ช่องเวิร์คพอยท์
ประเทศ | ไทย |
---|---|
พื้นที่แพร่ภาพ | ประเทศไทย |
เครือข่าย | ช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ ช่องโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ |
สำนักงานใหญ่ | 99 หมู่ 2 ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี |
แบบรายการ | |
ระบบภาพ | 576i (16:9 คมชัดปกติ) 720p (16:9 ภาพคมชัดสูง/ออนไลน์) |
ความเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด |
บริษัทแม่ | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
บุคลากรหลัก | ปัญญา นิรันดร์กุล (ประธาน) ประภาส ชลศรานนท์ (รองประธาน) ชลากรณ์ ปัญญาโฉม (CEO ดิจิทัล) |
ประวัติ | |
เริ่มออกอากาศ |
|
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www |
ออกอากาศ | |
ภาคพื้นดิน | |
ดิจิทัล | ช่อง 23 (มักซ์#2 : ททบ.) |
เคเบิลทีวี | |
ช่อง 23 | |
ทีวีดาวเทียม | |
ไทยคม 6 C-Band | 3920 H 30000 |
ไทยคม 6 C-Band | 4080 H 30000 |
ไทยคม 8 KU-Band | 11560 H 30000 |
ช่อง 23 | |
สื่อสตรีมมิง | |
WPtv | เวิร์คพอยท์ |
ช่องเวิร์คพอยท์ เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ รูปแบบรายการทั่วไป ประเภทความละเอียดมาตรฐาน บริหารงานโดย บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด ในเครือบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เน้นออกอากาศรายการเกมโชว์และวาไรตี้โชว์เป็นหลัก รวมถึงย้ายรายการที่เวิร์คพอยท์เคยผลิตออกอากาศทางฟรีทีวีในอดีตมาออกอากาศในช่องนี้ด้วย
ประวัติ
[แก้]ช่องเวิร์คพอยท์เริ่มทดลองออกอากาศโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554[1] และมีการกำหนดผังรายการอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยเน้นออกอากาศรายการที่เวิร์คพอยท์เคยผลิตออกอากาศทางฟรีทีวีในอดีต เดิมกำหนดยุติระยะทดลองและเริ่มออกอากาศเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 แต่เนื่องจากอาคารปฏิบัติการของเวิร์คพอยท์ในจังหวัดปทุมธานี ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ จึงเลื่อนกำหนดการดังกล่าวเป็นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน
ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 บมจ.เวิร์คพอยท์ฯ มอบหมายให้ บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูก เข้าร่วมประมูลช่องรายการกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. สำหรับการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ในประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง และภาพคมชัดปกติ ผลปรากฏว่า บจก.ไทย บรอดคาสติ้ง ผ่านการประมูลในประเภทภาพคมชัดปกติ หมายเลขช่อง 23 โดยเริ่มทดลองออกอากาศภาคพื้นดิน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 พร้อมกับผู้ประกอบการส่วนมาก[2]
การปรับช่องหมายเลขและความคมชัด
[แก้]กสทช. เรียงลำดับโทรทัศน์ระบบจานดาวเทียมและเคเบิล โดยกำหนดให้มี 10 ช่องหมายเลขแรก และตามด้วยช่องทีวีดิจิทัล ซึ่งกล่องจานดาวเทียมพีเอสไอ ช่องเวิร์คพอยท์ อยู่หมายเลข 1 จึงใช้ชื่อว่า "ช่อง 1 เวิร์คพอยท์" ส่วนกล่องดาวเทียมรุ่นอื่น ๆ จะอยู่หมายเลข 33 และระบบดิจิทัลหมายเลข 23 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ต่อมาตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ในระบบดาวเทียมและเคเบิล ช่องเวิร์คพอยท์อยู่หมายเลข 33 ซึ่งช่องเวิร์คพอยท์ที่อยู่หมายเลข 1 ของกล่องจานดาวเทียมพีเอสไอ ได้นำออกไป
ในประเภทรายการทั่วไป ผลปรากฏว่า บจก.ไทย บรอดคาสติ้ง ผ่านการประมูลในประเภทภาพคมชัดปกติ แต่กล่องจานดาวเทียมพีเอสไอ ได้ออกอากาศช่องเวิร์คพอยท์ในภาพคมชัดสูง กสทช. จึงแจ้งเตือนให้ปรับความคมชัดลง[3] และตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป กสทช. ได้ยกเลิก 10 ช่องหมายเลขแรกของจานดาวเทียม และจัดเรียงช่องเบอร์เดียวทุกระบบ ทุกแพลตฟอร์ม เพื่อไม่ให้ผู้รับชมเกิดความสับสนหมายเลขช่อง[4][5] ทำให้ช่องเวิร์คพอยท์ถูกบังคับให้ออกอากาศทางช่องหมายเลข 23 ทุกระบบ และส่งผลให้เวิร์คพอยท์ต้องโปรโมทช่องของตัวเองใหม่ว่า "ช่องเวิร์คพอยท์ กดหมายเลข 23"
