ข้ามไปเนื้อหา

เมฆโพลาร์สตราโทสเฟียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมฆโพลาร์สตราโทสเฟียร์เหนือท้องฟ้าแอนตาร์กติก

เมฆโพลาร์สตราโทสเฟียร์ (อังกฤษ: polar stratospheric cloud, ย่อ PSCs) เป็นเมฆที่พบในชั้นสตราโทสเฟียร์แถบขั้วโลกที่ระดับความสูง 15,000–25,000 เมตร (49,000–82,000 ฟุต) พบเห็นได้ดีที่สุดช่วงสนธยาทางพลเรือนในฤดูหนาว หรือจุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าขอบฟ้าเป็นระยะ 1–6 องศา[1] เมฆชนิดนี้ปรากฏเป็นสีรุ้ง จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อคือเมฆมุก (nacreous cloud) ตาม nacre วัสดุผสมของไข่มุกที่สะท้อนเป็นสีรุ้ง

เมฆโพลาร์สตราโทสเฟียร์ก่อตัวในชั้นสตราโทสเฟียร์ที่อุณหภูมิต่ำกว่า −78 °ซ (−108 °ฟ) สามารถเกิดได้ทั้งจากผลึกน้ำแข็งขนาดราว 10 ไมโครเมตรเพียงอย่างเดียว[2] หรือผลึกน้ำแข็งทำปฎิกิริยากับสารเคมีที่ตกค้างในชั้นบรรยากาศ เช่น กรดไนตริก กรดซัลฟิวริก หรืออนุภาคที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิด[3] เนื่องจากชั้นสตราโทสเฟียร์มีความชื้นน้อยมาก เมฆชนิดนี้จึงมักจะก่อตัวในชั้นล่าง ๆ ใกล้กับรอยต่อกับชั้นโทรโพสเฟียร์ ควบแน่นโดยอาศัยกระแสอากาศปั่นป่วนจากคลื่นภูเขาเกิดเป็นแผ่นน้ำแข็งบาง ๆ[4] โดยสีรุ้งที่ปรากฏเกิดจากดวงอาทิตย์ที่อยู่ต่ำกว่าขอบฟ้าส่องขึ้นมากระทบเมฆ ก่อนจะสะท้อนลงมาที่พื้นโลก[5]

เมฆโพลาร์สตราโทสเฟียร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • ชนิดที่ 1 เกิดจากผลึกน้ำแข็งทำปฎิกิริยากับกรดไนตริก และ/หรือกรดซัลฟิวริก ปรากฏเป็นชั้นคล้ายเมฆเซอร์โรสเตรตัส[6] เมฆชนิดนี้เป็นปัจจัยหนึ่งของการลดลงของโอโซน เนื่องจากปฎิกิริยาการเกิดเมฆก่อให้เกิดอะตอมคลอรีนที่ทำลายชั้นโอโซน[7]
  • ชนิดที่ 2 เกิดจากผลึกน้ำแข็งเพียงอย่างเดียว[8] เมฆชนิดนี้พบเห็นได้ยากในแถบอาร์กติก ก่อตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า -83 °ซ (−117 °ฟ)[4]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Polar stratospheric clouds / Observations". Australian Antarctic Division. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-19. สืบค้นเมื่อ 2020-08-16.
  2. "Nacreous clouds". International Cloud Atlas. สืบค้นเมื่อ August 16, 2020.
  3. "The Stratosphere - overview". UCAR Center for Science Education. สืบค้นเมื่อ August 16, 2020.
  4. 4.0 4.1 "Polar Stratospheric Cloud (PSC)". SKYbrary Aviation Safety. May 1, 2019. สืบค้นเมื่อ August 16, 2020.
  5. "Nacreous clouds". Met Office. สืบค้นเมื่อ August 16, 2020.
  6. World Meteorological Organization, บ.ก. (2017). "Nitric acid and water PSC, International Cloud Atlas". สืบค้นเมื่อ 3 April 2019.
  7. "Polar stratospheric clouds". Australian Antarctic Program. May 5, 2017. สืบค้นเมื่อ August 16, 2020.
  8. Maturilli, Maturilli. "Polar Stratospheric Clouds Above Spitsbergen". Alfred Wegener Institute for Polar and Marine Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-24.