] ในปีเดียวกันนั้น เขาปรากฏในอัลบั้ม เลตรีจิสเตรชัน ของคานเย เวสต์ ในซิงเกิลที่สาม "เฮิร์ดเอ็มเซย์"[57] เป็นการร่วมมือที่เลอวีนเรียกว่า "บริสุทธ์และเรียบง่ายมาก" เพลงแต่งขึ้นขณะเขาและเวสต์นั่งเครื่องบินเที่ยวบินเดียวกัน[58] และท่อนรีเฟรนถูกนำมาใส่ในเพลง "นัททิงลาสส์ฟอร์เอเวอร์" ของมารูนไฟฟ์ ในอัลบั้ม อิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง เขาปรากฏในอัลบั้มอลิเชีย คีส์: เอ็มทีวีอันพลักด์ ของอลิเชีย คีส์ ในเพลงคัฟเวอร์ "ไวลด์ฮอร์สซิส"[59] ของเดอะโรลลิงสโตนส์ ในคราวเดียวกัน เขารับเชิญในเพลง "แบงแบง" ของนักร้องค่ายอ็อกโทน เคนาน ใน ค.ศ. 2009 เขาอัดเพลง "ก็อตเทน" ให้สแลชในอัลบั้มเดี่วอัลบั้มแรกชื่อ สแลช (2010)[60] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 เขาเป็นหนึ่งในนักดนตรีอีกประมาณ 80 คน ร้องเพลงเพื่อการกุศล "วีอาร์เดอะเวิลด์" ที่นำมาทำใหม่ในชื่อ "วีอาร์เดอะเวิลด์ 25 ฟอร์เฮติ"[61] ใน ค.ศ. 2011 เขาปรากฏในเพลง "สเตริโอฮาตส์" ของจิม คลาส ฮีโรส์ เขายังร่วมงานกับนักร้องฮิปฮอป 50 เซ็นต์ ในเพลง "มายไลฟ์" อัดก่อนออกเป็นซิงเกิลสองปีใน ค.ศ. 2012 รวมแร็ปเปอร์เอ็มมิเน็มด้วย[62] เขายังเป็นนักร้องให้เพลง "ชีวิลบีเลิฟด์" ในเกมดนตรี แบนด์ฮีโร[63] ใน ค.ศ. 2015 เขาร้องรับเชิญให้คู่นักร้อง อาร์ซิตี ในซิงเกิล "ล็อกต์อะเวย์"

โทรทัศน์และสื่อ

[แก้]

เลอวีนแสดงตลกในโทรทัศน์อย่างเด่น ๆ สี่ครั้ง ในปี ค.ศ. 2007 เขาปรากฏในละครสั้นเอสเอ็นแอลดิจิทัลชอร์ต เรื่อง ไอแรนโซฟาร์ ในตอนแรกของฤดูกาลที่ 33 ของรายการแซตเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ โดยแสดงร่วมดับแอนดี แซมเบิร์ก เฟรด อาร์มิเซน และเจค จิลเลนฮาล เลอวีนรับบทเป็นตนเองขณะร้องท่อนบริดจ์ของ "เพลงรัก" เพลงหนึ่งให้กับมะห์มูด อะห์มะดีเนจาด[64] ในปี ค.ศ. 2008 เขาแสดงในรายการ "ไนต์ออฟทูเมนีสตาส์" ทางช่องคอเมดีเซนทรัล เขายังปรากฏสั้น ๆ ในรายการจิมมีคิมเมลไลฟ์ และสนับสนุนบารัก โอบามาในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 2008 ในปี ค.ศ. 2013 เขาเป็นพิธีกรรายการแซตเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ และแสดงเพลง "โยโล" (YOLO) ของดิโลนลีไอส์แลนด์ ซึ่งเป็นอักษรย่อจากประโยค You Only Live Once ร่วมกับเคนดริก ลามาร์[65] การเป็นพิธีกรครั้งนี้ไม่เป็นที่ชื่นชอบของนักวิจารณ์ที่มองว่า "ธรรมดา" (mediocre)[66] และ "แย่กว่าปกติ" (subpar)[67]

"ผมรู้สึกตลอดว่าโลกเข้าใจผมผิด ผมรู้สึกว่าผู้คนรู้จักผมในนามนักร้องที่คบหาผู้หญิงสวย ๆ พวกสวยแต่ไม่ฉลาด บางทีผมก็เป็นพวกที่ไม่ฉลาดเช่นกัน ผมเป็นคนรักเสียงเพลงที่เปลือยกายตลอดเวลาที่อยู่กับผู้หญิง แต่ผมรับได้และไม่มีปัญหากับมัน แต่ผมอยากสร้างความสมดุลเล็กน้อย เมื่อมีการแสดงมาถึง ผมคิดว่า 'คนจะรู้ได้แล้วว่าผมก็มีสมอง'"

—เลอวีนกล่าวถึงความหวังที่ให้เดอะวอยซ์เปลี่ยนภาพลักษณ์ทางสาธารณะของเขา[12]

เลอวีนได้เป็นโค้ชหรือผู้ตัดสินรายการโทรทัศน์ เดอะวอยซ์ ตั้งแต่เริ่มฤดูกาลแรกในปี ค.ศ. 2011[68] ผู้ชนะในฤดูกาลแรก ฮาเวียร์ โคลอน อยู่ในทีมของเขา เช่นเดียวกันผู้ชนะในฤดูกาลที่ห้า เทสแซน ชิน[69] และฤดูกาลที่เก้า จอร์แดน สมิธ เดอะวอยซ์คืนชื่อเสียงให้มารูนไฟฟ์ที่งานกำลัง "สะดุด" อยู่ในขณะนั้น หลังจากยอดขายอัลบั้มแฮนส์ออลโอเวอร์ที่ต่ำกว่าเป้าหมาย เช่นเดียวกับความนิยมในตัวเลอวีนที่เพิ่มขึ้นด้วย จากงานวิจัยตลาดอีโพลล์ การรู้จักแอดัมเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าตั้งแต่เขาร่วมรายการ เขายังถูกมองว่าเป็นดารา "มาแรง" ของรายการด้วย โดยแฮชแท็ก #TeamAdam และ @AdamLevine มีการกล่าวถึงในทวิตเตอร์ 203,000 ครั้งและ 2.14 ล้านครั้งในฤดูกาลที่สาม สูงกว่าโค้ชคนอื่น ๆ ในปี ค.ศ. 2013 เดอะฮอลลิวูดรีพอร์เตอร์ประมาณว่าเลอวีนได้รับค่าจ้างในรายการเดอะวอยซ์ 10-12 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อฤดูกาล[5]

ในปี ค.ศ. 2012 เลอวีนแสดงเป็นตัวละครรองในละครรวมเรื่องสั้นเรื่องอเมริกันฮอร์เรอร์: อะไซลัม ฤดูกาลที่สอง[70] เขารับบทเป็นลีโอ มอร์ริสัน ช่างภาพที่เพิ่งแต่งงานที่มาเที่ยวที่ไบรอาร์คลิฟฟ์แมเนอร์ โรงพยาบาลบ้าแห่งหนึ่ง ขณะฮันนีมูนกับภรรยาชื่อ เทเรซา รับบทโดยเจนนา ดีวาน เททัม ฉากหลายฉากถ่ายทำในช่วงตารางเวลาทัวร์ฤดูร้อน ในบทสัมภาษณ์กับช่องอี! เขาพูดถึงบทนี้ว่า "มันฟังดูสนุกมากและมันทำให้ผมอยากเล่น มันอาจฟังดูประสาท ตลก มืดมน และเจ๋ง และตรงกับรสนิยมของผม"[71][72] อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่าโดยปกติ เขาไม่ได้เป็นแฟนละครดังกล่าวหรือละครแนวสยองขวัญ และกล่าวว่าเขาไม่ได้ชมละครดังกล่าวสักตอนเพราะ "มันแปลกและกวนประสาท"[73]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 เลอวีนได้รับคัดเลือกแสดงในภาพยนตร์โรแมนติกดรามาเรื่อง เพราะรัก คือเพลงรัก (Begin Again) ภาพยนตร์กำกับโดยจอห์น คาร์นีย์ และเคียรา ไนต์ลีย์ และมาร์ก รัฟฟาโลเล่นเป็นตัวเอก ในภาพยนตร์ เลอวีนรับบทเป็นเดฟ โคล เพื่อนนักแต่งเพลงของไนต์ลีย์และแฟนเก่าที่คบกันมาห้าปี ซึ่งเขาทิ้งเธอไปหาความสำเร็จในงานดนตรี[74][75][76] ภาพยนตร์ฉายรอบแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต 2013 เป็นที่ชื่นชอบของนักวิจารณ์[77]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 นิตยสารพีเพิลตั้งชื่อเลอวีนเป็นผู้ชายที่เซ็กซี่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ กลายเป็นนักร้องคนแรก และเป็นคนที่สองที่ไม่ใช่นักแสดง (ถัดจากจอห์น เอฟ. เคนเนดี จูเนียร์) ที่ได้ชื่อนี้[78] เขาติดอันดับที่ 41 ในรายชื่อ "ผู้ชายที่เซ็กซี่ที่สุดในปี ค.ศ. 2012"[79] ของนิตยสารแกลเมอร์ ในปี ค.ศ. 2008 เขาอยู่ในรายชื่อ "ชายโสดและเซ็กซี่" ของนิตยสารพีเพิลด้วย[80] เขาได้รับเลือกเป็นกรรมการหรือพิธีกรรายการเรียลิตีชายที่น่าหลงใหลที่สุดในแบบสำรวจจัดโดยเว็บไซต์แซปทูอิต[81] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2012 ชาลอมไลฟ์จัดแอดัมอยู่อันดับที่ 7 ในรายขื่อ "ชายชาวยิว 50 คน ที่เร่าร้อนที่สุดในโลก"[82] เลอวีนเปลือยกายในกลางนิตยสารคอสโมโพลิตัน สหราชอาณาจักร ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 เพื่อตระหนักถึงเกี่ยวกับโรคมะเร็งอัณฑะ[83]

ในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2017 มีการยืนยันว่าแอดัม เลอวีนจะจัดรายการกีฬากอล์ฟออนไลน์สำหรับคนดังชื่อ ทีอิงออฟวิทแอดัม เลอวีน หุ้นส่วนกับท็อปกอล์ฟ[84]

ในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 2018 เลอวีนกับบริษัท 222 โพรดักชันส์ ผลิตรายการเรียลลิตีชุดชื่อ ชูการ์ ได้แรงบันดาลใจจากเพลงของมารูนไฟฟ์ ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2018 ทางยูทูบพรีเมียม รายการจ้างศิลปินให้มาร่วมงานที่แฟนคลับจัดอย่างไม่มีผู้ใดคาดคิด ศิลปินที่เคยมาปรากฏได้แก่ เอเอสเอพีเฟิร์ก แบดบันนี สนูป ด็อกก์ และชาร์ลี พูท[85]

การทำธุรกิจ

[แก้]
เลอวีนกำลังเล่นกีตาร์รุ่น เฟิสต์แอ็กต์ 222 กีตาร์ ที่เขาช่วยออกแบบ

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008 เลอวีนร่วมกับเฟิสต์แอ็กต์ออกแบบกีตาร์รุ่น เฟิสต์แอ็กต์ 222 กีตาร์ ซึ่งออกแบบตามความต้องการของเขา กีตาร์มีจำหน่ายในร้านค้าปลีก ทาร์เก็ต[86] สองปีต่อมา เขาออกสินค้าแฟชันในชื่อสินค้า "222" ที่งานโปรเจกต์เทรดโชว์ ในลาสเวกัส เป็นคอลเล็กชันของสินค้าขนาดเล็กจำพวกยีนส์ เสื้อยืด และเสื้อแจ็กเก็ตหนัง รูปแบบที่เขาเรียกว่า "เรียบง่าย บริสุทธิ์ และทนทาน" งานธุรกิจดังกล่าวจัดขึ้นร่วมกับพ่อของเขา เฟรด เลอวีน (ซึ่งดำเนินธุรกิจบูติก) กับลูกพี่ลูกน้อง แซมี คูเปอร์[87][88]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 เลอวีนเข้าโครงการรณรงค์เพื่อให้ตระหนักถึงโรคซนสมาธิสั้น โครงการดังกล่าวมีชื่อว่า "โอนอิต" สร้างโดยบริษัทไชร์ และจัดการด้วยความร่วมมือกับสมาคมโรคสมาธิสั้น และโรคสมาธิสั้นในเด็กและผู้ใหญ้ โครงการมีเป้าหมายที่คนที่เคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ โดยเน้นถึงวิธีการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เลอวีนเคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้เมื่อครั้งเป็นวัยรุ่น กล่าวว่า "โครงการนี้สำคัญกับผมเพราะมันทำให้คนวัยหนุ่มสาวและวัยผู้ใหญ่ตระหนักว่ามีโอกาสว่าพวกเขาจะยังเป็นโรคนี้ได้อยู่ถ้าเขาเคยเป็นตอนเด็ก ๆ"[89][90] เขาเขียนบทความเกี่ยวกับโครงการนี้ในนิตยสารแอดดิทูดแมกกาซีนเกี่ยวกับประสบการณ์ตรงของเขา[91]

เลอวีนก่อตั้งค่ายเพลงของตนเองชื่อ 222 เรเคิดส์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 เขากล่าวว่าเขาได้แรงบันดาลใจที่จะเปิดค่ายให้รอซซี เครน นักศึกษาดนตรีจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียที่เขารู้จักผ่านเพื่อน[92] เธอกลายเป็นนักร้องคนแรกที่เซ็๋นสัญญากับค่าย ตามด้วย แมตทิว มอร์ริสัน นักแสดงจากละครกลี ดิเอโก โบเนตา นักร้องชาวเม็กซิโก และโทนี ลักกา ผู้เข้าแข่งขันรายการเดอะวอยซ์ ฤดูกาลที่สอง ในทีมแอดัม มีรายงานว่าเขากำลังเจรจาต่อไปกับผู้แทนจำหน่าย รวมถึงจัดหาพนักงาน เพื่อดำเนินการบริษัทค่ายเพลงสมบูรณ์แบบที่มีแผนกต่าง ๆ เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายวิทยุ และฝ่ายโฆษณา[93][94]

ในปี ค.ศ. 2013 เลอวีนร่วมกับไอดีเพอร์ฟูมส์ผลิจน้ำหอมรุ่นแรกของเขา[95] ผลิตภัณฑ์ออกขายที่สถานจัดแสดงน้ำหอมในลอสแอนเจลิสในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013[96] พิสัยของน้ำหอมมีทั้งสำหรับผู้ชายและผู้หญิง มีจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าเมซีส์ในขวดรูปไมโครโฟน เลอวีนกล่าว ณ งานเปิดตัวน้ำหอมว่า "งานคือสร้างสิ่งที่ผมอยากจะใส่ ดังนั้นจึงมีกระบวนการ และในที่สุดเราก็ได้บทสรุปที่ยอดเยี่ยมออกมาและมันกลิ่นหอมมาก"[97][98] น้ำหอมได้รับความสนใจจากสื่อ หลังจากมันขัดแย้งกับสิ่งที่เขาทวีตเมื่อปีก่อนว่าเขาต้องการที่จะ "คว่ำบาตรน้ำหอมคนดังอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่นี้ต่อไปจนตาย"[99]

ในปี ค.ศ. 2013 แอดัม เลอวีนเป็นโฆษกให้กับโพรแอ็กทีฟ บริษัทผลิตภัณฑ์ขจัดสิว ในการโฆษณา แอดัมแบ่งปันรายละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์มีสิวของเขาช่วงเรียนไฮสกูล และส่งเสริมผลิตภัณฑ์โพรแอ็กทีฟพลัส[100]

ในปี ค.ศ. 2013 มีประกาศว่าเลอวีนจะเป็นหุ้นส่วนกับเซียส์โฮลดิงส์ออกตราสินค้าวิถีชีวิตเพื่อพัฒนาเครื่องแต่งกายและชุดเครื่องประดับ[101] บริษัทมีเจ้าของคือเคมาร์ตและช็อปยัวร์เวย์ มีชื่อของแร็ปเปอร์ นิกกี มินาจ ในสัญญาฉบับเดียวกันด้วย ชุดเครื่องแต่งกายผู้ชายออกจำหน่ายในวันที่ 1 ตุลาคม และมีจำหน่ายในร้านเคมาร์ต 500 สาขาทั่วสหรัฐอเมริกา และช่องทางออนไลน์ด้วย[102] เลอวีนกล่าวอย่างเป็นทางการว่า "การเป็นหุ้นส่วนกับช็อปยัวร์เวย์เพื่อพัฒนาสินค้าเหล่านี้เป็นโอกาสที่น่าตื่นเต้นสำหรับผม และจริง ๆ แล้วผมกำลังศึกษากระบวนการออกแบบเครื่องแต่งกายและชุดเครื่องประดับ"[103] ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสารพีเพิล เขาให้ความเห็นต่อไปว่า "มันเจ๋งดีที่พวกเขาส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ ผมอยากเข้าไปมีส่วนร่วมกับขั้นตอนการทำมากกว่าแค่โทรศัพท์"[104]

การเป็นศิลปิน

[แก้]
เลอวีนแสดงในวอชิงตัน ดี.ซี.

