ข้ามไปเนื้อหา

เตเรซาแห่งอาบิลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เตเรซาแห่งอาบีลา)
นักบุญเตเรซาแห่งอาบิลา
พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งคริสตจักร
เกิด28 มีนาคม ค.ศ. 1515(1515-03-28)
เมืองอาบิลา ประเทศสเปน
เสียชีวิตตุลาคม 4, 1582(1582-10-04) (67 ปี)
เมืองซาลามังกา ประเทศสเปน
นิกายโรมันคาทอลิก
เป็นนักบุญ12 มีนาคม ค.ศ. 1622
กรุงโรม
โดย สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 15
สักการสถานหลักอารามแม่พระรับสาร เมืองซาลามังกา ประเทศสเปน
วันฉลอง15 ตุลาคม
องค์อุปถัมภ์ผู้ป่วยด้วยอาการปวดหัว ประเทศสเปน

นักบุญเตเรซาแห่งอาบิลา (สเปน: Santa Teresa de Ávila; ไทย: นักบุญเทเรซา แห่งอาวีลา)[1] หรือ นักบุญเทเรซาแห่งพระเยซู[2] (สเปน: Santa Teresa de Jesús) เป็นนักพรตหญิงโรมันคาทอลิกชาวสเปน นักการปฏิรูปคาทอลิก ผู้ก่อตั้งคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า ได้รับการแต่งตั้งเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักรในปี ค.ศ. 1970

ประวัติ

[แก้]

นักบุญเทเรซาแห่งพระเยซู มีนามเดิมว่า เตเรซา ซันเชซ เด เซปาดา อี อาอูมาดา เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1515 เป็นบุตรคนที่ 6 ในบรรดาบูตรทั้ง 9 คนของอาลอนโซ ซันเชซ อี เซปาดา และเบอาตริซ เด อาอูมาดา อี กูเอบัส เธอศรัทธาศาสนามาตั้งแต่วัยเด็ก ชอบอ่านชีวประวัตินักบุญ เมื่อเล่นกับเด็กอื่น ๆ ก็มักสมมติตนเองเป็นนักพรตหญิง

เมื่อโตขึ้น บิดาได้ส่งเตเรซาไปศึกษาในคอนแวนต์ของนักพรตหญิงคณะออกัสติเนียน แต่อยู่ได้ไม่นานก็ต้องออกจากคอนแวนต์เพราะป่วยหนัก ระหว่างที่พักอยู่ที่บ้านของพี่สาว เตเรซาได้อ่านหนังสือทางศาสนา และเกิดความศรัทธาอยากอุทิศตนเป็นนักบวช จึงบอกให้บิดาทราบแต่ถูกคัดค้านอย่างหนัก เตเรซาตัดสินใจหนีออกจากบ้านไปอยู่อารามการรับสภาพมนุษย์ของคณะคาร์เมไลท์ที่เมืองอาบิลา และขอเป็นนักบวชทันที แต่อธิการิณีอารามขอให้บิดาของเธอยินยอมก่อน เมื่อเจรจาสำเร็จเตเรซาจึงได้เข้าเป็นสมาชิกของอาราม และปฏิญานตนเป็นนักบวชเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1537 มีนามฉายาว่าภคินีเตเรซาแห่งพระเยซู แต่หลังจากปฏิญาณตน ภคินีเตเรซาก็ล้มป่วยอีก อาการทรุดหนักลงจนถึงขั้นเป็นอัมพาต จนคนอื่น ๆ ต่างคิดว่าท่านจะเสียชีวิตแน่ แต่ภคินีเตเรซาก็กลับมาอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็วและเดินได้เป็นปกติ

หลักจากชีวิตกลับมาเป็นปกติ ภคินีเตเรซาเกิดแรงบันดาลใจอยากจะปฏิรูปคณะคาร์เมไลท์ให้กลับไปถือวินัยดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด ท่านได้เปิดอารามนักบุญโยเซฟเพื่อเริ่มต้นการปฏิรูปคณะคาร์เมไลท์ นักพรตหญิงทุกคนในอารามใหม่กักตนเองอยู่ในเขตพรต กิจวัตรส่วนใหญ่เน้นการอธิษฐาน การรำพึงธรรม และการไม่สวมรองเท้า แต่การปฏิรูปกลับถูกขัดขวางจากคณะคาร์เมไลท์เดิม และถูกกล่าวหาว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคงแห่งชาติ ภคินีเตเรซาและนักพรตหญิงฝ่ายปฏิรูปถูกเรียกตัวกลับอารามการรับสภาพมนุษย์

เมื่อการปฏิรูปของภคินีเตเรซาได้รับรองจากบิชอปแห่งอาบิลาและสันตะสำนักในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1563[3] ภคินีเตเรซาจึงออกจากอารามเดิม และสานต่อการปฏิรูปที่ได้วางไว้ จนสามารถก่อตั้งอารามฝ่ายปฏิรูปได้รวมทั้งสิ้น 17 แห่ง ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของคณะภคินีคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า ท่านยังสนับสนุนภราดายอห์นแห่งไม้กางเขนให้ปฏิรูปคณะภราดาคาร์เมไลท์ด้วยจนสามารถเปิดอารามไฟรอาร์ฝ่ายปฏิรูปได้ถึง 15 แห่งทั่วประเทศสเปน

ภคินีเตเรซาแห่งพระเยซู ถึงแก่มรณกรรมเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1582 สิริอายุได้ 67 ปี

งานประพันธ์

[แก้]
  • อัตชีวประวัติ เขียนขึ้นในช่วงเวลาก่อนปี ค.ศ. 1567 โดยคำสั่งของบาทหลวงผู้ฟังสารภาพบาปของภคินีเตเรซา ให้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับวิธีการภาวนาที่พระเป็นเจ้าทรงประทานให้แก่เธอ;[4]
  • El Camino de Perfección (บนหนทางแห่งความครบครัน) เขียนก่อนปี ค.ศ. 1567 โดยคำสั่งของบาทหลวงผู้ฟังสารภาพบาป;[5]
  • El Castillo Interior (ปราสาทแห่งจิต) เขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1577

เกียรติยศหลังมรณกรรม

[แก้]

ภคินีเตเรซาได้รับการประกาศเป็นบุญราศีโดยสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 5 เมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1614 และได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 15 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1622 กำหนดวันฉลองตรงกับวันที่ 15 ตุลาคมของทุกปี[6] ต่อมานักบุญเตเรซายังได้รับแต่งตั้งเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร (พร้อมกับนักบุญกาเตรีนาแห่งซีเอนา) เมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1970 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัตินักบุญตลอดปี เก็บถาวร 2016-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, นักบุญเทเรซา แห่งอาวีลา. สืบค้นวันที่ 6 กรกฎาคม 2557.
  2. คือพระหรรษทาน : โมทนาคุณพระเจ้า โอกาสครบรอบ 86 ปี อารามคาร์แมลในประเทศไทย, 2548
  3. "St. Teresa of Avila". Catholic Online. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Pedro Ibáñez, "La Vida de la Santa Madre Teresa de Jesús", Madrid, 1882; English translation, The Life of S. Teresa of Jesus, London, 1888.
  5. "El Camino de Perfección", Salamanca, 1589; English translation, "The Way of Perfection", London, 1852.
  6. "St. Teresa of Avila". Catholic Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)