ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกี
สมเด็จพระราชินีแห่งชาวเฮเลนส์
ดำรงพระยศ1 เมษายน ค.ศ. 1947 - 6 มีนาคม ค.ศ. 1964
ก่อนหน้าเอลิซาเบธ
ถัดไปอันนา-มาเรีย
พระราชสมภพ18 เมษายน ค.ศ. 1917(1917-04-18)
บรานเคนเบิร์ก อาร์ม ฮาร์ส ดัชชีเบราน์ชไวค์ จักรวรรดิเยอรมัน
สวรรคต6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1981(1981-02-06) (63 ปี)
มาดริด ประเทศสเปน
ฝังพระศพ12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1981
สุสานหลวง พระราชวังตาทอย ประเทศกรีซ
คู่อภิเษกสมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ
พระราชบุตรสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน
สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ
เจ้าหญิงไอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์ก
พระนามเต็ม
เฟรเดอริกา หลุยส์ ไธรา วิกตอเรีย โอลกา ซิซิลี อิสซาเบล คริสตินา
ราชวงศ์
พระราชบิดาเออร์เนสต์ ออกุสตุส ดยุกแห่งบรันสวิก
พระราชมารดาเจ้าหญิงวิคโทรีอา ลูอีเซอ แห่งปรัสเซีย
ลายพระอภิไธย
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
ธงประจำพระองค์
การทูลHer Majesty
(ใต้ฝ่าละอองพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับYour Majesty
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)

สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ (กรีก: Φρειδερίκη των Ελλήνων) หรือพระนามจริงคือ ฟรีเดอรีเคอแห่งฮันโนเฟอร์ (เยอรมัน: Friederike von Hannover) เป็นเจ้าหญิงเยอรมันซึ่งอภิเษกสมรสเข้าสู่พระราชวงศ์กรีซในฐานะพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ พระนางจึงมีพระยศเป็นสมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ

ช่วงต้นของชีวิต

[แก้]

เจ้าหญิงฟรีเดอรีเคอประสูติในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1917 ณ เมืองบรานเคนเบิร์ก อาร์ม ฮาร์ส ประเทศเยอรมนี พระนางเป็นพระราชธิดาใน เออร์เนสต์ ออกุสตุส ดยุกแห่งบรันสวิก และเจ้าหญิงวิคโทรีอา ลูอีเซอ แห่งปรัสเซีย ผู้ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีกับเจ้าหญิงออกัสตา วิคตอเรียแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ เจ้าหญิงเฟรเดอริกาทรงเป็นธิดาในเจ้าชายสายราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ พระนางจึงมีพระยศเป็น เจ้าหญิงฟรีเดอรีเคอแห่งฮันโนเฟอร์,สหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ และทรงเป็นดัสเชสเฟรเดอริกาแห่งบรันสวิก - ลุนเบิร์ก

พระนางเป็นพระปนัดดาใน จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระวรราชกุมารี ผู้ซึ่งเป็นพระราชธิดาองค์โตในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร

จากความสัมพันธ์นี้พระนางเป็นพระญาติห่างๆในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรและเป็นพระญาติห่าง ๆ ในเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระด้วย พระนางทรงเป็นทายาทโดยผ่านทางพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร เมื่อประสูติพระนางจึงอยู่ในลำดับที่ 34 ในการสืบราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร ถึงแม้ว่าทรงไม่เคยได้รับพระยศแบบอังกฤษ

อภิเษกสมรส

[แก้]
สมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซและสมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ

ในปี ค.ศ. 1936 มกุฎราชกุมารพอลแห่งกรีซ ได้ขออภิเษกสมรสพระนางที่กรุงเบอร์ลิน เมื่อพระองค์เสด็จไปที่นั่นเพื่อเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 การหมั้นของทั้ง 2 พระองค์ได้ประกาศขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1937 ในวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1938 ทรงอภิเษกสมรสกันที่กรุงเอเธนส์ เจ้าชายปัฟโลสเป็นพระโอรสในพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซและเจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย ผู้เป็นพระขนิษฐาในจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี เจ้าชายปัฟโลสทรงเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์เนื่องจากพระเชษฐาคือ สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซทรงไม่มีทายาท

ในช่วงต้นของการอภิเษกสมรสทรงประทับอยู่ที่ วิลลา ฟิไซโก ในกรุงเอเธนส์ 10 เดือนหลังการอภิเษกสมรสทรงให้กำเนิดพระธิดา 1 พระองค์คือ เจ้าหญิงโซเฟีย ซึ่งในอนาคตคือ สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน และกำเนิดพระโอรสคือ เจ้าชายคอนสแตนติน

