ข้ามไปเนื้อหา

เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เอกพัน บรรลือฤทธิ์)
เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์
ชื่อเกิดไทด์ บรรลือฤทธิ์
เกิด27 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 (62 ปี)
อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ประเทศไทย
บิดาชูชาติ บรรลือฤทธิ์
มารดาปรางทิพย์ บรรลือฤทธิ์
คู่สมรสคนึงนิตย์ ศิริพงศ์ปรีดา
(2547–2560)
บุตร3 คน
อาชีพ
  • นักแสดง
  • พิธีกร
ปีที่แสดงพ.ศ. 2526–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นพี่มากแม่นาคพระโขนง (2532)
สังกัดสีบุญเรืองฟิล์ม

เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ (เกิด 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) ชื่อเล่น ไทด์ เป็นนักแสดงและพิธีกรชาวไทย เข้าสู่วงการบันเทิงมาพร้อมกับบิณฑ์พี่ชาย โดยเริ่มต้นจากการเป็นนายแบบและตัวประกอบในสังกัดซี.เอส.พี ของสรพงศ์ ชาตรี พร้อมกับบิณฑ์ และมีเพื่อนร่วมโมเดลลิ่งที่ต่อมามีชื่อเสียง ได้แก่ วีรยุทธ รสโอชา, พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์

เริ่มต้นชีวิตการแสดงจากการเป็นตัวประกอบภาพยนตร์เรื่อง นิจ (2526) พร้อมทั้งเป็นนายแบบถ่ายแบบตามนิตยสาร เดินแฟชั่นโชว์ จากนั้นจึงได้รับการทาบทามจากดาวน้อย สีบุญเรือง ให้มาแสดงละครโทรทัศน์ เรื่อง กาแกมหงส์ (2528) ทางช่อง 7 ทำให้เริ่มมีชื่อเสียง จากนั้นจึงเข้ามาอยู่ในสังกัดของสีบุญเรืองฟิล์ม และเปลี่ยนชื่อเป็น "เอกพันธ์" มาจาก 'เอก' ซึ่งเป็นชื่อเล่นของสรพงศ์ ชาตรี และ 'พันธ์' มาจาก 'พันคำ' ซึ่งเป็นนามแฝงของพร้อมสิน สีบุญเรือง ผู้กำกับภาพยนตร์ หัวเรือใหญ่ของสีบุญเรืองฟิล์ม

ประวัติ

[แก้]

เอกพันธ์เป็นบุตรของนายชูชาติ กับนางปรางทิพย์ บรรลือฤทธิ์ เป็นน้องชายฝาแฝดของบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ เอกพันธ์และบิณฑ์เป็นแฝดร่วมไข่จึงมีรูปร่าง หน้าตาที่คล้ายกันมาก แต่เอกพันธ์มีจุดสังเกตที่ต่างจากบิณฑ์พี่ชาย คือ คางบุ๋ม และผมบริเวณเถิกสูงกว่า ไทด์ เอกพันธ์จบปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ชีวิตส่วนตัว เคยคบหาดูใจกับ ภัทรา ทิวานนท์ แต่ได้เลิกรากันไป ต่อมา เคยสมรสกับ คนึงนิตย์ ศิริพงศ์ปรีดา พี่สาวของ นิ้ง กุลสตรี ศิริพงศ์ปรีดา ในปี พ.ศ. 2547 ต่อมาได้หย่าร้างกันเมื่อปี 2560 โดยมีบุตรสาวที่น่ารักร่วมกัน 3 คน น้องใบเตย น้องใบตอง น้องมู่หลาน ทางด้านสังคมเป็นที่รู้จักกันว่า เป็นเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิร่วมกตัญญูเช่นเดียวกับ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ พี่ชายด้วย

ในกลางปี พ.ศ. 2552 ปรากฏเป็นข่าวว่าได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยพร้อมกับ บิณฑ์ พี่ชายฝาแฝด และจะลงเลือกตั้งในคราวต่อไปด้วย [1]แต่ต่อมาบิณฑ์ ได้ปฏิเสธ โดยบอกว่าเพียงแค่ได้รับทาบทาม แต่ไม่เคยคิดเล่นการเมือง อีกทั้งเพียงแค่งานการแสดงและงานสาธารณกุศลก็ล้นมืออยู่แล้ว[2]

ผลงาน

[แก้]

