แอร์ฟรานซ์
| |||||||
ก่อตั้ง | 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 (105 ปี) (ในชื่อ ซอซีเยเตเฌเนราลเดทรานสปอร์แอรีแย็ง) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 30 สิงหาคม ค.ศ. 1933 (91 ปี) (ในชื่อ แอร์ฟรานซ์) | ||||||
ท่าหลัก | ปารีส–ชาร์ล เดอ โกล | ||||||
ท่ารอง | |||||||
เมืองสำคัญ | |||||||
สะสมไมล์ | ฟลายอิงบลู | ||||||
พันธมิตรการบิน | สกายทีม | ||||||
บริษัทลูก | แอร์ฟรานซ์โฮป เซอร์แวร์ (50.01%) ทรานเซเวียฟรานซ์ (95.5%) | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 225 | ||||||
จุดหมาย | 184 | ||||||
บริษัทแม่ | แอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม | ||||||
สำนักงานใหญ่ | รัวซีโพล ท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกล ทรอมบีย์-อ็อง-ฟรองซ์ ฝรั่งเศส | ||||||
บุคลากรหลัก | เบนจามิน สมิธ (ซีอีโอแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม) อาน ริกาอิล (ซีอีโอแอร์ฟรานซ์)[5] | ||||||
เว็บไซต์ | www |
แอร์ฟรานซ์ (อังกฤษ: Air France; ฝรั่งเศส: Air France เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [ɛːʁ fʁɑ̃s]) เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศฝรั่งเศส ที่มีสำนักงานใหญ่ในรัวซีโพล ทรอมบีย์-อ็อง-ฟรองซ์[6]และมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกลในปารีส สายการบินเป็นบริษัทลูกของแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม และเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของเครือข่ายพันธมิตรสายการบินสกายทีม แอร์ฟรานซ์ให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 184 แห่งใน 78 ประเทศ (93 หากรวมดินแดนโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส) และขนส่งผู้โดยสาร 46,803,000 คนในปี 2019
แอร์ฟรานซ์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1933[7] จากการควบรวมกิจการระหว่างแอร์โอแร็ง แอร์อูว์นียง อาเอโรปอซตาล กงปาญีแองเตอร์นาซิอองนาลเดนาวิกาซียงแอรีแย็ง และซอซีเยเตเฌเนราลเดทรานสปอร์แอรีแย็ง ในช่วงสงครามเย็น สายการบินเป็นหนึ่งในสามสายการบินพันธมิตรที่ทำการบินสู่เยอรมนีที่ท่าอากาศยานเท็มเพิลโฮฟและท่าอากาศยานเทเกิลในเบอรลินตะวันตก ในปี ค.ศ. 1990 สายการบินเข้าควบคุมกิจการของแอร์อินเตร์และอูว์เตอา – อูว์นียงเดทรานสปอร์แอรีแย็ง แอร์ฟรานซ์เป็นสายการบินหลักและสายการบินประจำชาติของประเทศเป็นเวลาเจ็ดทศวรรษ จดกระทั่งการควบรวมกิจการกับเคแอลเอ็มในปี 2003
ในปี 2018 แอร์ฟรานซ์และสายการบินลูกระดับภูมิภาค โฮป ได้ขนส่งผู้โดยสาร 51.4 ล้านคน[8] ฝูงบินของแอร์ฟรานซ์ประกอบด้วยเครื่องบินของทั้งแอร์บัสและโบอิง แอร์ฟรานซ์เริ่มให้บริการเครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างแอร์บัส เอ380 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 ในเที่ยวบินจากปารีสสู่นครนิวยอร์กก่อนที่จะปลดประจำการไปเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2020 แอร์ฟรานซ์โฮป (หรือชื่อเดิม โฮป!) ให้บริการเที่ยวบินระดับภูมิภาคด้วยเครื่องบินไอพ่นระดับภูมิภาค[9]
ประวัติ
[แก้]ช่วงแรก
