ข้ามไปเนื้อหา

วัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น[1] ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที

คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไทย

นิยาม

[แก้]

คำจำกัดความของ วัน นั้นมีความแตกต่างออกไปในแต่ละแขนงความรู้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์

หน่วยเอสไอ

[แก้]

1 วัน เท่ากับ 86,400 วินาที ซึ่งมีการให้ความหมายของวินาทีไว้ว่า

... ช่วงเวลา 9,192,631,770 รอบของการแผ่กัมมันตภาพรังสี ซึ่งแต่ละรอบตรงกับช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงาน จากสถานะกระตุ้นไปเป็นสถานะพื้นของอะตอม ซีเซียม-133 ...

นั่นหมายความว่า หน่วยวันในระบบเอสไอจะเท่ากับการแผ่รังสี 794,243,384,928,000 รอบของอะตอมดังกล่าว

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการแนะนำว่าควรมีการเพิ่มตำแหน่งทศนิยมของหน่วยวันในดาราศาสตร์ ให้ถึง 4-5 หลัก ลงไปในหน่วยเอสไอ แต่ก็ได้ถูกยกเลิกไป[ต้องการอ้างอิง]

ดาราศาสตร์

[แก้]

สำหรับดาวดวงหนึ่ง การนิยามความหมายของวันมีอยู่สองอย่างคือ

  1. วันสุริยคติ เป็นช่วงเวลาที่ดาวหนึ่ง ๆ หมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบโดยอ้างอิงกับดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของตัวเอง ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. วันดาราคติ เป็นช่วงเวลาที่ดาวหนึ่ง ๆ หมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบโดยอ้างอิงกับดาวอื่นที่อยู่ไกลเทียบเท่าอนันต์ (สำหรับโลกคือ 23.934 ชั่วโมง) นิยามนี้สามารถใช้วัดจำนวนวันของตัวดาวฤกษ์เองได้

แบบไม่เป็นทางการ

[แก้]

คำว่า วัน สามารถอ้างถึงแนวความคิดในการกำหนดคำนิยามได้หลากหลาย รวมทั้งแนวความคิดต่อไปนี้

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]