ความสนใจในดนตรีของเลอวีนเริ่มขึ้นเมื่อเขาอายุ 10 ปี เมื่อเขาเริ่มเล่นกีตาร์ เขาพบว่าดนตรีเป็นทางระบายอารมณ์ เขากล่าวว่า "ผมหยิบกีตาร์มาเล่นหนึ่งอันแค่นั้นแหละ ผมรู้สึกหลงรักมันแทบบ้า ผมรู้สึกแค่นั้นจริง ๆ"[15] เขาแสดงสดครั้งแรกที่เดอะทรูบาดอร์เมื่อเขาอายุ 12 ขวบ แต่รู้สึกประหม่าจนเขาเล่นโดยหันหลังให้ผู้ชม[5][105] ตลอดวัยเด็ก เขาได้รับอิทธิพลจากวงดนตรีหลากหลายกลุ่ม เช่น เดอะบีเทิลส์ ฟลีตวูดแม็ก เดอะฮู เพิร์ลแจม ซาวด์การ์เดน อลิซอินเชนส์ และเนอร์วานา และในช่วยไฮสกูล เขาได้รับอิทธิพลจากบ็อบ มาร์เลย์ บิล วิเทอส์ อัล กรีน สตีวี วันเดอร์ มาร์วิน เกย์[106] และไมเคิล แจ็กสัน[107] เขาได้นำลักษณะดนตรีของวงเดอะโพลิซ และพรินซ์[108] มาใส่ในเพลงของเขาด้วย ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสารบิลบอร์ด เขาอธิบายถึงแนวดนตรีที่หลากหลายที่เขาฟังว่า "ผมรักดนตรีทุกชนิด ขนาดเพลงป็อปหวานหยดย้อยฃยังสามารถเป็นเพลงที่ดีที่สุดได้ เพลงฟิวชันบ้าคลั่งล้ำยุคความยาว 25 นาทีแบบเฮอร์บี แฮนค็อกในยุค 70 ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน"[109]

เลอวีนจำได้ว่าฟังเพลง "อาร์ยูแดตซัมบอดี" ของอาลียาห์ ทำให้เขาเชื่อว่าต้องมองหาเสียงดนตรีที่มีอารมณ์ลึกซึ้งมากกว่าวงคาราส์ฟลาวเออส์ในขณะนั้น[25] การที่เขาย้ายไปที่นิวยอร์ก ทำให้เขาได้ยินดนตรีแนวฮิปฮอป อาร์แอนด์บี กอสเปล และโซล[31] เขาเปลี่ยนแนวดนตรีของตนเอง เน้นตามแบบสตีวี วันเดอร์[108] หลังจากนั้น อัลบั้มซองส์อะเบาต์เจนวางจำหน่าย ฟังออกเป็นแนว "ฟังก์จังหวะเศร้า" (bluesy funk)[110] และคล้ายกับดนตรีของวงบัสทิด[111] นักวิจารณ์ยังเปรียบเทียบเลอวีนกับเจย์ เคย์ นักร้องวงจามิโรไคว ด้วย[112]

ขณะที่ผลงานช่วงแรกดูเป็น "ไวต์โซลฟังก์แบบไม่ชัดเจน"[112] และ "ร็อก" ผลงานปัจจุบันดูมีความเป็นเรกเก้ ดนตรีป็อป[113] ทำให้มีการเปรียบเทียบกับวงโคลด์เพลย์[114] เลอวีนปฏิเสธที่จะระบุแนวดนตรีของตน โดยกล่าวว่า "ดนตรีนั้นหลากหลายมาก มันดูโง่ถ้าจะยึดติดกับแนวใดแนวหนึ่งและพยายามจะทำให้ฟังออกไปในทางในทางหนึ่ง"[108] เขามองตนเองเป็นนักแต่งเนื้อเพลงแบบทรรศนะดั้งเดิมที่ยึดติดกับเนื้อหาธรรมดา ๆ โดยตระหนักว่า "การขาดความรักความใคร่ ยังคงเป็นเนื้อหาที่ใหญ่ ผมยังคิดถึงวิธีที่จะนำทุกเรื่องมาแต่งเพลงได้ทั้งหมด ในฐานะนักแต่งเพลง ผมยังคงจำกัดอยู่กับสิ่งนั้นสิ่งเดียว"[25] เขายังกล่าวว่าเขาไม่ชอบใช้คำที่นุ่มนวล ดั่งที่กล่าวในบทสัมภาษณ์นิตยสารโรลลิงสโตนว่า "ผมเบื่อกับเนื้อเพลงธรรมดา ๆ อย่าง 'อู ที่รัก' และ 'ผมรักคุณ' และวลีเหลวไหลกำกวมพวกนั้น ผมคิดว่ายิ่งผมคิดวลีที่ชัดเจนโดยที่ไม่ต้องชัดเจนทั้งหมด ยิ่งเป็นการใช้วลีที่ใช้ได้"[31]

เลอวีนมีเสียงเทเนอร์ (tenor) เขามีช่วงเสียง 3 ช่วงอ็อกเทฟครึ่ง[115][116] และมีเสียงแบบฟอลเซตโต[117] เว็บไซต์ซาลอนเขียนว่า "เมื่อเขาฮัมเพลงจูงใจผู้ฟัง เสียงของเขาทำให้ดนตรีฟังดูลามกอย่างน่าพอใจ มีสัมผัสของความถึงเนื้อถึงตัวแบบแนบชิดที่ทำให้ท่อนสร้อยในท่าเลื้อยไปมากระตุ้นการเร่งฮอร์โมนเพศ"[118] ในบทวิจารณ์อัลบั้มอิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลีบรรยายถึงเสียงของเขาว่า "เป็นอาร์แอนด์บีหน้าตายแบบพอใจในตนเอง การสื่อสารอย่างสงบ ๆ ของเขามีเหตุผลที่ซับซ้อน"[119] ในบทวิจารณ์โดย ออลมิวสิกกล่าวว่า "เขารู้ว่าเขาเป็นผู้ชายยอดนิยมในแบบเดียวกับฮอลแอนด์โอตส์ แต่เขาไม่ได้พยายามทำตัวย้อนยุค เขา ... ทำเพลงที่มีจังหวะ นำสมัย และเต็มไปด้วยความรู้สึก"[120] ในบทวิจารณ์ถึงทัวร์ 2013 ฮอนดาซีวิกทัวร์ หนังสือพิมพ์เดอะบอสตันโกลบ ยังให้ความเห็นด้านบวกเกี่ยวกับการแสดงบนเวทีของเขาที่ "ปลดปล่อยอารมณ์ความสนุกสนานต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ผสมผสานกับงานเพลงร็อกและความรักบริสุทธ์ให้กับผู้ชมและการแสดง"[121]

นอกจากงานดนตรี เลอวีนได้ชื่อว่าเป็น "ดาราฉายเดี่ยว" (stand-alone star)[122] ซึ่งนักวิจารณ์กล่าวว่าได้ผลักให้สมาชิกมารูนไฟฟ์คนอื่นอยู่ข้างหลัง แม้แต่ในงานเพลง[123] มือกีตาร์ วาเลนไทน์ กล่าวว่า นักร้องของเขาเป็นศูนย์กลางของดนตรีที่เขาเข้ามาพัวพัน[124] ในทางกลับกัน คนอื่น ๆ ให้ความเห็นว่า ชื่อเสียงของเลอวีนเพิ่มความนิยมให้วง นิตยสารเปเปอร์เขียนว่า "มารูนไฟฟ์ชื่อเสียงลง ๆ ขึ้น ๆ ตลอดเวลาที่ผ่านไป ส่วนหนึ่งมาจากความสามารถแปลก ๆ ของนักร้องนำที่ให้ความบันเทิงได้ดีเยี่ยม"[125] เดลตาสกายบรรยายเขาว่าเป็น "ชายผู้นำที่เป็นธรรมชาติ และมีอาการประสาทเล็กน้อย"[126] เขากล่าวว่าภาพลักษณ์ถือกำเนิดขึ้นโดยตั้งใจ อธิบายว่า "เราพูดถึงมันมานานแล้ว และตัดสินใจออกมาตอบโต้ เพื่อเรา ไม่ใช่เพื่อผม หรือเพื่ออัตตาของผม เราต้องการให้ที่ตรงนั้นเป็นนักร้องนำ"[54]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ต้นปี ค.ศ. 2010 ขณะแสดงที่งานสังสรรค์จำหน่ายนิตยสาร ฉบับหน้าปกชุดว่ายน้ำของนิตยสารสปอตส์อิลลัสเตรทิด ในลาสเวกัส เลอวีนพบกับแอน ไวอาลิตซีนา นางแบบชุดว่ายน้ำของนิตยสารดังกล่าว พวกเขาเริ่มคบหากัน[127] และเลิกรากันในเดือนเมษายน ค.ศ. 2012[128]