รายการข่าว
[แก้]ช่องเวิร์คพอยท์เริ่มมีรายการข่าวตั้งแต่สมัยอยู่ดาวเทียมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โดยว่าจ้างมติชนให้ผลิตรายการ โดยเริ่มออกอากาศวันแรกในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555[6] ต่อมาจึงได้เพิ่มข่าวในช่วงเวลาต่าง ๆ และข่าวต้นชั่วโมงเรื่อย ๆ จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2558 ช่องเวิร์คพอยท์ต้องการสร้างทีมข่าวเอง จึงได้เรียกคืนเวลารายการข่าวซึ่งเป็นของมติชนทีวีเดิมมาผลิตเองทั้งหมด โดยได้ตั้งทีมข่าว "เวิร์คพอยท์นิวส์" มาผลิตรายการข่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน[7] ต่อมาในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 จึงได้เปิดตัวรายการใหม่ "เวิร์คพอยท์ทูเดย์" ซึ่งเป็นรายการข่าวทางออนไลน์ของทีมข่าวเวิร์คพอยท์นิวส์ ก่อนจะมีการปรับรูปแบบเวิร์คพอยท์นิวส์ขึ้นเป็นสำนักข่าวออนไลน์เต็มรูปแบบในชื่อ "เวิร์คพอยท์ทูเดย์" ในปี พ.ศ. 2563[8] และแยกพื้นที่นำเสนอออกจากทีมข่าวทางโทรทัศน์อยู่แต่เดิมซึ่งต่อมาในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563 เปลี่ยนชื่อเป็น "ข่าวเวิร์คพอยท์ 23" แต่ยังคงทำงานร่วมกันอยู่[9]
ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในปัจจุบันที่มีชื่อเสียง
[แก้]- สมภพ รัตนวลี (ติ่ง)
- บรรจง ชีวมงคลกานต์ (จง)
- รินรดา รวีเลิศ (หยก)
- สุภาพชาย บุตรจันทร์ (แป๊ะ)
- กิตติกรณ์ ศิลปดนตรี (เบนซ์)
- อุมาพร ธำรงวงศ์โสภณ (ลูกตาล)
- ธนภัทร ติรางกูล (ชิน)
- กาลเวลา เสาเรือน (ปอเปิ๊ยะ)
- สุดารัตน์ บุตรพรม (ตุ๊กกี้)
- กรกันต์ สุทธิโกเศศ (อาร์ม)
- ภาคภูมิ จงมั่นวัฒนา (อุล)
รายการข่าวในปัจจุบันที่มีชื่อเสียง
[แก้]รายการข่าว | ผู้ประกาศข่าว |
---|---|
ตลาดข่าวเวิร์คพอยท์ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 05:00 – 06:30 น. |
สุภาพชาย บุตรจันทร์ บรรจง ชีวมงคลกานต์ รินรดา รวีเลิศ |
ข่าวเช้าเวิร์คพอยท์ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 06:30 – 08:45 น. | |
ห้องข่าวบันเทิง วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08:45 – 09:20 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 08:30 – 09:00 น. |
สุดารัตน์ บุตรพรม กรกันต์ สุทธิโกเศศ (วันจันทร์ – วันศุกร์) ภาคภูมิ จงมั่นวัฒนา (วันเสาร์ – วันอาทิตย์) กาลเวลา เสาเรือน (ตีสนิทติดเปี๊ยะ) |
โต๊ะหนูแหม่ม วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 11:00 – 11:45 น. |
สุริวิภา กุลตังวัฒนา |
สดข่าวเที่ยง วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 11:45 – 13:00 น. |
กิตติกรณ์ ศิลปดนตรี อุมาพร ธำรงวงศ์โสภณ ธนภัทร ติรางกูล (สดจากที่จริง) |
เคลียร์ ชัด ชัด วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 13:00 – 13:45 น. |
ภูวนาท คุนผลิน ปนัดดา วงศ์ผู้ดี นารากร ติยายน |
ติ่งข่าว วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14:35 – 14:45 น. |
สมภพ รัตนวลี รินรดา รวีเลิศ |
ติ่งชงจงเสิร์ฟ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 15:15 – 16:15 น. |
สมภพ รัตนวลี บรรจง ชีวมงคลกานต์ |
บรรจงชงข่าว วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 16:15 – 17:47 น. |
บรรจง ชีวมงคลกานต์ ณัฏฐ์ชนิตว์ เทียนน้อย (ร้องทุกข์กับบรรจง) ธนภัทร ติรางกูล (ชินสแกนโกง) |
ไฮไลท์บันเทิง วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 17:57 – 18:00 น. |
กาลเวลา เสาเรือน |
2 ข่าวใหญ่ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 19:57 – 20:00 น. |
ธนภัทร ติรางกูล |
ข่าวในพระราชสำนัก วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 20:00 – 20:15 น. |
ดึงสัญญาณโดยไทยพีบีเอสและช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี |
ตลาดข่าวสุดสัปดาห์ วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 05:00 – 06:30 น. |
สุภาพชาย บุตรจันทร์ บรรจง ชีวมงคลกานต์ รินรดา รวีเลิศ |
