ข้ามไปเนื้อหา

เอ็นแชนเต็ด (เพลง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เอ็นชานเต็ด (เพลง))
"เอ็นแชนเต็ด"
เพลงโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์
จากอัลบั้มสปีกนาว
วางจำหน่าย25 ตุลาคม ค.ศ. 2010 (2010-10-25)
แนวเพลง
ความยาว5:52
ค่ายเพลงบิกมะชีน
ผู้ประพันธ์เพลงเทย์เลอร์ สวิฟต์
โปรดิวเซอร์
  • เทย์เลอร์ สวิฟต์
  • นาธาน แชปแมน
วิดีโอเสียง
"เอ็นแชนเต็ด" ที่ยูทูบ

"เอ็นแชนเต็ด" (อังกฤษ: Enchanted) เป็นเพลงโดยนักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เทย์เลอร์ สวิฟต์ จากสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สาม สปีกนาว (2010) ผลิตโดยสวิฟต์ และนาธาน แชปแมน เป็นเพลงที่กล่าวถึงความหลงใหลในใครบางคนหลังจากพบกันครั้งแรก และกังวลว่าความรู้สึกนั้นจะได้การตอบรับหรือไม่ เป็นเพลงบัลลาดที่มีพลังพร้อมเสียงกีตาร์อะคูสติกหลังจากจบแต่ละท่อน นำไปสู่การประสานกันเป็นชั้น ๆ

เมื่อสปีกนาวเปิดตัวใน ค.ศ. 2020 "เอ็นแชนเต็ด" สามารถติดอันดับชาร์ตคะเนเดียนฮอต 100 และบิลบอร์ดฮอต 100 ในสหรัฐ หลังจากที่เป็นกระแสนิยมไวรอลวิดีโอบนติ๊กต็อก ในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ค.ศ. 2021 สามารถทำตำแหน่งสูงสุดใหม่ในแคนาดา เพลงนี้ยังติดชาร์ตในออสเตรเลียและสิงคโปร์อีกด้วย ได้รับการรับรองระดับทองจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของออสเตรเลีย (ARIA) และสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA) สวิฟต์ได้รวมเพลงไว้ในรายการเพลงของทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลกสามครั้งคือ สปีกนาวเวิลด์ทัวร์ (2011–2012) เดอะ 1989 เวิลด์ทัวร์ (2015) และดิเอราส์ทัวร์ (2023–2024) เวอร์ชันที่บันทึกซ้ำชื่อ "เอ็นแชนเต็ด (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)" (Enchanted (Taylor's Version)) วางจำหน่ายโดยเป็นส่วนหนึ่งของอัลบั้มที่บันทึกซ้ำชุดที่สามของเธอ สปีกนาว (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2023

ดนตรีและบทประพันธ์

[แก้]

ในทางดนตรี "เอ็นแชนเต็ด" เป็นเพลงพาวเวอร์บัลลาด[1] เพลงเริ่มต้นด้วยกีตาร์อะคูสติกที่อ่อนโยน ซึ่งจะมีความดังขึ้นหลังจากในเนื้อเพลง "I was enchanted to meet you" (แปล: "ฉันดีใจนะ ที่ได้พบเธอ")[2] ในช่วงท้ายของเพลงคือโคดาที่มีชั้นประสานเสียงซึ่งมีเสียงขับร้องของสวิฟต์แบบหลายแทร็กเหนือเครื่องสังเคราะห์เสียง[3][4][5] แมตธิว ฮอร์ตัน นักวิจารณ์เพลงของบีบีซีมิวสิก ได้อธิบายไว้ว่าเป็นเพลงป็อป[6] ตามคำกล่าวของร็อบ เชฟฟีลด์ จากโรลลิงสโตน กล่าวว่า "เอ็นแชนเต็ด" ได้รวมถึงอิทธิพลของดนตรีร็อกด้วย[4] จากสื่อ เดอะเดลีเทลิกราฟ อธิบายว่าเป็นเพลงคันทรีสมัยเก่า[7] แต่บริตตานี แมคเคนนา จากบิลบอร์ดถือว่าเพลงนี้ "อยู่นอกขอบเขตของเพลงคันทรี"[1] คาทาเลนา อี. เบิร์ช จากแอริโซนาเดลีสตาร์ ถือว่าเป็น "เพลงบัลลาดที่คู่ควรกับอารีนาร็อก"[8]