[แก้]แอร์ฟรานซ์ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1933 โดยการรวมตัวกันของหลายหน่วยงานในฝรั่งเศส สายการบินได้ขยายเส้นทางไปทั่วยุโรป เมืองขึ้นของฝรั่งเศส แอฟริกาเหนือ และจุดหมายปลายทางอื่น ๆ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แอร์ฟรานซ์ได้ย้ายฐานการปฏิบัติการไปที่กาซาบล็องกา ในประเทศโมร็อกโก ทำให้สายการบินนี้เป็นที่โดดเด่นในภาพยนตร์เรื่องคาซาบลังกา
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง บริษัทก็กลายเป็นของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ 70% และลดลงเหลือ 54% ในกลางปี ค.ศ. 2002 และในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1948 ทางสายการบินได้แต่งตั้งให้ Max Hymans เป็นประธานของแอร์ฟรานซ์ โดยเขาได้ใช้เวลา 13 ปีที่ดำรงตำแหน่งในการสนับสนุนนโยบายด้านความทันสมัยของเครื่องบิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การนำเครื่องบิน Sud Aviation Caravelle ที่มีเครื่องยนต์เจ็ตแบบแฝดมาให้บริการในปี ค.ศ. 1959
สายการบินได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินปารีส-นิวยอร์ก โดยใช้เครื่องบินคองคอร์ดที่มีความเร็วเหนือเสียงในปี ค.ศ. 1976 โดยใช้เวลาในการเดินทางเพียง 3 ชั่วโมง โดยใช้ความเร็วเหนือเสียงประมาณ 2 เท่า
ในปี ค.ศ. 1994 สายการบินทั้งหมดของรัฐบาลฝรั่งเศสได้ถูกรวมเข้ากับแอร์ฟรานซ์เพียงบริษัทเดียว รัฐบาลฝรั่งเศสนำแอร์ฟรานซ์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1999 และได้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตรสายการบินสกายทีมในปี ค.ศ. 2000 และสายการบินได้ยกเลิกเที่ยวบินที่ให้บริการโดยเครื่องบินคองคอร์ดในปี ค.ศ. 2003 เนื่องจากมีผู้ใช้บริการน้อยและมีต้นทุนที่สูง
การควบรวมกิจการกับเคแอลเอ็ม
[แก้]ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2003 แอร์ฟรานซ์และเคแอลเอ็ม ได้ประกาศว่าจะมีการควบรวมสายการบินทั้งสองในชื่อแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็มในวันที่ 5 พฤษภาคม[10] เมื่อผู้ถือหุ้นทั่วไปของแอร์ฟรานซ์ เข้าถือครองหุ้น 81% ของเคแอลเอ็ม (รัฐบาลฝรั่งเศสครอบครองหุ้น 44% และอีก 37% เป็นของผู้ถือหุ้นเอกชน) โดยที่เหลือเป็นของผู้ถือหุ้นทั่วไปของสายการบินเคแอลเอ็ม โดยส่วนแบ่งของรัฐบาลฝรั่งเศสในแอร์ฟรานซ์ ลดลงจาก 54.4% (เดิมถือในนามแอร์ฟรานซ์) เหลือ 44% (ปัจจุบันถือในนาม แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม) ด้วยเหตุของการรวมตัวนี้เอง ทำให้ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 2004 รัฐบาลฝรั่งเศสก็แถลงการขายหุ้น 18.4% ให้กับแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม จนทำให้รัฐบาลเองเหลือหุ้นต่ำกว่า 20%
ในกลางปี ค.ศ. 2007 แอร์ฟรานซ์และเคแอลเอ็ม จะนำคุณสมบัติของแท่นเสียบเครื่องเล่นเพลงและวิดีโอพกพาไอพอด ติดตั้งในเครื่องบิน ซึ่งนอกจากจะทำให้มีการชาร์จแบตเตอรี่ของอุปกรณ์เหล่านี้แล้ว ยังมีการรวมคุณสมบัติของไอพอด และระบบความบันเทิงภายในเครื่องบิน ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารสามารถเล่นเพลง, ดูรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ที่เก็บไว้ในไอพอดผ่านทางระบบความบันเทิงภายในเครื่องบินได้
กิจการองค์กร
[แก้]บริษัทลูก
[แก้]- แอร์ฟรานซ์คอนเซาลท์ติ้ง
- ควอลิ-ออดิต[11]
- บลูลิงค์
- แอร์ฟรานซ์ ฮอป (ชื่อเก่า: โฮป!)
