ข้ามไปเนื้อหา

แอร์เอเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แอร์เอเชียมาเลเซีย)
แอร์เอเชีย
IATA ICAO รหัสเรียก
AK AXM RED CAP
ก่อตั้ง20 ธันวาคม พ.ศ. 2536; 31 ปีก่อน (2536-12-20)
เริ่มดำเนินงาน18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539; 28 ปีก่อน (2539-11-18)
ฐานการบิน
สะสมไมล์BIG Loyalty Programme[1]
บริษัทลูก
ขนาดฝูงบิน255 (รวมบริษัทย่อย)
จุดหมาย165 (รวมบริษัทย่อย)
บริษัทแม่Tune Group
การซื้อขายMYX: 5099
ISINMYL5099OO006
สำนักงานใหญ่ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์
อำเภอเซอปัง รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย
บุคลากรหลัก
รายได้เพิ่มขึ้น 6.6 พันล้านริงกิต (2022)[3]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น −2.48 พันล้านริงกิต (2022)[4]
พนักงาน
20,000 (2019)
เว็บไซต์www.airasia.com

แคปปิตอล เอ เบอร์ฮาด (อังกฤษ: Capital A Berhad; MYX: 5099) ดำเนินการในชื่อ แอร์เอเชีย (อังกฤษ: AirAsia; ในรูปแบบ airasia) เป็นบริษัทข้ามชาติสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย มีสำนักงานใหญ่อยู่ใกล้กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศมาเลเซียเมื่อพิจารณาจากขนาดฝูงบินและจุดหมายปลายทาง แอร์เอเชียให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศไปยังจุดหมายปลายทางมากกว่า 165 แห่ง ครอบคลุม 25 ประเทศ[5] ฐานการบินอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ 2 (klia2) ซึ่งเป็นอาคารผู้โดยสารสายการบินต้นทุนต่ำที่ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KLIA) ในอำเภอเซอปัง รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย มีสายการบินในเครือ ได้แก่ แอร์เอเชียกัมพูชา ไทยแอร์เอเชีย อินโดนีเซียแอร์เอเชีย และแอร์เอเชียฟิลิปปินส์ ที่มีฐานการบินอยู่ที่ท่าอากาศยานพนมเปญ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา และมะนิลา-นินอย อากีโน ตามลำดับ อีกทั้งแอร์เอเชียเอ็กซ์ที่เป็นสายการบินเส้นทางระยะไกล แอร์เอเชียมีสำนักงานจดทะเบียนและสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์

พ.ศ. 2550 เดอะนิวยอร์กไทมส์ระบุว่าสายการบินนี้เป็น "ผู้บุกเบิก" ของการเดินทางราคาประหยัดในเอเชีย[6] นอกจากนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่ดีที่สุดในโลกเป็นเวลา 13 ปีติดต่อกันโดยสกายแทร็กซ์ ในรางวัลการเดินทางและสายการบินระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงรางวัลล่าสุดใน พ.ศ. 2565[7]

ประวัติ

[แก้]

แอร์เอเชียก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2536 และเริ่มดำเนินการเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ก่อตั้งขึ้นโดยหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ DRB-Hicom ของรัฐบาลมาเลเซีย หลังจากดำเนินงานประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก และมีหนี้สินจำนวนมาก และเมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2544 กลุ่มบริษัท ทูนแอร์ โดยผู้บริหารคือ นายโทนี เฟอร์นานเดส ได้เข้าซื้อหนี้ของสายการบินแอร์เอเชีย และเข้ามาบริหารงาน โดยเริ่มเปิดเส้นทางบินใหม่จาก ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ และตีคู่แข่งอย่าง มาเลเซียแอร์ไลน์ ด้วยค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 1 ริงกิตมาเลเซีย หรือประมาณ 0.27 ดอลลาร์สหรัฐ

ท่าอากาศยานรอง

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2546 แอร์เอเชียได้เปิดตัวท่าอากาศยานรองแห่งที่สองที่ ท่าอากาศยานนานาชาติเซไน ใน รัฐยะโฮร์ บาห์รู ซึ่งใกล้กับประเทศสิงคโปร์และเปิดตัวเที่ยวบินระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกด้วย โดยบินตรงสู่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และเริ่มมีการจัดตั้งสายการบินไทยแอร์เอเชีย เปิดเส้นทางบินสู่ประเทศสิงคโปร์, มาเก๊า, เซียะเหมิน ประเทศจีน, กรุงมะนิลา, ประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา และ ประเทศพม่า ในปัจจุบันแอร์เอเชียมาเลเซีย มีท่าอากาศยานรองอีกสองแห่งในมาเลเซียตะวันออก ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติกูชิง ตั้งอยู่ในเมืองกูชิง รัฐซาราวัก และ ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู ตั้งอยู่ในเมืองโกตากีนาบาลู รัฐซาบะฮ์

KLIA2 Terminal at Kuala Lumpur international airport (KUL), AirAsia Headquater[8]

จุดหมายปลายทาง

[แก้]

ในปัจจุบัน แอร์เอเชียมาเลเชียมีเส้นทางบินตรงสู่ 58 จุดหมายปลายทาง ครอบคลุมประเทศในกลุ่มอาเซียน เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และ ออสเตรเลีย ด้วยฐานการบินหลักจาก ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ อาคาร KLIA2

