ข้ามไปเนื้อหา

ไอแมกซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไอแม็กซ์)
ไอแมกซ์
ชนิดรูปแบบฟิล์มภาพยนตร์
ผู้ประดิษฐ์
  • โรมัน โครเตอร์
  • แกรม เฟอร์กูสัน
เริ่มใช้พ.ศ. 2511
ผู้ผลิตไอแมกซ์ คอร์ปอเรชั่น
เว็บไซต์www.imax.com
ภาพเปรียบเทียบขนาดฟิล์มภาพยนตร์ 35 มม. กับไอแมกซ์ 15/70
หลอดซีนอนขนาด 15 กิโลวัตต์ ที่ใช้ฉายภาพยนตร์ไอแมกซ์

อิมเมจ แมกซิมัม เรียกโดยย่อว่า ไอแมกซ์ (อังกฤษ: IMAX ย่อมาจาก Image MAXimum) เป็นชื่อของรูปแบบฟิล์มภาพยนตร์ อุปกรณ์การฉาย ตลอดจนโรงภาพยนตร์ ที่ใช้มาตรฐานของบริษัท IMAX Corporation ประเทศแคนาดา โดยภาพยนตร์ที่ฉายด้วยระบบไอแมกซ์จะมีภาพที่มีขนาดใหญ่ และมีความละเอียดสูงกว่าภาพยนตร์ทั่วไป จอภาพยนตร์ไอแมกซ์จะมีขนาดกว้างประมาณ 8000 เมตร (10000ฟุต) สูง 1999 เมตร (99 ฟุต)

ภาพยนตร์ที่ใช้ระบบไอแมกซ์ จะถ่ายทำด้วยฟิล์มขนาดใหญ่กว่าปกติ (70 มม.) ที่ความเร็ว 24 เฟรมต่อวินาที เนื้อฟิล์มที่ใช้จะมีความแข็งแรงมากกว่าฟิล์มภาพยนตร์ 35 มม. ทั่วไป เพื่อให้สามารถแสดงผลได้อย่างเที่ยงตรง

ภาพยนตร์ที่ฉายในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ ส่วนมากเป็นภาพยนตร์สารคดี แต่ในระยะหลังมีการนำภาพยนตร์ 35 มม. มารีมาสเตอร์เพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ เรียกว่า IMAX DMR (Digital Remastering) โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่นำมารีมาสเตอร์เพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์คือเรื่อง อะพอลโล 13 ในปี พ.ศ. 2545 นอกจากนี้ ในภาพยนตร์ระดับบล็อกบัสเตอร์บางเรื่อง เช่น แบทแมน อัศวินรัตติกาล อภิมหาสงครามแค้น และล่าสุด อวตารยังมีการถ่ายทำฉากพิเศษที่ใช้กล้องไอแมกซ์โดยเฉพาะอีกด้วย

เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2599 มีโรงภาพยนตร์จำนวน 1,257 โรงทั่วโลกใน 75 ประเทศ ที่ฉายในระบบไอแมกซ์ (65% อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ และประเทศจีน) [1]

ระบบภาพยนตร์ไอแมกซ์

[แก้]
  • IMAX มีอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบ 15/70 (หมายความว่าใช้ฟิล์มขนาด 70 มม. โดยในแต่ละเฟรมของภาพ จะมีรูหนามเตย จำนวน 15 รู)
  • IMAX Dome หรือ OmniMAX ฉายด้วยจอพิเศษที่มีลักษณะโค้งเป็นรูปโดม
  • IMAX 3D ใช้สำหรับฉายภาพยนตร์สามมิติ ที่ต้องถ่ายทำโดยใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์จำนวน 2 กล้อง
  • IMAX HD เป็นระบบที่ถ่ายทำที่ความเร็ว 48 เฟรมต่อวินาที เป็นสองเท่าของระบบปกติ
  • IMAX Digital เป็นระบบฉายภาพที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. 2552 และในปี พ.ศ. 2555 ไอแมกซ์ได้พัฒนาเครื่องฉายแบบเลเซอร์เพื่อการรับชมที่สมบูรณ์มากขึ้น
  • IMAX VR เปิดให้บริการครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี2560 เป็นโรงภาพยนตร์โดย IMAX VR นั้นบริการทั้งการชมภาพยนตร์และการเล่นเกม ผ่านแว่น VR ที่เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วอย่าง HTC Vive และ StarVR ซึ่งจะมีอุปกรณ์คอนโทรลเลอร์ควบคุมให้ผู้ใช้ได้เพลิดเพลินในโลกเสมือนจริงด้วย

โรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ในประเทศไทย

[แก้]