เลอวีนเริ่มคบหากับเบฮาตี ปรินส์ลัว นางแบบวิกตอเรียส์ซีเคร็ตชาวนามิเบีย เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012[129][130] พวกเขาเลิกรากันในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013[131] แต่กลับมาคืนดีและหมั้นกันในเดือนกรกฎาคมปีนั้น[132][133] ทั้งคู่สมรสกันในวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2014[134] เลอวีนกับปรินส์ลัวมีบุตรสาวด้วยกันสองคนคือ ดัสตี โรส (เกิดเดือนกันยายน ค.ศ. 2016)[135] และจิโอ เกรซ (เกิดเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018)[136]

เลอวีน มีน้องชายที่เผยตนว่าเป็นเกย์ เขาได้เป็นผู้สนับสนุนการสมรสกับเพศเดียวกัน และสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ[137] ในปี ค.ศ. 2011 เขาทำวิดีโอในบัญชีทางการของมารูนไฟฟ์ในยูทูบเพื่อสนับสนุนโครงการอิตเกตส์เบ็ตเทอร์โปรเจกต์[138] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 เขาประกาศว่ามารูนไฟฟ์ได้เปลี่ยนสถานที่แสดงหลังได้รับรางวัลแกรมมี เนื่องจาก "ร้านอาหารในลอสแอนเจลิสร้านนั้นสนับสนุนญัตติข้อที่แปด"[137]

ในปี ค.ศ. 2013 เลอวีนถูกกล่าวถึงในคดีความเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เป็นมิตร ที่ยื่นฟ้องในศาลชั้นสูงลอสแอนเจลิสโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่ทราบชื่อคนหนึ่งว่า สถานที่ของบริษัทยูนิเวอร์ซัลมิวสิกพับบลิชชิงกรุปที่ซานตาโมนิกาถูก "มีการเสพยาเสพติด โดยคุณสามารถได้กลิ่นกัญชาลอยออกมาจากสำนักงานหลายแห่งและมีการเสพอย่างเปิดเผยในพื้นที่และห้องนั่งเล่นทั่วไป" เจ้าหน้าที่อ้างว่าเธอได้ร้องเรียนเรื่องควันกัญชาลอยมาจากสตูดิโอห้องหนึ่ง เธอได้ยินมาว่า "มันคือแอดัม เลอวีน ถ้าเขาอยากจะออกมาที่ห้องโถง และสูดโคเคนบนพื้น ก็โอเค" ในคำกล่าวทางการถึงเดอะฮอลลิวูดรีพอร์เตอร์ ยูนิเวอร์ซัลมิวสิกพับบลิชชิงกรุปมองข้อกล่าวหานี้ว่า "ไร้สาระ"[139][140]

ผลงานดนตรี

[แก้]

ซิงเกิลในฐานะนักร้องเดี่ยว

[แก้]
รายชื่อซิงเกิลในฐานะนักร้องนำ ตำแหน่งบนชาร์ต และการรับรอง แสดงตามปีที่ออกจำหน่าย และชื่ออัลบั้ม
ปี ชื่อ ตำแหน่งสูงสุดบนชาร์ต การรับรอง อัลบัม
US
[141]
AUS
[142]
CAN
[141]
GER
[141]
IRL
[143]
NL
[144]
NZ
[145]
UK
[146]
2005 "เฮิร์ดเอ็มเซย์"
(คานเย เวสต์ ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน)
26 27 19 95 23 67 15 22 เลตรีจิสเตรชัน
2008 "แบงแบง"
(เคนาน ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน)
71 105 ทรูบาดอร์
2011 "สเตริโอฮาตส์"
(จิมคลาสฮีโรส์ ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน)
4 4 7 4 8 3 3 เดอะเปเปอร์คัตโครนิเคิลส์ II
"แมนอินเดอะมิร์เรอร์"[153]
(กับ ฮาเวียร์ โกโลน)
45 66 non-album singles
2012 "เยสเตอร์เดย์"[154]
(กับ โทนี ลักกา)
68 64
"มายไลฟ์"
(50 เซ็นต์ ร้องรับเชิญโดยเอ็มมิเน็ม และ แอดัม เลอวีน)
27 33 14 52 6 89 33 2
2013 "โยโล"
(เดอะโลนลีไอส์แลนด์ ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน และเคนดริก ลามาร์)
60 31 26 64 26 77 เดอะแว็กอัลบั้ม
"เฮวี"
(พีเจ มอร์ตัน ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน)
นิวออร์ลีนส์
"เลตอิตบี"[156]
(กับเทสซาน ชิน)
76 35 เดอะคอมพลีตซีซัน 5 คอลเลกชัน
"ไทนีแดนเซอร์"[157]
(กับ วิล แชมป์ลิน)
เดอะคอมพลีตซีซัน 5 คอลเลกชัน
2014 "ซัมบอดีแดตไอยูสด์ทูโนว์"[158]
(กับ คริสตินา กริมมี)
66 47 เดอะคอมพลีตซีซัน 6 คอลเลกชัน
"ลอสต์วิดเอาต์ยู"[159]
(กับ คริส เจมิสัน)
63 84 เดอะคอมพลีตซีซัน 7 คอลเลกชัน
"โดนต์เลตเดอะซันโกดาวน์ออนมี"[160]
(กับ เดเมียน)
เดอะคอมพลีตซีซัน 7 คอลเลกชัน
"ลอสต์สตาส์"[161]
(with แม็ตต์ แม็กแอนดรูว์)
83 86 เดอะคอมพลีตซีซัน 7 คอลเลกชัน
2015 "ไดมอนส์ออนเดอะโซลส์ออฟเฮอร์ชูส์"[162]
(กับ โจชัว เดวิส)
เดอะคอมพลีตซีซัน 8 คอลเลกชัน
"ล็อกต์อะเวย์"[163]
(อาร์. ซิตี ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน)
6 2 2 6 7 4 6 2 วอตดรีมส์อาร์เมดออฟ
"ก๊อดโอนลีโนวส์"[165]
(กับ จอร์แดน สมิธ)
90 เดอะคอมพลีตซีซัน 9 คอลเลกชัน
2016 "ไอม์โซฮัมเบิล"[166]
(เดอะโลนลีไอส์แลนด์ ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน)
เพลงประกอบภาพยนตร์ พ็อปสตาร์: เนเวอร์สต็อปเนเวอร์สต็อปปิง
"โกลเดนสลัมเบอส์/แคร์รีแดตเวต/ดิเอนด์"[167]
(กับ เลธ อัลซาดิ)
เดอะคอมพลีตซีซัน 10 คอลเลกชัน
2017 "ไมค์แจ็ก"
(บิกบอย ร้องร่วมกับแอดัม เลอวีน)
บูมิเวิร์ส
2018 "เฟมัส"
(เฟรนช์มอนทานา ร้องร่วมกับแอดัม เลอวีน)
จังเกิลรูลส์
"—" หมายถึงเพลงที่ไม่ติดชาร์ต หรือไม่ได้รับการรับรอง

