ข้ามไปเนื้อหา

แผนภูมิสวรรค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภูมิสวรรค์

แผนภูมิสวรรค์ (จีน: 干支; พินอิน: gānzhī กานจือ) คือระบบเลขฐาน 60 แบบวนรอบที่เขียนด้วยอักษรจีน ซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อย 2 ส่วน ได้แก่ ภาคสวรรค์ เรียกว่า "ราศีบน" มี 10 ตัวอักษร (天干; tiāngān เทียนกาน) และภาคปฐพี เรียกว่า "ราศีล่าง" มี 12 ตัวอักษร (地支; dìzhī ตี้จือ) แผนภูมิสวรรค์ใช้สำหรับการนับวันและปีแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในโหราศาสตร์ของจีน นอกจากจีนแล้วประเทศในเอเชียตะวันออกอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ก็ใช้ระบบเลขนี้ด้วย

“ปีหนไท” ซึ่งเป็นระบบปฏิทินแบบไทโบราณที่เคยใช้ในอาณาจักรสิบสองปันนา ล้านนา ล้านช้าง และสมัยสุโขทัยตอนต้น ก็เชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากปฏิทินกานจือของจีนโบราณเช่นกัน เนื่องจากมีองค์ประกอบเหมือนกันทุกประการ และมีชื่อเรียกต่างกันเล็กน้อย เช่น ภาคสวรรค์ (แม่มื้อ) ได้แก่ กาบ ดับ ระวาย เมือง เปลิก กัด กด ร้วง เต่า ก่า (เทียบเท่ากับ เอกศก โทศก ตรีศก ในปัจจุบัน) และภาคปฐพี (ลูกมื้อ) ได้แก่ ใจ้ เปล้า ญี เหม้า สี ใส้ สะง้อ เม็ด สัน เร้า เส็ด ใค้ (เทียบเท่ากับ ชวด ฉลู ขาล ฯลฯ ในปัจจุบัน)

ประวัติ

[แก้]

ชาวจีนใช้แผนภูมิสวรรค์มาตั้งแต่สหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล จากหลักฐานบนกระดูกทำนาย (oracle bone) ในสมัยราชวงศ์ซาง (商朝) ด้วยความหมายของการตั้งชื่อวัน (คล้ายกับชื่อวันในสัปดาห์ในปัจจุบัน) การใช้แผนภูมิสวรรค์แทนชื่อวันมีใช้เรื่อยมาจนกระทั่งสมัยราชวงศ์โจว (周朝) มีการใช้แผนภูมิสวรรค์นับการครบรอบฤดูกาล (ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง) ส่วนการนับแทนปีเริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (西漢) เมื่อประมาณ 202 ปีก่อนคริสตกาล ถึง ค.ศ. 8 ซึ่งอยู่ในช่วงปลายของยุคไฟสงครามของจีน

ในประเทศญี่ปุ่น เริ่มมีการเผยแพร่แผนภูมิสวรรค์ที่ใช้นับแทนปีจากจีนใน พ.ศ. 1096 (ค.ศ. 553) แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมจนกระทั่งยุคของจักรพรรดินีซุอิโกะ (推古天皇) การนับปีดังกล่าวมีการใช้ในเรื่องของการเมืองการปกครอง และในปี พ.ศ. 1147 (ค.ศ. 604) ชาวญี่ปุ่นได้นำการนับปีแบบจีนมาใช้อย่างเป็นทางการ และเป็นปีที่หนึ่งที่เริ่มนับตามระบบเลข

ลักษณะ

[แก้]
แผนภูมิสวรรค์ หรือ"ราศีบนและราศีล่าง" เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา
甲子 乙丑 丙寅 丁卯 戊辰 己巳 庚午 辛未 壬申 癸酉
甲戌 乙亥 丙子 丁丑 戊寅 己卯 庚辰 辛巳 壬午 癸未
甲申 乙酉 丙戌 丁亥 戊子 己丑 庚寅 辛卯 壬辰 癸巳
甲午 乙未 丙申 丁酉 戊戌 己亥 庚子 辛丑 壬寅 癸卯
甲辰 乙巳 丙午 丁未 戊申 己酉 庚戌 辛亥 壬子 癸丑
甲寅 乙卯 丙辰 丁巳 戊午 己未 庚申 辛酉 壬戌 癸亥

