ข้ามไปเนื้อหา

แขวงเวียงจันทน์

พิกัด: 18°50′00″N 102°10′01″E / 18.8333°N 102.167°E / 18.8333; 102.167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แขวงเวียงจันทน์

ແຂວງວຽງຈັນ
แผนที่แขวงเวียงจันทน์
แผนที่แขวงเวียงจันทน์
แผนที่ประเทศลาวเน้นแขวงเวียงจันทน์
แผนที่ประเทศลาวเน้นแขวงเวียงจันทน์
พิกัด: 18°50′00″N 102°10′01″E / 18.8333°N 102.167°E / 18.8333; 102.167
ประเทศ ลาว
ก่อตั้งขึ้นพ.ศ. 2532
เมืองเอกโพนโฮง
พื้นที่
 • ทั้งหมด15,927 ตร.กม. (6,149 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (สำมะโน พ.ศ. 2558)
 • ทั้งหมด419,090 คน
เขตเวลาUTC+7 (เวลาในประเทศลาว)
รหัส ISO 3166LA-VI
เอชดีไอ (2561)เพิ่มขึ้น 0.618[1]
ปานกลาง · อันดับที่ 3

เวียงจันทน์[2] หรือ เวียงจัน[2] (ลาว: ວຽງຈັນ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ ใน พ.ศ. 2558 แขวงนี้มีประชากร 419,090 คน[3]

เมื่อปี พ.ศ. 2532 แขวงเวียงจันทน์เดิมได้แบ่งออกเป็น 2 แขวง คือ แขวงเวียงจันทน์ปัจจุบันและนครหลวงเวียงจันทน์ที่มีเขตตัวเมืองเวียงจันทน์ซึ่งเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ หลังจากแบ่งออกเป็นสองแขวงแล้ว พื้นที่ส่วนที่เหลือยังคงเรียกว่าแขวงเวียงจันทน์ และได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองของแขวงมาอยู่ที่เมืองโพนโฮง แทนตัวเมืองเวียงจันทน์ชั้นในซึ่งอยู่ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เวียงจันทน์เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรเรืองอำนาจ โดยร่วมยุคสมัยกันกับทวารวดีของไทย เดิมชื่อเมืองจันทปุระหรือเมืองจันทบุรี มีนักปราชญ์ลาว-อีสานหลายกลุ่มได้เขียนประวัติของเมืองเวียงจันทน์ในแต่ละยุคไว้หลากหลายสำนวน เช่น ตำนานเวียงจันทน์พันพร้าว ตำนานพระรัสสีสองพี่น้องสร้างเวียง ตำนานพระลัก-พระลามครองกรุงศรีสัตนาค ตำนานท้าวหูดสามเปาสร้างเวียง ตำนานท้าวคัทธนาม ตำนานพระยาบุรีจันประสิทธิสักกะเทวะ ตำนานท้าวคำพอง-นางบัวเคือ ตำนานอุรังคธาตุ ตำนานพระยาศรีสัตนาคแปงเวียง ตำนานท้าวเซียงเมี่ยง ตำนานศรีโคตรสาปเวียง ตำนานพระยาจวงขาว ตลอดจนเอกสารพื้นเวียงสำนวนต่างๆ ในครั้งหลวงพระบางเป็นราชธานี เวียงจันทน์มีสถานะเป็นเมืองลูกหลวงหรือเมืองเจ้าหัวเศิกพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นที่มักถูกส่งลงมาปกครองเวียงจันทน์ เวียงจันทน์เริ่มเป็นเมืองหลวงแทนหลวงพระบางตั้งแต่ พ.ศ. 2078 ในสมัยพระเจ้าโพธิสารราช จน พ.ศ. 2103 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 มหาราช ถอยหนีพม่ามาตั้งหลักที่เวียงจันทน์จึงถือเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการโดยมีนามเต็มว่า พระนครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตมราชธานีบุรีรมย์ หรือเมืองล้านช้างเวียงจันทน์ เวียงจันทน์เจริญขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง พ.ศ. 2237 สมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชก็เสื่อมลง พระองค์มีสนมเอกชื่อนางเขียวค้อม

จากนั้น เวียงจันทน์เกิดความวุ่นวายขึ้นเนือง ๆ นางเขียวค้อมหนีไปบวชชี พญาเมืองจันทน์เป็นขบถจนพระเจ้านันทราชจากนครพนมยกทัพมาปราบ แต่ก็ถูกพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (ไชย อง เว) นำทัพเวียดนามมาสู้รบจนแยกออกเป็นอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2253 และต่อมาใน พ.ศ. 2256 อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ก็แยกตัวออกไป

