พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี
พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี Sozialistische Einheitspartei Deutschlands | |
---|---|
ก่อตั้ง | 21 เมษายน ค.ศ. 1946 |
ถูกยุบ | 16 ธันวาคม ค.ศ. 1989 |
รวมตัวกับ | พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนีและพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี |
ถัดไป | พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยม |
หนังสือพิมพ์ | น็อยเอิสด็อยทช์ลันท์ |
ฝ่ายเยาวชน | ยุวชนเยอรมนีอิสระ |
สมาชิกภาพ (ปี ค.ศ. 1989) | 2,260,979 คน[1] |
อุดมการณ์ |
|
กลุ่มระดับชาติ |
|
กลุ่มระดับสากล | โคมินฟอร์ม (1947–1956) |
สี | สีแดง |
เพลง | "ลีดแดร์พาร์ทัย" (เพลงแห่งพรรค) |
ธงประจำพรรค | |
การเมืองเยอรมนีตะวันออก รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี (เยอรมัน: Sozialistische Einheitspartei Deutschlands, SED) มักรู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนีตะวันออก (East German Communist Party)[2] เป็นพรรคการเมืองลัทธิมากซ์–เลนิน[3] ที่ปกครองสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก) ตั้งแต่การก่อตั้งของประเทศในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1949 จนถึงการยุบพรรคหลังการปฏิวัติเงียบสงบ ใน ค.ศ. 1989 พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีถูกก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1946 โดยการรวมตัวกันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนีและพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี
ถึงแม้ว่าประเทศเยอรมนีตะวันออกจะเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียว[4] แต่ก็มีแนวร่วมประชาชนจากสถาบันอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นพันธมิตรกับพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี พรรคเหล่านี้ได้แก่ สหภาพประชาธิปไตยคริสตชน, พรรคประชาธิปไตยเสรีนิยม, พรรคกสิกรประชาธิปไตย และพรรคประชาธิปไตยแห่งชาติ ในคริสต์ทษวรรษที่ 1980 พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีปฏิเสธนโยบายเปิดความคิดเสรีของมีฮาอิล กอร์บาชอฟ เช่น เปเรสตรอยคา และ กลัสนอสต์ ซึ่งจะไปสู่การแยกเยอรมนีตะวันออก ออกจากการปรับโครงสร้างของสหภาพโซเวียต และการล่มสลายของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี ในฤดูใบไม้ผลิของ ค.ศ. 1989
เลขาธิการ
[แก้]รูปภาพ | ชื่อ | วันที่ดำรงตำแหน่ง | ถึงวันที่ |
---|---|---|---|
วิลเฮ็ล์ม พีค | 22 เมษายน 1946 | 25 กรกฎาคม 1950 | |
อ็อทโท โกรเทอโวล | 22 เมษายน 1946 | 25 กรกฎาคม 1950 | |
วัลเทอร์ อุลบริชท์ | 25 กรกฎาคม 1950 | 3 พฤษภาคม 1971 | |
เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์ | 3 พฤษภาคม 1971 | 18 ตุลาคม 1989 | |
เอก็อน เคร็นทซ์ | 18 ตุลาคม 1989 | 3 ธันวาคม 1989 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dirk Jurich, Staatssozialismus und gesellschaftliche Differenzierung: eine empirische Studie, p.31. LIT Verlag Münster, 2006, ISBN 3825898938
- ↑ Orlow, Dietrich (29 October 2015). Socialist Reformers and the Collapse of the German Democratic Republic. Springer. ISBN 9781137574169.
- ↑ Political Systems of the World. Allied Publishers. pp. 115–. ISBN 978-81-7023-307-7.
- ↑ Frank B. Tipton (1 January 2003). East Germany: The structure and functioning of a one-party state. A History of Modern Germany Since 1815. A&C Black. pp. 545–548. ISBN 978-0-8264-4909-2.