แขกรับเชิญ

[แก้]
รายชื่อเพลงที่ไม่ใช่ซิงเกิลที่แอดัม เลอวีนเป็นแขกรับเชิญ
ปี ชื่อ อัลบั้ม ศิลปิน
2005 "ลิฟอะเกน" 'ยูไนเต็ดสเตตออฟแอตแลนตา ยิงยางทวินส์
"ไวลด์ฮอร์สซิส" อันพลักด์ อลิเชีย คีส์
2009 "พรอมมิสต์แลนด์" G.O.O.D. Morning, G.O.O.D. Night คานเย เวสต์ และ มาลีก ยูเซฟ
2010 "ก็อตเท็น" สแลช สแลช
2011 "สแตนด์อัป" คัมทรูฟอร์ยู ฮาเวียร์ โคลอน
2014 "ลอสต์สตาส์" เพลงประกอบภาพยนตร์ เพราะรัก คือเพลงรัก แอดัม เลอวีน
"โนวันเอลส์ไลก์ยู"
"อะไฮเออร์เพลซ"
"ลอสต์สตาส์ (อินทูเดอะไนต์มิกซ์)"
2015 "เพนคิลเลอร์" สเปซ รอซซี เครน
2016 "โกนาว" เพลงประกอบภาพยนตร์ รักใครให้ร้องเพลงรัก แอดัม เลอวีน


มิวสิกวิดีโอ

[แก้]

ในฐานะนักร้องเดี่ยว

[แก้]
ปี ชื่อเรื่อง ผู้กำกับ Ref.
2014 "ลอสต์สตาส์" ไม่มี [168]
2016 "โกนาว" ไม่มี [169]

ในฐานะศิลปินรับเชิญ

[แก้]
ปี ชื่อเรื่อง ศิลปิน ผู้กำกับ Ref.
2005 "เฮิร์ดเอ็มเซย์"(เวอร์ชัน 1) คานเย เวสต์ ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน มิเชล กอนดรี [170]
"เฮิร์ดเอ็มเซย์" (เวอร์ชัน 2) บิล พลิมป์ตัน, โจ เดอไมโอ และคานเย เวสต์ [171][172]
2007 "อิหร่านโซฟาร์" เดอะโลนลีไอส์แลนด์ ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน อะคิวา เชเฟอร์ [173]
2010 "แบงแบง" เคนาน ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน มาลีก ซายีด [174]
2011 "สเตริโอฮาตส์" จิมคลาสฮีโรส์ ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน ฮิโระ มุไร [175]
2012 "กอตเทน" สแลช
ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน
คลิฟตัน คอลลินส์ จูเนียร์ [176]
"มายไลฟ์" 50 เซ็นต์
ร้องรับเชิญโดยเอ็มมิเน็ม และแอดัม เลอวีน
ริช ลี [177]
2013 "โยโล" เดอะโลนลีไอส์แลนด์
ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน และเคนดริก ลามาร์
อะคิวา เชเฟอร์ และ จอร์มา ทักโคเน [178]
2014 "เฮวี" พีเจ มอร์ตัน ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน ไม่มี [179]
2015 "ล็อกต์อะเวย์" อาร์. ซิตี ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน ไม่มี [180]
2017 "ไมค์แจ็ก" บิกบอย ร้องรับเชิญโดยแอดัม เลอวีน โมชันแฟมิลี [181]

แขกรับเชิญ

[แก้]
ปี ชื่อเรื่อง ศิลปิน ผู้กำกับ Ref.
2006 "กอดส์กอนนาคัตยูดาวน์" จอห์นนี แคช โทนี เคย์ [182]
2010 "วีอาร์เดอะเวิลด์ 25 ฟอร์เฮติ" อาร์ทิสฟอร์เฮติ พอล แฮกกิส [183]
2011 "อันชาร์ทิด" ซารา บาเรลลิส ทราวิส ชไนเดอร์ และฮาเวียร์ ดันน์ [184]
2019 "เอิร์ธ" ลิลดิกกี ไนเจล ดับเบิลยู เทียร์นีย์ และเฟเดริโก เฮลเลอร์ [185][186]

แต่งเพลง

[แก้]
ปี ศิลปิน อัลบัม เพลง ผู้แต่งร่วม
2011 เดอะแค็บ ซิมโฟนีโซลเยอร์[187] "แอนิมัล" เจสซี คาร์ไมเคิล

อื่น ๆ

[แก้]
ปี ชื่อ ศิลปิน เครดิต Ref.
2008 พ็อกเกตฟุลออฟซันไชน์ นาตาชา เบดิงฟิลด์ ร้อง (เบื้องหลัง; "เซย์อิตอะเกน")

ผลงานการแสดง

[แก้]

ภาพยนตร์

[แก้]
ปี ชื่อเรื่อง บทบาท รายละเอียดเพิ่มเติม
2005 อีเมล! คอมพิวเตอร์ (เสียง) ภาพยนตร์สั้น
2011 มิวสิก ตนเอง สารคดี
2013 เพราะรัก คือเพลงรัก เดฟ โคล
2014 เลนนอนออร์แม็กคาร์ตนีย์ ตนเอง ภาพยนตร์สารคดีสั้น เป็นคลิปสัมภาษณ์[188]
2015 ชมรมเสียงใส ถือไมค์ตามฝัน 2 ตนเอง
2015 ยูนิตี ผู้บรรยาย สารคดี
2015 คลาวน์ฟอร์เอเวอร์ ตนเอง
2016 ป็อปสตาร์: เนเวอร์สต็อปเนเวอร์สต็อปปิง ตนเอง
2017 ฟันมอมดินเนอร์ ลู้ก
2017 เดอะแคลปเปอร์ ราลฟ์ แรนเทอร์

โทรทัศน์

[แก้]
ปี ชื่อเรื่อง บทบาท รายละเอียดเพิ่มเติม
1997 เบเวอร์ลีฮิลส์, 90210 ตนเอง ตอน: "Forgive and Forget"
2004–2014 แซตเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ ตนเอง (แขกรับเชิญ / พิธีกร) 7 ตอน
2007 คะเนเดียนไอดอล ตนเอง (ที่ปรึกษา) ฤดูกาลที่ 5; 2 ตอน
2008 CSI: NY ตนเอง / นักแสดงดนตรี ตอน: "Page Turner"
2009 30 ร็อก ตนเอง ตอน: "Kidney Now!"
2011–ปัจจุบัน เดอะวอยซ์ ตนเอง (โค้ช) Teen Choice Award for Choice Reality Personality: Male (2014)
เข้าชิง—People's Choice Award for Favorite Celebrity Judge (2013)
เข้าชิง—Teen Choice Award for Choice TV: Personality (2011)
เข้าชิง—Teen Choice Award for Choice TV Personality: Male (2013)
เข้าชิง—Young Hollywood Award for Best Bromance (2014)
2012 อเมริกันฮอร์เรอร์สตอรี: อะไซลัม ลีโอ มอริสัน 5 ตอน
2013 แฟมิลีกาย ตนเอง (เสียง) ตอน: "Quagmire's Quagmire"
2016 บรอดซิตี ตนเอง ตอน: "Jews on a Plane"
2017 ร็อกแอนด์โรลโรคทริปวิทแซมมีฮาการ์ ตนเอง ตอน: "Marooned in LA"

โปรดิวเซอร์

[แก้]
ปี ชื่อเรื่อง บทบาท รายละเอียดเพิ่มเติม
2018 ชูการ์ ผู้อำนวยการผลิต / ตนเอง ตอน: "มารูนไฟฟ์เซอร์ไพรส์วัยรุ่นในงานสังสรรค์ประจำปี" (เป็นตนเอง);
ซีรีส์โทรทัศน์บนเว็บ (8 ตอน)
2019 ซองแลนด์ ผู้อำนวยการผลิต

