ข้ามไปเนื้อหา

ตลาดหลักทรัพย์บอมเบย์

พิกัด: 18°55′47″N 72°50′00″E / 18.9298°N 72.8334°E / 18.9298; 72.8334 (Bombay Stock Exchange)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตลาดหลักทรัพย์บอมเบย์
บีเอสอี (BSE)
ประเภทตลาดหลักทรัพย์
ที่ตั้งมุมไบ, อินเดีย
ก่อตั้งเมื่อ9 กรกฎาคม 1877
บุคลากรสำคัญ
สกุลเงินรูปีอินเดีย ()
จำนวนการจดทะเบียน5,439[2]
มูลค่าตามราคาตลาด151,970.87 billion (65 ล้านล้านบาท) (March 2019)[3]
ดัชนีBSE SENSEX
S&P BSE SmallCap
S&P BSE MidCap
S&P BSE LargeCap
BSE 500
เว็บไซต์www.bseindia.com

บีเอสอี (BSE) หรือชื่อเดิม ตลาดหลักทรัพย์บอมเบย์ จำกัด (อังกฤษ: Bombay Stock Exchange Ltd., มราฐี: मुंबई रोखे बाजार) เป็นตลาดหลักทรัพย์อินเดีย ตั้งอยู่ที่ถนนดะลาล (Dalal Street) นครมุมไบ

บีเอสอีก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1875[4] และเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปเอเชีย[5] บีเอสอีเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 10 ด้วยมูลค่าตามราคาตลาด 2.2 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ (เมษายน 2018)[2]

ประวัติ

[แก้]

ตลาดหลักทรัพย์ร็อคกี (Rocky stock exchange) ก่อตั้งขึ้นโดยเปรมจันท์ โรยจันท์ (Premchand Roychand)[6] นักธุรกิจผู้มีอิทธิพลในบอมเบย์เมื่อศตวรรษที่ 19 เขาทำกำไรมหาศาลได้จากธุรกิจการซื้อขายหลักทรัพย์ (stockbroking business) และกลายมาเป็นที่รู้จักในชื่อ ราชาฝ้าย (Cotton King), ราชาทองคำแท่ง (Bullion King) หรือ บิ๊กบูลล์ (Big Bull) นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ก่อตั้งของสมาคมผู้ถือหุ้นและนักเล่นหุ้นพื้นเมือง (Native Share and Stock Brokers Association) หน่วยงานที่ปัจจุบันรู้จักในชื่อของบีเอสอี (BSE)[7]

สถานที่แรกที่เป็นที่นัดพบกันของนักเล่นหุ้นในยุคทศวรรษ 1850s คือบริเวณใต้ต้นไทรหน้าศาลาว่าการบอมเบย์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสวนสาธารณะฮอร์เนมานเซอร์เคิล (Horniman Circle) หนึ่งทศวรรษถัดมา เหล่าบรรดานายหน้าได้ย้ายไปนัดพบกันที่ใต้ต้นไทรที่แยกบนถนนเมโดวส์ (Meadows Street) ซึ่งในขณะนั้นชื่อว่าถนนเอสพลานาด (Esplanade Road) ปัจจุบันคือถนนมหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi Road) ด้วยจำนวนผู้เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ในที่สุดเมื่อปี 1874 บรรดานายหน้าได้จัดตั้งสถานที่ถาวรขึ้นบนนถนนที่ตั้งชื่อว่า ถนนดะลาล (Dalal Street) (แปลว่าถนนนายหน้า; Brokers' Street)

ตลาดหลักทรัพย์อินเดียถือว่าเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปเอเชีย[8] ย้อนไปในปี 1855 ซึ่งมีผู้เล่นหุ้นจำนวน 22 คน[9] รวมตัวกันใต้ต้นไทรหน้าศาลาว่าการนครมุมไบ และมีการย้ายสถานที่ไปมาตามจำนวนผู้คนที่เพิ่มขึ้น จนท้ายที่สุดได้เลือกสถานที่ทำการถาวรในปี 1874 ที่ถนนดะลาล (Dalal Street) และกลายมาเป็นองค์กรอย่างเป็นทางการภายใต้ชื่อ "สมาคมผู้ถือหุ้นและนักเล่นหุ้นพื้นเมือง" ("The Native Share & Stock Brokers Association") ในปี 1875

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 1957 บีเอสอีได้กลายเป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกที่รัฐบาลอินเดียรับรองภายใต้ Securities Contracts Regulation Act ต่อมาในปี 1980 ตลาดหลักทรัพย์ได้ย้ายไปทำการในอาคารตลาดหลักทรัพย์บอมเบย์ หรือชื่อปัจจุบันคือ อาคารพีโรซ จีจีภาย ทาวเวอรส์ (Phiroze Jeejeebhoy Towers)[10] บนถนนดะลาล (Dalal Street) ย่านฟอร์ต (Fort precinct)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "bse bod".
  2. 2.0 2.1 "Monthly Reports - World Federation of Exchanges". WFE.
  3. "BSE - Equity Market Capitalisation". Bombay Stock Exchange. สืบค้นเมื่อ July 27, 2018.
  4. "BSE-Introduction". www.bseindia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2018. สืบค้นเมื่อ 31 January 2018.
  5. Dr.Priya Rawal (16 April 2015). Indian Stock Market and Investors Strategy. Dr.Priya Rawal. pp. 12–. ISBN 978-1-5053-5668-7.
  6. Bhupta, Malini (21 August 2006). "Sushil Premchand: Keeping India's spirit of enterprise alive". India Today. Living Media. สืบค้นเมื่อ 17 April 2019.
  7. Mishra, Ashish K. (23 May 2015). "Premchand Roychand: Mumbai's original share king".
  8. "BSE-Introduction". www.bseindia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-17. สืบค้นเมื่อ 2020-04-26.
  9. Mishra, Ashish K. (2015-05-23). "Livemint: Business news, financial news, current affairs and analysis of stock markets and Indian economy". livemint.com/. สืบค้นเมื่อ 2017-06-17.
  10. ดูการทับศัพท์เป็นภาษาไทยของชื่อ Phiroze ได้ที่ en:Phiroze และ Jeejeebhoy จากบุคคลที่ชื่อ Jeejeebhoy เช่นกัน ผ่านชื่อที่เขียนด้วยอักษรเทวนาครีที่ mr:जमशेटजी_जीजीभाय บนวิกิพีเดียภาษามราฐา

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

18°55′47″N 72°50′00″E / 18.9298°N 72.8334°E / 18.9298; 72.8334 (Bombay Stock Exchange)