ข้ามไปเนื้อหา

อัลโตสเตรตัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมฆอัลโตสเตรตัส ทรานส์ลูซิดัสเหนือท้องฟ้าฮ่องกง

อัลโตสเตรตัส (อังกฤษ: altostratus) มีชื่อเรียกมาจากภาษาละติน altus แปลว่า สูง และ stratus แปลว่า แผ่ขยาย[1] เมฆอัลโตสเตรตัสเป็นเมฆสีเทาถึงเขียว-น้ำเงิน มีรูปร่างไม่แน่นอน เมื่อแสงอาทิตย์ส่องผ่านจะเห็นเป็นผืนหรือชั้นกว้าง ๆ บนท้องฟ้า[2] เมฆชนิดนี้มีสีอ่อนกว่าเมฆนิมโบสเตรตัส และเข้มกว่าเมฆเซอร์โรสเตรตัส อัลโตสเตรตัสมีอักษรย่อคือ As และสัญลักษณ์

เมฆอัลโตสเตรตัสเป็นเมฆระดับกลาง ก่อตัวที่ชั้นโทรโพสเฟียร์ที่ระดับความสูง 6,500–20,000 ฟุต (2,000–6,000 เมตร) เกิดจากมวลอากาศที่ยกตัวขึ้นจนไอน้ำควบแน่นกลายเป็นแผ่นผลึกน้ำแข็ง[3] อัลโตสเตรตัสมักก่อตัวก่อนหน้าแนวปะทะอากาศร้อนหรือแนวปะทะปิด และบางครั้งเกิดร่วมกับเมฆคิวมูลัสในแนวปะทะอากาศเย็น[4] เมฆชนิดนี้ก่อให้เกิดฝนตกเล็กน้อย หากมีฝนตกยาวนาน อัลโตสเตรตัสอาจกลายสภาพเป็นเมฆนิมโบสเตรตัส ซึ่งเป็นเมฆฝนชนิดหนึ่งที่ไม่ก่อให้เกิดฟ้าแลบฟ้าผ่า[5] อัลโตสเตรตัสมีลักษณะคล้ายกับเซอร์โรสเตรตัส แต่ไม่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เฮโล ที่แสงอาทิตย์ส่องกระทบผลึกน้ำในอากาศแล้วเลี้ยวเบนจนเกิดเป็นวงแหวนสีรุ้ง[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Definition of Altostratus". Dictionary.com. สืบค้นเมื่อ September 5, 2019.
  2. World Meteorological Organization, บ.ก. (1975). Altostratus, International Cloud Atlas. Vol. I. pp. 35–37. ISBN 978-92-63-10407-6. สืบค้นเมื่อ 26 August 2014.
  3. "Altostratus clouds". Met Office. สืบค้นเมื่อ September 5, 2019.
  4. Means, Tiffany (August 9, 2018). "Using Clouds to Predict the Weather". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ September 5, 2019.
  5. "The cloud classification system - Altostratus". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2009. สืบค้นเมื่อ 26 May 2009.
  6. Ahrens, C. Donald (2006). Meteorology Today: International Student Edition. Boston, United States: Cengage Learning. p. 121. ISBN 9780495011620.