แอร์เอเชียมาเลเชีย ได้ทำการบินตรงไปยังจุดหมายปลายทางดังต่อไปนี้

จุดหมายปลายทางที่เคยทำการบิน

[แก้]

ฝูงบิน

[แก้]

ข้อมูลเมื่อ มกราคม 2023 ฝูงบินของแอร์เอเชีย (มาเลเซีย) ประกอบด้วยเครื่องบินดังต่อไปนี้:[9][10][11]

ฝูงบินสายการบินแอร์เอเชีย
เครื่องบิน ประจำการ สั่งซื้อ จำนวนผู้โดยสาร หมายเหตุ
แอร์บัส เอ320-200 70 4 180
แอร์บัส เอ320นีโอ 29 186
แอร์บัส เอ321นีโอ 2[12] 362[13] 236 บางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็น เอ320นีโอ เมื่อจำเป็น[14]จะมีการส่งมอบอีกครั้งในปี 2024[15]
รวม 101 366


อดีตฝูงบิน

[แก้]
เครื่องบินแอร์เอเชีย โบอิง 747-200 (N620FF) ในรูปแบบไฮบริดของแอร์เอเชียและ Tabung Haji เช่าจากทาวเวอร์แอร์เพื่อดำเนินการเช่าเหมาลำในช่วงฤดูกาลพิธีฮัจญ์ ในปี 2000

แอร์เอเชียเคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:[11]

อดีตฝูงบินสายการบินแอร์เอเชีย
เครื่องบิน รวม ประจำการ ปลดประจำการ เปลี่ยน หมายเหตุ
โบอิง 737-300 32 1996 2009 แอร์บัส เอ320-200
โบอิง 747-200บี 2 2000 2000 ไม่มี เช่าจาก Tower Air
3 2003 2003 เช่าจาก Air Atlanta Icelandic และ European Aviation Air Charter
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11ER 1 1999 2000 เช่าจาก World Airways

การบริการบนเครื่องบิน

[แก้]

การให้บริการบนเครื่องบินของแอร์เอเชีย เป็นการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องบิน (เดิมทีบริการนี้มีชื่อเรียกว่า "Snack Attack"[16] แต่ต่อมาได้ยกเลิกชื่อเรียกนี้ไป) และการให้สั่งจองอาหารพร้อมชำระเงินล่วงหน้าก่อนเริ่มเที่ยวบินไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง

แอร์เอเชียเป็นสายการบินที่ได้รับการรับรองจาก the KL Syariah Index หรือหน่วยงานที่ควบคุมดูแลเรื่องอาหารให้สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม ในเที่ยวบินของแอร์เอเชียจะไม่จำหน่ายอาหารประเภทหมู และไม่บริการเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยกเว้นเที่ยวบินภายในประเทศบางประเทศ[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "AirAsia BIG Loyalty Programme". Airasia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2014. สืบค้นเมื่อ 31 May 2014.
  2. "Aireen Omar dilantik CEO AirAsia in Malaysia". 18 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2012. สืบค้นเมื่อ 18 June 2012.
  3. "CAPITAL A FOURTH QUARTER 2022 FINANCIAL RESULTS". AirAsia Newsroom. 28 February 2023. สืบค้นเมื่อ 6 March 2023.
  4. "AirAsia parent posts Q4 profit; expects China reopening boost". CNA. 28 February 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-07. สืบค้นเมื่อ 6 March 2023.
  5. "AirAsia, the leading and largest low-cost carrier in Asia, services the most extensive network with over 165 routes covering destinations in and around Asia". routsonline.com. 7 October 2016. สืบค้นเมื่อ 1 January 2017.
  6. Kurlantzick, Joshua (23 December 2007). "Does Low Cost Mean High Risk?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010.
  7. "AirAsia Voted World's Best Low-Cost Airline for 13th straight year". Newsroom AirAsia. 2022. สืบค้นเมื่อ 3 October 2022.
  8. "Annual Report 2020"[1] ; 01 ABOUT US, 10 ; Vision and Mission, 11 ; AirAsia Group Key Highlights, 12 ; Our Netwrok & Statistics, 14 ; 2020 Highlights, 16.
  9. "Global Airline Guide 2019 (Part One)". Airliner World. October 2019: 20.
  10. AirAsia up-gauges with a 100 A321neo order; outlook improves and China in its sights CAPA, 14 July 2016
  11. 11.0 11.1 "AirAsia Fleet Details and History". Planespotters.net. สืบค้นเมื่อ May 13, 2021.
  12. "AirAsia to reach greater heights with Airbus A321neo planes | New Straits Times".
  13. "Air Asia coverts 253 A320neo to 362A321neo". Airbus. 18 June 2019. สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
  14. Airbus Orders and Deliveries (XLS), monthly updated, accessed via "Orders & deliveries". Airbus. Airbus SAS. 31 October 2022.
  15. https://simpleflying.com/airasia-airbus-a320neo-deliveries-from-2024/
  16. AirAsia. "Snack Attack". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-14.
  17. AirAsia X Snack Attack เก็บถาวร 2009-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. airasia.com. Retrieved 23 February 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]