ข้ามไปเนื้อหา

หูตง-จงหัว ชิปบิลดิง

พิกัด: 31°16′39″N 121°34′10″E / 31.27750°N 121.56944°E / 31.27750; 121.56944
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

31°16′39″N 121°34′10″E / 31.27750°N 121.56944°E / 31.27750; 121.56944

บริษัท หูตง-จงหัว ชิปบิลดิง กรุ๊ป
ชื่อท้องถิ่น
沪东中华造船 (集团) 有限公司
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
อุตสาหกรรมการต่อเรือ, ป้องกันประเทศ
ก่อตั้งพ.ศ. 2544
สำนักงานใหญ่เซี่ยงไฮ้, จีน
บริษัทแม่ไชน่าสเตท ชิปบิลดิง คอร์ปอเรชั่น
เว็บไซต์hz-shipgroup.cssc.net.cn

หูตง-จงหัว ชิปบิลดิง (อังกฤษ: Hudong–Zhonghua Shipbuilding) หรือ อู่ต่อเรือหูตง-จงหัว[1] เป็นบริษัทในเครือของ ไชน่าสเตท ชิปบิลดิง คอร์ปอเรชั่น (China State Shipbuilding Corporation: CSSC) ซึ่งผลิตเรือสำหรับพลเรือนและทางทหาร โดยหูตง-จงหัว ชิปบิลดิง อ้างว่าตนเป็น "แหล่งกำเนิดเรือฟริเกตและเรือยกพลขึ้นบกของจีน" จากผลงานที่บริษัทต่อเรือให้กับกองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชน[2]

ประวัติ

[แก้]
ตำแหน่งที่ตั้งใหม่ของ หูตง-จงหัว ชิปบิลดิง ที่เกาะฉางซิง

หูตง-จงหัว ชิปบิลดิง ก่อตั้งขึ้นโดยการควบรวมกิจการระหว่าง หูตง ชิปบิลดิงกรุ๊ป (Hudong Shipbuilding) และจงหัว ชิปยาร์ด (Zhonghua Shipyard)[3]

บริษัท หูตง-จงหัว เป็นผู้ก่อสร้างเรือ Dapeng Sun ซึ่งเป็นเรือบรรทุกแอลเอ็นจี (LNG) ลำแรกที่สร้างขึ้นในประเทศจีนซึ่งมีมูลค่า 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งมอบเกิดขึ้นล่าช้าจากกำหนดการเดิมสี่เดือนและเกิดขึ้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551[4][5]

ในปี พ.ศ. 2548 มีการประกาศว่า หูตง-จงหัว ตั้งใจที่จะลงทุนในกิจการร่วมค้ากับ České loděnice (อู่ต่อเรือเช็ก) ในเดซซิน[6] České loděnice หลีกเลี่ยงการล้มละลายโดยการควบรวมกิจการกับ VEKA Group ในปี พ.ศ. 2554[7] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544 ปั้นจั่นขาสูง (gantry crane) ขนาด 5,000 ตันเกิดการพังทลายลงที่ หูตงชิปบิลดิง กรุ๊ป (Hudong Shipbuilding Group) ขณะกำลังก่อสร้าง ทำให้คนงานเสียชีวิต 36 คนและบาดเจ็บอีก 8 คน นับเป็นปั้นจั่นตัวแรกที่ออกแบบและสร้างในประเทศจีน[8]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปั้นจั่นขาสูงขนาด 600 ตัน 2 ตัวพังทลายลงระหว่างการยกของ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และอีก 2 รายได้รับบาดเจ็บ[9]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 หูตง-จงหัว ได้รับสัญญาให้สร้างเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ชั้น ฌาคส์ อาร์ ซาอเด (Jacques Saadé) ขนาด 23,000 TEU[10] จำนวน 5 ลำจากทั้งหมด 9 ลำ[11] เรือเหล่านี้ถือเป็นเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเหลวในขณะนั้น โดยมีความยาว 400 เมตรและกว้าง 61 เมตร[12] ลำแรกคือ CMA CGM Jacques Saadé มีการส่งมอบในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2563[13] จากกำหนดการส่งมอบเดิมในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ซึ่งล่าช้าไป 10 เดือน[10] ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 เรือทั้ง 5 ลำที่ทำสัญญากับ หูตง-จงหัว ได้ถูกส่งมอบจนครบถ้วน[12]

