ข้ามไปเนื้อหา

ภาวะเงินฝืด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในด้านเศรษฐศาสตร์ ภาวะเงินฝืด (อังกฤษ: deflation) เป็นการลดลงของระดับราคาทั่วไปในสินค้าและบริการ[1] ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้อลดลงต่ำกว่า 0% (อัตราเงินเฟ้อติดลบ) ภาวะเงินเฟ้อลดค่าของสกุลเงินเรื่อย ๆ แต่ภาวะเงินฝืดฉับพลันทำให้มันเพิ่มขึ้น นั่นทำให้สินค้าและบริการถูกซื้อมากขึ้นด้วยเงินจำนวนเท่าเดิม ภาวะเงินฝืดมีความแตกต่างจากภาวะเงินเฟ้อลดลง ซึ่งคือการที่อัตราเงินเฟ้อลดค่าลง อธิบายคือ เมื่อเงินเฟ้อลดลงถึงจุดต่ำกว่าเดิมแต่ยังมีค่าเป็นบวก[2]

นักเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไปเชื่อว่าภาวะเงินฝืดอย่างกะทันหันเป็นปัญหาในเศรษฐกิจสมัยใหม่ เพราะมันเพิ่มค่าจริงของหนี้ โดยเฉพาะถ้าภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว ภาวะเงินฝืดอาจทำให้ภาวะถดถอยรุนแรงและนำไปสู่วงจรอุบาทว์เงินฝืด (deflationary spiral)[3][4][5][6][7][8][9]

นักเศรษฐศาสตร์บางคนโต้แย้งว่าภาวะเงินฝืดที่ยืดเยื้อมีความเกี่ยวพันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพื้นฐานในระบบเศรษฐกิจเพราะว่าเมื่อผลิตภาพการผลิตรวมเพิ่มขึ้นต้นทุนสินค้าก็จะลดลง[10]

ภาวะเงินฝืดมักเกิดขึ้นเมื่อมีอุปทานสูง (มีส่วนเกินของผลผลิต) ความต้องการต่ำ (การบริโภคลดลง) หรืออุปทานเงินลดลง (บางครั้งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งเกิดจากการลงทุนอย่างประมาทหรือเครดิตครันช์) หรือเป็นเพราะเงินทุนไหลออกสุทธิทางเศรษฐกิจ[11] นอกจากนี้ ภาวะนี้ยังสามารถเกิดจากการแข่งขันที่มากเกินไปและการกระจุกตัวของตลาดที่น้อยเกินไป[12]

สาเหตุและประเภทที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

จากแบบจำลอง IS-LM (ดุลยภาพในตลาดผลผลิตและดุลยภาพในตลาดเงิน) [13][14][15]ภาวะเงินฝืดเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปทานและอุปสงค์ของสินค้าและบริการ ภาวะเช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้จากอุปทานพิ่มขึ้นแต่อุปสงค์ลดลง

เมื่อราคาสินค้าปรับต่อเนื่องลงผู้บริโภคก็อาจชะลอการซื้อสินค้าและบริการเนื่องจากกังวลว่าราคาสินค้าจะลดลงอีก ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมลดลง เมื่อแรงซื้อลดลงกำลังการผลิตและการลงทุนก็ลดลงส่งผลให้อุปสงค์มวลรวมลดลง สภาวะเช่นนี้เรียกว่า "วงจรเงินฝืด" หากจะแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างรวดเร็วต้องมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยเพื่อกระตุ้นการผลิต เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน หรือธนาคารกลางเริ่มปรับนโยบายการเงินให้สอดคล้องกับสถานภาพทางเศรษฐกิจ [15]