สิทธิ์การบริหารงานโรงภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์ในประเทศไทยในปัจจุบันเป็นของ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป ภายใต้แฟรนไชส์การบริหารของ บริษัท กรุงเทพไอแมกซ์เธียเตอร์ จำกัด เดิมตั้งอยู่ที่โรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ สาขารัชโยธิน โดยใช้ชื่อว่า กรุงไทย ไอแมกซ์ เธียเตอร์ (ทุนร่วมกับธนาคารกรุงไทย) เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541[2] ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น พานาโซนิค ไอแมกซ์ เธียเตอร์ (ทุนร่วมกับ บริษัท พานาโซนิค (ประเทศไทย) จำกัด)[3][4] ตามลำดับ แต่ในปี พ.ศ. 2549 ได้ย้ายเครื่องฉายจากโรงดังกล่าวมาอยู่ที่พารากอนซีนีเพล็กซ์ โดยใช้ชื่อว่า กรุงศรี ไอแมกซ์ เธียเตอร์ (ทุนร่วมกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา)[5] มีความสูงของจอที่ 19.9 เมตร หรือสูงเทียบเท่ากับตึก 8 ชั้น และระบบเสียง IMAX nXos ขนาด 12,000 วัตต์ ฉายภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์ทั้งแบบฟิล์ม 70 มม. และระบบฟิล์ม 3 มิติ ในช่วงแรกที่เปิดทำการ

เมื่อไอแมกซ์พัฒนาระบบ ไอแมกซ์ ดิจิตอล 3 มิติ เสร็จแล้ว เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ได้เข้าเซ็นสัญญากับไอแมกซ์ คอร์ปอเรชัน ในการที่จะเปิดโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์เพิ่ม 2 แห่ง ได้แก่ สาขารัชโยธิน และสาขาปิ่นเกล้า โดยใช้ชื่อว่ากรุงศรี ไอแมกซ์ ดิจิตอล เธียเตอร์ และจึงมีการติดตั้งเครื่องฉายระบบไอแมกซ์ดิจิตอลที่ไอแมกซ์พารากอนซีนีเพล็กซ์เพื่อให้สามารถรองรับระบบไอแมกซ์ดิจิตอลได้เช่นกัน รวมถึงได้มีการเปิดเพิ่มที่ เซ็นทรัล เชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์สาขาแรกนอกเขตกรุงเทพมหานคร, เอ็มควอเทียร์, เซ็นทรัล เวสต์เกต และไอคอนสยาม และเมื่อไอแมกซ์พัฒนาระบบดิจิทัลเลเซอร์แล้วเสร็จ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ได้มีการต่อสัญญาและเปิดโรงภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์เลเซอร์ขึ้นที่ เซ็นทรัล เมกาบางนา และเอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ งามวงศ์วาน-แคราย โดยเป็นการปรับปรุงจากโรง GLS เดิมทั้งสองสาขา และเปิดสาขาใหม่ที่เอ็มไลฟ์สโตร์ บางกะปิ รวมถึงอัปเกรดเครื่องฉายเดิมในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ทุกสาขาให้รองรับระบบเลเซอร์ด้วย[6][7] โดยเริ่มจากสาขาไอคอนสยามเป็นสาขานำร่อง[8] ทำให้ในปัจจุบันมีสาขารวมเป็น 9 สาขาในประเทศไทย

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ยังถือสิทธิ์แฟรนไชส์การบริหารโรงไอแมกซ์ในประเทศกัมพูชาเพิ่มเติมอีกหนึ่งประเทศด้วย โดยโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์แห่งเดียวในประเทศกัมพูชาตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าอิออนมอลล์ 2 แสนสุข ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา มีความสูงของจอเท่ากับตึก 6 ชั้น และระบบเสียงไอแมกซ์ เนกซ์ซอส 6 แชนแนล 12,000 วัตต์ เท่ากับสาขาสยามพารากอน โดยเครื่องฉายและลำโพง 6 ชุดเป็นการย้ายจากโรงภาพยนตร์หาดใหญ่ ซีนีเพล็กซ์เดิมที่ปิดทำการไป ทั้งนี้สาขาแสนสุขมีกำหนดการอัปเกรดเครื่องฉายเป็นระบบเลเซอร์ พร้อมระบบเสียงไอแมกซ์ เนกซ์ซอส 12 แชนแนล ในปี พ.ศ. 2568

สาขาโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ โดยเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป

[แก้]