อาณาจักรเวียงจันทน์หลังการแบ่งแยกมีอาณาเขตมาถึงนครไทย (อยู่ในจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน) และติดกับจำปาศักดิ์ในบริเวณเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันคืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) แต่เพราะราชวงศ์ล้านช้างวิวาทกัน ทำให้เจ้าเมืองต่างๆ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์แยกตัวออกมาตั้งแต่พระบรมราชา (เฮงก่วน) เจ้าประเทศราชนครพนม พระวอพระตาแยกมาตั้งเมืองหนองบัวลำภู เมืองอุบลราชธานีและยศสุนทร (ปัจจุบันคือยโสธร) เจ้าโสมพะมิตร์แยกมาตั้งเมืองกาฬสินธุ์ เจ้าผ้าขาวแยกมาตั้งเมืองผ้าขาว เมืองพันนา เจ้าจารย์แก้วเจ้าประเทศราชเมืองสุวรรณภูมิ (ร้อยเอ็ด มหาสารคาม) ขอนแก่น ศรีสะเกษ ชนบถ และเจ้าจารย์จันทสุริยวงศ์เจ้าประเทศราชมุกดาหาร เป็นต้น

ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)สมทบกับเจ้าประเทศราชต่าง ๆ และบังคับเจ้านายหัวเมืองลาวทั้งหลายในอีสานบุกโจมตีเวียงจันทน์หลังเหตุการณ์สงครามเจ้าอนุวงศ์ ได้ยกเลิกเจ้าประเทศราช ทางหนองคายได้ให้ท้าวสุวอธรรมาอุปฮาดยโสธรเป็นพระปทุมเทวาภิบาลที่ 1 เจ้าประเทศราชหนองคายอพยพผู้คนมาฝั่งขวา ให้เวียงจันทน์เป็นเมืองจัตวาขึ้นกับหนองคาย หลังจากนั้นบริเวณเวียงจันทน์ต้องเผชิญศึกสงครามหลายครั้ง ทั้งสงครามสยาม-เวียดนาม 14 ปี สงครามปราบฮ่อ ต่อมาถูกฝรั่งเศสยึดเป็นอาณานิคมเมื่อ พ.ศ. 2436 ชาวเวียงจันทน์ที่ไม่ต้องการอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนำโดยพระกุประดิษฐ์บดี (ชาลี กุประดิษฐ์)จึงอพยพมาอยู่ที่เมืองท่าบ่อหรืออำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายในปัจจุบัน

ฝรั่งเศสได้สร้างเมืองเวียงจันทน์ขึ้นใหม่ ให้ ม.ปาวี เป็นข้าหลวงใหญ่คนแรก เวียงจันทน์ในสมัยฝรั่งเศสปกครองได้ชื่อว่าปารีสตะวันออก จนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2498 และถูกปลดแอกโดยพรรคปฏิวัติประชาชนลาวเมื่อ พ.ศ 2517

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

แขวงนี้แบ่งออกเป็น 11 เมือง (อำเภอ):[4]

แผนที่ รหัส ชื่อ อักษรลาว
10-01 เมืองโพนโฮง ເມືອງໂພນໂຮງ
10-02 เมืองทุละคม ເມືອງທຸລະຄົມ
10-03 เมืองแก้วอุดม ເມືອງແກ້ວອຸດົມ
10-04 เมืองกาสี ເມືອງກາສີ
10-05 เมืองวังเวียง ເມືອງວັງວຽງ
10-06 เมืองเฟือง ເມືອງເຟືອງ
10-07 เมืองซะนะคาม ເມືອງຊະນະຄາມ
10-08 เมืองแมด ເມືອງແມດ
10-09 เมืองเวียงคำ ເມືອງວຽງຄໍາ
10-10 เมืองหินเหิบ ເມືອງຫີນເຫີບ
10-11 เมืองหมื่น ເມືອງໝື່ນ
10–11 เมืองหมื่น ເມືອງໝື່ນ
10–12 เมืองไซสมบูน ເມືອງໄຊສົມບູນ

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]
  • ถ้ำจัน[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Sub-national HDI". Global Data Lab. สืบค้นเมื่อ 2018-09-13.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  3. "Results of Population and Housing Census 2015" (PDF). Lao Statistics Bureau. สืบค้นเมื่อ 7 Nov 2020.
  4. "Destination: Vientiane Province". Official website of Laos Tourism Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2013. สืบค้นเมื่อ 10 December 2012.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2012-04-18.

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • คู่มือการท่องเที่ยว Vientiane จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)