เศรษฐกิจอินเดีย
เศรษฐกิจของอินเดีย มีขนาดเป็นอันดับที่ 11 ของโลกเมื่อวัดด้วยค่าจีดีพี[1] และเป็นอันดับ 4 ของโลกเมื่อเทียบด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ[2] หลังจากที่ได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งโดยนักสังคมนิยมเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เศรษฐกิจของประเทศหลังจากได้รับเอกราช อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยกิจกรรมตลาดเสรีซึ่งริเริ่มในปี พ.ศ. 2533 เพื่อการแข่งขันกับนานาชาติและการลงทุนจากต่างประเทศ อินเดียเป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าเกิดใหม่โดยมีจำนวนประชากรมหาศาล เช่นเดียวกับทรัพยากรทางธรรมชาติและบุคลากรมืออาชีพมีทักษะที่เพิ่มมากขึ้น นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านได้ทำนายว่าในปี พ.ศ. 2563[3] อินเดียจะกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของโลก
อินเดียอยู่ภายใต้นโยบายซึ่งตั้งบนพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย นับจาก พ.ศ. 2490 ถึง พ.ศ. 2534 เศรษฐกิจอินเดียมีลักษณะของข้อบังคับขยาย ลัทธิคุ้มครอง การถือกรรมสิทธิ์โดยเอกชน การคอรัปชั่นและการเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ[5][6][7][8] จนกระทั่งเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ซึ่งมีการเปิดโอกาสเสรีทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และได้ส่งผลให้ประเทศเปลี่ยนไปเป็นลักษณะของตลาดเศรษฐกิจแทน[6][7] การฟื้นฟูการปฏิรูปเศรษฐกิจและนโยบายทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในช่วงพุทธทศวรรษ 2540 ได้เร่งให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วยิ่งขึ้น ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เมืองต่าง ๆ ในอินเดียได้เริ่มเปิดเสรีในข้อบังคับเกี่ยวกับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง[9] โดยในปี พ.ศ. 2551 อินเดียเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดอันดับสองของโลก[10][11][12] อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2552 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียกลับลดลงอย่างมากเหลือ 6.8 เปอร์เซนต์[13] ตลอดจนโครงการฟื้นฟูการขาดดุลปีงบประมาณครั้งใหญ่ที่ 6.8 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ซึ่งจะเป็นระดับสูงที่สุดของโลก[14][15]
ภาคธุรกิจต่าง ๆ
[แก้]ภาคอุตสาหกรรมและการบริการ
[แก้]อุตสาหกรรมมีขนาดเป็นร้อยละ 28 ของจีดีพี และมีการจ้างงานร้อยละ 14 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด[19] แต่ประมาณ 1 ใน 3 ของแรงงานภาคอุตสาหกรรมเป็นเพียงแรงงานในอุตสาหกรรมครัวเรือนที่ไม่ซับซ้อน[20] เมื่อเทียบด้วยมูลค่าแล้ว ผลผลิตจากโรงงานของอินเดียนับเป็นอันดับที่ 16 ของโลก
การปฏิรูปเศรษฐกิจทำให้มีการแข่งขันจากต่างชาติ ทำให้เกิดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เปิดทางให้แก่เอกชนในธุรกิจที่แต่เดิมสงวนไว้ให้ภาครัฐและทำให้การผลิตสินค้าบริโภคขยายตัวอย่างรวดเร็ว[21] ภาคเอกชนของอินเดียเดิมมีลักษณะเป็นตลาดการแข่งขันน้อยรายที่บริหารโดยบริษัทครอบครัวเก่าแก่และอาศัยการมีเครือข่ายทางการเมืองเพื่อที่จะประสบความสำเร็จ แต่หลังการเปิดเสรี บริษัทเหล่านี้ต้องเผชิญจากการแข่งขันโดยบริษัทต่างชาติ รวมทั้งสินค้านำเข้าราคาถูกจากจีน ดังนั้นจึงต้องปรับตัวด้วยการลดต้นทุน ปรับปรุงการบริหาร มุ่งเน้นการออกแบบสินค้าใหม่ ๆ และพึ่งพาแรงงานราคาถูกและเทคโลยีมากขึ้น[22]