วิดีโอเกม

[แก้]
ปี ชื่อเกม บทบาท รายละเอียดเพิ่มเติม
2009 แบนด์ฮีโร ตนเอง (เสียง)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Adam Levine and Top Songwriters Honored at 61st Annual BMI Pop Awards". BMI.
  2. Menyes, Carolyn. "REVIEW: Maroon 5 'It Was Always You', New Song from 'V' Explores Friends Falling In Love". MusicTimes. สืบค้นเมื่อ April 27, 2015.
  3. Chris Payne. "Maroon 5, 'Overexposed': Track By Track Review". Billboard.[ลิงก์เสีย]
  4. "Adam Levine: 'The Voice' Complete Rock Star". BuddyTV. May 7, 2012.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Rose, Lacey (March 6, 2013). "Inside Adam Levine's $35 Million-Plus a Year Empire". The Hollywood Reporter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-23. สืบค้นเมื่อ March 16, 2013.
  6. "California, Birth Index, 1905-1995". FamilySearch. สืบค้นเมื่อ 24 February 2014.
  7. Naoreen, Nuzhat (March 22, 2013). "Monitor". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ January 3, 2014.
  8. Patterson, Sylvia (August 26, 2007). "Maroon 5: They will be loved". London: The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ January 2, 2013.
  9. Noah, Timothy (January 20, 2009). "Inaugorophobia, Part 2". Slate. สืบค้นเมื่อ 1 March 2014.
  10. Maroon 5: Shooting for the Stars – โดยทาง Google Books.
  11. "InterWebz". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-06.
  12. 12.0 12.1 Marks, Craig (June 2012). "Adam Levine: The New King of Pop". Details. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-12. สืบค้นเมื่อ March 8, 2013.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 Lester, Paul (February 11, 2011). "Interview: Adam Levine". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-13. สืบค้นเมื่อ September 5, 2011.
  14. Borresen, Kelsey (April 2, 2012). "Adam Levine Talks Marriage Doubts, Divorce in Nylon Guys". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ April 7, 2013.
  15. 15.0 15.1 15.2 Stuart; Effron, Elizabeth; Lauren (November 17, 2011). "Maroon 5's Adam Levine's Playlist: Top 5 Songs That Impacted Rocker's Style". ABC News. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. "Piers Morgan Tonight Transcript". CNN. August 13, 2011. สืบค้นเมื่อ March 1, 2014.
  17. "Adam Levine recalls wasted therapy". The Belfast Telegraph. July 2, 2012. สืบค้นเมื่อ April 7, 2013.
  18. "Maroon 5's Adam Levine opens up about 'beneficial' magic mushroom experience". NME. July 4, 2012. สืบค้นเมื่อ December 30, 2013.
  19. "Adam Levine on Jimmy Kimmel Live PART 2". Jimmy Kimmel Live!. May 18, 2013. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
  20. Bloom, Nate (February 1, 2011). "Happy Valentine's Day Music!". InterfaithFamily.com. สืบค้นเมื่อ December 4, 2013.
  21. "Adam Levine on Twitter". Twitter.
  22. "Adam Levine Before Maroon 5: What Was His First Band Called?". Wetpaint. สืบค้นเมื่อ October 23, 2015.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 Kimpel, Dan (2006). How they made it: true stories of how music's biggest stars went from start to stardom!. Milwaukee: Hal Leonard Corporation. p. 87. ISBN 0-634-07642-6.
  24. Thompson, Stephen (March 29, 2002). "Kara's Flowers – The Fourth World". The A.V Club. สืบค้นเมื่อ April 7, 2013.
  25. 25.0 25.1 25.2 Appleford, Steve (October 20, 2010). "How Maroon 5 found the courage to let its heart show". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ April 7, 2013.
  26. 26.0 26.1 Bouwman, Kimbel (April 13, 2004). "Interview with BEN BERKMAN, A&R at Octone Records for Maroon 5 (US plat)". HitQuarters. สืบค้นเมื่อ March 30, 2013.
  27. "Adam Levine speaks". CBS News. July 28, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-31. สืบค้นเมื่อ January 1, 2014.
  28. Barrera, Sandra (March 25, 2003). "Maroon5 Stays Grounded Amid the Hype, Hoopla". Orlando Sentinel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ March 30, 2013.
  29. 29.0 29.1 Rosen, Craig (June 4, 2005). "Gold 5". Billboard.
  30. Alderman, Melody (2003). "MAROON 5". Pure Songwriters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-19. สืบค้นเมื่อ March 16, 2013.
  31. 31.0 31.1 31.2 Briggs, Newt (May 13, 2004). "Off the Charts: Maroon 5". Las Vegas Mercury. สืบค้นเมื่อ February 27, 2007.
  32. "Bio". Archive of early band biography on Maroon 5 official site. September 28, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 28, 2008. สืบค้นเมื่อ February 19, 2015.
  33. "Maroon 5 – Bio". Maroon 5, Website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-28. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  34. Moss, Corey (August 28, 2002). "Maroon 5 Aspire to Inspire Sexuality, Crying". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-07. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013.
  35. Leeds, Jeff (May 21, 2007). "Second CD by Maroon 5 Faces Great Expectations". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  36. Rahman, Ray (June 6, 2012). "Maroon 5 'Songs About Jane' release includes 'This Love,' 'She Will Be Loved' demos: Hear them here – EXCLUSIVE". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013.
  37. McDermott, Tricia (February 14, 2005). "2005 Grammy Award Winners". CBS News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013.
  38. "Grammy Awards 2006: Key winners". BBC. February 9, 2006. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013.
  39. Moran, Jonathan (May 1, 2007). "Politics without preaching". News Corp Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013.
  40. "Jessica Biel Wants Respect, Plus Nelly Furtado, Hilary Duff, Sum 41, Borat, Eve, Diddy, Ozzy & More in For the Record". MTV News. May 4, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-21. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013.
  41. "Grammy 2009 Winners List". MTV News. February 8, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-07. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013.
  42. 42.0 42.1 "Grammy 2008 Winners List". MTV News. February 16, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-09. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013.
  43. "Inside Maroon 5's Sessions for Fall Album 'Hands All Over'". Rolling Stone. May 18, 2010. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013.
  44. 44.0 44.1 Wood, Mikael (June 24, 2012). "Maroon 5 built 'Overexposed' to be just that". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013.
  45. Benjamin, Jeff (September 8, 2011). "Adam Levine Calls 'Moves Like Jagger' a 'Risk' for Maroon 5: Video Interview". Billboard. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013.
  46. "Exclusive: Maroon 5 to Release 'Overexposed' Album in June". Rolling Stone. March 26, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-10. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013.
  47. Diehl, Matt (May 7, 2012). "Maroon 5 Aim for Dance-floor Domination om Mew LP". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ May 8, 2012.
  48. Copsey, Robert (May 20, 2013). "Maroon 5 postpone UK arena tour due to "scheduling conflicts"". DigitalSpy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-25. สืบค้นเมื่อ August 7, 2013.
  49. Lipshutz, Jason (April 1, 2013). "Maroon 5, Kelly Clarkson Team Up For Honda Civic Tour". Billboard. สืบค้นเมื่อ 11 January 2014.
  50. Wood, Mikael (August 30, 2014). "Adam Levine talks Maroon 5's 'V,' 'The Voice,' Proactiv, more". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 18 June 2015.
  51. Strecker, Erin (September 2, 2014). "Maroon 5 Announces 2015 World Tour". Billboard. สืบค้นเมื่อ 18 June 2015.
  52. Green, Andy (June 28, 2008). "Maroon 5: Back On Top". Rolling Stone.
  53. Concepcion, Pocholo (March 21, 2010). "Adam Levine: Maroon 5 not disbanding any time soon". Philippine Daily Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-25. สืบค้นเมื่อ 7 March 2014.
  54. 54.0 54.1 Freydkin, Donna (June 19, 2012). "Adam Levine: Just a singer in a band?". USA Today. สืบค้นเมื่อ April 9, 2013.
  55. Stutz, Colin (January 31, 2017). "Adam Levine to Receive Star on Hollywood Walk of Fame". Billboard. สืบค้นเมื่อ February 1, 2017.
  56. "Usa (United State of Atlanta)". Amazon.com. June 28, 2005. สืบค้นเมื่อ March 3, 2014.
  57. Moss, Corey (December 19, 2005). "Move Over, Justin: Adam Levine Is Hip-Hop's New Favorite White Boy". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-30. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
  58. Moss, Corey (October 20, 2005). "Kanye, Kids Run Amok In Surreal Macy's For New Clip 'Heard 'Em Say' was directed by Michel Gondry of 'Eternal Sunshine,' White Stripes fame". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-07. สืบค้นเมื่อ 27 January 2014.
  59. "Alicia Keys - MTV Unplugged [Enhanced]". Amazon.com. October 11, 2005. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
  60. Vinnicombe, Chris (March 4, 2010). "Slash solo album interview: the track-by-track guide". MusicRadar. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
  61. Johnston, Maura (February 12, 2010). "We Are The World: 25 For Haiti' Unites Music's Biggest Names". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-04. สืบค้นเมื่อ February 10, 2013.
  62. Drake, David (December 7, 2012). "Interview: 50 Cent Talks Working With Eminem, the Threat of Falling Off, and How Social Media Changed Hip-Hop". Complex. สืบค้นเมื่อ 27 January 2014.