ภาวะเงินฝืดยังสามารถเกี่ยวข้องกับนักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยงได้หมายความว่า นักลงทุนและผู้มีกำลังซื้อจะเริ่มกักตุนเงินไว้เนื่องจากมูลค่าของเงินเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปผลมาจากราคาสินค้าลดลงทำให้เงินมีอำนาจซื้อมากขึ้นซึ่งอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์กับดักสภาพคล่องจะนำไปสู่การขาดแคลนเงินในระบบเศรษฐกิจไม่เกิดการจ้างงานและการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์จะลดลงตามลำดับ ทั่วไปแล้วธนาคารกลางจะไม่สามารถดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายดอกเบี้ยติดลบได้ หรือหากจะดำเนินนโยบายการเงินแบบดอกเบี้ยติดลบนั้นก็ไม่ได้ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจมากไปกว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบดอกเบี้ยติดลบเท่ากับว่าผลตอบแทนจากตราสารหนี้ของรัฐบาลหรือผลตอบแทนเชิงลบจากตราสารหนี้ระยะสั้นก็เป็นศูนย์ ในระบบเศรษฐกิจเปิดการดำเนินนโยบายลักษณะนี้จะทำให้ค่าเงินอ่อนลง ค่าเงินที่อ่อนลงหมายความว่าจะทำให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องกระตุ้นภาคการส่งออก [16]

ผลกระทบ

[แก้]

การใช้จ่ายและการกู้ยืม

[แก้]

บางส่วนเชื่อว่าภาวะเงินฝืดจะส่งผลดีก็ต่อเมื่อหากไม่มีหนี้สินจำนวนมากเพราะะราคาสินค้าที่ลดลงจะเพิ่มอำนาจซื้อ แต่กระนั้นในขณะที่อำนาจซื้อของเงินของคนใดคนหนึ่งเพิ่มขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อคนบางกลุ่ม กลับกันภาวะเงินฝืดทำให้คนมีอำนาจซื้อมากขึ้นแต่ก็ทำให้คนอื่นต้องแบกรับภาระหนี้เพิ่มขึ้นเช่นกัน ในช่วงภาวะเงินฝืดมูลค่าของหนี้จะเพิ่มขึ้นมากกว่าตอนนี้ก่อหนี้ครั้งแรก ภาวะเงินฝืดถือได้ว่าเป็นการเพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างว่าหากภาวะเงินฝืดเฉลี่ยอยู่ที่ 10% ต่อปีเทียบได้กับช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา แม้แต่เงินกู้ที่ไร้ซึ่งดอกเบี้ยก็ไม่มีผู้ใดสนใจ เนื่องจากหากกู้มาแล้วต้องชำระคืนด้วยเงินที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 10% ทุกปี [17]

การออมและการลงทุน

[แก้]

ภาวะเงินฝืดอาจทำให้การลงทุนภาคเอกชนลดลง เนื่องจากนักลงทุนคาดหวังว่าเมื่อราคาในอนาคตลดลงผลกำไรในอนาคตก็จะลดลงเช่นกัน ดังนั้นภาคเอกชนที่พากันลดการลงทุนลงจะทำให้ภาวะเงินฝืดรุนแรงขึ้นจนทำให้อุปสงค์มวลรวมลดลง สถาบันโดยทั่วไปจะระมัดระะวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้นจึงได้รับผลตอบแทนจากการออมเป็นอำนาจซื้อที่มากขึ้น นักเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไปมองว่าพฤติกรรมการสะสมเก็บออมเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ฟรีดริช ฮาเยกซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายอิสรนิยมแบบออสเตรียเขียนไว้ว่า:

เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่าการเก็บเงินสะสมเงิน ไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือเงินคงเหลือในบัญชี ก็ล้วนแต่ทำให้เกิดภาวะเงินฝืด ไม่มีใครคิดว่าภาวะเงินฝืดเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาในตัวของมันเอง

— —ฮาเยก (1932)[18]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Robert J. Barro and Vittorio Grilli (1994), European Macroeconomics, chap. 8, p. 142. ISBN 0-333-57764-7
  2. O'Sullivan, Arthur; Sheffrin, Steven M. (2003). Economics: Principles in Action. Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Prentice Hall. p. 343. ISBN 0-13-063085-3.
  3. Harry Wallop, Harry Wallop (18 November 2008). "Deflation: why it is dangerous". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 20 September 2016.
  4. "The Economist explains: Why deflation is bad". Economist. Economist magazine. 7 Jan 2015. สืบค้นเมื่อ 20 September 2016.
  5. Krugman, Paul (2 August 2010). "Why is Deflation Bad?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 20 September 2016.
  6. Walker, Andrew (29 January 2016). "Is deflation such a bad thing?". BBC. สืบค้นเมื่อ 20 September 2016.
  7. Thoma, Mark. "Explainer: Why is deflation so harmful?". Moneywatch. CBS. สืบค้นเมื่อ 20 September 2016.
  8. Hummel, Jeffrey Rogers. "Death and Taxes, Including Inflation: the Public versus Economists" (January 2007). [1]
  9. Blanchard, O.; Dell'Ariccia, G.; Mauro, P. (18 August 2010). "Rethinking macroeconomic policy". Journal of Money, Credit and Banking. 42 (1): 199–215. CiteSeerX 10.1.1.153.7293. doi:10.1111/j.1538-4616.2010.00334.x. S2CID 14824203.
  10. Bordo, Michael D.; Filardo, Andrew J. (2005-11-01). "Deflation in a Historical Perspective" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Rochester, NY. doi:10.2139/ssrn.860404. S2CID 153344185. SSRN 860404. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  11. "What Causes Negative Inflation (Deflation)?".
  12. "Market Models: Pure Competition, Monopolistic Competition, Oligopoly, and Pure Monopoly".
  13. Hicks, J. R. (1937). "Mr. Keynes and the "Classics"; A Suggested Interpretation". Econometrica. 5 (2): 147–159. doi:10.2307/1907242. JSTOR 1907242.
  14. Meade, J. E. (1937). "A Simplified Model of Mr. Keynes' System". The Review of Economic Studies. 4 (2): 98–107. doi:10.2307/2967607. JSTOR 2967607.
  15. 15.0 15.1 Blanchard, Olivier (2021). Macroeconomics (ภาษาอังกฤษ) (8th ed.). London: Pearson. ISBN 978-0-13-489789-9.
  16. Hussman, John O. (2010). "Bernanke Leaps into a Liquidity Trap".
  17. Selgin, George (1997). "Less Than Zero: The Case for a Falling Price Level in a Growing Economy" (PDF). IEA Hobart Paper. London: Institute of Economic Affairs. 32: 87. ISSN 0073-2818. สืบค้นเมื่อ 4 December 2014.
  18. "Hayek's 1932 Letter on the Great Depression". But Now You Know. 25 November 2010.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Nicola Acocella, The deflationary bias of exit strategies in the EMU countries, in: Review of economic conditions in Italy, 2-3: 471–93, (2011).
  • Ben S. Bernanke. Deflation: Making Sure "It" Doesn't Happen Here. USA Federal Reserve Board. 2002-11-21. Accessed: 2008-10-17. (Archived by WebCite at เก็บถาวร 2008-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Michael Bordo & Andrew Filardo, Deflation and monetary policy in a historical perspective: Remembering the past or being condemned to repeat it?, In: Economic Policy, October 2005, pp. 799–844.
  • Georg Erber, The Risk of Deflation in Germany and the Monetary Policy of the ECB. In: Cesifo Forum 4 (2003), 3, pp. 24–29
  • Charles Goodhart and Boris Hofmann, Deflation, credit and asset prices, In: Deflation - Current and Historical Perspectives, eds. Richard C. K. Burdekin & Pierre L. Siklos, Cambridge University Press, Cambridge, 2004.
  • International Monetary Fund, Deflation: Determinants, Risks, and Policy Options - Findings of an Independent Task Force, Washington D. C., April 30, 2003.
  • International Monetary Fund, World Economic Outlook 2006 – Globalization and Inflation, Washington D. C., April 2006.
  • Otmar Issing, The euro after four years: is there a risk of deflation?, 16th European Finance Convention, 2 December 2002, London, Europäische Zentralbank, Frankfurt am Main
  • Steven B. Kamin, Mario Marazzi & John W. Schindler, Is China "Exporting Deflation"?, International Finance Discussion Papers No. 791, Board of Governors of the Federal Reserve System, Washington D. C. January 2004.
  • Krugman, Paul (1998). "Its Baaaaack: Japan's Slump and the Return of the Liquidity Trap" (PDF). Brookings Papers on Economic Activity. 1998 (2): 137–205. doi:10.2307/2534694. JSTOR 2534694.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]