การผลิตสิ่งทอ เป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานมากเป็นอันดับ 2 รองจากการเกษตร และมีผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 26 ของผลผลิตทั้งหมด[23] ลูเธียนาซึ่งถูกเรียกว่าเป็นแมนเชสเตอร์ของอินเดีย สามารถผลิตผ้าขนสัตว์ได้มากถึงร้อยละ 90 ของอินเดีย ติรุปุร์กลายเป็นที่รู้จักในนามของศูนย์รวมของถุงเท้า เสื้อผ้าถัก เสื้อผ้าลำลอง และเสื้อผ้ากีฬา[24] สลัมธาราวีในมุมไบเป็นที่รู้จักในเรื่องเครื่องหนัง ทาทา มอเตอร์ส พยายามสร้างรถทาทา นาโนให้เป็นรถที่ถูกที่สุดในโลก[18]
อินเดียอยู่ในอันดับที่ 15 ของผลผลิตจากภาคบริการ ซึ่งมีอัตราการจ้างงานร้อยละ 23 ของแรงงานทั้งหมด ภาคบริการมีการขยายตัวเร็วมากด้วยอัตราเติบโตร้อยละ 7.5 ระหว่างปี 2534-2543 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.5 ในระหว่างปี 2494-2523 และมีอัตราส่วนสูงที่สุดในจีดีพีของอินเดีย คือประมาณร้อยละ 55 ในปี 2550 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15 ในปี 2493[19]
การบริการทางธุรกิจ (เทคโนโลยีสารสนเทศ, การจ้างทำกระบวนการธุรกิจ) เป็นหนึ่งในธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุด โดยนับเป็นหนึ่งในสามของการบริการทั้งหมดในปี 2543 การเติบโตในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลมาจากการที่อินเดียมีความสามารถเฉพาะทางที่เพิ่มมากขึ้น บวกกับแรงงานจำนวนมากที่มีค่าแรงถูก แต่ความสามารถสูง มีการศึกษา และสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งตรงกับความต้องการจากบริษัทต่างชาติที่สนใจในการส่งออกการบริการเหล่านี้ หรือบริษัทที่ต้องการจะจัดจ้างบุคคลภายนอก
อัตราส่วนของอุตสาหกรรมไอทีในอินเดียเมื่อเทียบกับจีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.8 ในปี 2548-2549 เป็นร้อยละ 7 ในปี 2551 [25][26] ในปี 2552 บริษัทอินเดีย 7 แห่งถูกจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 15 บริษัทรับจ้างทางเทคโนโลยีชั้นนำของโลก[27] ในเดือนมีนาคม 2552 รายได้ประจำปีจากการรับจ้างทางธุรกิจมีจำนวนมากถึง 6 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐคิดเป็นเงินอินเดียอยู่ที่4,495.713ล้านล้านรูปีอินเดีย และมีการประมาณว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 2.25 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐคิดเป็นเงินอินเดียอยู่ที่16,858,923,750,000รูปีอินเดียในปี 2563[28]
ธุรกิจค้าปลีกที่บริหารในรูปบริษัท เช่นซูเปอร์มาร์เก็ต มีจำนวนเป็นร้อยละ 24 ของตลาดทั้งหมดในปี 2551[29] มีกฎเกณฑ์หลายข้อที่ป้องกันต่างชาติไม่ให้เข้ามาลงทุนในธุรกิจค้าปลีก นอกจากนี้ ร้านค้าจะต้องผ่านกฎหมายมากกว่า 30 ฉบับ เช่น “ใบอนุญาตป้าย” และ “มาตรการห้ามการกักตุน” ก่อนที่จะสามารถเปิดร้านได้ และยังมีภาษีที่เก็บเมื่อเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างรัฐ รวมทั้งภายในรัฐเองด้วย[29]
การท่องเที่ยวในอินเดียแม้ยังไม่ได้พัฒนาเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ แต่ก็เติบโตด้วยอัตราสองหลัก โรงพยาบาลหลายแห่งพยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์[30]
การทำเหมืองแร่นับเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจอินเดีย อินเดียสามารถผลิตแร่ธาตุได้มากถึง 79 ชนิด (ไม่รวมทรัพยากรเชื้อเพลิงและพลังงานปรมาณู) ในปี 2552-2553 ซึ่งรวมทั้งแร่เหล็ก, แมงกานีส, ไมกา, บอกไซต์, โครไมต์, หินปูน, แร่ใยหิน, ฟลูโอไรต์, ยิปซัม, ดิน ochre, ฟอสฟอไรต์, และทรายซิลิกา[31]
ภาคเกษตรกรรม