แผนภูมิสวรรค์ประกอบด้วยอักษรจีน 2 ตัว ซึ่งตัวแรกแทนพลังงานของภาคสวรรค์และตัวหลังแทนพลังงานของภาคปฐพี อักษรภาคสวรรค์มี 10 ตัว ส่วนภาคปฐพีมี 12 ตัว ซึ่งจะเปลี่ยนพร้อมกันและวนรอบใหม่ทุกครั้งเมื่อจบลำดับ เช่น 癸酉→甲戌→乙亥→丙子 เป็นต้น การรวมกันของอักษรทั้งสองภาคทำให้เกิดชื่อเรียกได้ 60 แบบ เนื่องจากตัวคูณร่วมน้อยของ 10 กับ 12 เท่ากับ 60 นั่นคือพลังงานในแต่ละปีจะมีการเรียงกันไปตามลำดับจนครบ 60 คู่ก็จะกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุผลให้ชาวจีนจะจัดงานวันเกิดครบรอบ 60 ปีที่เรียกว่า "แซยิก" อย่างยิ่งใหญ่ เพราะถือมาได้มีชีวิตอยู่จนมาครบรอบเดียวกันกับพลังงานที่ตนเกิดอย่างแท้จริง

ปีพ.ศ. พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) จะเป็นปี 丁亥 และปีพ.ศ. พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) ก็จะเป็นปี 戊子 เรียกว่า ราศีปี ซึ่งเปลี่ยนศักราช ณ วันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ คือประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ไม่ใช่วันตรุษจีน) อย่างที่บุคคลทั่วไปเข้าใจกัน


และเมื่อผ่านไปอีก 60 ปี ซึ่งจะเป็นปีพ.ศ. พ.ศ. 2610 (ค.ศ. 2067) พลังก็จะวนกลับมาเป็นปี 丁亥 อีกครั้งหนึ่ง

ราศีเดือนจะเปลี่ยนทุก 2 สารท

ราศีวันจะเปลี่ยนทุกวัน ณ เวลา 23:00 น.

และราศียามจะเปลี่ยนทุก 2 ชั่วโมง

วิธีการคำนวณ

[แก้]

เพื่อให้ง่ายแล้ว เราสามารถคำนวณว่าปีนั้นจะมีอักษรประจำปีเป็นแบบใด โดยตั้งพุทธศักราชปีที่ต้องการจะหานั้นลงเป็นสองฐาน เอา 6 ลบ ฐานบน (อักษรภาคฟ้า) เอา 10 หาร ยกลัพธ์เสียเอาแต่เศษ ฐานล่าง (อักษรภาคดิน) เอา 12 หาร ยกลัพธ์เสียเช่นเดียวกัน จากนั้นพิจารณาว่าเศษเป็นแบบใดตามในตาราง นำอักษรที่ได้ทั้งภาคฟ้าและดินมาเรียงกันเป็นอักษรประจำปีตามที่ต้องการ

อักษรภาคสวรรค์

[แก้]
เศษ อักษรภาคสวรรค์ ชื่อจีนกลาง
พินอิน
ชื่อจีนแต้จิ๋ว ชื่อญี่ปุ่น ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
คำอ่าน
ทับศัพท์
ชื่อเวียดนาม
โกว๊กหงือ
คำอ่าน
หยินหยาง ธาตุ
เสียงอง เสียงคุน (คันจิ)
1 เจี่ย
jiǎ
กะ こう
โค
木の兄
คิโนะเอะ