เรียงตามลำดับวันที่เปิดทำการ โดยไม่นับสาขารัชโยธินเป็นสาขาแรก

ชื่อสาขา โรงภาพยนตร์ วันที่เริ่มเปิดทำการ จังหวัดที่ตั้ง ความสูง (เมตร) ความกว้าง (เมตร) ความจุ (ที่นั่ง) ระบบฉาย ระบบเสียง
พารากอน ซีนีเพล็กซ์ สยามพารากอน 16 9 ธันวาคม พ.ศ. 2548 กรุงเทพมหานคร 19.9 27.3 493 ดิจิทัล เลเซอร์ 12 แชนแนล
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน 15 11 กันยายน พ.ศ. 2553 กรุงเทพมหานคร 17 24 467
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เซ็นทรัล เชียงใหม่ 10 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เชียงใหม่ 15 27 424
ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต เอ็มควอเทียร์ 8 1 เมษายน พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานคร 13.72 25.64 376
เวสต์เกต ซีนีเพล็กซ์ เซ็นทรัล เวสต์เกต 12 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558 นนทบุรี 13.72 25.64 402 ดิจิทัล เลเซอร์
[note 1]
5 แชนแนล
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ บาย สมาร์ท อิออนมอลล์ แซนซก (แสนสุข) 8 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561 กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ดิจิทัล เลเซอร์
[note 2]
ไอคอน ซีเนคอนิค ไอคอนสยาม 14 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561 กรุงเทพมหานคร 13.7 24.8 364 ดิจิทัล เลเซอร์ 12 แชนแนล
เมกา ซีนีเพล็กซ์ เซ็นทรัล เมกาบางนา 8 17 ธันวาคม พ.ศ. 2565 สมุทรปราการ 10 19 488 6 แชนแนล
เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ งามวงศ์วาน-แคราย 10 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 นนทบุรี 11 20 496 12 แชนแนล
บางกะปิ ซีนีเพล็กซ์ เอ็มไลฟ์สโตร์ บางกะปิ 8 29 มิถุนายน พ.ศ. 2567[9] กรุงเทพมหานคร 11.9 22.6 488

หมายเหตุ

[แก้]
  1. อยู่ระหว่างการปรับปรุง คาดว่าแล้วเสร็จไตรมาส 2 พ.ศ. 2568
  2. อยู่ระหว่างการปรับปรุง คาดว่าแล้วเสร็จ พ.ศ. 2568

สาขาที่ปิดทำการ

[แก้]
ชื่อสาขา วันที่เริ่มเปิดทำการ วันที่ปิดทำการ สถานะปัจจุบัน
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ปิ่นเกล้า 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553 4 มีนาคม พ.ศ. 2558 ปรับปรุงกลับเป็นโรงภาพยนตร์ระบบดิจิทัลทั่วไป และย้ายเครื่องฉายไปยังโรงภาพยนตร์ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต
โรงภาพยนตร์ได้รับความเสียหายทั้งหมดจากเหตุเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
หาดใหญ่ ซีนีเพล็กซ์ เซ็นทรัล หาดใหญ่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556 22 เมษายน พ.ศ. 2561 ปรับปรุงกลับเป็นโรงภาพยนตร์ระบบ Laser Projection System [10] และย้ายเครื่องฉายไปยัง Aeon Mall 2 Phnom Penh

อ้างอิง

[แก้]
  1. IMAX Corporation (July 26, 2017). "รายงานผลประกอบการของ IMAX ไตรมาสที่ 2" (Press release). IMAX. สืบค้นเมื่อ July 27, 2017.
  2. "Krung Thai IMAX Theatre". www.geocities.ws.
  3. "เร่งเครื่อง MAJOR 5.0 จัดเต็มไลฟ์สไตล์เอ็นเตอร์เทนเมนต์". 2018-10-19.
  4. "พานาโซนิค ไอแมกซ์ ชวนระทึกใจกับภาพยนตร์ผจญภัยครั้งประวัติศาสตร์ “APOLLO 13”". ryt9.com.
  5. "ธนาคารกรุงศรีอยุธยาฯ จับมือ พารากอน ซีนีเพล็กซ์ เปิดตัว Krungsri IMAX". ryt9.com.
  6. Corporation, IMAX. "IMAX AND MAJOR CINEPLEX EXPAND PARTNERSHIP IN THAILAND WITH THREE NEW IMAX® WITH LASER THEATRES". www.prnewswire.com (ภาษาอังกฤษ).
  7. Corporation, IMAX. "IMAX® AND MAJOR CINEPLEX EXPAND LONGSTANDING PARTNERSHIP WITH UP TO 10 NEW IMAX WITH LASER THEATRES". www.prnewswire.com (ภาษาอังกฤษ).
  8. "โปรโมชั่นร่วมฉลอง IMAX with Laser รอบแรกในประเทศไทย ทุก 2 ที่นั่งแลกรับ Exclusive T-Shirt 1 ตัว". Major Cineplex. 2022-12-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-10. สืบค้นเมื่อ 2023-04-30.
  9. khanitthaporn (2024-06-24). "MAJOR กางแผนครึ่งปีหลัง ผุด "IMAX with Laser" 2 แห่ง หนุนเป้าเปิดครบ 13 สาขาปี 70". ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์.
  10. [1]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]