ข้ามไปเนื้อหา

ทรานเซเวียฟรานซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทรานเซเวียฟรานซ์
IATA ICAO รหัสเรียก
TO TVF FRANCE SOLEIL
ก่อตั้ง (2006-11-14) 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 (18 ปี)
เริ่มดำเนินงานพฤษภาคม ค.ศ. 2007 (17 ปี)
ฐานการบิน
ขนาดฝูงบิน73
จุดหมาย121
บริษัทแม่แอร์ฟรานซ์ (95.5%)
ทรานเซเวีย (4.5%)
สำนักงานใหญ่ประเทศฝรั่งเศส ปาเรย์-วีเยย-โปสต์ ประเทศฝรั่งเศส
บุคลากรหลักออลีวีเย มัซซูเชลลี (ซีอีโอ)
เว็บไซต์www.transavia.com

บริษัท ทรานเซเวียแอร์ไลน์ จำกัด (ฝรั่งเศส: Transavia Airlines S.A.S.) ดำเนินการในชื่อ ทรานเซเวียฟรานซ์ (ฝรั่งเศส: Transavia France) หรือชื่อเดิม ทรานเซเวียดอตคอมฟรานซ์ เป็นสายการบินราคาประหยัดสัญชาติฝรั่งเศสที่มีฐานการบินหลักและสำนักงานใหญ่ที่ท่าอากาศยานออร์ลีในปาเรย์-วีเยย-โปสต์ สายการบินเป็นการร่วมทุนระหว่างแอร์ฟรานซ์ (95.51%) และทรานเซเวียของเนเธอร์แลนด์ (4.49%) ทรานเซเวียฟรานซ์ดำเนินงานโดยอิสระจากทรานเซเวีย โดยทั้งสองสายการบินมีรูปแบบธุรกิจ เว็บไซต์ และภาพลักษณ์ที่เหมือนกัน

ประวัติ

[แก้]

สายการบินก่อตั้งขึ้นในชื่อ ทรานเซเวียดอตคอมฟรานซ์ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 โดยแอร์ฟรานซ์และทรานเซเวียดอตคอม และเริ่มดำเนินการในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 โดยให้บริการเที่ยวบินประจำและเที่ยวบินเช่าเหมาลำ[1]

ทรานเซเวียฟรานซ์ให้บริการเที่ยวบินประจำและเช่าเหมาลำสำหรับจุดหมายปลายทางเพื่อการพักผ่อนและในเมืองใหญ่บางแห่งเป็นหลัก และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์สายการบินราคาประหยัดของแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม ซึ่งให้บริการภายใต้ชื่อ ทรานเซเวีย ทั้งในเนเธอร์แลนด์และฝรั่งเศส[2] ในต้นปี 2015 สายการบินเครือทรานเซเวียได้รับการออกแบบอัตลักษณ์องค์กรใหม่ โดยตัด "ดอตคอม" ออกชื่อ รวมทั้งเปลี่ยนสีหลักจากขาว/เขียว/น้ำเงิน เหลือเพียงขาว/เขียว[3] ในปี 2013 อ็องตวน ปุสซีโย ดำรงตำแหน่งซีอีโอของสายการบินตั้งแต่เดือนมกราคม[4] นาตาลี สตับเลอร์ ซีอีโอของทรานเซเวียฟรานซ์ระหว่างปี 2016-2022[5] ได้ขยายฝูงบินและเครือข่ายของสายการบิน

ในปี 2018 ทรานเซเวียฟรานซ์ได้ขยายฐานการบินเพิ่มเติมสู่ท่าอากาศยานลียงและท่าอากาศยานน็องต์โดยเพิ่มเครื่องบินไปประจำฐานการบินและขยายเส้นทางที่มีอยู่

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 ทรานเซเวียฟรานซ์ประกาศว่าจะเปิดฐานการบินใหม่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2020 ที่ท่าอากาศยานมงเปอลีเย-เมดีแตราเน โดยวางแผนจะให้บริการเส้นทางต่างๆ จำนวน 20 เส้นทางภายในสิ้นปีนั้น

กิจการองค์กร

[แก้]

กรรมสิทธิ์บริษัท

[แก้]

ทรานเซเวียฟรานซ์ถือกรรมสิทธิ์โดยแอร์ฟรานซ์ 95.51% และทรานเซเวียของเนเธอร์แลนด์ 4.49%[6] ซึ่งทั้งสองสายการบินก็เป็นส่วนหนึ่งของแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม ทรานเซเวียฟรานซ์ดำเนินงานโดยอิสระจากทรานเซเวีย โดยทั้งสองสายการบินมีรูปแบบธุรกิจ เว็บไซต์ และภาพลักษณ์ที่เหมือนกัน[7]

ผลประกอบการ

[แก้]