เพลง "เอ็นแชนเต็ด" บรรยายถึงผลพวงของการเผชิญหน้ากับคนที่พิเศษ โดยไม่รู้ว่าความหลงใหลนั้นจะได้รับการตอบรับหรือไม่[9] บทประพันธ์เพลงมีความเป็นเทพนิยายเพื่อบรรยายถึงความโรแมนติก[2] เพลงเปิดด้วยฉากที่สวิฟต์พบกับความรักที่เธอสนใจเป็นครั้งแรก "Your eyes whispered 'have we met?' (แปล: ดวงตาของเธอกระซิบบอกว่า 'เราเคยพบกันมาก่อนรึเปล่า?') / Across the room your silhouette starts to make its way to me, (แปล: ภาพเงาของเธอจากอีกฝั่งหนึ่งของห้องค่อย ๆ เคลื่อนเข้ามาหาฉัน)" พร้อมกับคอร์ดกีตาร์ซ้ำ ๆ[10] ขณะที่เพลงดำเนินไป เธอได้สงสัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีความรักครั้งใหม่ เหนือริฟฟ์กีตาร์ไฟฟ้าและจังหวะกลองที่สม่ำเสมอ[10] สวิฟต์กล่าวว่าท่อนบริดจ์เป็นส่วนที่เธอชอบมากที่สุดเพราะมันแสดงถึงกระแสจิตสำนึกของเธอในขณะที่ประพันธ์เพลงนี้: "Please don't be in love with someone else (แปล: ได้โปรดอย่าไปตกหลุมรักใครเลยนะ) / Please don't have somebody waiting on you. (แปล: ได้โปรดอย่าไปตกหลุมรักใครเลยนะ)"[9] เธอได้กล่าวว่า "รู้สึกดีที่ได้เขียนถึงสิ่งที่คุณคิดในช่วงเวลาหนึ่ง"[9]

ชาร์ต

[แก้]
ตารางการแสดงชาร์ตปี 2010 ของ "เอ็นแชนเต็ด"
ชาร์ต (2010) ตำแหน่ง
สูงสุด
Canada (Canadian Hot 100)[11] 95
US Billboard Hot 100[12] 75
US Country Digital Song Sales (Billboard)[13] 11
ตารางการแสดงชาร์ตปี 2021–2023 ของ "เอ็นแชนเต็ด"
ชาร์ต (2021–2023) ตำแหน่ง
สูงสุด
Australia (ARIA)[14] 27
Canada (Canadian Hot 100)[15] 47
Global 200 (Billboard)[16] 55
Malaysia (RIM)[17] 11
Philippines (Billboard)[18] 13
Singapore (RIAS)[19] 4
UK Streaming (OCC)[20] 74
US Hot 100 Recurrents (Billboard)[21] 4
US Digital Song Sales (Billboard)[22] 37
US Streaming Songs (Billboard)[23] 32
US Country Streaming Songs (Billboard)[24] 9

การับรอง

[แก้]
การรับรองยอดการจำหน่ายของ "เอ็นแชนเต็ด"
ประเทศ การรับรอง จำนวนหน่วยที่รับรอง/ยอดขาย
Australia (ARIA)[25] Platinum 70,000
New Zealand (RMNZ)[26] Platinum 30,000
United Kingdom (BPI)[27] Gold 400,000
United States (RIAA)[28] Gold 500,000

ตัวเลขสตรีมมิงและยอดขายขึ้นอยู่กับการรับรองเพียงอย่างเดียว

เอ็นแชนเต็ด (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)

[แก้]
"เอ็นแชนเต็ด (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)"
เพลงโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์
จากอัลบั้มสปีกนาว (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)
วางจำหน่าย7 กรกฎาคม ค.ศ. 2023 (2023-07-07)
ความยาว5:53
ค่ายเพลงรีพับลิก
ผู้ประพันธ์เพลงเทย์เลอร์ สวิฟต์
โปรดิวเซอร์
  • เทย์เลอร์ สวิฟต์
  • คริสโตเฟอร์ โรว์
วิดีโอเนื้อเพลง
"เอ็นแชนเต็ด (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)" ที่ยูทูบ

หลังจากเซ็นสัญญาฉบับใหม่กับรีพับลิกเรเคิดส์ สวิฟต์ก็เริ่มบันทึกสตูดิโออัลบั้มในหกอัลบั้มแรกของเธออีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020[29] การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากข้อพิพาทสาธารณะในปี ค.ศ. 2019 ระหว่างสวิฟต์และผู้จัดการสกูตเตอร์ เบราน์ ที่ได้ซื้อกิจการบิกมะชีนเร็กเคิดส์ ซึ่งรวมถึงอัลบั้มระดับต่าง ๆ ของสวิฟต์ที่ค่ายเพลงได้เปิดตัวในมาสเตอร์ใหม่ทั้งหมด รวมถึงลิขสิทธิ์เพลงของเธอ[30][31] เวอร์ชันบันทึกซ้ำชื่อ "เอ็นแชนเต็ด (เทย์เลอร์เวอร์ชัน)" เผยแพร่เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2023 ผ่านทางรีพับลิกเรเคิดส์ เป็นส่วนหนึ่งของสปีกนาว (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) อัลบั้มที่บันทึกซ้ำชุดที่สามของสวิฟต์

