เรือหลวงนราธิวาส
เรือหลวงนราธิวาส (OPV-512) ระหว่างกิจกรรมทางเรือนานาชาติ “มิลาน 2018”
| |
ประวัติ | |
---|---|
ประเทศไทย | |
ชื่อ | เรือหลวงนราธิวาส |
ตั้งชื่อตาม | จังหวัดนราธิวาส |
ผู้ให้บริการ | ราชนาวีไทย |
อู่เรือ | หูตง-จงหัว ชิปบิลดิง, เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน |
เข้าประจำการ | 6 เมษายน พ.ศ. 2549 |
รหัสระบุ |
|
คำขวัญ |
|
สถานะ | อยู่ในประจำการ |
สัญลักษณ์ | |
ลักษณะเฉพาะ | |
ชั้น: | เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นนราธิวาส |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): | บรรทุกสูงสุด 1,440 ลองตัน (1,460 ตัน) |
ความยาว: | 94.5 เมตร (310 ฟุต 0 นิ้ว) |
ความกว้าง: | 11.8 เมตร (38 ฟุต 9 นิ้ว) |
กินน้ำลึก: | 3.3 เมตร (10 ฟุต 10 นิ้ว) |
ระบบขับเคลื่อน: | 2 × รัสตัน16 อาร์เค 270 เครื่องยนต์ดีเซล, ขับสองเพลาด้วยใบพัดที่สามารถควบคุมได้ |
ความเร็ว: | 25 นอต (46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 29 ไมล์ต่อชั่วโมง) |
พิสัยเชื้อเพลิง: | 3,500 nmi (6,500 km; 4,000 mi) ที่ 15 kn (28 km/h; 17 mph) |
อัตราเต็มที่: | 84 นาย |
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ: |
|
สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง: | 1 × ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ Vigile 100S Mk.2 |
ยุทโธปกรณ์: |
|
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: | 1 × ดาดฟ้าบิน |
เรือหลวงนราธิวาส (OPV-512) (อังกฤษ: HTMS Narathiwat) เป็นเรือลำที่สองในเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี สังกัดกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ [2]กองทัพเรือไทย
ประวัติ
[แก้]กองทัพเรือไทยได้เสนอโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจำนวน 2 ลำต่อกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 โดยจัดหาเรือจากประเทศจีนด้วยการว่าจ้าง บริษัทไซน่าชิป บิวดิ้ง เทรดดิ้ง จำกัด ในลักษณะระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลจีน งบประมาณผูกพันข้ามปีระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2549 วงเงิน 3,200 ล้านบาท[3] เพื่อตอบสนองภารกิจในการปกป้องอธิปไตย และป้องกันการกระทำผิดทางทะเล ซึ่งก่อนหน้านี้ประสบปัญหาขาดเรือสำหรับปฏิบัติการไกลจากชายฝั่งซึ่งต้องเป็นเรือขนาดใหญ่และทนทะเลสูง ขณะที่เรือที่มีศักยภาพดังกล่าวคือเรือฟริเกตก็เป็นเรือที่ออกแบบมาสำหรับการรบเป็นหลัก ทำให้มีการใช้กำลังพลและอัตราอาวุธขนาดหนัก ส่งผลให้สิ้นเปลืองการส่งกำลังบำรุงในการปฏิบัติการ กองทัพเรือจึงได้จัดหารเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเข้ามาปฏิบัติการจำนวน 2 ลำ และมีขนาดใกล้เคียงกับเรือฟริเกต โดยเรือที่จัดหามานี้ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ เรือหลวงปัตตานี (OPV-511) และเรือหลวงนราธิวาส (OPV-512)[4]
เรือหลวงนราธิวาส ต่อขึ้นในลักษณะต่อตัวเรือทั้งหมดที่ประเทศจีน พร้อมทั้งติดตั้งระบบอิเล็คทรอนิกส์ต่าง ๆ บนเรือเป็นระบบของประเทศตะวันตก จากนั้นได้นำเรือเปล่าแล่นกลับมาที่ประเทศไทยเพื่อติดระบบอาวุธและระบบอำนวยการรบ[3]
เรือหลวงนราธิวาส ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2549[3] และมีพิธีต้อนรับเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ณ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พลเรือเอก วิชัย ยุวนางกูร รองผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานในพิธีต้อนรับเรือ[4]