ในปี พ.ศ. 2562 หูตง-จงหัว ได้เซ็นสัญญาจัดหาเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 23,000 TEU จำนวน 4 ลำจากบริษัทขนส่ง เอเวอร์กรีนของไต้หวัน หลังจากที่เคยส่งมอบเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 2,500 TEU จำนวน 4 ลำให้กับบริษัทเดียวกันนี้สำเร็จมาแล้ว โฆษกของบริษัท ไชน่าสเตทชิปบิลดิงคอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ หูตง-จงหัว กล่าวว่า "สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการเรือเดินทะเลรายใหญ่ ได้ให้การรับรองการออกแบบและการก่อสร้างเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่พิเศษของบริษัทต่อเรือนี้"[14]

ในปี พ.ศ. 2563 หูตง-จงหัว ได้เซ็นสัญญา 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในการจัดหาเรือบรรทุกก๊าซธรรมชาติเหลวจำนวน 16 ลำให้กับ กาตาร์ เอ็นเนอร์จี[15] การประมูลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนของ กาตาร์ เอ็นเนอร์จี ซึ่งเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวรายใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และอาจรวมถึงเรือบรรทุกก๊าซธรรมชาติเหลวมากถึง 100 ลำ[16][17]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 มีรายงานว่า หูตง-จงหัว ชิปบิลดิง จะย้ายไปที่เกาะฉางซิง (Changxing) ซึ่งอยู่ติดกับอู่ต่อเรือเจียงหนาน ชิปยาร์ด (Jiangnan Shipyard)[18] การก่อสร้างอู่ต่อเรือเริ่มขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 คาดว่าระยะแรกจากสองระยะจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2566 ภายใต้วงเงินมูลค่า 8 พันล้านหยวนจีน คาดว่าจะมีต้นทุนรวมอยู่ที่ 18 พันล้านหยวนจีน[19]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เอเวอร์กรีนได้เซ็นสัญญากับ หูตง-จงหัว ชิปบิลดิง เพื่อต่อเรือชั้น เอเวอร์กรีน เอ จำนวน 2 ลำ ขนาด 24,000 TEU ซึ่งจะกลายเป็นเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อพิจารณาจากจำนวน TEU โดยคาดว่าจะส่งมอบได้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2566 ถึงต้นปี พ.ศ. 2567 โดยคาดว่าเรือเหล่านี้จะมีราคาลำละ 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[14] ซึ่งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ได้มีการสั่งซื้อเรือประเภทนี้เพิ่มอีก 3 ลำ[20]

เหตุการณ์กับเรือบรรทุกก๊าซธรรมชาติเหลว

[แก้]

เรือบรรทุกก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG carrier) ที่สร้างในจีนในช่วงแรกประสบปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือ เรือต้าเผิงซัน (Dapeng Sun) ต้องซ่อมแซมเป็นเวลานานในสิงคโปร์เป็นระยะเวลากว่า 14 เดือนหลังจากการส่งมอบเรือ[21] ขณะที่เรือ CESI Gladstone เรือบรรทุกก๊าซธรรมชาติเหลวที่ส่งมอบโดย หูตง-จงหัว ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้ประสบปัญหาระบบขับเคลื่อนขัดข้องใกล้กับปาปัวนิวกินีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561[22]