- เซอร์แวร์
- Société de construction et de réparation de matériel aéronautique (CRMA)
- โซเด็กซี
- ทรานซาเวียฟรองซ์
แอร์ฟรานซ์และสายการบินทรานส์เวียได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัททรานส์ซาเวียฟรองซ์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนต้นทุนต่ำในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติออร์ลี่[12] Air Corsica, CityJet และ Air France Hop ให้บริการเที่ยวบินในนามของแอร์ฟรานซ์
แอร์ฟรานซ์อาซีย์และแอร์ฟรานซ์คาร์โก้อาซีย์
[แก้]จากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไต้หวัน แอร์ฟรานซ์ไม่สามารถที่จะดำเนินเที่ยวบินไปยังไต้หวันได้ ในปี ค.ศ. 1993 สายการบินแอร์ชาร์เตอร์ เริ่มให้บริการเที่ยวบินระหว่างปารีส-ฮ่องกง-ไทเป[13] หลังจากแอร์ชาร์เตอร์เลิกดำเนินงานในปี ค.ศ. 1998, แอร์ฟรานซ์จึงได้สร้างแอร์ฟรานซ์อาซีย์ขึ้นมาทดแทน[14] โดยใช้เครื่องบินแอร์บัส เอ340-200 สองลำ และโบอิง 747-400M อีกสองลำ สายการบินนี้เป็นหนึ่งในสายการบินที่ดำเนินเที่ยวบินไปยังไต้หวันภายใต้ชื่อ"เอเชีย"เช่นเดียวกับเจแปนเอเชียแอร์เวย์, เคแอลเอ็มเอเชีย, บริติชเอเชียแอร์เวย์, สวิสแอร์ เอเชีย, และออสเตรเลียเอเชียแอร์ไลน์ (บริษัทลูกของควอนตัส) แอร์ฟรานซ์อาซีย์เลิกดำเนินการในปี ค.ศ. 2004
หลังจากแอร์ฟรานซ์อาร์ซีย์เลิกดำเนินงานในปี 2004, โบอิง 747-200 ในฝูงบินก็ยังคงดำเนินขนส่งสินค้าในเส้นทางบินเดิมภายใต้ชื่อ แอร์ฟรานซ์คาร์โก้อาซีย์ก่อนเลิกดำเนินการในปี ค.ศ. 2007
สำนักงานใหญ่
[แก้]สำนักงานใหญ่ของแอร์ฟรานซ์ตั้งอยู่ที่รัวซีโพล คอมเพล็กซ์ ในบริเวณท่าอากาศยานปารีส-ชาลส์เดอโกล, ปารีส[15][16][17][18][19]
จุดหมายปลายทาง
[แก้]ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 แอร์ฟรานซ์ให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทางภายในประเทศ 36 แห่ง และจุดหมายปลายทางระหว่างประเทศ 175 แห่ง ใน 93 ประเทศ (รวมรัฐและดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส) ใน 6 ทวีป ซึ่งรวมถึงบริการและจุดหมายปลายทางของ แอร์ฟรานซ์คาร์โก้ ที่ให้บริการโดยบริษัทลูก แอร์คอร์ซิก้า, ซิตี้เจ็ต และ แอร์ฟรานซ์ โฮป
ข้อตกลงการบินร่วม
[แก้]แอร์ฟรานซ์ได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[20]
- แอโรฟลอต (ยกเลิก)[21]
- อาเอโรลิเนอัสอาร์เฆนตินัส
- อาเอโรเมฆิโก
- แอร์แอนทิลลีส
- แอร์อัสตานา
- แอโรสทราล
- แอร์บอลติก
- แอร์เบอร์กินา
- แอร์กาแล็ง
- แอร์คอร์ซิกา
- แอร์ยูโรปา
- แอร์ฟรานซ์โฮป
- แอร์มอริเชียส
- แอร์เซอร์เบีย
- แอร์เซเชลส์
- แอร์ตาฮีตี นูอี
- ออสเตรียนแอร์ไลน์
- อาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์
- เบลาเวีย
- บัลแกเรียแอร์
- ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์
- ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์
- ซิตีเจ็ต
- โกปาแอร์ไลน์[22]
- โครเอเชียแอร์ไลน์
- เช็กแอร์ไลน์
- เดลตาแอร์ไลน์
- อีสเทิร์นแอร์เวย์[23]
- เอ็ลอัล[24]
- สายการบินเอทิฮัด[25]
- ฟินน์แอร์
- การูดาอินโดนีเซีย
- โกว์ลีญัสอาแอเรียส[26]
- จอร์เจียแอร์เวย์
- อินดิโก[27]
- อิตาแอร์เวย์[28]
- เจแปนแอร์ไลน์
- เคนยาแอร์เวย์
- เคแอลเอ็ม
- เคเอ็มมอลตาแอร์ไลน์[29]
- โคเรียนแอร์
- ลาตัม บราซิล
- ลักซ์แอร์
- มิดเดิลอีสต์แอร์ไลน์
- ควอนตัส[30]
- เซาเดีย[31]
- สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม (เริ่มต้น 1 กันยายน ค.ศ. 2024)[32]
