เอ็นแชนเต็ด (เพลง)
"เอ็นแชนเต็ด" | |
---|---|
เพลงโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์ | |
จากอัลบั้มสปีกนาว | |
วางจำหน่าย | 25 ตุลาคม ค.ศ. 2010 |
แนวเพลง | |
ความยาว | 5:52 |
ค่ายเพลง | บิกมะชีน |
ผู้ประพันธ์เพลง | เทย์เลอร์ สวิฟต์ |
โปรดิวเซอร์ |
|
วิดีโอเสียง | |
"เอ็นแชนเต็ด" ที่ยูทูบ |
"เอ็นแชนเต็ด" (อังกฤษ: Enchanted) เป็นเพลงโดยนักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เทย์เลอร์ สวิฟต์ จากสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สาม สปีกนาว (2010) ผลิตโดยสวิฟต์ และนาธาน แชปแมน เป็นเพลงที่กล่าวถึงความหลงใหลในใครบางคนหลังจากพบกันครั้งแรก และกังวลว่าความรู้สึกนั้นจะได้การตอบรับหรือไม่ เป็นเพลงบัลลาดที่มีพลังพร้อมเสียงกีตาร์อะคูสติกหลังจากจบแต่ละท่อน นำไปสู่การประสานกันเป็นชั้น ๆ
เมื่อสปีกนาวเปิดตัวใน ค.ศ. 2020 "เอ็นแชนเต็ด" สามารถติดอันดับชาร์ตคะเนเดียนฮอต 100 และบิลบอร์ดฮอต 100 ในสหรัฐ หลังจากที่เป็นกระแสนิยมไวรอลวิดีโอบนติ๊กต็อก ในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ค.ศ. 2021 สามารถทำตำแหน่งสูงสุดใหม่ในแคนาดา เพลงนี้ยังติดชาร์ตในออสเตรเลียและสิงคโปร์อีกด้วย ได้รับการรับรองระดับทองจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของออสเตรเลีย (ARIA) และสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA) สวิฟต์ได้รวมเพลงไว้ในรายการเพลงของทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลกสามครั้งคือ สปีกนาวเวิลด์ทัวร์ (2011–2012) เดอะ 1989 เวิลด์ทัวร์ (2015) และดิเอราส์ทัวร์ (2023–2024) เวอร์ชันที่บันทึกซ้ำชื่อ "เอ็นแชนเต็ด (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)" (Enchanted (Taylor's Version)) วางจำหน่ายโดยเป็นส่วนหนึ่งของอัลบั้มที่บันทึกซ้ำชุดที่สามของเธอ สปีกนาว (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2023
ดนตรีและบทประพันธ์
[แก้]ในทางดนตรี "เอ็นแชนเต็ด" เป็นเพลงพาวเวอร์บัลลาด[1] เพลงเริ่มต้นด้วยกีตาร์อะคูสติกที่อ่อนโยน ซึ่งจะมีความดังขึ้นหลังจากในเนื้อเพลง "I was enchanted to meet you" (แปล: "ฉันดีใจนะ ที่ได้พบเธอ")[2] ในช่วงท้ายของเพลงคือโคดาที่มีชั้นประสานเสียงซึ่งมีเสียงขับร้องของสวิฟต์แบบหลายแทร็กเหนือเครื่องสังเคราะห์เสียง[3][4][5] แมตธิว ฮอร์ตัน นักวิจารณ์เพลงของบีบีซีมิวสิก ได้อธิบายไว้ว่าเป็นเพลงป็อป[6] ตามคำกล่าวของร็อบ เชฟฟีลด์ จากโรลลิงสโตน กล่าวว่า "เอ็นแชนเต็ด" ได้รวมถึงอิทธิพลของดนตรีร็อกด้วย[4] จากสื่อ เดอะเดลีเทลิกราฟ อธิบายว่าเป็นเพลงคันทรีสมัยเก่า[7] แต่บริตตานี แมคเคนนา จากบิลบอร์ดถือว่าเพลงนี้ "อยู่นอกขอบเขตของเพลงคันทรี"[1] คาทาเลนา อี. เบิร์ช จากแอริโซนาเดลีสตาร์ ถือว่าเป็น "เพลงบัลลาดที่คู่ควรกับอารีนาร็อก"[8]
เพลง "เอ็นแชนเต็ด" บรรยายถึงผลพวงของการเผชิญหน้ากับคนที่พิเศษ โดยไม่รู้ว่าความหลงใหลนั้นจะได้รับการตอบรับหรือไม่[9] บทประพันธ์เพลงมีความเป็นเทพนิยายเพื่อบรรยายถึงความโรแมนติก[2] เพลงเปิดด้วยฉากที่สวิฟต์พบกับความรักที่เธอสนใจเป็นครั้งแรก "Your eyes whispered 'have we met?' (แปล: ดวงตาของเธอกระซิบบอกว่า 'เราเคยพบกันมาก่อนรึเปล่า?') / Across the room your silhouette starts to make its way to me, (แปล: ภาพเงาของเธอจากอีกฝั่งหนึ่งของห้องค่อย ๆ เคลื่อนเข้ามาหาฉัน)" พร้อมกับคอร์ดกีตาร์ซ้ำ ๆ[10] ขณะที่เพลงดำเนินไป