ละครโทรทัศน์

[แก้]
ละครโทรทัศน์
พ.ศ. ละคร รับบท หมายเหตุ
2530 ดาวเรือง ปลัดจินตวัฒน์
เงา
เพลิงบาปจอมทมิฬ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
2531 สงครามเก้าทัพ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
นาคี ทศพล
2532 แม่นาคพระโขนง . พี่มาก พี่มาก
หน้ากากทอง
2533 กตัญญูประกาศิต
2534 แก้วขนเหล็ก จอมเมฆินทร์ ตัวร้าย
ปาก ตอง
สุดถนนบนทางเปลี่ยว
2535 สมเด็จพระสุริโยทัย ขุนพิเรนทรเทพ/สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
2536 ภูตพยาบาท
ศพ 5 ปี
ท่านผีเพี้ยน
2537 ซุปเปอร์ปั๊ม
สาวรำวง
2538 ขบวนการญาติเยอะ
หัวใจเสือ ธนบัตร
2540 สองนรี ยิ่งยวด
2541 แม่ดอกกระถิน
2542 ปัญญาชนก้นครัว
ขุนช้างขุนแผน
2543 ตามจับตามจีบ พ.ต.ท.เชี่ยวชาญ
2544 บ้านสาวโสด อำนวย
ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น คลาสสิค
2545 5 คม เนวิน
2546 เสือ นายพรานคำสูรย์
2547 ลูกสาวแม่เอ๊ย พรเทพ
2548 บาปรักทะเลฝัน อรรถ
กลิ่นแก้วตำหนักขาว
2549 นรกตัวสุดท้าย ผู้พันเขียว
เทใจรักนักวางแผน
น.ส.สัปเหร่อ
2551 ลบรอยที่เลอะใจ
2552 สุสานภูเตศวร พรานแก้ว
2553 มนต์รักลูกทุ่ง หมึก
ระบำดวงดาว เฮียใหญ่
2555 สะใภ้ซ่าส์ แม่ย่าเฮี้ยน กำนันบันลือ
รักสุดปลายฟ้า
2556 กองร้อยกระทะเหล็ก จ่าโย่ง
ละครโทรทัศน์
พ.ศ. ละคร รับบท หมายเหตุ
2528 กาแกมหงส์
2529 โอ้..ลูกรัก
2530 เดือนครึ่งดวง มริจ
2534 ไทรโศก
2538 สายโลหิต หลวงเทพฤทธิ์
ตามล่า หารัก
2539 ดอกแก้ว ม่นเคราแดง
สาปวิญญาณ
2540 รอยไถ ลือ
มัจจุราชติงต๊อง
2544 อตีตา นายแท่น
แม่ค้า ฟ้าคำรณ
2547 แหวนทองเหลือง หนานอุย
ฟ้าใหม่ พระยาราชมนตรี (ปิ่น)
2548 สาวน้อยอ้อยควั่น ส่าง
2549 แก่นกะลา ครูเรือง
ธิดาซาตาน รามราช
2550 เพลงรักริมฝั่งโขง ท่านทองใบ
คนเยอะเรื่องแยะ จ่าคมสัน
ผู้พิทักษ์สี่แยก จ่าตุ้ม
ผู้พิทักษ์สี่แยก ภาค 2 จ่าตุ้ม
โลกสองใบของนายเดียว
2551 หลวงตาใหม่ ผู้ใหญ่เย็น ผู้ใหญ่เย็น
2553 เณรน้อย บำรุง
พยัคฆ์ยี่เก กำนันเทิด
โคกอีเลิ้งหรรษา ผู้ใหญ่ถึก
2553 ตะวันยอแสง ช้อน
เปรี้ยวตลาดแตก อวน
2554 เสน่ห์บางกอก กำนันปลั่ง
สมหวังสู้สู้ ปราชญ์
ธิดาวานร 3
2555 กู้ภัยหัวใจแหวว ติ่ง
2556 เสือสั่งฟ้า 2 พยัคฆ์ผยอง อาจารย์ยอด
เลือดเจ้าพระยา กำนันธง
แม่เปียดื้อ
2557 คฤหาสน์บ้านทุ่ง (ละครซิทคอม) ทองก้อน
ลูกผู้ชายพันธุ์ดี (ละครชุด) สารวัตรสุชาติ
2558 นางชฎา อาจารย์ดำ รับเชิญ
2559 ลูกเขยมะไฟ แม่ยายมะดัน วันชัย
เจ้าพายุ กำนันไผ่
2560 ทิวลิปทอง ผู้กองเสือ
มหาหิน กำนันลอย บุญหลวง
2561 ชาติ ลำชี กำนันบุญ / เสือโบก
จ้าวสมิง เสี่ยสวัสดิ์ รุ่งเรือง
2563 คนเหนือฅน เสี่ยเรืองเดช
2564 ทะเลเดือด เสี่ยเม้ง