- สิงคโปร์แอร์ไลน์[33][34]
- สกายเอกซ์เพรส
- สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
- ตาอักแองโกลาแอร์ไลน์
- ตารอม
- ยูเครนอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
- เวียดนามแอร์ไลน์
- เวอร์จินแอตแลนติก[35]
- เวสต์เจ็ต
- ไวเดอโรว์[36]
- วินแอร์
ข้อตกลงระหว่างสายการบิน
[แก้]แอร์ฟรานซ์มีข้อตกลงกับสายการบินดังต่อไปนี้:[37]
ฝูงบิน
[แก้]ฝูงบินปัจจุบัน
[แก้]ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 แอร์ฟรานซ์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[38]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
F | J | W | Y | รวม | ||||
แอร์บัส เอ220-300 | 36 | 24[39] | — | 20 | — | 128 | 148 | สั่งซื้อพร้อม 30 ตัวเลือกและ 30 สิทธิการสั่งซื้อ[39] จะทดแทนแอร์บัส เอ318 และเอ319 |
แอร์บัส เอ318-100 | 6 | — | — | 18 | — | 113 | 131 | ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่น[40] จะทดแทนด้วยแอร์บัส เอ220 |
แอร์บัส เอ319-100 | 10 | — | — | 20 | — | 122 | 142 | จะปลดประจำการและทดแทนด้วยแอร์บัส เอ220 |
123 | 143 | |||||||
แอร์บัส เอ320-200 | 36 | — | — | 20 | — | 154 | 174 | |
18 | 160 | 178 | ||||||
แอร์บัส เอ321-100 | 4 | — | — | — | — | 212 | 212 | |
แอร์บัส เอ321-200 | 11 | — | — | — | — | 200 | 200 | |
212 | 212 | |||||||
แอร์บัส เอ330-200 | 15 | — | — | 36 | 21 | 167 | 224 | จพปลดประจำการและทดแทนด้วยแอร์บัส เอ350-900[41] |
แอร์บัส เอ350-900 | 34 | 7[42][43] | — | 34 | 24 | 266 | 324[44] | สั่งซื้อทั้งเอ350-900 และเอ350-100 จำนวน 50 ลำพร้อม 40 ตัวเลือกผ่านแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม โดยคำสั่งซื้อจะแบ่งกับเคแอลเอ็มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2026[45][42][46] จะทดแทนแอร์บัส เอ330-200 และโบอิง 777-200อีอาร์[41][47] |
— | 48 | 32 | 212 | 292 | ||||
แอร์บัส เอ350-1000 | — | รอประกาศ | ||||||
โบอิง 777-200อีอาร์ | 18 | — | — | 40 | 24 | 216 | 280 | จะปลดประจำการและทดแทนด้วยแอร์บัส เอ350[41] |
28 | 260 | 312 | ||||||
โบอิง 777-300อีอาร์ | 43 | — | 4 | 58 | 28 | 206 | 296 | ลูกค้าเปิดตัว[48] |
— | 48 | 48 | 273 | 369 | ||||
14 | 28 | 430 | 472[49] | |||||
โบอิง 787-9[50] | 10 | — | — | 30 | 21 | 228 | 279 | |
ฝูงบินของแอร์ฟรานซ์คาร์โก | ||||||||
แอร์บัส เอ350เอฟ | — | 4[51] | สินค้า | |||||
โบอิง 777เอฟ | 2 | — | สินค้า | |||||
รวม | 225 | 35 |
แอร์ฟรานซ์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 12.7 ปี
อากาศยานลำตัวกว้าง
[แก้]เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2011 แอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็มประกาศคำสั่งซื้อสำหรับแอร์บัส เอ350 จำนวน 50 ลำและสั่งซื้อโบอิง 787 เป็นตัวเลือกการสั่งซื้อ 60 ตัวเลือก โดยที่จะแบ่งไปประจำการกับทั้งแอร์ฟรานซ์และเคแอลเอ็ม[52] ต่อมาแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็มสั่งซื้อโบอิง 787 จำนวน 37 ลำ แบ่งเป็นที่สั่งซื้อโดยตรง 25 ลำและเช่า 12 ลำ โดยจะเป็นของแอร์ฟรานซ์อย่างน้อย 16 ลำเพื่อจะใช้ทดแทนแอร์บัส เอ340-300 และจะถูกทดแทนด้วยแอร์บัส เอ350 ตั้งแต่ปี 2019 โบอิง 787-9 ลำแรกเข้าประจำการกับเคแอลเอ็มในปี 2015 และกับแอร์ฟรานซ์ในช่วงต้นปี 