เธอได้สงสัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีความรักครั้งใหม่ เหนือริฟฟ์กีตาร์ไฟฟ้าและจังหวะกลองที่สม่ำเสมอ[10] สวิฟต์กล่าวว่าท่อนบริดจ์เป็นส่วนที่เธอชอบมากที่สุดเพราะมันแสดงถึงกระแสจิตสำนึกของเธอในขณะที่ประพันธ์เพลงนี้: "Please don't be in love with someone else (แปล: ได้โปรดอย่าไปตกหลุมรักใครเลยนะ) / Please don't have somebody waiting on you. (แปล: ได้โปรดอย่าไปตกหลุมรักใครเลยนะ)"[9] เธอได้กล่าวว่า "รู้สึกดีที่ได้เขียนถึงสิ่งที่คุณคิดในช่วงเวลาหนึ่ง"[9]
ชาร์ต
[แก้]ชาร์ต (2010) | ตำแหน่ง สูงสุด |
---|---|
Canada (Canadian Hot 100)[11] | 95 |
US Billboard Hot 100[12] | 75 |
US Country Digital Song Sales (Billboard)[13] | 11 |
ชาร์ต (2021–2023) | ตำแหน่ง สูงสุด |
---|---|
Australia (ARIA)[14] | 27 |
Canada (Canadian Hot 100)[15] | 47 |
Global 200 (Billboard)[16] | 55 |
Malaysia (RIM)[17] | 11 |
Philippines (Billboard)[18] | 13 |
Singapore (RIAS)[19] | 4 |
UK Streaming (OCC)[20] | 74 |
US Hot 100 Recurrents (Billboard)[21] | 4 |
US Digital Song Sales (Billboard)[22] | 37 |
US Streaming Songs (Billboard)[23] | 32 |
US Country Streaming Songs (Billboard)[24] | 9 |
การับรอง
[แก้]ประเทศ | การรับรอง | จำนวนหน่วยที่รับรอง/ยอดขาย |
---|---|---|
Australia (ARIA)[25] | Platinum | 70,000‡ |
New Zealand (RMNZ)[26] | Platinum | 30,000‡ |
United Kingdom (BPI)[27] | Gold | 400,000‡ |
United States (RIAA)[28] | Gold | 500,000‡ |
‡ตัวเลขสตรีมมิงและยอดขายขึ้นอยู่กับการรับรองเพียงอย่างเดียว |
เอ็นแชนเต็ด (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)
[แก้]"เอ็นแชนเต็ด (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)" | |
---|---|
เพลงโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์ | |
จากอัลบั้มสปีกนาว (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) | |
วางจำหน่าย | 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2023 |
ความยาว | 5:53 |
ค่ายเพลง | รีพับลิก |
ผู้ประพันธ์เพลง | เทย์เลอร์ สวิฟต์ |
โปรดิวเซอร์ |
|
วิดีโอเนื้อเพลง | |
"เอ็นแชนเต็ด (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)" ที่ยูทูบ |
หลังจากเซ็นสัญญาฉบับใหม่กับรีพับลิกเรเคิดส์ สวิฟต์ก็เริ่มบันทึกสตูดิโออัลบั้มในหกอัลบั้มแรกของเธออีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020[29] การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากข้อพิพาทสาธารณะในปี ค.ศ. 2019 ระหว่างสวิฟต์และผู้จัดการสกูตเตอร์ เบราน์ ที่ได้ซื้อกิจการบิกมะชีนเร็กเคิดส์ ซึ่งรวมถึงอัลบั้มระดับต่าง ๆ ของสวิฟต์ที่ค่ายเพลงได้เปิดตัวในมาสเตอร์ใหม่ทั้งหมด รวมถึงลิขสิทธิ์เพลงของเธอ[30][31] เวอร์ชันบันทึกซ้ำชื่อ "เอ็นแชนเต็ด (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)" เผยแพร่เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2023 ผ่านทางรีพับลิกเรเคิดส์ เป็นส่วนหนึ่งของสปีกนาว (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) อัลบั้มที่บันทึกซ้ำชุดที่สามของสวิฟต์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 McKenna, Brittany (November 8, 2017). "Why Taylor Swift's Speak Now Is Her Best Album". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 8, 2017. สืบค้นเมื่อ November 8, 2017.