  63. Pastorek, Whitney (August 18, 2009). "An EW Exclusive: Maroon 5's Adam Levine goes digital in 'Band Hero'". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-28. สืบค้นเมื่อ 24 February 2014.
  64. Germana, Michael (October 1, 2007). "Andy Samberg, Adam Levine Serenade Iran President on SNL". People. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-19. สืบค้นเมื่อ April 7, 2013.
  65. "Adam Levine Hosts 'SNL,' Drops 'YOLO' with Lonely Island & Kendrick Lamar". Billboard. January 27, 2013. สืบค้นเมื่อ April 7, 2013.
  66. Slims, David (January 27, 2013). "Saturday Night Live: "Adam Levine/Kendrick Lamar"". The A.V Club. สืบค้นเมื่อ 28 January 2014.
  67. Ryan, Mike (January 27, 2013). "'SNL' Scorecard: Adam Levine's Subpar Audition". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 28 January 2014.
  68. Ng, Philiana (February 28, 2011). "Cee Lo Green, Maroon 5's Adam Levine Join NBC's 'The Voice'". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ October 30, 2011.
  69. Lee, Ashley (December 17, 2013). "'The Voice' Season 5 Winner Named". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ January 3, 2013.
  70. Mullins, Jenna (April 2, 2012). "Adam Levine Confirms American Horror Story Role". E! Online. สืบค้นเมื่อ January 3, 2013.
  71. Frederick, Brittany (October 17, 2012). "Adam Levine Makes Acting Debut in 'American Horror Story: Asylum'". Star Pulse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  72. "Spoiler Chat: Gossip Girl Gets a New French Hottie! Plus, Girls, American Horror Story and More". E! Online. June 21, 2012. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  73. Moaba, Alex (25 October 2012). "Adam Levine Was Too Scared To Watch His 'American Horror Story' Episodes In Full (VIDEO)". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 28 January 2014.
  74. Fleming Jr., Mike (June 14, 2012). "'The Voice's Adam Levine To Star In 'Can A Song Save Your Life?'". Deadline.com. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  75. Rooney, David (September 8, 2013). "Can a Song Save Your Life?". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ October 17, 2013.
  76. Simone, Chima (March 28, 2014). "Adam Levine Makes His Movie Debut in Begin Again—Watch the Trailer!". E!. สืบค้นเมื่อ 4 April 2014.
  77. "Can A Song Save Your Life?". Metacritic. สืบค้นเมื่อ January 3, 2013.
  78. Jordan; Coulton, Julie; Antoinette (November 11, 2013). "Adam Levine Is PEOPLE's Sexiest Man Alive". People. สืบค้นเมื่อ November 20, 2013.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  79. "Sexiest Men of 2012: The Results". Glamour. June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-27. สืบค้นเมื่อ March 16, 2013.
  80. "Single & Sexy Men of 2008". People. June 18, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-10. สืบค้นเมื่อ March 16, 2013.
  81. Carina Adly MacKenzie. "TV's Most Crushworthy Reality Host/Judge (Male)". Zap2it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-27. สืบค้นเมื่อ June 9, 2012.
  82. Ashley Baylen (April 20, 2012). "Top 50 Hottest Jewish Men (10–1)". Shalom Life. สืบค้นเมื่อ April 22, 2013.
  83. Zakarin, Jordan (January 6, 2010). "Adam Levine Nude: Maroon 5 Singer Gets Naked For Cancer In Cosmo UK". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ January 8, 2010.
  84. http://www.tmz.com/2017/04/08/adam-levine-gets-celebrity-golf-show/
  85. Denise Petski. "Adam Levine To Executive Produce 'Sugar' Series For YouTube". Deadline. สืบค้นเมื่อ July 13, 2018.
  86. "Adam Levine Interview: First Act 222 Guitar". YouTube. October 9, 2008. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
  87. Lipke, David (August 17, 2010). "Maroon 5's Adam Levine Launches Fashion Line". Women's Wear Daily. สืบค้นเมื่อ April 3, 2013.
  88. Hagwood, Rog (August 17, 2010). "Adam Levine from Maroon 5 launches fashion line". Sun-Sentinel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-27. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  89. "Maroon 5 Lead Singer Adam Levine Raises Awareness of Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder in Young Adults and Adults With "Own It"". PR Newswire. June 20, 2011. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  90. Hamilton, Jeff (June 30, 2011). "Pills Don't Teach Skills". Psychology Today. สืบค้นเมื่อ April 18, 2013.
  91. Levine, Adam. "Maroon 5's Adam Levine: "ADHD Isn't a Bad Thing"". ADDitude Magazine. สืบค้นเมื่อ 27 January 2014.
  92. Simpson, Dave (June 17, 2013). "Adam Levine offered to launch label for aspiring singer/songwriter". World Entertainment News Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-12. สืบค้นเมื่อ 12 January 2014.
  93. Gallo, Phil (September 25, 2012). "Tony Lucca Signs With 'Voice' Mentor Adam Levine's Label". Billboard. สืบค้นเมื่อ February 10, 2013.
  94. Halperin, Shirley (September 9, 2012). "'The Voice's' Adam Levine Launches Record Label; Signs 'Glee's' Matthew Morrison". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  95. Wischhover, Cheryl (February 6, 2013). "Adam Levine Launches Eponymous Line of Fragrances". Us Weekly. สืบค้นเมื่อ March 29, 2013.
  96. Schreffle, Laura (February 7, 2013). "Adam Levine Launches First Fragrance with Arty Installation in LA". Haute Living. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  97. Nessif, Bruna (February 6, 2013). "Adam Levine on Debut Fragrance: "It Smells Like [Bleep]"". E! Online. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  98. Naughton, Julie (February 1, 2013). "Adam Levine on Scents and Stardom". Women's Wear Daily. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  99. "Adam Levine Debuts "Anti-Cologne" Line of Fragrances: "I Want to Compete with Dior"". Us Weekly. February 5, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
  100. Rose, Lacey. "Inside Adam Levine's $35 Million-Plus a Year Empire". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 7 May 2015.
  101. Lazare, Lewis (January 9, 2013). "Kmart goes glitzy in new fashion deal with Adam Levine and Nicki Minaj". American City Business Journals. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  102. "Adam Levine is Back in Fashion With New Menswear Line". Billboard. September 5, 2013. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  103. Pous, Terri (January 15, 2013). "Mass Appeal: Adam Levine and Nicki Minaj to Launch Kmart Collections". Time. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  104. Cress, Jennifer (February 27, 2013). "What Convinced Adam Levine to Design a Clothing Line". People. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-07. สืบค้นเมื่อ April 3, 2013.
  105. Heffman, Andrew (August 11, 2013). "How Adam Levine finds strength, focus and balance". Men's Health. สืบค้นเมื่อ January 4, 2014.
  106. Robinson, Lisa (February 2013). "Hot Tracks: Adam Levine". Vanity Fair. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013.
  107. "Michael Jackson Remembered: Adam Levine on the Rhythm King". Rolling Stone. July 9, 2009. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013.
  108. 108.0 108.1 108.2 Michelson, Noah (September 9, 2011). "Catching Up With Maroon 5's Adam Levine". Out. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013.
  109. "Q&A With Maroon5's Adam Levine". Billboard. June 4, 2005. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013.
  110. Wilson, MacKenzie. "Songs About Jane -Maroon 5 review". Allmusic. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013.
  111. Sullivan, Caroline (December 5, 2003). "Maroon 5, Songs About Jane". The Guardian. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013.
  112. 112.0 112.1 Hoard, Christian (March 11, 2003). "Maroon 5 - Songs About Jane". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013.
  113. Young, Martyn (June 25, 2012). "Maroon 5 – Overexposed". MusicOMH. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013.
  114. Adams, Cameron (June 20, 2012). "Album Review: Overexposed by Maroon 5". The Herald Sun. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013.
  115. http://therangeplace.forummotions.com/t2836-adam-levine
  116. Pareles, Jon (April 8, 2005). "Macho Rock on the Surface, With Wimpiness Underneath". The New York Times. สืบค้นเมื่อ January 2, 2014.
  117. Fetters, Ashley (September 28, 2012). "Maroon 5's Falsetto Singing: An Act of Cultural Defiance (?!)". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013.
  118. Deusner, Stephen (September 17, 2013). "Let's take Adam Levine seriously". Salon. สืบค้นเมื่อ January 3, 2014.
  119. Drumming, Neil (May 18, 2007). "It Won't Be Soon Before Long (2007)". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-19. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013.
  120. Erlewine, Stephen. "Review by Stephen Thomas Erlewine". Allmusic. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013.
  121. Rodman, Sarah (August 12, 2013). "Maroon 5, Kelly Clarkson perfect at work, play". The Boston Globe. สืบค้นเมื่อ October 18, 2013.
  122. Markovitz, Adam (June 27, 2012). "Overexposed (2012)". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-23. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013.