[แก้]อินเดียมีผลผลิตทางการเกษตรเป็นอันดับสองของโลก ภาคเกษตรกรรมและภาคที่เกี่ยวข้อง เช่นการป่าไม้ ประมง มีขนาดร้อยละ 15.7 ของจีดีพีในปี 2552-2553, มีอัตรส่วนการจ้างงานร้อยละ 52.1 ของแรงงานทั้งหมด และแม้อัตราส่วนของภาคเกษตรกรรมเมื่อเทียบกับจีดีพีจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ แต่ก็ยังคงเป็นภาคธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของอินเดีย[32] ผลิตผลทางการเกษตรต่อหน่วยพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2493 เนื่องจากมีการให้เน้นย้ำเรื่องเกษตรกรรมในแผน 5 ปี ประกอบกับการพัฒนาด้านชลประทาน เทคโนโลยี การรับเอาการเกษตรรูปแบบใหม่ และการให้สินเชื่อและเงินสนับสนุนทางการเกษตรในช่วงการปฏิวัติเขียวในอินเดีย อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับระดับนานาชาติแล้ว ผลิตผลทางการเกษตรเฉลี่ยของอินเดียนับเป็นเพียงร้อยละ 30 ถึง 50 ของผลิตผลทางการเกษตรเฉลี่ยที่สูงที่สุดของโลกเท่านั้น[33]
สกุลเงิน
[แก้]เงินรูปีอินเดียเป็นเงินสกุลเดียวที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายของอินเดีย อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2564 คือ 1รูปีอินเดียเท่ากับ 0.44 บาท [34] และเงินรูปีอินเดียยังสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในประเทศเนปาลและภูฏาน ซึ่งอิงสกุลเงินของตนเองกับรูปีอินเดียได้อีกด้วย เงินรูปีมีค่าเท่ากับ 100 ไพซา ธนบัตรที่ใหญ่ที่สุดคือธนบัตร 1,000 รูปี และเหรียญที่เล็กที่สุดที่หมุนเวียนทั่วไปคือเหรียญ 25 ไพซา (เคยมีการใช้เหรียญ 1, 2, 5, 10 และ 20 ไพซา แต่ภายหลังธนาคารกลางอินเดียยกเลิกไป) [35]
เงินรูปีอ่อนตัวต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อต้นปี 2552 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย แต่เศรษฐกิจของอินเดียฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเทศตะวันตกเพราะตลาดภายในประเทศที่แข็งแกร่ง ในเดือนกันยายน 2552 เงินรูปีเริ่มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักส่วนใหญ่ เงินรูปีที่แข็งค่าขึ้นมีส่วนทำให้รัฐบาลอินเดียซื้อทอง 200 ตันจากไอเอ็มเอฟเพื่อกระจายความเสี่ยง[36]
ธนาคารกลางอินเดียก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2478 ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานทางการเงินของประเทศ ผู้ควบคุมและกำกับระบบการเงิน ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และเป็นผู้ออกธนบัตร ธนาคารกลางอินเดียถูกควบคุมโดยคณะกรรมการกลางซึ่งมีผู้ว่าที่ถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาลกลางของอินเดีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "India". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 21 April 2010.
- ↑ "CIA — The World Factbook — Rank Order — GDP (purchasing power parity)". Cia.gov. 2009-03-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2009-03-13.
- ↑ "India Vision 2020" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2009-12-12.
- ↑ Marketing in the 21st Century: New world marketing - By Bruce David Keillor. Books.google.com. ISBN 9780275992767. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
- ↑ Eugene M. Makar (2007). An American's Guide to Doing Business in India.
- ↑ 6.0 6.1 "Economic survey of India 2007: Policy Brief" (PDF). OECD. สืบค้นเมื่อ 2009-06-21.
- ↑ 7.0 7.1 "India Stumbles in Rush to a Free Market Economy". New York Times.
- ↑ "India's Rising Growth Potential" (PDF). Goldman Sachs. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2009-06-21.
- ↑ "Doing Business in India 2009". World Bank. สืบค้นเมื่อ 2010-06-08.