คับ
gap
giáp
ซ้าป
หยาง ธาตุไม้
2 อี่
อิก おつ
โอะสึ
木の弟
คิโนะโตะ

อึล
eul
ất
เอิ๊ต
หยิน
3 ปิ่ง
bǐng
เปี้ย へい
เฮ
火の兄
ฮิโนะเอะ

พย็อง
byeong
bính
บิ๊ญ
หยาง ธาตุไฟ
4 ติง
dīng
เต็ง てい
เท
火の弟
ฮิโนะโตะ

ชย็อง
jeong
đinh
ดิญ
หยิน
5 อู้
โบ่ว
โบะ
土の兄
สึชิโนะเอะ

มู
mu
mậu
เหมิ่ว
หยาง ธาตุดิน
6 จี่
กี้
คิ
土の弟
สึชิโนะโตะ

คี
gi
kỷ
กี๋
หยิน
7 เกิง
gēng
แก こう
โค
金の兄
คะโนะเอะ

คย็อง
gyeong
canh
จาญ
หยาง ธาตุทอง
8 ซิน
xīn
ซิง しん
ชิง
金の弟
คะโนะโตะ

ชิน
shin
tân
เติน
หยิน
9 เหริน
rén
หยิม じん
จิง
水の兄
มิซุโนะเอะ

อิม
im
nhâm
เญิม
หยาง ธาตุน้ำ
0 กุ่ย
guǐ
กุ๋ย
คิ
水の弟
มิซุโนะโตะ

คเย
gye
quý
กวี๊
หยิน

อักษรภาคปฐพี

[แก้]
เศษ อักษรภาคปฐพี ชื่อจีนกลาง
พินอิน
ชื่อจีนแต้จิ๋ว ชื่อญี่ปุ่น ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
คำอ่าน
ทับศัพท์
ชื่อเวียดนาม
โกว๊กหงือ
คำอ่าน
ปีนักษัตร ชั่วโมงในรอบวัน
เสียงอง เสียงคุน
1 จื่อ
จื้อ ชิ เนะ
ชา
ja

ตี๊
ชวด (鼠) 23 ถึง 1 นาฬิกา
2 โฉ่ว
chǒu
ทิ่ว ชู อุชิ
ชุก
chuk
sửu
สืว
ฉลู (牛) 1 ถึง 3 นาฬิกา
3 อิ๋น
yín)
อิ้ง อิง โทะระ
อิน
in
dần
สั่น
ขาล (虎) 3 ถึง 5 นาฬิกา
4 หม่าว
mǎo
เบ้า โบ อุ
มโย
myo
mẹo/mão
แหม่ว/เหมา
เถาะ (兔) 5 ถึง 7 นาฬิกา
5 เฉิน
chén
ซิ้ง ชิง ทะสึ
ชิน
jin
thìn
ถิ่น
มะโรง (龍) 7 ถึง 9 นาฬิกา
6 ซื่อ
จี๋ ชิ มิ
ซา
sa
tỵ
ติ
มะเส็ง (蛇) 9 ถึง 11 นาฬิกา
7 อู่
โง่ว โกะ อุมะ
โอ
o
ngọ
เหงาะ
มะเมีย (馬) 11 ถึง 13 นาฬิกา
8 เว่ย์
wèi
บี่ มิ หรือ บิ ฮิสึจิ
มี
mi
mùi
หมู่ย
มะแม (羊) 13 ถึง 15 นาฬิกา
9 เซิน
shēn
ซิง ชิง ซะรุ
ชิน
shin
thân
เทิน
วอก (猴) 15 ถึง 17 นาฬิกา
10 โหย่ว
yǒu
อิ้ว ยู โทะริ
ยู
yu
dậu
เส่า
ระกา (雞) 17 ถึง 19 นาฬิกา
11 ซวี
สุก จุสึ อินุ
ซุล
sul
tuất
ต๊วต
จอ (狗) 19 ถึง 21 นาฬิกา
0 ฮ่าย
hài
ไห ไก อิ
แฮ
hae
hợi
เห่ย
กุน (豬) 21 ถึง 23 นาฬิกา

