ข้ามไปเนื้อหา

งานนิทรรศการโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เอ็กซ์โป)
สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย เสด็จเปิดงานนิทรรศการโลกครั้งแรกเมื่อปี 1851 ภายใต้แนวคิด อุตสาหกรรมแห่งปวงประชาชาติ (Industry of all Nations) กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
เอ็กซ์โป 2005 ที่จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น

งานนิทรรศการโลก (อังกฤษ: world's fair) เป็นชื่อของงานนิทรรศการระดับโลก อยู่ภายใต้การจัดการของสำนักนิทรรศการระหว่างประเทศ (BIE) ซึ่งเป็นองค์กรที่รับรองสิทธิการจัดนิทรรศการนานาชาติ งานนิทรรศการโลกจัดขึ้นครั้งแรกในปี 1851 ที่กรุงลอนดอน

ระหว่างปีค.ศ. 1939–1987 เอ็กซ์โปมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันเท่านั้น ไม่ได้มีขนาดใหญ่โตอย่างเช่นปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เอ็กซ์โป 1988 เป็นต้นมา แต่ละประเทศเริ่มใช้เอ็กซ์โปเป็นเครื่องมือส่งเสริมภาพลักษณ์ของตนเองในระดับสากล สิ่งที่น่าสนใจในเอ็กซ์โปคือการที่พาวิเลียนของประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมจัดแสดงในงานนี้ ซึ่งแต่ละประเทศก็จะนำสิ่งที่น่าสนใจและวัฒนธรรมของตนมานำเสนอ

ประเภทของงาน

[แก้]

งานนิทรรศการโลก แบ่งออกเป็นสามประเภท ดังนี้

  • เวิลด์เอ็กซ์โป (World Expo) เป็นเอ็กซ์โปที่ยิ่งใหญ่ที่สุด จัดขึ้นทุกห้าปี ไม่จำกัดขนาดพื้นที่ ระยะเวลาจัดงานไม่เกินหกเดือน[1] ใช้ต้นทุนไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • เอ็กซ์โปวาระพิเศษ (Specialised Expo) เป็นเอ็กซ์โประดับรอง ซึ่งแทรกระหว่างเวิลด์เอ็กซ์โปสองครั้ง จำกัดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 25 เฮกตาร์[2] ระยะเวลาจัดงานไม่เกินสามเดือน ใช้ต้นทุนไม่เกินสองร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • มหกรรมพืชสวนนานาชาติ (International Horticultural Exhibition) เป็นงานแสดงพืชสวนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

รายชื่องานนิทรรศการโลก

[แก้]

เวิลด์เอ็กซ์โป (World Expo)