- ↑ 2.0 2.1 Keefe, Jonathan (October 25, 2010). "Taylor Swift: Speak Now". Slant Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2010. สืบค้นเมื่อ October 25, 2010.
- ↑ Sodomsky, Sam (August 19, 2019). "Taylor Swift: Speak Now". Pitchfork. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2020. สืบค้นเมื่อ August 19, 2019.
- ↑ 4.0 4.1 Sheffield, Rob (October 26, 2010). "Speak Now (2010)". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2013. สืบค้นเมื่อ December 20, 2019.
- ↑ Heaton, Dave (November 28, 2010). "Taylor Swift: Speak Now". PopMatters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 31, 2022. สืบค้นเมื่อ December 8, 2021.
- ↑ Horton, Matthew (October 25, 2010). "Review of Taylor Swift – Speak Now". BBC Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2021. สืบค้นเมื่อ August 30, 2021.
- ↑ "10 of the Best Taylor Swift Songs". The Daily Telegraph. December 14, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2020.
- ↑ Burch, Cathalena E. (November 11, 2010). "Swift can 'Speak Now'". Arizona Daily Star. p. 9. ProQuest 822096738. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 20, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-09-20.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Willman, Chris (October 18, 2010). "Taylor Swift Confronts Mayer, Laments Lautner in New Album". Yahoo! Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2010. สืบค้นเมื่อ October 28, 2010.
- ↑ 10.0 10.1 "Taylor Swift's Speak Now Turns 10: Billboard Staff Goes Track-By-Track On Their Favorite Songs". Billboard. October 22, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 4, 2022. สืบค้นเมื่อ April 15, 2022.
- ↑ "Billboard Canadian Hot 100: Week of November 13, 2010". Billboard. January 2, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2021. สืบค้นเมื่อ November 16, 2021.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Hot 100)". Billboard. สืบค้นเมื่อ December 8, 2021.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Country Digital Song Sales)". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2021. สืบค้นเมื่อ November 13, 2021.
- ↑ "ARIA Top 50 Singles Chart". Australian Recording Industry Association. July 10, 2023. สืบค้นเมื่อ July 7, 2023.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Canadian Hot 100)". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 23, 2021.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Global 200)". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 23, 2021.
- ↑ "Top 20 Most Streamed International + Domestic Songs Week 47 / (19/11/2021-25/11/2021)". RIM. December 4, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2022. สืบค้นเมื่อ December 4, 2021.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Philippines Songs)". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 11, 2023.
- ↑ "RIAS Top Charts Week 26 (23 - 29 Jun 2023)". RIAS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2023. สืบค้นเมื่อ July 4, 2023.
- ↑ "Official Audio Streaming Chart Top 100". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ November 19, 2021.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Hot 100 Recurrents)". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2022. สืบค้นเมื่อ April 11, 2022.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Digital Song Sales)". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 23, 2021.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Streaming Songs)". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2022. สืบค้นเมื่อ November 23, 2021.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Country Streaming Songs)". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 20, 2021. สืบค้นเมื่อ November 19, 2021.
- ↑ "ARIA Charts – Accreditations – 2023 Singles" (PDF). Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ June 9, 2023.
- ↑ "New Zealand single certifications – Taylor Swift – Enchanted". Recorded Music NZ. สืบค้นเมื่อ July 8, 2023.
- ↑ "British single certifications – Taylor Swift – Enchanted". British Phonographic Industry. สืบค้นเมื่อ July 7, 2023.
- ↑ "American single certifications – Taylor Swift – Enchanted". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ August 22, 2014.
- ↑ Melas, Chloe (November 16, 2020). "Taylor Swift Speaks Out about Sale of Her Masters". CTV News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2020. สืบค้นเมื่อ November 19, 2020.
- ↑ "Taylor Swift Wants to Re-record Her Old Hits". BBC News. August 22, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2019. สืบค้นเมื่อ August 22, 2019.
- ↑ Finnis, Alex (November 17, 2020). "Taylor Swift Masters: The Controversy around Scooter Braun Selling the Rights to Her Old Music Explained". i. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 12, 2021. สืบค้นเมื่อ February 13, 2021.