สเตรโตคิวมูลัส
สเตรโตคิวมูลัส (อังกฤษ: stratocumulus) เป็นเมฆลักษณะทรงกลมขนาดใหญ่ มีสีขาวจนถึงสีเทา[1] ได้ชื่อมาจากภาษาละติน stratus แปลว่า เป็นชั้นและ cumulus แปลว่า เป็นกองสุมกัน[2] สเตรโตคิวมูลัสมีอักษรย่อคือ Sc และสัญลักษณ์
สเตรโตคิวมูลัสเป็นหนึ่งในเมฆระดับต่ำ ร่วมกับคิวมูโลนิมบัส คิวมูลัสและสเตรตัส โดยทั่วไปก่อตัวที่ชั้นโทรโพสเฟียร์ ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 6,500 ฟุต (2,000 เมตร) เกิดจากการพาความร้อนเนื่องมาจากกระแสลมแปรปรวนที่ยกตัวสูงขึ้น แต่ไม่สามารถพัฒนาในแนวตั้งได้เพราะอากาศด้านบนแห้งและเสถียรกว่า[3] ลักษณะเป็นชั้นของสเตรโตคิวมูลัสเกิดจากการผันผวนของอากาศ ส่วนลักษณะเป็นกองเกิดจากการพาความร้อนที่เกิดขึ้น สเตรโตคิวมูลัสเป็นเมฆที่ช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ โดยสามารถสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ราว 2 ใน 3 ของแสงอาทิตย์ที่ส่องกระทบในทะเล[4] สเตรโตคิวมูลัสเป็นเมฆที่พบได้ในทุกสภาพอากาศและไม่ก่อให้เกิดฝนตก อย่างไรก็ตาม อาจก่อให้เกิดฝนละอองหรือหิมะตกปรอย ๆ[5]
สเตรโตคิวมูลัสมีลักษณะคล้ายเมฆอัลโตคิวมูลัส แต่มีขนาดใหญ่กว่าและบางครั้งมีสีเข้มกว่า สเตรโตคิวมูลัสเป็นเมฆที่มักก่อให้เกิดปรากฏการณ์รังสีครีพัสคิวลาร์ ซึ่งเกิดจากแสงอาทิตย์ถูกเมฆบดบังทำให้เกิดเป็นลำแสงพุ่งผ่านช่องว่างของเมฆ[6][7] และโคโรนา หรือวงแหวนสีรุ้งที่เกิดจากแสงจันทร์ในเวลากลางคืน[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Khullar, D R (2016). Geography Textbook. New Delhi, India: Saraswati House Pvt Ltd. p. 151. ISBN 9789350412411.
- ↑ "stratocumulus - definition and meaning". Collins Dictionary. สืบค้นเมื่อ September 13, 2019.
- ↑ "Weather Facts: Stratocumulus". weatheronline.co.uk. สืบค้นเมื่อ September 13, 2019.
- ↑ Seinfeld, John H.; Pandis, Spyros N. (2016). Atmospheric Chemistry and Physics: From Air Pollution to Climate Change. Hoboken, United States: John Wiley & Sons. p. 991. ISBN 9781118947401.
- ↑ "Stratocumulus clouds". Met Office. สืบค้นเมื่อ September 13, 2019.
- ↑ บัญชา ธนบุญสมบัติ (November 4, 2017). "เงาเมฆ & รังสีครีพัสคิวลาร์". มติชน. สืบค้นเมื่อ September 13, 2019.
- ↑ "Crepuscular rays". International Cloud Atlas. สืบค้นเมื่อ September 13, 2019.
- ↑ "Stratocumulus". AMS Glossary. สืบค้นเมื่อ September 13, 2019.