ตัวอย่างการคำนวณ

[แก้]
  1. ปีนี้ตรงกับปี พ.ศ.2567
  2. เอา 6 ลบ: 2567 - 6 = 2561
  3. ฐานบน (ภาคฟ้า) เอา 10 หารเอาแต่เศษ: 2561 mod 10 = 1
  4. ฐานล่าง (ภาคดิน) เอา 12 หารเอาแต่เศษ: 2561 mod 12 = 5
  5. เปิดดูตาราง ฐานบนเศษ 1 ตรงกับอักษรภาคฟ้า 甲 (กะ) ส่วนฐานล่าง เศษ 5 ตรงกับอักษรภาคดิน 辰 (ซิ้ง)
  6. ดังนั้น ปีนี้มีอักษรประจำปีเป็น 甲辰

ตารางบอกอักษรประจำปี ค.ศ. 1924–2043

[แก้]

การประยุกต์ใช้

[แก้]

ตัวอักษรของราศีบนและราศีล่างนั้น นอกจากจะใช้เพื่อระบุกาลเวลาในปฏิทินของจีนแล้ว ยังสามารถใช้ในการทำนายดวงชะตาซึ่งเป็นระบบที่แพร่หลายที่สุดในสังคมชาวจีนมาในตั้งแต่อดีตที่เรียกว่า "โป๊ยหยี่ซี้เถียว" หรือ "แปดอักขระสี่แถว" คือแถวปีก็จะประกอบด้วยราศีบนและล่าง 1 ชุด ในขณะที่แถวเดือน แถววัน และแถวยาม ก็จะมีราศีบนและล่างอีกอย่างละ 1 ชุด รวมเป็น 8 อักษร โดยแต่ละตัวจะมีค่าทางพลังงานเป็นธาตุต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 5 ธาตุ คือ ไม้ ไฟ ดิน ทอง น้ำ แล้วนำมาวิเคราะห์หาสัมพันธ์ปฏิกิริยาระหว่างธาตุ ว่าธาตุใดมีมากเกินไป ธาตุใดน้อยเกิน ธาตุใดพิฆาตธาตุใด คล้ายกับการเล่นหมากรุก เพื่อจะหาว่าธาตุใดเป็นธาตุที่ให้คุณและธาตุใดเป็นธาตุที่ให้โทษ ซึ่งในปีใดที่เป็นราศีของธาตุที่ให้คุณเข้ามาก็จะทำนายว่าเป็นปีที่ดวงดี ส่วนในปีที่ธาตุให้โทษเข้ามาก็ถือว่าเป็นปีที่ดวงไม่ดี

อ้างอิง

[แก้]
  • ตั้งกวงจือ. ตำราเรียนหัวใจฮวงจุ้ย. กรุงเทพฯ:ฮวงจุ้ยกับชีวิต, 2549
  • Tsien, Tsuen-hsuin (1978). "T'ien kan: a key to the history of the Shang". ใน David Roy (ed.) (บ.ก.). Ancient China : studies in early civilization. Hong Kong: Chinese University Press. pp. 13–42. ISBN 978-962-201-144-1. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Norman, Jerry (1985). "A note on the origins of the Chinese duodenary cycle". ใน Graham Thurgood (ed.) (บ.ก.). Linguistics of the Sino-Tibetan area : the state of the art : papers presented to Paul K. Benedict for his 7lst birthday. Canberra: Australian National University. pp. 85–89. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Pulleyblank, E. G. (1995). "The ganzhi as phonograms". Early China News. 8: 29–30.
  • Smith, Adam (2011). "The Chinese sexagenary cycle and the ritual origins of the calendar". ใน John Steele (ed.) (บ.ก.). Calendars and years II : astronomy and time in the ancient and medieval world (PDF). Oxford: Oxbow. pp. 1–37. ISBN 978-1-84217-987-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-08-13. สืบค้นเมื่อ 2012-11-01. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)