เรือฟริเกต F-22P ที่สร้างโดย หูตง-จงหัว สำหรับกองทัพเรือปากีสถาน

สิ่งอำนวยความสะดวกและแผนก

[แก้]
  • เครื่องจักรหนักหูตง เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการของแผนกเครื่องยนต์ของอู่ต่อเรือหูตง และอู่ต่อเรือเซี่ยงไฮ้[23]
  • หูตงชิปบิลดิง[24]
  • เซี่ยงไฮ้เอ็ดเวิร์ดชิปบิลดิง ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2540 โดยเป็นกิจการร่วมค้าระหว่าง ไชน่าสเตท ชิปบิลดิง คอร์ปอเรชั่น และ ฮันซา ชิปบิลดิง (Hansa Shipbuilding) มีรายงานว่าเป็นกิจการร่วมค้าระหว่าง หูตง-จงหัว และ ฮันซา ใน พ.ศ. 2548[24]
  • หัวรุนต้าตงชิปบิลดิง เป็นการร่วมทุนกับ ไชน่า รีซอร์สเซส (China Resources)[24]
  • จงหัวชิปบิลดิง[24]

เรือของไทย

[แก้]
เรือหลวงนราธิวาส (OPV-512)

ประเทศไทย เป็นหนึ่งในลูกค้าของ หูตง-จงหัว ชิปบิลดิง ในส่วนของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในการต่อเรือรบให้กับกองทัพเรือไทย ประกอบไปด้วย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

การอ้างอิง

[แก้]
  1. "อลังการ! "เรือหลวงช้าง" 792 เสริมเขี้ยวเล็บกองทัพเรือ". Thai PBS.
  2. "Company profile". Hudong–Zhonghua Shipbuilding (Group) Co., Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2021. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  3. China's Largest Shipbuilder Selects Electronic Signature Solutions from CIC China
  4. "LNG tanker hailed as a milestone for China". china.org.cn. Shanghai Daily. 4 April 2008. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  5. "China 1st home-made LNG tanker delivered, behind time". Reuters. 3 April 2008. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  6. "Hudong-Zhonghua Shipbuilding Group". European Monitoring Centre on Change. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  7. "České loděnice podepsaly první větší smlouvu po vzkříšení". Česká televize (ภาษาCzech). 30 June 2011. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  8. "Crane Collapse Kills 36 in Shanghai Shipyard". People's Daily. 18 July 2001. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  9. "Gantry cranes topple, killing 3 in Shanghai". China Daily. Xinhua. 30 May 2008. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  10. 10.0 10.1 Snyder, John (29 May 2020). "Chinese financing backs massive Qatar LNG carrier order". Riviera. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  11. "CMA CGM Confirms Order for 22,000 TEU Giants". World Maritime News. 20 September 2017. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  12. 12.0 12.1 "Hudong-Zhonghua Shipbuilding names CMA CGM Rivoli". 11 January 2021.
  13. "The CMA CGM JACQUES SAADE, the largest LNG-powered container ship ever built features Wärtsilä solutions". Wärtsilä. 15 October 2020. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  14. 14.0 14.1 "Box ship orderbook grows fatter, with Evergreen and SITC needing more capacity". 21 June 2021.
  15. "Qatar Petroleum inks huge China LNG carrier deal". 22 April 2020.
  16. "Hudong-Zhonghua inks $2.86bn LNG carrier order from Qatar". 22 April 2020.
  17. "QP signs $3bn LNG carrier deal with Hudong - News for the Energy Sector". 23 April 2020.
  18. Tate, Andrew (5 January 2021). "Hudong-Zhonghua shipyard to relocate to Changxing Island near Shanghai". Janes. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  19. Wang, Ying (5 January 2021). "Shanghai launches 64 projects worth $42b". China Daily. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  20. "Evergreen in for three more 24,000 teu ships at Hudong-Zhonghua". 17 March 2022.
  21. "dapeng sun out of drydock following major repair work". Tradewindsnews. 21 Aug 2009.
  22. Chambers, Sam (28 June 2018). "Chinese gas carrier plagued with propulsion issues expected to resume voyage this weekend". Splash247.
  23. A New Direction for China's Defense Industry, pg. 120
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 A New Direction for China's Defense Industry, pg. 118
  25. "New Thai Navy frigate sets sail from Chinese shipyard". nationthailand (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-04-18.

แหล่งที่มา

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]