สงครามและการลี้ภัย

[แก้]

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เดือนเมษายน ค.ศ. 1941 พระราชวงศ์กรีกได้อพยพไปที่เกาะครีตโดยเรือเหาะซันเดอร์แลนด์ สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 และพระราชวงศ์ที่เหลือได้ตั้งถิ่นฐานที่แอฟริกาใต้ ที่นี่พระธิดาองค์สุดท้องคือ เจ้าหญิงไอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์กได้ประสูติขึ้นในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 แจน สมุทส์ผู้นำแอฟริกาใต้ได้รับพระธิดามาอุปถัมภ์

หลังจากนั้นไม่นานกองทัพเยอรมันได้โจมตีเกาะครีต พระนางและพระราชวงศ์ต้องอพยพอีกครั้ง ได้ตั้งคณะรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นที่ลอนดอน ในตอนท้ายพระราชวงศ์ได้ตั้งถิ่นฐานในอียิปต์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1946 ชาวกรีกได้มีประชามติฟื้นฟูราชวงศ์ พระเจ้าจอร์จได้ขึ้นครองราชย์ มกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารีได้กลับไปอยู่ที่วิลลา ฟิไซโก

พระสวามีครองราชย์

[แก้]
สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีกับสมเด็จพระเจ้าปัฟโลสเสด็จเยือน USS Providence (CL-82) ที่กรุงเอเธนส์ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1947

ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1947 พระสวามีของพระนางฟรีแดรีกีได้ขึ้นครองราชสมบัติพระนาม สมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ พระนางได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินี ความไม่มั่นคงของการเมืองคอมมิวนิสต์ในทางเหนือของกรีซนำไปสู่ สงครามกลางเมืองกรีซ กษัตริย์และพระราชินีได้เสด็จไปยังทางตอนเหนือของกรีซภายใต้การรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดเพื่อร้องขอความจงรักภักดีในฤดูร้อน ค.ศ. 1947

ระหว่างสงครามกลางเมือง พระราชินีฟรีแดรีกีทรงก่อตั้งค่ายราชินี หรือเมืองเด็ก มีเครือข่าย 53 ค่าย ทั่วกรีซ พระนางทรงจัดตั้งเพื่อดูแลเด็กกำพร้าและเด็กจากครอบครัวยากไร้ ในค่ายมีที่พัก,อาหาร,การศึกษาเพื่อการพัฒนาเด็ก

สงครามกลางเมืองกรีกจบลงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1949 เป็นโอกาสที่ดีของเหล่าผู้ปกครองที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบอบกษัตริย์ ทั้ง 2 พระองค์ให้ความสำคัญกับการเยือนต่างประเทศคือ โจซิป โบรซ ติโตในเบลเกรด ประธานาธิบดีลุยกิ อายเนาดีแห่งอิตาลีที่โรม ธีโอดอร์ เฮิสแห่งเยอรมนีตะวันตก เบชารา เอล โควรีแห่งเลบานอน สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย จักรกาวาตี ราชาโกปาลาชาลีแห่งอินเดีย สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร และทรงเป็นแขกของประธานาธิบดีดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์แห่งสหรัฐอเมริกา

ในวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1953 พระนางปรากฏในนิตยสารไลฟ์ของอเมริกาในฐานะแขกของอเมริกา พระนางทรงเดินทางไปทั่วโลก ในปีนั้นพระนางปรากฏอยู่บนปกนิตยสารไทม์ ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1962 พระธิดาองค์โต เจ้าหญิงโซเฟียได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายฆวน คาร์โลสแห่งสเปนที่กรุงเอเธนส์

สมเด็จพระพันปีหลวง

[แก้]

ในวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1964 สมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ เสด็จสวรรคต และพระโอรสของพระนางได้สืบราชสมบัติต่อเป็น สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอันเนอ-มารีแห่งเดนมาร์กหลังจากปีนั้นในวันที่ 18 กันยายน สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระพันปีหลวง ทรงเข้าร่วมพระราชพิธีสำคัญเช่นการรับศีลล้างบาปของพระนัดดาทั้งที่กรีซและสเปน

เสด็จลี้ภัย

[แก้]

ความขัดแย้งระหว่างสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินกับนายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอูลทำให้เกิดการปฏิวัติโดยทหารในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1967 ทำให้เกิดยุครุ่งเรืองของรัฐบาลทหารกรีซ ในขั้นต้นพระราชาธิบดีคอนสแตนตินทรงร่วมมือกับรัฐบาลทหาร ทีได้สาบานว่าจะสนับสนุนระบอบกษัตริย์ แต่ในตอนหลังพระองค์มีความตั้งใจที่จะฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยแต่ล้มเหลวทำให้ต้องเสด็จออกจากประเทศ

ในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1973 รัฐบาลทหารได้ทำการล้มล้างสถาบันกษัตริย์กรีซโดยปราศจากการเห็นชอบจากประชาชน ประชาชนได้เห็นชอบกับระบอบสาธารณรัฐ ดังนั้นประมุขใหม่ของกรีซคือ ประธานาธิบดีจอร์จ ปาปาโดเปาลอส

รัฐบาลเผด็จการได้สิ้นสุดในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1974 และไม่มีการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ ได้มีการลงประชามติเกี่ยวกับสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนติน ร้อยละ 70 สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ

บั้นปลาย

[แก้]

สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีสวรรคตในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1981 ในช่วงการลี้ภัยที่กรุงมาดริดในระหว่างการผ่าตัดดวงพระเนตร ได้มีการรายงานการสวรรคตของพระนางในหนังสือพิมพ์ เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ว่าทรงสวรรคตระหว่างการผ่าตัดเปลือกพระเนตรที่ซึ่งทรงไปผ่าตัดบ่อยๆ แต่มีข่าวลือว่าพระนางสวรรคตจากการศัลยกรรมพระเนตร บางแหล่งข่าวรายงานว่า พระนางสวรรคตจากภาวะพระหทัยวาย พระศพของพระนางได้ฝังที่ พระราชวังตาโตย

พระอิศริยยศ

[แก้]
  • 18 มีนาคม ค.ศ. 1917 - 9 มกราคม ค.ศ. 1938: เจ้าหญิงฟรีเดอรีเคอแห่งฮันโนเฟอร์
  • 9 มกราคม ค.ศ. 1938 - 1 เมษายน ค.ศ. 1947: มกุฎราชกุมารีแห่งกรีซ
  • 1 เมษายน ค.ศ. 1947 - 6 มีนาคม ค.ศ. 1964: สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ
  • 6 มีนาคม ค.ศ. 1964 - 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1981: สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ

พระราชตระกูล

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. เออร์เนส ออกุสตุสที่ 1 แห่งฮันโนเฟอร์
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งฮันโนเฟอร์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจ้าหญิงเฟรเดอริกาแห่งแม็คเลนบูร์ก - สเตรลิตซ์
 
 
 
 
 
 
 
4. มกุฎราชกุมารเออร์เนสต์ ออกุสตุสแห่งฮันโนเฟอร์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. ดยุคโจเซฟแห่งแซ็กซ์ - เอลเทนเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงมารีแห่งแซ็กซ์ - เอลเทนเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. ดัสเชสอเมเลียแห่งเวือร์เทมเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
2. ดยุตเออร์เนสต์ ออกุสตุสแห่งบรันสวิก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. ดยุคฟรีดริช วิลเฮลม์แห่งชเลวิก - ฮ็อลชไตน์ - ชอนเดนเบิร์ก - กวอกเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
10. สมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงหลุยส์ คาโรลินแห่งเฮสส์ - คาสเซิล
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงไธราแห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. แลนด์เกรฟวิลเลียมแห่งเฮสส์ - คาสเซิล
 
 
 
 
 
 
 
11. เจ้าหญิงหลุยส์แห่งเฮสส์ - คาสเซิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงหลุยส์ ชาร์ล็อตแห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
1. ฟรีเดอรีเคอแห่งฮันโนเฟอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี
 
 
 
 
 
 
 
12. จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. สมเด็จพระจักรพรรดินีออกัสตาแห่งแซ็กซ์ - ไวมาร์
 
 
 
 
 
 
 
6. สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี
 
 
 
 
 
 
 
13. เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระวรราชกุมารี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงวิกตอเรีย หลุยส์แห่งปรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. ดยุคคริสเตียน ออกัสที่ 2 แห่งชเลวิก - ฮ็อลชไตน์ - ชอนเดนเบิร์ก - ออกัสเตนเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
14. ดยุคเฟรเดอริคที่ 8 แห่งชเลวิก - ฮ็อลชไตน์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เคานท์เตสโลวีซา - โซฟี
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงออกัสตา วิคตอเรียแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. เจ้าชายเออร์เนสต์แห่งโฮเฮนโลน - ลานเกนเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงอเดลเฮดแห่งโฮเฮนโลน - ลานเกนเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เจ้าหญิงฟีโอดอราแห่งเลนนินเกน
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

[แก้]
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ ถัดไป
เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย
สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ
(ราชวงศ์กลึคส์บวร์ค)

(1 เมษายน ค.ศ. 1947 – 6 มีนาคม ค.ศ. 1964)
เจ้าหญิงอันเนอ-มารีแห่งเดนมาร์ก