ข่าวเช้าเวิร์คพอยท์ สุดสัปดาห์ วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 06:30 – 08:30 น. | |
ชงข่าววันเสาร์ วันเสาร์ เวลา 14:00 – 15:45 น. ยกเว้นสัปดาห์แรกของเดือน |
กิตติกรณ์ ศิลปดนตรี |
ติ่งข่าวสุดสัปดาห์ วันอาทิตย์ เวลา 09:00 – 09:30 น. |
สมภพ รัตนวลี รินรดา รวีเลิศ |
ชงข่าววันอาทิตย์ วันอาทิตย์ เวลา 14:00 - 15:45 น. |
อุมาพร ธำรงวงศ์โสภณ |
ข่าวใหม่ต้นชั่วโมง วันจันทร์ – วันอาทิตย์ ทุกช่วงเวลา |
ผู้ประกาศข่าวเวิร์คพอยท์ |
ลุยสดข่าวจริง ออกอากาศรับชมทางออนไลน์ |
ผู้สื่อข่าวเวิร์คพอยท์สดจากที่จริง |
ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในอดีต
[แก้]- อาลิซาเบธ แซ๊ดเลอร์ ลีนานุไชย (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
- ญาณิน ญาณัชปวีณ (ปัจจุบันอยู่ช่องวัน 31และจีเอ็มเอ็ม 25 ในนามสำนักข่าววันนิวส์)
- เบญจพล เชยอรุณ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ปิยพัชร์ จิรประเสริฐกุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ธนกฤต ชูเชิด (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ณัฐพล เหลืองกนกนวนิช (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อนัญญา โตแสงชัย (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- นิศรารัตน์ วิไลลักษณ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วรานนท์ ปัจจัยโค (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ปิยะดา จิระพจชพร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- มรกต แสงทวีป (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- สุจิรา อรุณพิพัฒน์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- อคัมย์สิริ สุวรรณศุข (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วรพรรณ ยาคอปเซ่น (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- พงษ์พิสุทธิ์ ผิวอ่อน (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนและพิธีกรอิสระ)
- ลลิดา ทองหล่อ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ฤๅชนก มีแสง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ไชยา มิตรชัย (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ศิลป์ รุจิรวนิช (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ดนู ชุตินาวี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- นัฐฐพนท์ ลียะวณิช (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อติชาญ เชิงชวโน (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ชลธิชา อัศวาณิชย์ (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
- เกียรติ กิจเจริญ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- คาร์บอน ยุทธนา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สุคนธวา เกิดนิมิตร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ธัณย์สิตา สุวัชราธนากิตติ์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- มงคล สะอาดบุญญพัฒน์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- อดินันท์ เหมือนยัง (ปัจจุบันอยู่สำนักข่าวมติชน)
- ธนรัชต์ คูสมบัติ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สุวกรณ์ ผลึกมณฑล (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
- วาสนา ศรีผ่อง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ปาณิสรา ข่มอาวุธ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ปานดวงเนตร กล่อมใจ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ปาณรวัฐ ลิ่มรัตนอาภรณ์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- สมศักดิ์ ศรีชุ่ม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ตรัย นุ่มแก้ว (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ชมพูนุช ตัณฑเศรษฐี (ปัจจุบันอยู่เอ็นบีที 2 เอชดีและพิธีกรอิสระ)
- ดนยกฤตย์ แดงหวานปีสีห์ (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
- ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ และผู้อำนวยการวิทยาลัยธุรกิจเทคโนโลยีการอาหารไทยและนานาชาติ TIFTEC)
- ประภาศรี สภานนท์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
รางวัล
[แก้]- รางวัลสื่อมวลชนด้านภัยพิบัติดีเด่น ประจำปี 2563 มอบโดย ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563
- รางวัลหน่วยงานทำคุณประโยชน์เพื่อสังคม ประจำปี 2563 มอบโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 31 ประจำปี 2559 รางวัลสถานีโทรทัศน์ส่งเสริมรายการปกิณกะดีเด่น วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2560 จัดโดยชมรมส่งเสริมโทรทัศน์
- รางวัลดาวเมขลา ประจำปี 2559 ประเภทรางวัลสถานีดิจิทัลยอดเยี่ยม วันที่ 30 มีนาคม 2559[10]
- รางวัลสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลที่มีพัฒนาการดีเด่น งานประกาศรางวัล MAYA AWARDS “มายามหาชน 2015” จัดโดย นิตยสาร MAYA CHANNEL วันที่ 9 กันยายน 2558
- รางวัล Creative Entertainment Award ในงานประกาศรางวัล Me Awards 2015 จัดโดยนิตยสาร Me วันที่ 24 กรกฎาคม 2558
- รางวัลประกาศเกียรติคุณทูตพระพุทธศาสนา วิสาขบูชาโลก ประจำปี 2558 ประเภทสถานีโทรทัศน์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา วันที่ 28 พฤษภาคม 2558
- รางวัลราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ รางวัลสถานีโทรทัศน์ที่สนับสนุนผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ซึ่งได้รับรางวัลราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558[11]
- รางวัล"พิฆเนศวร" รางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2557 ประเภทสถานีดิจิทัลทีวียอดเยี่ยม วันที่ 31 กรกฎาคม 2557[12]
- รางวัล Thailand Zocial Awards 2022 Best Brand Performance on Social Media สาขา Broadcasting[13]
- รางวัล Maya Entertain Awards 2022 สาขา สถานีโทรทัศน์วาไรตี้สร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ประจำปี 2022[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติ ช่องเวิร์คพอยท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-28. สืบค้นเมื่อ 2015-09-29.
- ↑ เริ่มแล้วทดลองออกอากาศ “ทีวีดิจิตอล” 1เม.ย.
- ↑ สั่ง PSI ถอด HD ช่องเวิร์คพอยท์ 28-06-59
- ↑ thairath บังคับเรียงช่องทีวีดิจิตอลเริ่ม 1 ธ.ค.นี้
- ↑ thairath ทุกแพลตฟอร์มเรียงช่องให้ตรงกัน
- ↑ มติชนทีวี ข่าวค่ำ เตรียมออนแอร์แล้ว พร้อมชมคลิปรายการ "มติชนวิเคราะห์"[ลิงก์เสีย]
- ↑ เวิร์คพอยท์ เลิกจ้าง มติชน หันมาผลิตข่าวเอง ดึง บรรจง รอง ผอ. ฝ่ายข่าว, เอ็มจีอาร์ออนไลน์.
- ↑ "แนะนำตัว 'workpointTODAY' สำนักข่าวที่ตั้งใจทำงานเพื่อให้วันนี้ดีกว่าเมื่อวาน". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 9 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เปิดตัว 'workpoint TODAY' สำนักข่าวที่ตั้งเป้านำเสนอสาระความรู้ที่น่าเชื่อถือ เข้าถึงคน 35 ล้านราย". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 6 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รางวัลและความสำเร็จ 2559". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 2016-09-15.
- ↑ "รางวัลและความสำเร็จ 2558". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 2016-09-15.
- ↑ "รางวัลและความสำเร็จ 2557". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 2016-09-15.
- ↑ "THAILAND ZOCIAL AWARDS ครั้งที่ 10 งานประกาศรางวัลโซเชียลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด". สปริงนิวส์. 2022-02-22. สืบค้นเมื่อ 2022-02-22.
- ↑ TNN ช่อง16 (2022-05-19). "คนบันเทิงรับรางวัลแห่งปี ในงาน Maya Entertain Awards 2022". trueiD. สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
ดูเพิ่ม
[แก้]- เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
- รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ช่องเวิร์คพอยท์
- รายชื่อผลงานของเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์