เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์
เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์ | |
---|---|
Erich Honecker | |
เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์ในปี พ.ศ. 2519 | |
เลขาธิการพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี | |
ดำรงตำแหน่ง 3 พฤษภาคม 1971 – 18 ตุลาคม 1989 | |
ก่อนหน้า | วัลเทอร์ อุลบริชท์ |
ถัดไป | เอก็อน เคร็นทซ์ |
ประธานสภาแห่งรัฐ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 ตุลาคม 1976 – 24 ตุลาคม1989 | |
หน.รัฐบาล | วิลลี ชโตฟ |
ก่อนหน้า | วิลลี ชโตฟ |
ถัดไป | เอก็อน เคร็นทซ์ |
ประธานสภากลาโหมแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 พฤษภาคม 1971 – 18 ตุลาคม 1989 | |
ก่อนหน้า | วัลเทอร์ อุลบริชท์ |
ถัดไป | เอก็อน เคร็นทซ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 สิงหาคม ค.ศ. 1912 น็อยน์เคียร์เชิน จักรวรรดิเยอรมัน |
เสียชีวิต | 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 ซานติอาโก ประเทศชิลี | (81 ปี)
ลายมือชื่อ | |
เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์ (เยอรมัน: Erich Honecker) เป็นอดีตประมุขแห่งรัฐของประเทศเยอรมนีตะวันออก ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 1976 จนถึง 1989 ก่อนจะเกิดการทลายกำแพงเบอร์ลินเพียงเดือนเดียว เขาดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี ก่อนจะได้รับเลือกเป็นประธานสภาแห่งรัฐแทนวิลลี ชโตฟในปี 1976 และดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประมุขแห่งเยอรมนีตะวันออก เขามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียตซึ่งสนับสนุนกองทัพในประเทศและการมีอำนาจของเขา
เขาเริ่มต้นเส้นทางการเมืองในคริสต์ทศวรรษที่ 1930 โดยการเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี ทำให้เขาถูกพรรคนาซีจับกุมและถูกจำคุก[1] เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เขาจึงได้รับอิสรภาพและเข้าสู่เส้นทางการเมืองอีกครั้ง และเขาได้ก่อตั้งองค์กรเยาวชนของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี มีชื่อว่า "ยุวชนเสรีเยอรมัน" ในปี 1946 และเป็นประธานองค์กรนี้จนถึงปี 1955 และเมื่อเขาดำรงตำแหน่งเลขานุการฝ่ายความมั่นคงของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี เขามีส่วนสำคัญในการสร้างกำแพงเบอร์ลินในปี 1961 [2] และยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการสั่งยิงผู้ที่พยายามหลบหนีออกจากประเทศหรือข้ามฝั่งไปตามแนวกำแพงและชายแดน[3]
ในปี 1970 เขาแย่งชิงอำนาจทางการเมืองกับวิลลี ชโตฟ[2] โดยเขาได้รับการสนับสนุนจากเลโอนิด เบรจเนฟ[2] ซึ่งทำให้เขาได้รับตำแหน่งประธานสภาแห่งรัฐและเป็นประมุขแห่งเยอรมนีตะวันออกในเวลาต่อมา ภายใต้การปกครองของเขา เขาได้นำหลักการสังคมนิยมตลาดมาใช้และผลักดันเยอรมนีตะวันออกสู่ประชาคมโลกได้สำเร็จ[4] และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแห่งสหประชาชาติซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จในฐานะนักการเมืองและประมุขแห่งรัฐของเขา[5]
เมื่อความตึงเครียดในสงครามเย็นเริ่มคลี่คลายลงในปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 และมิฮาอิล กอร์บาชอฟได้ใช้นโยบายเปเรสตรอยคา-กลัสนอสต์ ฮ็อนเน็คเคอร์ได้คัดค้านนโยบายนี้ยกเว้นการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูปบางอย่างในระบบการเมืองภายในประเทศ[6] ต่อมาประชาชนในประเทศเยอรมนีตะวันออกได้ประท้วงรัฐบาลของเขา[7][8] เขาได้เรียกร้องให้สหภาพโซเวียตสนับสนุนการปราบปรามผู้เห็นต่างและผู้ที่ออกมาชุมนุมดังกล่าว[8] แต่กอร์บาชอฟปฏิเสธ[8][9] ต่อมาเขาถูกบังคับให้ลาออกจากประธานสภาแห่งรัฐโดยพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2532 เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของรัฐบาล[10] แต่ได้ประสบความล้มเหลวและนำไปสู่การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในเยอรมนีตะวันออก และทั้งสองประเทศรวมกันเป็นประเทศเยอรมนีจนถึงปัจจุบัน
หลังการรวมประเทศเยอรมนีในปี 1990 เขาพยายามหลบหนีออกนอกประเทศโดยทำเรื่องขอลี้ภัยที่สถานเอกอัครราชทูตชิลีในกรุงมอสโก แต่เขาได้ถูกส่งตัวกลับประเทศเยอรมนี ในปี 1992 เพื่อรับการพิจารณาคดีข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชนในสมัยที่เขายังเป็นประมุขแห่งรัฐ[11] แต่การดำเนินคดีดังกล่าวได้ยกเลิกเนื่องจากเขาป่วยเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย และเขาได้รับการปล่อยตัวไป เขาจึงลี้ภัยอยู่ในประเทศชิลีพร้อมครอบครัวของเขา และถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 29 พฤษภาคม 1994 ในวัย 81 ปี[12][13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Epstein, Catherine (2003). The Last Revolutionaries: German Communists and their century. Harvard University Press. p. 112.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Winkler, Heinrich August (2007). Germany: The Long Road West, Vol. 2: 1933–1990. Oxford University Press. pp. 266–268.
- ↑ "Der unterschätzte Diktator". Der Spiegel (ภาษาเยอรมัน). Hamburg. 20 August 2012. p. 46.
- ↑ Honecker, Erich (1984). "The GDR: A State of Peace and Socialism". Calvin College German Propaganda Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-16. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
- ↑ "Helsinki Final Act signed by 35 participating States". Organization for Security and Co-operation in Europe.
- ↑ Gedmin, Jeffrey (2003). The Hidden Hand: Gorbachev and the Collapse of East Germany. Harvard University Press. pp. 55–67.
- ↑ "The Opposition charges the SED with fraud in the local elections of May 1989 (May 25, 1989)". German History in Documents and Images.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Sebetsyen, Victor (2009). Revolution 1989: The Fall of the Soviet Empire. New York City: Pantheon Books. ISBN 978-0-375-42532-5.
- ↑ "Gorbachev in East Berlin". BBC News. 25 March 2009.
- ↑ "Plot to oust East German leader was fraught with risks". Chicago Tribune. 28 October 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-19. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
- ↑ "More Than 1,100 Berlin Wall Victims". Deutsche Welle. 9 August 2005. สืบค้นเมื่อ 8 August 2009.
- ↑ "Wo Honecker heimlich begraben wurde". Bild (ภาษาเยอรมัน). 25 August 2012.
- ↑ การลี้ภัยครั้งสุดท้ายของ ‘เอริค โฮเน็กเกอร์’ อดีตผู้นำเยอรมนีตะวันออก