เซลล์ประสาทสั่งการล่าง
แม่แบบ:Infobox Norway เพิ่ม [IQ bot 1000]เซลล์ประสาทสั่งการล่าง[1] (อังกฤษ: Lower motor neuron ตัวย่อ LMN) เป็นเซลล์ประสาทสั่งการซึ่งอาจอยู่ที่ anterior grey column และ ventral root of spinal nerve ของไขสันหลัง (เป็น spinal lower motor neurons) หรือที่ cranial nerve nuclei ของก้านสมองและประสาทสมอง (เป็น cranial nerve lower motor neurons) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกาย (motor functions)[2] การเคลื่อนไหวภายใต้อำนาจจิตใจทั้งหมดต้องอาศัย LMN ซึ่งส่งเส้นประสาทไปยังใยกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle fibers) และทำงานเป็นตัวเชื่อมระหว่างเซลล์ประสาทสั่งการบน (upper motor neuron) และกล้ามเนื้อ[3][4] LMN ของประสาทสมองควบคุมการเคลื่อนไหวของตา ใบหน้า และลิ้น มีส่วนในการเคี้ยว กลืน และออกเสียง[5] ความเสียหายต่อ LMN อาจทำให้เกิดอัมพาตอ่อนเปียก (flaccid paralysis), ไร้รีเฟล็กซ์เอ็นกล้ามเนื้อ (tendon reflex) และเกิดกล้ามเนื้อฝ่อ (muscle atrophy)
หมวดหมู่
[แก้]LMN สามารถจัดหมวดตามเส้นใยกล้ามเนื้อที่มันส่งเส้นประสาทไปถึง คือ[6]
- เซลล์ประสาทสั่งการอัลฟา (α-MN) ซึ่งส่งเส้นประสาทไปยัง extrafusal muscle fiber อันเป็นใยกล้ามเนื้อที่มีมากที่สุดและมีหน้าที่เกี่ยวกับการหดเกร็งกล้ามเนื้อ
- เซลล์ประสาทสั่งการบีตา (β-MN) ซึ่งส่งเส้นประสาทไปยัง intrafusal muscle fiber ของ muscle spindle โดยมีสาขารองไปยัง extrafusal muscle fiber
- เซลล์ประสาทสั่งการแกมมา (γ-MN) ซึ่งส่งเส้นประสาทไปยัง intrafusal muscle fiber และเป็นส่วนของระบบการรับรู้อากัปกิริยา
สรีรวิทยา
[แก้]เซลล์ประสาทสั่งการบน (UMN) ปล่อยสารสื่อประสาทคือกลูตาเมต ซึ่งทำให้ LMN ใน anterior grey column ในไขสันหลังลดขั้ว ซึ่งก็ทำให้มันส่งศักยะงานไปตามแอกซอนไปถึงแผ่นเชื่อมประสาทสั่งการและกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction) เป็นที่ที่เซลล์ประสาทปล่อยสารสื่อประสาท acetylcholine ข้ามช่องไซแนปส์ (synaptic cleft) ไปยังตัวรับ (postsynaptic receptor) ที่เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทกล้ามเนื้อ เป็นการสั่งการให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง
ความสำคัญทางคลินิก
[แก้]ความเสียหายต่อ LMN คือรอยโรคที่เซลล์ประสาทสั่งการล่าง (lower motor neuron lesion, LMNL) ทำให้กล้ามเนื้อฝ่อ ทำให้หมดกำลัง และลดรีเฟล็กซ์ในบริเวณที่เป็นปัญหา LMNL มีอาการเป็นคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) ที่ผิดปกติ, fasciculation (กล้ามเนื้อกระตุก), อัมพาต, กล้ามเนื้ออ่อนล้า และกล้ามเนื้อโครงร่างฝ่อเหตุประสาท โรคต่าง ๆ รวมทั้งอัมพาตแบบเบลล์, อัมพาตก้านสมองส่วนท้าย (Bulbar palsy), โรคโปลิโอ และอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (ALS) ล้วนสัมพันธ์กับการทำงานผิดปกติของ LMN ทั้งนั้น[7][8]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "neuron, motor; motoneuron", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(แพทยศาสตร์) เซลล์ประสาทสั่งการ
- ↑ Fletcher, T.F. "Clinical Neuroanatomy Guide". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-08. สืบค้นเมื่อ 2013-11-08.
- ↑ Burke, Robert (2007). "Sir Charles Sherrington's The integrative action of the nervous system: a centenary appreciation". Brain. 130 (4): 887–894. doi:10.1093/brain/awm022. PMID 17438014. สืบค้นเมื่อ 2013-11-08.
- ↑
Bear, Connors, Paradiso (2007). Neuroscience: Exploring the Brain. Lippincott Williams & Wilkins. pp. 426–432. ISBN 978-0-7817-6003-4.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Saim, Muhammad. "Upper and Lower Motor Neurons". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-08.
- ↑ Floeter, Mary Kay (2010). Karpati, George; Hilton-Jones, David; Bushby, Kate; Griggs, Robert C (บ.ก.). Structure and function of muscle fibers and motor units (PDF). Disorders of Voluntary Muscle (8th ed.). Cambridge University Press. Chapter 1, Motor Neurons, pp. 1-2. ISBN 978-0-521-87629-2.
- ↑ Sanders, RD (Jan 2010). "The Trigeminal (V) and Facial (VII) Cranial Nerves: Head and Face Sensation and Movement". Psychiatry (Edgmont). 7 (1): 13–6. PMC 2848459. PMID 20386632.
- ↑ Van den Berg; และคณะ (November 2003). "The spectrum of lower motor neuron syndromes". J. Neurol. 250 (11): 1279–92. doi:10.1007/s00415-003-0235-9. PMID 14648143.