  123. Stewart, Allison (June 26, 2012). "Quick spin: 'Overexposed,' by Maroon 5". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ October 18, 2013.
  124. Lopez, Paulina (September 23, 2013). "Interview: We Ask Maroon 5 How They Think They Would Have Fared on 'The Voice'". D Magazine. สืบค้นเมื่อ October 24, 2013.
  125. Spaner, Whitney (April 23, 2013). "Voice Male". Paper. สืบค้นเมื่อ October 24, 2013.
  126. Clayton, Chris (February 2013). "Mr. Right Now". Delta Sky Magazine. สืบค้นเมื่อ October 24, 2013.
  127. Everett, Christina (April 2, 2012). "Adam Levine, Anne Vyalitsyna split: Maroon 5 frontman and Victoria's Secret model call it quits after two years together". New York Daily News. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  128. Nudd, Tim (April 2, 2012). "Adam Levine and Anne V Split". People. สืบค้นเมื่อ January 4, 2014.
  129. Ravitz, Justin (July 17, 2013). "Adam Levine, Behati Prinsloo Engaged: Why He Proposed So Quickly". Us Weekly. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  130. Johnson, Zach (October 26, 2012). "Adam Levine and Behati Prinsloo Attend First Event as a Couple". Us Weekly. สืบค้นเมื่อ March 20, 2013.
  131. Johnson, Zach (May 28, 2013). "Adam Levine Dating Nina Agdal After Behati Prinsloo Split". Us Weekly. สืบค้นเมื่อ 1 March 2014.
  132. Dam, Julie (January 14, 2013). "Adam Levine Engaged to Behati Prinsloo". People. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.
  133. Sowray, Bibby (July 17, 2013). "Behati Prinsloo engaged to Maroon 5's Adam Levine". London: The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 24 February 2014.
  134. Nessif, Bruna (19 July 2014). "Adam Levine and Behati Prinsloo Are Married!". E! News. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014.
  135. French, Megan (September 21, 2016). "Behati Prinsloo, Adam Levine's Baby Dusty Rose Is 'Beautiful': Details". Us Weekly. United States: Wenner Media LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 23, 2016. สืบค้นเมื่อ September 22, 2016.
  136. Pasquini, Maria; Chiu, Melody (February 16, 2018). "Adam Levine and Behati Prinsloo Welcome Daughter Gio Grace". People Magazine. สืบค้นเมื่อ February 16, 2018.
  137. 137.0 137.1 Michelson, Noah (January 25, 2012). "Adam Levine And Maroon 5 Boycotting Mexican Restaurant For Anti-Gay Marriage Stance". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ January 29, 2012.
  138. "Adam Levine (Maroon 5) – It Gets Better". YouTube. July 11, 2011. สืบค้นเมื่อ January 3, 2014.
  139. Gardner, Eriq (April 10, 2013). "Universal Music Group West Coast Office Alleged to Be Drug Hotspot". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ April 12, 2013.
  140. Giles, Jeff (April 12, 2013). "Adam Levine + T.I. Linked to Drug Lawsuit". PopCrush. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  141. 141.0 141.1 141.2 "German Singles Chart: Adam Levine". acharts.com. สืบค้นเมื่อ May 13, 2010.
  142. "Australian Singles Chart: Adam Levine". australian-charts.com. สืบค้นเมื่อ May 13, 2010.
  143. "Irish Singles Chart: Adam Levine". irish-charts.com. สืบค้นเมื่อ May 13, 2010.
  144. "Dutch Singles Chart: Adam Levine". dutchcharts.nl. สืบค้นเมื่อ May 13, 2010.
  145. "New Zealand Singles Chart: Adam Levine". charts.org.nz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-13. สืบค้นเมื่อ May 13, 2010.
  146. Chart positions for UK charting singles:
  147. "Gold & Platinum Searchable Database". RIAA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 12, 2015. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.
  148. "Gold & Platinum Searchable Database". RIAA. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.[ลิงก์เสีย]
  149. "ARIA Charts – Accreditations – 2012 Singles". aria.com.au. December 31, 2012. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.
  150. 150.0 150.1 150.2 "BPI Certified Awards". British Phonographic Industry. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2013. สืบค้นเมื่อ March 13, 2011.
  151. "Gold and Platinum Search". Music Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2014. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.
  152. 152.0 152.1 "NZ Top 40 Singles Chart". Nztop40.co.nz. December 5, 2011. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.
  153. "Man in the Mirror (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Javier Colon". itunes.apple.com. June 28, 2011. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.
  154. "Yesterday (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Tony Lucca". itunes.apple.com. May 7, 2012. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.
  155. 155.0 155.1 "Aria Charts Accreditations Singles 2013". aria.com.au. June 30, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2013. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.
  156. "Let It Be (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Tessanne Chin". itunes.apple.com. December 16, 2013. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015.
  157. "Tiny Dancer (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Will Champlin". itunes.apple.com. December 16, 2013. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015.
  158. "Somebody That I Used To Know (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Christina Grimmie". itunes.apple.com. May 19, 2014. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015.
  159. "Lost Without U (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Chris Jamison". itunes.apple.com. December 15, 2014. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015.
  160. "Don't Let the Sun Go Down on Me (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Damien". itunes.apple.com. December 15, 2014. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015.
  161. "Lost Stars (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Matt McAndrew". itunes.apple.com. December 15, 2014. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015.
  162. "Diamonds on the Soles of Her Shoes (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Joshua Davis". itunes.apple.com. May 18, 2015. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015.
  163. "CHR Available For Airplay". fmqb.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 28, 2014. สืบค้นเมื่อ September 3, 2016.
  164. "Gold/Platinum". Music Canada. สืบค้นเมื่อ October 10, 2015.
  165. "God Only Knows (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Jordan Smith". itunes.apple.com. December 14, 2015. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015.
  166. "I'm So Humble (feat. Adam Levine) – Single by The Lonely Island". itunes.apple.com. May 10, 2016. สืบค้นเมื่อ May 26, 2016.
  167. "Golden Slumbers / Carry That Weight / The End (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Laith Al-Saadi". itunes.apple.com. May 23, 2016. สืบค้นเมื่อ May 26, 2016.
  168. "Adam Levine – Lost Stars". YouTube. สืบค้นเมื่อ May 19, 2019.
  169. "Adam Levine – Go Now". YouTube. สืบค้นเมื่อ May 19, 2019.
  170. Wappler, Margaret (April 15, 2009). "Michel Gondry, Jon Brion Spread the Sunshine on Stage (and Get the 'Knives Out' Too)". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ August 24, 2018.
  171. "Kanye West - Heard 'Em Say featuring Adam Levine". YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018.
  172. Caramanica, Jon (December 18, 2005). "Kanye West: Rapper and Reanimator". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 24, 2018.
  173. "Iran So Far". TheLonelyIsland.com. สืบค้นเมื่อ August 24, 2018.
  174. "K'naan - Bang Bang featuring Adam Levine". YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018.
  175. "Gym Class Heroes - Stereo Hearts featuring Adam Levine". YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018.
  176. "Slash – Gotten". YouTube. สืบค้นเมื่อ June 3, 2019.
  177. "50 Cent - My Life featuring Eminem and Adam Levine". YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018.
  178. "The Lonely Island - YOLO featuring Adam Levine and Kendrick Lamar". YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018.
  179. "PJ Morton - Heavy featuring Adam Levine". YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018.
  180. "R. City - Locked Away featuring Adam Levine". YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018.
  181. "Big Boi - Mic Jack featuring Adam Levine". YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018.
  182. "Johnny Cash – God's Gonna Cut You Down". YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018.
  183. "We Are the World 25 for Haiti – Official Video". YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018.
  184. "Sara Bareilles – Uncharted (Director's Cut)". YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018.
  185. "Lil Dicky – Earth (Official Music Video)". YouTube. สืบค้นเมื่อ May 9, 2019.
  186. "Lil Dicky – Earth (Clean Censored Version)". YouTube. สืบค้นเมื่อ May 9, 2019.
  187. "The Cab - Symphony Soldier | Songs, Reviews, Credits | AllMusic". AllMusic. สืบค้นเมื่อ September 2, 2018.
  188. Falkner, Scott (December 22, 2014). "Lennon or McCartney? New Documentary Asks 550 Celebrities Their Preference — See Their Answers". Inquisitr. สืบค้นเมื่อ August 13, 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]