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 McKenna, Brittany (November 8, 2017). "Why Taylor Swift's Speak Now Is Her Best Album". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 8, 2017. สืบค้นเมื่อ November 8, 2017.
  2. 2.0 2.1 Keefe, Jonathan (October 25, 2010). "Taylor Swift: Speak Now". Slant Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2010. สืบค้นเมื่อ October 25, 2010.
  3. Sodomsky, Sam (August 19, 2019). "Taylor Swift: Speak Now". Pitchfork. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2020. สืบค้นเมื่อ August 19, 2019.
  4. 4.0 4.1 Sheffield, Rob (October 26, 2010). "Speak Now (2010)". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2013. สืบค้นเมื่อ December 20, 2019.
  5. Heaton, Dave (November 28, 2010). "Taylor Swift: Speak Now". PopMatters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 31, 2022. สืบค้นเมื่อ December 8, 2021.
  6. Horton, Matthew (October 25, 2010). "Review of Taylor Swift – Speak Now". BBC Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2021. สืบค้นเมื่อ August 30, 2021.
  7. "10 of the Best Taylor Swift Songs". The Daily Telegraph. December 14, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2020.
  8. Burch, Cathalena E. (November 11, 2010). "Swift can 'Speak Now'". Arizona Daily Star. p. 9. ProQuest 822096738. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 20, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-09-20.
  9. 9.0 9.1 9.2 Willman, Chris (October 18, 2010). "Taylor Swift Confronts Mayer, Laments Lautner in New Album". Yahoo! Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2010. สืบค้นเมื่อ October 28, 2010.
  10. 10.0 10.1 "Taylor Swift's Speak Now Turns 10: Billboard Staff Goes Track-By-Track On Their Favorite Songs". Billboard. October 22, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 4, 2022. สืบค้นเมื่อ April 15, 2022.
  11. "Billboard Canadian Hot 100: Week of November 13, 2010". Billboard. January 2, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2021. สืบค้นเมื่อ November 16, 2021.
  12. "Taylor Swift Chart History (Hot 100)". Billboard. สืบค้นเมื่อ December 8, 2021.
  13. "Taylor Swift Chart History (Country Digital Song Sales)". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2021. สืบค้นเมื่อ November 13, 2021.
  14. "ARIA Top 50 Singles Chart". Australian Recording Industry Association. July 10, 2023. สืบค้นเมื่อ July 7, 2023.
  15. "Taylor Swift Chart History (Canadian Hot 100)". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 23, 2021.
  16. "Taylor Swift Chart History (Global 200)". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 23, 2021.
  17. "Top 20 Most Streamed International + Domestic Songs Week 47 / (19/11/2021-25/11/2021)". RIM. December 4, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2022. สืบค้นเมื่อ December 4, 2021.
  18. "Taylor Swift Chart History (Philippines Songs)". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 11, 2023.
  19. "RIAS Top Charts Week 26 (23 - 29 Jun 2023)". RIAS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2023. สืบค้นเมื่อ July 4, 2023.
  20. "Official Audio Streaming Chart Top 100". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ November 19, 2021.
  21. "Taylor Swift Chart History (Hot 100 Recurrents)". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2022. สืบค้นเมื่อ April 11, 2022.
  22. "Taylor Swift Chart History (Digital Song Sales)". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 23, 2021.
  23. "Taylor Swift Chart History (Streaming Songs)". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2022. สืบค้นเมื่อ November 23, 2021.
  24. "Taylor Swift Chart History (Country Streaming Songs)". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 20, 2021. สืบค้นเมื่อ November 19, 2021.
  25. "ARIA Charts – Accreditations – 2023 Singles" (PDF). Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ June 9, 2023.
  26. "New Zealand single certifications – Taylor Swift – Enchanted". Recorded Music NZ. สืบค้นเมื่อ July 8, 2023.
  27. "British single certifications – Taylor Swift – Enchanted". British Phonographic Industry. สืบค้นเมื่อ July 7, 2023.
  28. "American single certifications – Taylor Swift – Enchanted". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ August 22, 2014.
  29. Melas, Chloe (November 16, 2020). "Taylor Swift Speaks Out about Sale of Her Masters". CTV News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2020. สืบค้นเมื่อ November 19, 2020.
  30. "Taylor Swift Wants to Re-record Her Old Hits". BBC News. August 22, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2019. สืบค้นเมื่อ August 22, 2019.
  31. Finnis, Alex (November 17, 2020). "Taylor Swift Masters: The Controversy around Scooter Braun Selling the Rights to Her Old Music Explained". i. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 12, 2021. สืบค้นเมื่อ February 13, 2021.