- ↑ "India now second fastest growing economy". Australiannews.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-24. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
- ↑ Maurice R. Landes (2009-12-17). "USDA - India". Ers.usda.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-20. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
- ↑ Marketing in the 21st Century: New world marketing - By Bruce David Keillor. Books.google.com. ISBN 9780275992767. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
- ↑ "World GDP Contracted 2% in 2009". สืบค้นเมื่อ 2010-07-02.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "India's fiscal deficit to be highest in the world: Goldman". Rediff.com. 2004-12-31. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
- ↑ http://www.business-standard.com/india/news/pmeac-for-including-expense-targets-in-fiscal-discipline/374074/ PMEAC for including expense targets in fiscal discipline
- ↑ "Tyres & Accessories". Reifenpresse.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-23. สืบค้นเมื่อ 2008-11-03.
- ↑ "The small car dream-merchants- Tata's People's Car-Specials-The Economic Times". Economictimes.indiatimes.com. สืบค้นเมื่อ 2008-11-03.
- ↑ 18.0 18.1 "The Next People's Car". forbes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-03. สืบค้นเมื่อ 2008-01-21.
- ↑ 19.0 19.1 "CIA - The World Factbook - India". CIA. 2007-09-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-11. สืบค้นเมื่อ 2007-10-02.
- ↑ "Census Reference Tables B-Series Economic Tables". Censusindia.gov.in. สืบค้นเมื่อ 2008-11-03.
- ↑ "Economic structure". The Economist. 6 October 2003.
- ↑ "Old India awakes". The Economist. 12 February 2004.
- ↑ "Industry Overview — Indian Overview". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-24. สืบค้นเมื่อ 2010-10-23.
- ↑ "Helping Tirupur emerge as a leader in knitwear exports in India — Tiruppur". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-28. สืบค้นเมื่อ 2010-10-23.
- ↑ "The Coming Death Of Indian Outsourcing". Forbes. 2008-02-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-22. สืบค้นเมื่อ 2010-10-27.
- ↑ Sheth, Niraj (2009-05-28). "Outlook for Outsourcing - WSJ". Online.wsj.com. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
- ↑ "India's Revenue From Outsourcing Could Be $225B in 2020". Pcworld.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-12. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
- ↑ 29.0 29.1 "Retailing in India Unshackling the chain stores". Economist. 2008.
- ↑ Mudur, Ganapati (June 2004). "Hospitals in India woo foreign patients". British Medical Journal. 328 (7452): 1338. doi:10.1136/bmj.328.7452.1338. PMC 420282. PMID 15178611.
- ↑ "National Mineral Scenario" (PDF). Ministry of Mines, Government of India. สืบค้นเมื่อ 2010-11-19.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Economic Survey 2010, p. 180.
- ↑ Datt & Sundharam 2009, pp. 499–501
- ↑ "Historical Foreign Exchange Rates". ธนาคารแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-28. สืบค้นเมื่อ 2010-10-19.
- ↑ "RBI". RBI. สืบค้นเมื่อ 2009-03-13.
- ↑ "Full circle: India buys 200 tons gold from IMF". The Times of India. 2009-11-04. สืบค้นเมื่อ 2010-10-19.
เชิงอรรถ
[แก้]- หนังสือ
- Alamgir, Jalal (2008). India's Open-Economy Policy. Routledge. ISBN 9780415776844.
- Bharadwaj, Krishna (1991). "Regional differentiation in India". ใน Sathyamurthy, T.V. (ed.) (บ.ก.). Industry & agriculture in India since independence. Oxford University Press. pp. 189–199. ISBN 0195643941.
{{cite book}}
:|editor=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - Kumar, Dharma (Ed.) (1982). The Cambridge Economic History of India (Volume 2) c. 1757 - c. 1970. Penguin Books.
- Nehru, Jawaharlal (1946). Discovery of India. Penguin Books. ISBN 0-14-303103-1.
- Roy, Tirthankar (2000). The Economic History of India. Oxford University Press. ISBN 0-19-565154-5.
- Sankaran, S (1994). Indian Economy: Problems, Policies and Development. Margham Publications.
- เอกสาร
- Bernardi, Luigi and Fraschini, Angela (2005). "Tax System And Tax Reforms In India". Working paper n. 51.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Centre for Media Studies (2005). "India Corruption Study 2005: To Improve Governance Volume – I: Key Highlights" (PDF). Transparency International India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-26. สืบค้นเมื่อ 2009-06-21.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - Ghosh, Jayati. "Bank Nationalisation: The Record". Macroscan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2005-08-05.