เผาขน สันติ เวียงอุทัย / อนันต์ คุณานุการกุล
2565 พยัคฆ์ยี่เก กำนันเทิด
ชาติพยัคฆ์ คมนักเลง กำนันโชติ
2567 ปล้นเหนือเมฆ รมต.อารีย์
คนกล้าท้าชน เสี่ย​ก้องเกียรติ กิจมหาศาล
ละครโทรทัศน์
พ.ศ. ละคร รับบท หมายเหตุ
2530 เล็บครุฑ ชีพ ชูชัย
2532 สองเรา
2534 ปิศาจหรรษา อภิรมย์ วาสนาพาสิทธิ์
2536 ดอกตำแย แจกันทอง
2537 ทหารเสือพระนเรศวร
2538 ชมรมขนหัวลุก ตอน แรงอาฆาต
2539 แสงเพลิงที่เกริงทอ
ระเบิดเถิดเทิง (รับเชิญ)
2540 ระเบิดเถิดเทิง ตอน ผู้โชคดี (รับเชิญ)
ระเบิดเถิดเทิง ตอน ลาก่อนพี่ทุ้ย (รับเชิญ)
2543 ระเบิดเถิดเทิง ตอน พรวิเศษ (รับเชิญ)
2545 สะใภ้ไฮโซ
2548 โคกคูนตระกูลไข่ ตอน อาจารย์นะยะ อาจารย์เจี๊ยบ
โคกคูนตระกูลไข่ ตอน อาจารย์นะครับ อาจารย์เจี๊ยบ
2549 ระเบิดเถิดเทิง ตอน คุณครูคนใหม่ (รับเชิญ)
2550 ระเบิดเถิดเทิง ตอน เถิดเทิงอวอร์ด 2549 (รับเชิญ)
2555 นางสิงห์สะบัดช่อ จ่าไชโย
2561 นายร้อยสอยดาว
สุขจ๋า...อยู่หนใด?
ละครโทรทัศน์
พ.ศ. ละคร รับบท หมายเหตุ
2528 พ่อครัวหัวป่าก์
2529 สวัสดีคุณครู
2530 ในม่านเมฆ
2531 รักไม่เป็น
2532 จอมเด๋อสะเออะจีบ
2534 กลกามเทพ อายุทธ
2535 พ่อจอมยวน แม่จอมยุ่ง
2536 ดอกตำแย แจกันทอง
สงครามพิศวาส พิมาน
2553 วงษ์คำเหลา เดอะซีรีส์
ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 ตอน ลิเกจำเป็น (รับเชิญ)
ละครโทรทัศน์
พ.ศ. ละคร รับบท หมายเหตุ
2532 ลูกทาส แก้ว
2534 ศรีปราชญ์
ละครโทรทัศน์
พ.ศ. ละคร รับบท หมายเหตุ
2556 ผู้ชนะสิบทิศ ตะคะญี
  • ละครโทรทัศน์ทั้งหมดด้านล่างนี้ออกอากาศทางพีพีทีวี
ละครโทรทัศน์
พ.ศ. ละคร รับบท หมายเหตุ
2559 มนต์รักสองฝั่งคลอง ผู้ใหญ่เข็ม
สาวน้อยคาเฟ่ กำนันสุเทพ
  • ละครโทรทัศน์ทั้งหมดด้านล่างนี้ออกอากาศทางช่องวัน 31
ละครโทรทัศน์
พ.ศ. ละคร รับบท หมายเหตุ
2560 ภารกิจลิขิตหัวใจ น้าใหม่

ภาพยนตร์

[แก้]

เพลง

[แก้]
  • ลูกทุ่งดารา ชุดที่ 1 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
  • ลูกทุ่งดารา ชุดที่ 2 18 ตุลาคม พ.ศ. 2538

คอนเสิร์ต

[แก้]
  • คอนเสิร์ต 84 ปี ปรางทิพย์ บรรลือฤทธิ์ (4 ตุลาคม 2563)
  • คอนเสิร์ต 99 ปี ชาลี อินทรวิจิตร (14 มีนาคม 2564)

รายการ

[แก้]

มิวสิควีดีโอ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ดารา-เสื้อแดงแห่ลงสมัครส.ส.พท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-28. สืบค้นเมื่อ 2011-03-08.
  2. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 21,925 วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 คอลัมน์ เลาะรั้วหนามเตย โดย ฟิล์ม มาเนีย

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]