ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลแม่ปุ

พิกัด: 17°30′42.8″N 99°09′36.2″E / 17.511889°N 99.160056°E / 17.511889; 99.160056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลแม่ปุ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Mae Pu
ประเทศไทย
จังหวัดลำปาง
อำเภอแม่พริก
พื้นที่
 • ทั้งหมด59.12 ตร.กม. (22.83 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด3,697 คน
 • ความหนาแน่น62.53 คน/ตร.กม. (162.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 52180
รหัสภูมิศาสตร์520903
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลแม่ปุ
ทต.แม่ปุตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง
ทต.แม่ปุ
ทต.แม่ปุ
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลแม่ปุ
พิกัด: 17°30′42.8″N 99°09′36.2″E / 17.511889°N 99.160056°E / 17.511889; 99.160056
ประเทศ ไทย
จังหวัดลำปาง
อำเภอแม่พริก
พื้นที่
 • ทั้งหมด59.12 ตร.กม. (22.83 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด3,697 คน
 • ความหนาแน่น62.53 คน/ตร.กม. (162.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05520901
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1 หมู่ 3 ถนนพระบาท-บ้านเหล่า ตำบลแม่ปุ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง 52190
เว็บไซต์www.maepulp.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แม่ปุ เป็นตำบลในอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง เดิมมีฐานะเป็นท้องที่สุขาภิบาลแม่ปุ[2] และมีฐานะเป็นเทศบาลตำบลในปี พ.ศ. 2542[3]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลแม่ปุ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[4]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลนาโป่ง และตำบลเถินบุรี (อำเภอเถิน)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลแม่วะ (อำเภอเถิน) และตำบลพระบาทวังตวง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลแม่พริก
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลผาปัง

ประวัติ

[แก้]

แม่ปุ เดิมเป็นตำบลในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ปี พ.ศ. 2443 จังหวัดตากได้ตั้งด่านเก็บภาษีค่านาเงินรัฐชูปการขึ้นที่บ้านแม่พริกลุ่ม และได้จัดส่งเจ้าน้อยสารมาเป็นนายด่าน ต่อมาใน พ.ศ. 2447 เจ้าน้อยสารถูกคนร้ายปล้นฆ่าตายทางราชการจึงได้โอนหมู่บ้านแม่พริกลุ่ม บ้านแม่พริกบน และบ้านแม่เชียงราย จากอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก มาขึ้นกับอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง โดยใช้ห้วยแม่เชียงราย ห้วยแม่ระวานเป็นเส้นแบ่งเขต และตั้ง "กิ่งอำเภอแม่พริก" ขึ้น โดยมีทีทำการกิ่งอำเภอที่บ้านแม่พริกลุ่ม มี 4 ตำบล คือ ตำบลแม่พริกลุ่ม ตำบลผาปัง ตำบลแม่ปุ และตำบลน้ำดิบ

ในปี พ.ศ. 2481 ทางราชการได้โอนพื้นที่หมู่ 4 บ้านเกาะหัวช้าง (ในขณะนั้น) ของตำบลแม่วะ อำเภอเถิน มาขึ้นกับตำบลแม่ปุ กิ่งอำเภอแม่พริก[5] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2501 ทางราชการได้ตั้งกิ่งอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง ขึ้นเป็นอำเภอแม่พริก[6] แม่ปุจึงมีฐานะเป็นตำบลในอำเภอแม่พริก

ในปี พ.ศ. 2531 ท้องที่หมู่ 3 บ้านต้นธงมีประชากร 2,078 คน ซึ่งประชากรหนาแน่น เป็นที่ตั้งของสถานีอนามัยตำบลแม่ปุ โครงการประปาหมู่บ้าน โรงเรียน สำนักงานการไฟฟ้าตำบลแม่ปุ ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะตั้งเป็นสุขาภิบาล จึงรวมพื้นที่หมู่ 1 บ้านท่าไม้, หมู่ 2 บ้านแม่ปุ, หมู่ 3 บ้านต้นธง, หมู่ 6 บ้านแม่ปุแพะ และหมู่ 7 บ้านวังผู รวมทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ตั้งขึ้นเป็นสุขาภิบาลแม่ปุ[2] เพื่อการทะนุบำรุงท้องถิ่นให้เจริญมากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2531 ทางราชการได้แยกพื้นที่หมู่ 5 บ้านเกาะหัวช้าง, บ้านตะฝั่งสูง, บ้านน้ำลัด (ในขณะนั้น) ของตำบลแม่ปุ รวมกับหมู่ 5 บ้านแม่ตั๋ง แม่แพะ, หมู่ 6 บ้านแม่เชียงรายบน, หมู่ 8 บ้านท่าต้นแหน และหมู่ 10 บ้านพระบาท (ในขณะนั้น) ของตำบลแม่พริก รวมทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ตั้งเป็น ตำบลพระบาทวังตวง[7] และมีการลำดับหมู่บ้านใหม่ โดยตั้งหมู่ 7 บ้านวังผู เป็นหมู่ที่ 5 (ใหม่) แทนหมู่ที่ 5 บ้านเกาะหัวช้าง (เดิม) ของตำบลแม่ปุ