[แก้]
ช่วงจัด ชื่อของงาน ประเทศเจ้าภาพ[3] เมือง[3] ประเภทงาน
04/1851 – 10/1851 The Great Exhibition  สหราชอาณาจักร ลอนดอน เวิลด์เอ็กซ์โป
05/1855 – 11/1855 Exhibition Universelle / Paris International  ฝรั่งเศส ปารีส เวิลด์เอ็กซ์โป
05/1862 – 11/1862 International Exhibition  สหราชอาณาจักร ลอนดอน เวิลด์เอ็กซ์โป
04/1867 – 11/1867 Exposition Universelle / Paris International  ฝรั่งเศส ปารีส เวิลด์เอ็กซ์โป
05/1873 – 10/1873 Weltausstellung 1873 Wien / Austrian International Exposition ออสเตรีย-ฮังการี ออสเตรีย-ฮังการี เวียนนา เวิลด์เอ็กซ์โป
05/1876 – 11/1876 Centennial Exposition  สหรัฐ ฟิลาเดลเฟีย เวิลด์เอ็กซ์โป
05/1878 – 11/1878 Exposition Universelle / Paris International Exposition  ฝรั่งเศส ปารีส เวิลด์เอ็กซ์โป
10/1880 – 04/1881 Melbourne International Exhibition  ออสเตรเลีย เมลเบิร์น เวิลด์เอ็กซ์โป
04/1888 – 12/1888 Exposición Universal de Barcelona  สเปน บาร์เซโลนา เวิลด์เอ็กซ์โป
05/1889 – 10/1889 Exposition Universelle / Paris International Exposition  ฝรั่งเศส ปารีส เวิลด์เอ็กซ์โป
05/1893 – 10/1893 World's Columbian Exposition  สหรัฐ ชิคาโก เวิลด์เอ็กซ์โป
05/1897 – 11/1897 Brussels International Exposition  เบลเยียม บรัสเซลส์ เวิลด์เอ็กซ์โป
04/1900 – 11/1900 Paris International  ฝรั่งเศส ปารีส เวิลด์เอ็กซ์โป
04/1904 – 12/1904 Louisiana Purchase  สหรัฐ เซนต์หลุยส์ เวิลด์เอ็กซ์โป
04/1905 – 11/1905 Liège International  เบลเยียม ลีแยฌ เวิลด์เอ็กซ์โป
04/1906 – 11/1906 Milan International  อิตาลี มิลาน เวิลด์เอ็กซ์โป
04/1910 – 11/1910 Brussels International Exhibition  เบลเยียม บรัสเซลส์ เวิลด์เอ็กซ์โป
04/1913 – 11/1913 Exposition universelle et international / Ghent International Exposition  เบลเยียม เกนต์ เวิลด์เอ็กซ์โป
02/1915 – 12/1915 Panama–Pacific International Exposition  สหรัฐ ซานฟรานซิสโก เวิลด์เอ็กซ์โป
05/1929 – 01/1930 Barcelona International Exposition  สเปน บาร์เซโลนา เวิลด์เอ็กซ์โป
05/1933 – 10/1934 Century of Progress  สหรัฐ ชิคาโก เวิลด์เอ็กซ์โป
04/1935 – 11/1935 Brussels International Exposition  เบลเยียม บรัสเซลส์ เวิลด์เอ็กซ์โป
05/1937 – 11/1937 Exposition Internationale des Arts et Techniques dans la Vie Moderne / Paris International Exposition  ฝรั่งเศส ปารีส เวิลด์เอ็กซ์โป
04/1939 – 10/1940 New York World's Fair  สหรัฐ นิวยอร์ก เวิลด์เอ็กซ์โป
12/1949 – 06/1950 Exposition internationale du bicentenaire de Port-au-Prince  เฮติ ปอร์โตแปรงซ์ เวิลด์เอ็กซ์โป
07/1958 – 09/1958 Brussels World's Fair  เบลเยียม บรัสเซลส์ เวิลด์เอ็กซ์โป
04/1962 – 10/1962 Century 21 Exposition  สหรัฐ ซีแอตเทิล เวิลด์เอ็กซ์โป
04/1964 – 10/1965 1964 New York World's Fair  สหรัฐ นิวยอร์ก เวิลด์เอ็กซ์โป
04/1967 – 10/1967 เอ็กซ์โป '67  แคนาดา มอนทรีออล เวิลด์เอ็กซ์โป
03/1970 – 09/1970 เอ็กซ์โป '70  ญี่ปุ่น โอซากะ เวิลด์เอ็กซ์โป
04/1992 – 10/1992 เอ็กซ์โป '92  สเปน เซบิยา เวิลด์เอ็กซ์โป
06/2000 – 10/2000 เอ็กซ์โป 2000  เยอรมนี ฮันโนเฟอร์ เวิลด์เอ็กซ์โป
03/2005 – 09/2005 เอ็กซ์โป 2005  ญี่ปุ่น จังหวัดไอจิ เวิลด์เอ็กซ์โป
05/2010 – 10/2010 เอ็กซ์โป 2010  จีน เซี่ยงไฮ้ เวิลด์เอ็กซ์โป
05/2015 – 10/2015 เอ็กซ์โป 2015  อิตาลี มิลาน เวิลด์เอ็กซ์โป
10/2021 – 04/2022 เอ็กซ์โป 2020  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดูไบ เวิลด์เอ็กซ์โป
04/2025 – 10/2025 เอ็กซ์โป 2025  ญี่ปุ่น โอซากะ เวิลด์เอ็กซ์โป
10/2030 – 03/2031 เอ็กซ์โป 2030  ซาอุดีอาระเบีย ริยาด เวิลด์เอ็กซ์โป

เอ็กซ์โปวาระพิเศษ (Specialised Expo)