2017[53] แอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็มมีคำสั่งซื้อเอ350 28 ลำ[54] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019 กลุ่มสายการบินได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างฝูงบินใหม่ โดยแอร์ฟรานซ์จะให้บริการแอร์บัส เอ350 เท่านั้น และเคแอลเอ็มจะให้บริการเฉพาะโบอิง 787 รวมหกลำที่เดิมจะให้บริการโดยแอร์ฟรานซ์ แอร์ฟรานซ์รับมอบแอร์บัส เอ350-900 ลำแรก (ชื่อ ตูลูซ) เมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2019[55]
อากาศยานลำตัวแคบ
[แก้]แอร์ฟรานซ์ให้บริการเครื่องบินทุกรุ่นของเครื่องบินตระกูลแอร์บัส เอ320 ทั้งหมด 67 ลำ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2019 แอร์ฟรานซ์ได้ประกาศคำสั่งซื้ออากาศยานที่จะทดแทนเครื่องบินลำตัวแคบเหล่านี้ โดยแอร์บัส เอ318 และเอ319 จะถูกทดแทนด้วยแอร์บัส เอ220-300 จำนวน 60 ลำ โดยเริ่มส่งมอบในปี ค.ศ. 2021[56] สายการบินจะลดการปลดปล่อยมลภาวะลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2024 สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศฝรั่งเศส เป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสมูลค่า 7 พันล้านยูโร[57] ด้วยเหตุนี้แอร์ฟรานซ์จึงมีแผนที่จะนำแอร์บัส เอ220 เพิ่มเติมเข้ามาในเครือข่ายภายในประเทศ[58]
คองคอร์ด
[แก้]แอร์ฟรานซ์ปลดประจำการเครื่องบินคองคอร์ดทั้งห้าลำเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 ภายหลังความต้องการที่น้อยลงซึ่งมีผลจากอุบัติเหตุการตกของคองคอร์ดทะเบียน F-BTSC ในปารีสเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 และราคาเชื้อเพลิงและการซ่อมบำรุงที่สูงขึ้น ในขณะที่บริติชแอร์เวย์ ผู้ให้บริการคองคอร์ดอีกราย ทำการบินเที่ยวบินคองคอร์ดเที่ยวบสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2003[59] คองคอร์ดทะเบียน F-BVFA was transferred to the ถูกย้ายไปจัดแสดงที่สตีเวน เอฟ. อุดวาร์-เฮซี เซนเตอร์ในท่าอากาศยานนานาชาติวอชิงตันดัลเลส[60] F-BVFB ถูกจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์รถยนต์และเทคโนโลยีซินส์ไฮม์ในเยอรมนี[61] F-BTSD ถูกจัดแสดงที่มุเซเดแลร์เอเดเลซปาซที่ท่าอากาศยานเลอบูร์เกตในปารีส[62] และ F-BVFC ได้กลับไปจัดแสดงที่สถานที่ผลิตในตูลูซในบริเวณโรงงานแอร์บัส[63] F-BVFF เป็นลำเดียวที่ยังคงอยู่ที่ท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกล โดยได้ถูกจัดแสดงในบริเวณท่าอากาศยาน[64]
โบอิง 747
[แก้]แอร์ฟรานซ์เริ่มให้บริการโบอิง 747 ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1970 หลังรับมอบโบอิง 747-100 ลำแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม[65] สายการบินยังให้บริการโบอิง 747-200 -300 และ -400 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2016 แอร์ฟรานซ์ปลดประจำการโบอิง 747-400 ลำสุดท้าย โดยได้ทดแทนด้วยแอร์บัส เอ380 และโบอิง777-300อีอาร์ รุ่นขนส่งสินค้าถูกทดแทนด้วยโบอิง 777เอฟ[66][67]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Designators for Aircraft Operating Agencies, Aeronautical Authorities and Services" (PDF). ICAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 สิงหาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2020.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Infographie #34 - Quel avenir pour le réseau domestique d'Air France ?". 25 พฤษภาคม 2020.