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

ตำบลแม่ปุแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านท่าไม้ (Ban Tha Mai) หมู่ 1 (เดิม) ของตำบลแม่ปุ0
หมู่ 2 บ้านแม่ปุ (Ban Mae Pu) หมู่ 2 (เดิม) ของตำบลแม่ปุ0
หมู่ 3 บ้านต้นธง (Ban Ton Thong) หมู่ 3 (เดิม) ของตำบลแม่ปุ0
หมู่ 4 บ้านโป่งขาม (Ban Pong Kham) หมู่ 4 (เดิม) ของตำบลแม่ปุ0
หมู่ 5 บ้านวังผู (Ban Wang Phu) หมู่ 7 (เดิม) ของตำบลแม่ปุ0
หมู่ 6 บ้านแม่ปุแพะ (Ban Mae Pu Phae) หมู่ 6 (เดิม) ของตำบลแม่ปุ0

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ตำบลแม่ปุทั้งตำบลอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแม่ปุ เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลแม่ปุ ในปี พ.ศ. 2517[8] ก่อนที่สภาตำบลแม่ปุบางส่วนได้แยกเป็นสุขาภิบาลแม่ปุ ในปี พ.ศ. 2531[2] มีพื้นที่ 5 หมู่บ้าน พื้นที่ 14.57 ตารางกิโลเมตร และยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลแม่ปุ ในปี พ.ศ. 2542[3]

ในปี พ.ศ. 2546 กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาให้เขตสภาตำบลแม่ปุที่มีประชากรเพียง 565 คน และ 138 ครัวเรือน[9] ซึ่งเป็นพื้นที่หมู่ 4 บ้านโป่งขามเพียงหมู่เดียว จึงให้รวมพื้นที่เข้ากับเทศบาลตำบลแม่ปุในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547[10] เนื่องจากไม่ผ่านเงื่อนไขในการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งด้านพื้นที่และประชากร

ทำให้เทศบาลตำบลแม่ปุ รับพื้นที่จากสภาตำบลแม่ปุมาทั้งหมด 1 หมู่บ้าน คือ หมู่ 4 บ้านโป่งขาม พื้นที่ 44.55 ตารางกิโลเมตร และประชากร 565 คน โดยนำมารวมพื้นที่เทศบาลตำบลแม่ปุ ทำให้เทศบาลมีพื้นที่ทั้งหมด 59.12 ตารางกิโลเมตร และประชากรรวมทั้งหมด 4,409 คน ในปี พ.ศ. 2547 หลังจากเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล[11]

ประชากร

[แก้]

พื้นที่ตำบลแม่ปุ ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 3,697 คน แบ่งเป็นชาย 1,749 คน หญิง 1,948 คน (เดือนธันวาคม 2566)[12] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 3 ในอำเภอแม่พริก

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[13] พ.ศ. 2565[14] พ.ศ. 2564[15] พ.ศ. 2563[16] พ.ศ. 2562[17] พ.ศ. 2561[18] พ.ศ. 2560[19]
ต้นธง 1,383 1,406 1,429 1,439 1,455 1,477 1,495
ท่าไม้ 636 651 669 682 684 685 703
แม่ปุแพะ 538 554 554 564 581 593 594
โป่งขาม 422 430 441 441 446 443 449
แม่ปุ 394 411 417 417 417 424 431
วังผู 324 316 317 326 326 324 326
รวม 3,697 3,768 3,827 3,869 3,907 3,946 3,998

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลแม่ปุ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. 2.0 2.1 2.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแม่ปุ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (107 ง): 5160–5163. วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2531
  3. 3.0 3.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 20 ง): 27–35. วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2541
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3344–3349. วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2481
  6. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ.๒๕๐๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (55 ก): 321–327. วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2501
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่พริก และอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (171 ง): (ฉบับพิเศษ) 84-92. วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2531
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  9. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (เขตตำบลแม่ปุ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 75 ง): 11–14. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
  11. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (เขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลแม่ปุ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  17. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  18. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  19. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.