[แก้]
ช่วงจัด ชื่อของงาน ประเทศเจ้าภาพ[3] เมือง[3] ประเภทงาน
05/1936 – 06/1936 ILIS 1936  สวีเดน สต็อกโฮล์ม เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
05/1938 – 05/1938 Second International Aeronautic Exhibition  ฟินแลนด์ เฮลซิงกิ เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
05/1939 – 09/1939 Exposition internationale de l'eau (1939)  เบลเยียม ลีแยฌ เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
07/1947 – 08/1947 International Exhibition on Urbanism and Housing  ฝรั่งเศส ปารีส เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
07/1949 – 08/1949 Universal Sport Exhibition (1949)  สวีเดน สต็อกโฮล์ม เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
09/1949 – 10/1949 The International Exhibition of Rural Habitat in Lyon  ฝรั่งเศส ลียง เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
04/1951 – 05/1951 The International Textile Exhibition  ฝรั่งเศส ลีล เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
07/1953 – 10/1953 EA 53  อิตาลี โรม เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
09/1953 – 10/1953 Conquest of the Desert (exhibition)  อิสราเอล เยรูซาเลม เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
05/1954 – 10/1954 The International Exhibition of Navigation (1954)  อิตาลี นาโปลี เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
05/1955 – 06/1955 The International Expo of Sport (1955)  อิตาลี ตูริน เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
06/1955 – 08/1955 Helsingborg exhibition 1955  สวีเดน เฮลซิงบอรย์ เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
05/1956 – 06/1956 Exhibition of citriculture  อิสราเอล เบทดากาน เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
07/1957 – 09/1957 Interbau  เยอรมนีตะวันตก เบอร์ลิน เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
05/1961 – 10/1961 เอ็กซ์โป 61  อิตาลี ตูริน เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
06/1965 – 10/1965 IVA 65  เยอรมนีตะวันตก มิวนิก เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
04/1968 – 10/1968 HemisFair '68  สหรัฐ แซนแอนโทนีโอ เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
08/1971 – 09/1971 เอ็กซ์โป 71  ฮังการี บูดาเปสต์ เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
05/1974 – 11/1974 เอ็กซ์โป '74  สหรัฐ สโปแคน เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
07/1975 – 01/1976 เอ็กซ์โป '75  ญี่ปุ่น จังหวัดโอกินาวะ เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
06/1981 – 07/1981 เอ็กซ์โป 81  บัลแกเรีย พลอฟดิฟ เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
05/1982 – 10/1982 1982 World's Fair  สหรัฐ น็อกซ์วิลล์ เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
05/1984 – 11/1984 1984 World's Fair  สหรัฐ นิวออร์ลีนส์ เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
03/1985 – 09/1985 1985 World's Fair  ญี่ปุ่น สึกูบะ เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
11/1985 – 11/1985 เอ็กซ์โป 85  บัลแกเรีย พลอฟดิฟ เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
05/1986 – 10/1986 เอ็กซ์โป '86  แคนาดา แวนคูเวอร์ เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
04/1988 – 10/1988 เอ็กซ์โป '88  ออสเตรเลีย บริสเบน เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
06/1991 – 07/1991 เอ็กซ์โป 91  บัลแกเรีย พลอฟดิฟ เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
05/1992 – 08/1992 เอ็กซ์โป โคลอมโบ '92  อิตาลี เจนัว เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
08/1993 – 11/1993 เอ็กซ์โป '93  เกาหลีใต้ แทจ็อน เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
05/1998 – 09/1998 เอ็กซ์โป '98  โปรตุเกส ลิสบอน เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
06/2008 – 09/2008 เอ็กซ์โป 2008  สเปน ซาราโกซา เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
05/2012 – 08/2012 เอ็กซ์โป 2012  เกาหลีใต้ ยอซู เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
06/2017 – 09/2017 เอ็กซ์โป 2017  คาซัคสถาน อัสตานา เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
01/2023 – 04/2023 เอ็กซ์โป 2023  อาร์เจนตินา บัวโนสไอเรส เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
05/2027 – 08/2027 เอ็กซ์โป 2027  เซอร์เบีย เบลเกรด เอ็กซ์โปวาระพิเศษ

มหกรรมพืชสวน

[แก้]

งานมหกรรมพืชสวนก็เช่นเดียวกัน ที่จะต้องได้รับรองมาตรฐานจาก สำนักนิทรรศการระหว่างประเทศ (BIE)[4]


สิ่งเปิดตัวในงานนิทรรศการโลก

[แก้]
  • 1851 คริสตัลพาเลซ / ปืนรีไวลเลอร์ / ยางกู๊ดเยียร์
  • 1855 จักรเย็บผ้าซิงเกอร์
  • 1867 ปืนใหญ่จากดรัปป์ / ลิฟต์ไฮดรอลิก / คอนกรีตเสริมเหล็ก
  • 1876 โทรศัพท์โดยเบลล์ / โทรศัพท์โดยเอดิสัน / หัวรถจักรไอน้ำโดยคอร์ลิส / ซอสมะเขือเทศไฮนซ์ / เครื่องพิมพ์ดีด
  • 1878 เทพีแห่งเสรีภาพ / อักษรเบรลล์ / กฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางวรรณกรรม (ลิขสิทธิ์) / ระบบแสงไฟฟ้าอาคารที่มีระบบควบคุมอากาศ
  • 1893 สวนสนุกและกระเช้าสวรรค์ / เครื่องถ่ายภาพยนตร์ / หลอดฟลูออเรสเซนต์ / ชิป
  • 1900 บันไดเลื่อน / ภาพยนตร์ / ศิลปะแบบอาร์ต นูโว
  • 1901 เครื่องเอ็กซ์เรย์
  • 1904 ไอศกรีมโคน
  • 1915 คลองปานามา
  • 1939 โทรทัศน์ / หุ่นยนต์พูดได้
  • 1958 อะโตเมียม บรัสเซลส์
  • 1962 สเปซ นีเดิล ซีแอตเติล
  • 1970 โทรศัพท์เคลื่อนที่ / หินจากดวงจันทร์ / รถพลังงานไฟฟ้า /รถไฟระบบรางแม่เหล็ก
  • 1974 ไอแม็กซ์
  • 1985 หุ่นยนต์
  • 1998 พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำลิสบอน
  • 2005 หุ่นยนต์อาซิโม
  • 2008 บริดจ์ พาวิลเลียน ซาราโกซา[5]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bureau International des Expositions. About World Expos
  2. Bureau International des Expositions. About Specialised Expos
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "List of International Exhibitions". สืบค้นเมื่อ 14 July 2006.
  4. Horticultural Expo
  5. จากหนังสือ 150 ปี แห่งศาสต์และศิลป์ไทยในมหกรรมโลก World Expo, สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน), ISBN 978-616-7377-10-0