ผลการดำเนินงานของการดำเนินงานของทรานเซเวีย (ทั้งทรานเซเวียเนเธอร์แลนด์และทรานเซเวียฟรานซ์) มีรายงานอยู่ในบัญชีประจำปีที่เผยแพร่ของบริษัทแม่ แอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม

รูปแบบธุรกิจ

[แก้]

ทรานเซเวียฟรานซ์ดำเนินการในฐานะสายการบินราคาประหยัด และใช้เครื่องบินเพียงประเภทเดียว (โบอิง 737) พร้อมห้องโดยสารเพียงชั้นเดียว สายการบินให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแบบซื้อบนเครื่อง[8]

สำนักงานใหญ่

[แก้]

ทรานเซเวียฟรานซ์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานปารีส–ออร์ลีในปาเรย์-วีเยย-โปสต์[9][10]

จุดหมายปลายทาง

[แก้]

ในช่วงฤดูร้อนปี 2022 ทรานเซเวียฟรานซ์จะทำการบินไปยังจุดหมายปลายทาง 100 แห่งจากปารีส-ออร์ลี และถือเป็นสายการบินราคาประหยัดแห่งแรกที่ให้บริการออกจากปารีส[11]

ฝูงบิน

[แก้]
แอร์บัส เอ320นีโอของทรานเซเวียฟรานซ์
โบอิง 737-800 ของทรานเซเวียฟรานซ์

ณ เดือนมกราคม ค.ศ. 2025 ทรานเซเวียฟรานซ์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[12][13][14][15]

ฝูงบินของทรานเซเวียฟรานซ์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
แอร์บัส เอ320นีโอ 10 79 186[16] คำสั่งซื้อพร้อม 60 ตัวเลือกจะแบ่งกับเคแอลเอ็มและทรานเซเวีย[17]
จะทดแทนโบอิง 737-800[18]
แอร์บัส เอ321นีโอ 232
โบอิง 737-800 68 189 จะทดแทนด้วยเครื่องบินตระกูลแอร์บัส เอ320นีโอ
รวม 78 79

ทรานเซเวียฟรานซ์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 10.1 ปี

รางวัล

[แก้]

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2024 ทรานเซเวียได้รับอันดับรองชนะเลิศในการลงคะแนนเสียงในประเภท สายการบินราคาประหยัดที่ดีที่สุดในยุโรป ประจำปี 2024 โดยสกายแทร็กซ์[19]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Transavia France". Air France. 17 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2015. สืบค้นเมื่อ 10 May 2015.
  2. "Annual Financial Report 2014" (PDF). Air France-KLM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 November 2015. สืบค้นเมื่อ 4 April 2015.
  3. "MarketingTribune". สืบค้นเมื่อ 10 May 2015.
  4. "Transavia France appoints Antoine Pussiau as CEO". สืบค้นเมื่อ 10 May 2015.
  5. "Gagey to be replaced soon as Air France chief: newspaper". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
  6. "À propos de l'entreprise - Transavia". www.transavia.com (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 2019-07-24.
  7. "about transavia.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 10 May 2015.
  8. "Assortment on board." transavia. Accessed October 24, 2008.
  9. "Terms and conditions of carriage." Transavia.com. Retrieved on 2 January 2010. "Adresse: TRANSAVIA AIRLINES S.A.S. 18, avenue Louis Bleriot 91551 Paray vieille poste RCS 492 791 306 Evry FRANCE"
  10. "Transavia France." Air France. Retrieved on 21 June 2010. "Its head office is in Paray-Vieille-Poste (Essonne), France. " and "Address: 18 Avenue Louis Blériot 91220 Paray-Vieille-Poste, France"
  11. "Transavia : 15 ans et 15 repères | Air Journal". 13 May 2022.
  12. "Global Airline Guide 2019 (Part One)". Airliner World (October 2019): 14.
  13. "Transavia France : 49eme avion et offre égale à 2019 | Air Journal". 22 June 2021.
  14. "Transavia : 61 avions et 8 nouvelles lignes pour l'été 2022".
  15. "Transavia France Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2023-09-14. สืบค้นเมื่อ 2023-09-14.
  16. Orban, André (2024-01-10). "Air France-KLM takes delivery of its first Airbus A320neo, to be operated by Transavia France". Aviation24.be (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-01-10.
  17. "Air France poursuit le développement à marche forcée de Transavia : Les premiers Airbus A320 NEO arrivent l'an prochain". 20 September 2022.
  18. "KLM Group chooses Airbus A320neo family for KLM and Transavia's European fleet" (Press release). KLM. 16 December 2021.
  19. James.Plaisted@skytrax.uk (2024-06-24). "Qatar Airways World's Best Airline at 2024 World Airline Awards". SKYTRAX (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-27.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ทรานเซเวียฟรานซ์