- ↑ "Air France renforce progressivement son programme de vols". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มิถุนายน 2020. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2024.
- ↑ "Air France, un acteur régional majeur dans la Caraïbe, Septembre 2013" (PDF). Corporate.airfrance.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2014.
- ↑ "Air France names Anne Rigail as new head of airline". Reuters. 12 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2018.
- ↑ "Air France – Company Overview". Hoover's. 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 เมษายน 2009. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2009.
- ↑ "Notre histoire : Legend". corporate.airfrance.com. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2023.
- ↑ "Record traffic in 2018 for Air France-KLM: more than 100 million passengers carried". Air France-KLM Group. 9 มกราคม 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2019.
- ↑ "regional.com". www.regional.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ตุลาคม 2006.
- ↑ "History". Air France KLM (ภาษาอังกฤษ). 26 พฤศจิกายน 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2021.
- ↑ "ISO Album" (PDF). quali-audit.aero. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 มิถุนายน 2010. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2010.
- ↑ Airliner World (2007)
- ↑ "French plans for Taipei". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 8 กันยายน 1993.
- ↑ Werner Meissner; Jean-Pierre Cabestan, บ.ก. (มิถุนายน 2002). France's Taiwan Policy: A Case of Shopkeeper Diplomacy (PDF). East-West Dialogue. The Role of France and Gemany in Sino-European Relations. Special Issue. Vol. VI, No. 2 – Vol. VII, No. 1. pp. 264–291.
- ↑ "Head Office". Air France. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2010.
- ↑ "Plan interactif: Ville de Tremblay en France". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ธันวาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2022.
- ↑ "Air France Head Quarters Roissypole" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2022.
- ↑ "Air France - Services et activités liés au transport". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2022.
- ↑ "Roissy Charles-de-Gaulle - Les entreprises". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2022.
- ↑ "Air France Airline Profile | CAPA". centreforaviation.com.
- ↑ "Aeroflot code sharing". Aeroflot. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2025.
- ↑ "New codeshare agreement between Air France". www.copaair.com. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2020.
- ↑ "Air France / Eastern Airways Begins Codeshare Partnership in NW23". AeroRoutes.
- ↑ "Air France / El Al Begins Reciprocal Codeshare Partnership in NS24". AeroRoutes (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). 11 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2024.
- ↑ "Air France / Etihad Expands Codeshare Partnership From late-Oct 2023". AeroRoutes.
- ↑ "Air France-KLM and GOL sign agreement to extend and enhance their commercial partnership | AIR FRANCE KLM". www.airfranceklm.com.
- ↑ Hannah Brandler (26 ธันวาคม 2021). "Air France-KLM signs codeshare agreement with Indigo Airlines". Business Traveller. London: Perry Publications.
- ↑ "ITA Airways, accordo di codeshare con Air France" [ITA Airways, codeshare agreement with Air France]. borsaitaliana.it (ภาษาอิตาลี). 9 ธันวาคม 2021.
- ↑ "KM Malta Airlines and Air France sign codeshare deal". AeroTime. 28 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2024.
- ↑ "QANTAS AND AIR FRANCE RENEW PARTNERSHIP TO OFFER CUSTOMERS MORE TRAVEL OPTIONS BETWEEN AUSTRALIA AND FRANCE". Qantas News Room.
- ↑ "AIR FRANCE EXPANDS SAUDIA CODESHARE SERVICE FROM MID-JULY 2023". Aeroroutes. 21 กรกฎาคม 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กรกฎาคม 2023.
- ↑ "SAS / Air France launches codeshare service from Sep 2024". aeroroutes.com. 9 กรกฎาคม 2024.
- ↑ "Air France-KLM Signs Codeshare Agreement with Singapore Airlines and SilkAir" (Press release). Paris: Air France–KLM. 13 เมษายน 2017.
- ↑ "Singapore Airlines And SilkAir Sign Codeshare Agreement With Air France-KLM". www.singaporeair.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2019.
- ↑ Silk, Robert (4 มีนาคม 2019). "Virgin Atlantic starts codesharing with Air France and KLM". Travel Weekly. Secaucus: Northstar Travel Group.
- ↑ "Air France/Widerøe begins codehare-service from July 2018". Routesonline.