ในปี พ.ศ. 2567 กองทัพเรือได้มีแผนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพเรือหลวงนราธิวาส วงเงินงบประมาณ 2,750 ล้านบาท ประกอบไปด้วย เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ แบบ ซ้าบ Sea Giraffe 1X ระบบอำนวยการรบแบบ Catiz ระบบควบคุมการยิงแบบ STIR 1.2 EO Mk.2 และระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ Vigile 100S Mk.2[5]
การออกแบบ
[แก้]เรือหลวงนราธิวาส มีหมายเลขตัวเรือคือ 512 ต่อโดย หูตง-จงหัว ชิปบิลดิง เซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน มีคุณลักษณะตัวเรือ ความยาวตลอดลำเรือ 94.50 เมตร ความกว้างเรือ 11.80 เมตร เรือกินน้ำลึก 3.30 เมตร ทำความเร็วสูงสุด 25 นอต มีระวางขับน้ำสูงสุด 1,635 ตัน เรือมีระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,500 ไมล์ มีความคงทนทะเล ได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 5 สามารถปฏิบัติการต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 20 วัน มีกำลังพลประจำเรือ 84 นาย เรือมีดาดฟ้าบินรับเฮลิคอปเตอร์น้ำหนักได้ 7 ตัน พร้อมด้วยอากาศยานประจำเรือ แบบ Super Lynx 300
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ
[แก้]- เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ แบบ ซ้าบ Sea Giraffe 1X[5]
- เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำแบบ Selex RAN-30 X/I หรือ Leonardo[6]
- เรดาร์ทางยุทธวิธีแบบ LPI
- เรดาร์และออปโทรนิกส์สำหรับควบคุมการยิงแบบ เออร์ลิคอน TMX/EO[6]
- เรดาร์เดินเรือแบบ X Band
- เรดาร์เดินเรือแบบ S Band
- ระบบกล้องตรวจการณ์ 1 ระบบ
- ระบบสื่อสารแบบระบบรวมการสื่อสาร 1 ระบบ ของบริษัท Rohde & Schwarz
- ระบบอำนวยการรบแบบ Catiz[5]
- ระบบควบคุมการยิงแบบ STIR 1.2 EO Mk.2[5]
- ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ Vigile 100S Mk.2[5]
ระบบอาวุธเรือประกอบไปด้วย
[แก้]- ปืนหลักแบบ OTO Melara 76/62 มม. Super Rapid Fire จำนวน 1 กระบอก[7]
- ปืนกลขนาด 20 มิลลิเมตรแบบ Oerlikon GAM-C01 จำนวน 2 กระบอก
- ปืนกลขนาด .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก
ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย คือ
[แก้]- เครื่องจักรใหญ่แบบ รัสตัน 16 อาร์เค 270 ดีเซล จำนวน 2 เครื่อง[6]
- ใบจักร แบบ CPP 2 พวง
- เครื่องไฟฟ้า จำนวน 4 เครื่อง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.myshiptracking.com/vessels/htmsnarathiwat-512-mmsi-567043500-imo-0
- ↑ "ทัพเรือภาคที่ ๑ จัด เรือหลวงนราธิวาส กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ เป็นหน่วยเรือเดินทางเยือนเมืองท่าโฮจิมินห์". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "เรือหลวงนราธิวาส – Seafarer Library" (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 4.0 4.1 "กองทัพเรือจัดพิธีต้อนรับเรือหลวงนราธิวาส". ryt9.com.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 ""กองทัพเรือ" ยันเลือกของดี มาตรฐานยุโรป อัพเกรด "รล.ปัตตานี-รล.นราธิวาส" งบฯ 2,750 ล้าน". สยามรัฐ. 2024-09-02.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "คาดการณ์การปรับปรุงเรือชุดเรือหลวงปัตตานีในปีงบประมาณ 2565 งบ 3 พันล้านบาท". thaiarmedforce. 2021-02-13.
- ↑ "คาดการณ์การปรับปรุงเรือชุดเรือหลวงปัตตานีในปีงบประมาณ 2565 งบ 3 พันล้านบาท". thaiarmedforce. 2021-02-13.