- Gordon, Jim and Gupta, Poonam (2003). "Understanding India's Services Revolution" (PDF). 12 November 2003. สืบค้นเมื่อ 2009-06-21.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Kelegama, Saman and Parikh, Kirit (2000). "Political Economy of Growth and Reforms in South Asia". Second Draft. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-11. สืบค้นเมื่อ 2010-07-30.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Panagariya, Arvind (2004). "India in the 1980s and 1990s: A Triumph of Reforms".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - Rodrik, Dani and Subramanian, Arvind (2004). "From "Hindu Growth" To Productivity Surge: The Mystery Of The Indian Growth Transition" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2009-06-21.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Sachs, D. Jeffrey; Bajpai, Nirupam and Ramiah, Ananthi (2002). "Understanding Regional Economic Growth in India" (PDF). Working paper 88. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-01. สืบค้นเมื่อ 2010-07-30.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Srinivasan, T.N. (2002). "Economic Reforms and Global Integration" (PDF). 17 January 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-26. สืบค้นเมื่อ 2009-06-21.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - Williamson, John and Zagha, Roberto (2002). "From the Hindu Rate of Growth to the Hindu Rate of Reform" (PDF). Working Paper No. 144. Center for research on economic development and policy reform. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-12-01. สืบค้นเมื่อ 2010-07-30.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
- สิ่งพิมพ์ของรัฐบาล
- "Economic Survey 2004–2005". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-16. สืบค้นเมื่อ 2005-07-15.
- "History of the Planning Commission". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-09-08. สืบค้นเมื่อ 2005-07-22.
- "India & the World Trade Organization". สืบค้นเมื่อ 2005-07-09.
- "Jawahar gram samriddhi yojana". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-30. สืบค้นเมื่อ 2005-07-09.
- Kurian, N.J. "Regional disparities in india". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-01. สืบค้นเมื่อ 2005-08-06.
- Multiple authors (2004). "Agricultural Statistics at a Glance 2004" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2009-06-21.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)
- ข่าว
- "That old Gandhi magic". The Economist. 27 November 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-13. สืบค้นเมื่อ 2010-07-30.
- "Indif_real_GDP_per_capitaa says 21 of 29 states to launch new tax". Daily Times. 25 March 2005.
- "Economic structure". The Economist. 6 October 2003.
- "Indian manufacturers learn to compete". The Economist. 12 February 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-05. สืบค้นเมื่อ 2010-07-30.
- "India's next 50 years". The Economist. 14 August 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-22. สืบค้นเมื่อ 2010-07-30.
- "The plot thickens". The Economist. 31 May 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-22. สืบค้นเมื่อ 2010-07-30.
- "The voters' big surprise". The Economist. 13 May 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-22. สืบค้นเมื่อ 2010-07-30.
- "Regional stock exchanges – Bulldozed by the Big Two". สืบค้นเมื่อ 2005-08-10.
- "Infrastructure the missing link". CNN. 2004-10-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-12. สืบค้นเมื่อ 2005-08-14.
- "Of Oxford, economics, empire, and freedom". The Hindu. 2 October 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-30.
- บทความ
- [Media:Economic Development of India.pdf "Economic Development of India"] (PDF). สืบค้นเมื่อ 17 May 2007.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - "Milton Friedman on the Nehru/Mahalanobis Plan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-31. สืบค้นเมื่อ 2005-07-16.
- "Forex reserves up by $88 mn". สืบค้นเมื่อ 2005-08-10.
- "CIA — The World Factbook". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-11. สืบค้นเมื่อ 2005-08-02.
- "Infrastructure in India: Requirements and favorable climate for foreign investment". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-07-13. สืบค้นเมื่อ 2005-08-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ของรัฐบาลอินเดีย
- Finance Ministry of India
- India in Business เก็บถาวร 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน- Official website for Investment and Trade in India
- Reserve Bank of India's database on the Indian economy เก็บถาวร 2007-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สิ่งพิมพ์และสถิติ
- World Bank - India Country Overview เก็บถาวร 2011-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Ernst & Young 2006 report on doing Business in India
- CIA - The World Factbook – India เก็บถาวร 2008-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- India Economic Scan เก็บถาวร 2011-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Will India Become a Superpower? Here are 12 Hints