- ↑ "Interline and codeshare travel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มีนาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2022.
- ↑ "Air France Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2 สิงหาคม 2024.
- ↑ 39.0 39.1 "Evolution of the Air France-KLM fleet". Air France KLM (ภาษาอังกฤษ). 30 กรกฎาคม 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2019. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2020.
- ↑ Airbus Orders and Deliveries (XLS), monthly updated, accessed via "Orders & deliveries". Airbus. Airbus SAS. 3 เมษายน 2024.
- ↑ 41.0 41.1 41.2 "The Air France-KLM Group will place an order for 50 Airbus A350 family aircraft - with purchase rights for 40 additional aircraft - to accelerate the renewal of its long-haul fleet | AIR FRANCE KLM". www.airfranceklm.com (Press release). สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2023.
- ↑ 42.0 42.1 Schlappig, Ben (19 กรกฎาคม 2023). "Air France's New A350 Cabins & Configuration (Now Flying)". One Mile at a Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2023.
- ↑ "KLM to invest in cleaner, quieter and more fuel-efficient long-haul aircraft with an order of new Airbus A350s". KLM to invest in cleaner, quieter and more fuel-efficient long-haul aircraft with an order of new Airbus A350s (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2023.
- ↑ "Air France takes delivery of its first A350 XWB". Airbus. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2019.
- ↑ "Air France-KLM orders 50 Airbus A350s". Business Travel News Europe. 26 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2023.
- ↑ Kaminski-Morrow2023-09-25T17:36:00+01:00, David. "Air France-KLM to order 50 A350s including -1000s". Flight Global (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2023.
- ↑ "Air France-KLM passe une commande géante de 50 Airbus A350". La Tribune (ภาษาฝรั่งเศส). 25 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2023.
- ↑ flightglobal.com - Air France set for first 777-300ER 19 November 2002
- ↑ "Boeing 777-300 map - 472 seats". Air France. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มกราคม 2021. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2020.
- ↑ "The Air France-KLM Group takes a next step in optimization of the long-haul fleet". Air France-KLM (Press release) (ภาษาอังกฤษ). 28 มิถุนายน 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2019.
- ↑ "Air France-KLM orders 4 Airbus A350F full freighter aircraft – with purchase rights for an additional 4, for Air France". Air France-KLM Group (Press release). 12 เมษายน 2022.
- ↑ "Air France KLM announces the order of 110 Airbus A350 and Boeing 787 aircraft" (PDF) (Press release). Air France-KLM. 16 กันยายน 2011.
- ↑ "Air France plans 787-9 debut in Jan 2017". 2016. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2016.
- ↑ Jens Flottau (20 เมษายน 2017). "Air France Anticipates 2018 Narrowbody Aircraft Decision". Aviation Daily. Aviation Week.
- ↑ "Air France takes delivery of its first A350 XWB". Airbus.com (ภาษาอังกฤษ). Airbus. 27 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2024.
- ↑ "Air France orders 60 A220s and announces retirement of A380". 11 พฤศจิกายน 2019. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2020.
- ↑ Thomas, Leigh (29 เมษายน 2020). "Air France must cut emissions, domestic flights for aid: minister". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2020.
- ↑ Hepher, Tim; Frost, Laurence (7 พฤษภาคม 2020). "Planemakers delay deliveries as crisis hits manufacturing – Air France-KLM CEO". Reuters (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤษภาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2020.
- ↑ "Celebrating Concorde". สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2020.
- ↑ "When Concorde First Flew, It Was a Supersonic Sight to Behold". สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2020.
- ↑ "Concorde F-BVFB". สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2020.
- ↑ "Aérospatiale-BAe Concorde Sierra Delta 213 F-BTSD Air France". สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2020.
- ↑ "Air France Concorde F-BVFC & F-WTSB". สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2020.
- ↑ "Concorde F-BVFF – De Gaulle International Airport – Paris, France". สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2020.
- ↑ "Orders and Deliveries: Boeing 747". The Boeing Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2018.
- ↑ "Air France retires 747". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2016.
- ↑ "Air France Accelerates Boeing 747 Retirement Schedule". Routes. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2016.
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Rocher, Alexis (ตุลาคม 2023). "Les 90 ans d'Air France: Première partie 1933–1939" [90 Years of Air France: Part 1 1933–1939]. Le Fana de l'Aviation (ภาษาฝรั่งเศส) (647): 48–59. ISSN 0757-4169.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]